คนไทยเป็นโรคต้อหินแบบไม่รู้ตัวถึง 3 ล้านคน หมอตาเตือนอันตรายถึงขึ้นตาบอด โดยเฉพาะคนอายุตั้งแต่ 40 ขึ้นไป แนะตรวจตาเพื่อคัดกรอง ก่อนเข้าสู่โลกมืด
นพ.ปานเนตร ปางพุฒิพงศ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) อ.สามพราน จ.นครปฐม ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านจักษุวิทยา เปิดเผยว่า โรคต้อหินเป็นสาเหตุของปัญหาตาบอดมากเป็นอันดับ 2 รองจากตาต้อกระจก หากเป็นแล้วจะรักษาให้เหมือนปกติไม่ได้ โดยคาดว่ามีผู้ที่เป็นโรคนี้ทุกกลุ่มอายุประมาณร้อยละ 6 ของประชากร หรือประมาณ 3,360,000 ราย เกิดจากน้ำหล่อเลี้ยงที่สร้างภายในลูกตาและถูกขับออกมาภายนอกไม่สมดุลกัน ทำให้ความดันในลูกตาสูงขึ้นและเกิดการเสียสมดุล ขั้วประสาทตาจะถูกทำลาย ส่งผลให้ลานสายตาผิดปกติ ความสามารถในการมองเห็นลดลง มักจะเกิดจากด้านข้างของลูกตามาก่อน มองเห็นภาพมัวที่ขอบแต่จะชัดตรงกลาง ต่อไปจะมัวลงทั้งหมดจะทำให้ตาบอดในที่สุด
“ต้อหินที่พบบ่อยที่สุดร้อยละ 60-70 คือ ชนิดที่มุมตาเปิด ชนิดนี้มักจะไม่มีอาการและไม่รู้ตัว เนื่องจากไม่มีความผิดปกติใดๆ เกิดขึ้นระยะแรก จะรู้ตัวเมื่อสายตาค่อยๆ มัวลง มองด้านข้างไม่ค่อยเห็น คนป่วยจึงมาพบแพทย์ ทั้งนี้ คาดว่าจะมีผู้ที่ยังไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคต้อหินประมาณ 3 ล้านคน ส่วนอีกชนิดคือมุมตาปิดคาดว่ามีประมาณร้อยละ 30-40 จะเกิดในคนที่มีมุมตาค่อนข้างแคบ ทำให้ขวางกั้นการระบายน้ำในตา ทำให้ความดันลูกตาสูงขึ้นอย่างเฉียบพลัน จะมีอาการปวดตา ตาแดง ตามัว ปวดศีรษะอย่างรุนแรง บางรายมีอาการคลื่นใส้อาเจียน เห็นแสงสีรุ้งรอบดวงไฟ หากไม่รักษาภายใน 48 ชั่วโมง อาจทำให้ตาบอดได้” ผอ.รพ.วัดไร่ขิง กล่าว
นพ.ปานเนตร กล่าวอีกว่า การป้องกันโรคต้อหินคือควรได้รับการตรวจคัดกรองความดันลูกตาและขั้วประสาทตาอย่างน้อย 1 ครั้ง โดยเฉพาะกลุ่มผู้ที่อายุ 40 ปีขึ้นไป กลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นต้อหิน ผู้ที่มีสายตาสั้นหรือยาวมาก ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับเลือดและหลอดเลือดซึ่งเลือดไหลเวียนขึ้นไปประสาทตาไม่ดี และผู้ที่ใช้ยาหยอดตาจำพวกสเตียรอยด์เองโดยไม่ได้อยู่ภายใต้การดูแลของจักษุแพทย์ นอกจากนี้ ควรตรวจซ้ำเป็นระยะทุก 1-5 ปี ตามคำแนะนำของแพทย์ หากผิดปกติจะได้รับการดูแลรักษาอย่างรวดเร็ว เพื่อไม่ให้ประสาทตาเสื่อมมากขึ้น ซึ่งการรักษาโรคต้อหินเป็นเพียงการระงับไม่ให้ประสาทตาถูกทำลายไปมากกว่าเดิม แต่ไม่สามารถรักษาให้กลับมามองเห็นได้ชัดเหมือนเดิมเหมือนกับการรักษาตาต้อกระจก
“การรักษาต้อหินมีหลายวิธี เช่น การใช้ยาหยอดตา รับประทานยา ยิงเลเซอร์ และผ่าตัด แต่ละวิธีมีข้อจำกัดขึ้นอยู่กับตัวผู้ป่วยและประเภทของต้อหิน สำหรับกิจกรรมเนื่องในสัปดาห์วันต้อหินโลก ปี 2556 วันที่ 10-16 มี.ค.ของทุกปี รพ.เมตตาประชารักษ์ จะจัดในวันจันทร์ที่ 4 มี.ค.นี้ ที่ศูนย์ประชุมชั้น 4 อาคารบริการของโรงพยาบาลฯ ภายในงานมีการจัดนิทรรศการให้คำปรึกษา ถาม-ตอบปัญหาโรคห้อหิน ให้บริการตรวจคัดกรองโรคต้อหินด้วยเครื่องมือที่ทันสมัยโดยจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ฟรี หากพบจะได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง” ผอ.รพ.วัดไร่ขิง กล่าว
นพ.ปานเนตร กล่าวด้วยว่า กลุ่มคนที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป นอกจากเสี่ยงเรื่องต้อหินแล้ว ยังเป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนสรีระทางสายตา เข้าสู่ภาวะสายตายาว หรือสายตาคนแก่ ทำให้การมองเห็นระยะใกล้ลดลง หากไม่ได้สวมแว่นสายตาช่วย จะทำให้ต้องใช้กล้ามเนื้อตาเพ่งมองมากและนานกว่าปกติ จะทำให้กล้ามเนื้อตาเกิดอาการล้าและปวดเมื่อยตา ที่น่าห่วงหากคนกลุ่มนี้ใช้แท็บเล็ตหรือสมาร์ทโฟนที่มีขนาดหน้าจอและตัวหนังสือที่เล็กมาก จะต้องเพ่งมองในระยะใกล้ๆ ทำให้กล้ามเนื้อภายในและภายนอกลูกตาต้องหดตัวเพื่อปรับระยะโฟกัสและมุมตามามองใกล้ ดังนั้น จึงแนะนำให้เลือกใช้อุปกรณ์ที่มีขนาดตัวหนังสือ หรือขนาดหน้าจอใหญ่ หรือชนิดที่ขยายตัวอักษรได้ และการปรับสีพื้นหน้าจอ ตัวอักษรควรเป็นสีที่มองแล้วสบายตาที่สุด เช่น พื้นจอสีