“หมอประดิษฐ” สั่ง อย.ปรับฉลากอาหารใหม่ เน้นบอกปริมาณน้ำตาลและเกลือให้เข้าใจง่าย พร้อมระบุวิธีกำจัดออกจากร่างกาย และผลกระทบหากรับประทานมากเกินไปด้วย หวังประชาชนระมัดระวังในการกินมากขึ้น ไม่ปล่อยให้กลายเป็นโรคเรื้อรัง
นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า น้ำตาลและเกลือหากรับประทานมากจนเกินไป จะกลายเป็นสาเหตุสำคัญของโรคเรื้อรังที่คนไทยเป็นกันมาก คือ โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ตนจึงได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ดำเนินการจัดทำฉลากอาหารที่มีส่วนผสมของน้ำตาลและเกลือใหม่ จากเดิมที่ระบุปริมาณเป็นมิลลิกรัม ซึ่งบางครั้งอาจเข้าใจยาก โดยปรับให้เป็นภาษาที่เข้าใจง่าย พร้อมกับระบุวิธีการเผาผลาญออกจากร่างกาย และผลกระทบ ผลเสีย หรืออันตรายที่จะเกิดขึ้นกับร่างกายด้วย เช่น น้ำตาล 2 ช้อน การเผาผลาญต้องวิ่งเป็นเวลา 20 นาที หรือ เกลือ หากได้รับปริมาณมากเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น โดยอาจจะทำเป็นสติกเกอร์ติดที่ซองอาหารเพิ่มเติมจากฉลากเดิมที่มีอยู่แล้ว ซึ่งได้กำชับให้ดำเนินการแล้วเสร็จโดยเร็ว
“การติดฉลากลักษณะนี้จะช่วยให้ประชาชนเข้าใจปริมาณส่วนผสมน้ำตาลและเหลือในอาหารที่รับประทานแต่ละครั้ง จะได้คำนวณปริมาณการได้รับน้ำตาลหรือเกลือในแต่ละครั้งการรับประทานได้ หากได้รับปริมาณมากเกินไปจะเกิดอันตรายต่อร่างกายอย่างไร รวมถึงบอกวิธีการเผาผลาญเพื่อกำจัดออกจากร่างกายให้ประชาชนรู้และปฏิบัติด้วย หากประชาชนได้อ่านฉลากนี้จะได้ระวังตัวเอง ไม่รับประทานอาหารที่มีน้ำตาลและเหลือมาก ช่วยป้องกันการป่วยเป็น 2 โรคดังกล่าว” รมว.สาธารณสุข กล่าว
อนึ่ง ทั่วประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงประมาณ 3.5 ล้านคน โดยเมื่อปี 2554 กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้ตรวจคัดกรองประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 22.2 ล้านคน พบผู้ป่วยเบาหวาน 1,581,857 ราย ในจำนวนนี้มีผู้ที่มีภาวะแทรกซ้อน 277,020 ราย คิดเป็นร้อยละ 18 ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด โดยมีภาวะแทรกซ้อนทางไตมากที่สุด เช่น ไตวาย ร้อยละ 25 รองลงมาคือแทรกซ้อนทางตา เช่น ตาต้อกระจก ต้อหินร้อยละ 23 คาดการณ์ว่าในอีก 8 ปีข้างหน้า ไทยจะพบผู้ป่วยถึง 4.7 ล้านราย เสียชีวิตเฉลี่ยปีละ 52,800 ราย แนวโน้มพบในเด็กมากขึ้น เนื่องจากขณะนี้เด็กไทยเผชิญความอ้วนมากขึ้น
ทั้งนี้ สมาพันธ์เบาหวานนานาชาติ คาดการณ์ว่า ในปี 2553 ทั่วโลกมีผู้ป่วยเบาหวานอายุ 20-79 ปี 285 ล้านคน จะเพิ่มเป็น 438 ล้านคน ในปี 2573 ในจำนวนนี้ 4 ใน 5 เป็นชาวเอเชีย ที่สำคัญคือมีเด็กอายุต่ำกว่า 14 ปี 4.4 แสนคนป่วยเป็นเบาหวานชนิดที่ต้องพึ่งอินซูลิน และแต่ละปีมีเด็กมากกว่า 70,000 คน มีแนวโน้มป่วยเป็นเบาหวานชนิดนี้ ซึ่งจะทำให้มีอายุสั้นลงอีก 10-20 ปี โดยพบในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากที่สุด
นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า น้ำตาลและเกลือหากรับประทานมากจนเกินไป จะกลายเป็นสาเหตุสำคัญของโรคเรื้อรังที่คนไทยเป็นกันมาก คือ โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ตนจึงได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ดำเนินการจัดทำฉลากอาหารที่มีส่วนผสมของน้ำตาลและเกลือใหม่ จากเดิมที่ระบุปริมาณเป็นมิลลิกรัม ซึ่งบางครั้งอาจเข้าใจยาก โดยปรับให้เป็นภาษาที่เข้าใจง่าย พร้อมกับระบุวิธีการเผาผลาญออกจากร่างกาย และผลกระทบ ผลเสีย หรืออันตรายที่จะเกิดขึ้นกับร่างกายด้วย เช่น น้ำตาล 2 ช้อน การเผาผลาญต้องวิ่งเป็นเวลา 20 นาที หรือ เกลือ หากได้รับปริมาณมากเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น โดยอาจจะทำเป็นสติกเกอร์ติดที่ซองอาหารเพิ่มเติมจากฉลากเดิมที่มีอยู่แล้ว ซึ่งได้กำชับให้ดำเนินการแล้วเสร็จโดยเร็ว
“การติดฉลากลักษณะนี้จะช่วยให้ประชาชนเข้าใจปริมาณส่วนผสมน้ำตาลและเหลือในอาหารที่รับประทานแต่ละครั้ง จะได้คำนวณปริมาณการได้รับน้ำตาลหรือเกลือในแต่ละครั้งการรับประทานได้ หากได้รับปริมาณมากเกินไปจะเกิดอันตรายต่อร่างกายอย่างไร รวมถึงบอกวิธีการเผาผลาญเพื่อกำจัดออกจากร่างกายให้ประชาชนรู้และปฏิบัติด้วย หากประชาชนได้อ่านฉลากนี้จะได้ระวังตัวเอง ไม่รับประทานอาหารที่มีน้ำตาลและเหลือมาก ช่วยป้องกันการป่วยเป็น 2 โรคดังกล่าว” รมว.สาธารณสุข กล่าว
อนึ่ง ทั่วประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงประมาณ 3.5 ล้านคน โดยเมื่อปี 2554 กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้ตรวจคัดกรองประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 22.2 ล้านคน พบผู้ป่วยเบาหวาน 1,581,857 ราย ในจำนวนนี้มีผู้ที่มีภาวะแทรกซ้อน 277,020 ราย คิดเป็นร้อยละ 18 ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด โดยมีภาวะแทรกซ้อนทางไตมากที่สุด เช่น ไตวาย ร้อยละ 25 รองลงมาคือแทรกซ้อนทางตา เช่น ตาต้อกระจก ต้อหินร้อยละ 23 คาดการณ์ว่าในอีก 8 ปีข้างหน้า ไทยจะพบผู้ป่วยถึง 4.7 ล้านราย เสียชีวิตเฉลี่ยปีละ 52,800 ราย แนวโน้มพบในเด็กมากขึ้น เนื่องจากขณะนี้เด็กไทยเผชิญความอ้วนมากขึ้น
ทั้งนี้ สมาพันธ์เบาหวานนานาชาติ คาดการณ์ว่า ในปี 2553 ทั่วโลกมีผู้ป่วยเบาหวานอายุ 20-79 ปี 285 ล้านคน จะเพิ่มเป็น 438 ล้านคน ในปี 2573 ในจำนวนนี้ 4 ใน 5 เป็นชาวเอเชีย ที่สำคัญคือมีเด็กอายุต่ำกว่า 14 ปี 4.4 แสนคนป่วยเป็นเบาหวานชนิดที่ต้องพึ่งอินซูลิน และแต่ละปีมีเด็กมากกว่า 70,000 คน มีแนวโน้มป่วยเป็นเบาหวานชนิดนี้ ซึ่งจะทำให้มีอายุสั้นลงอีก 10-20 ปี โดยพบในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากที่สุด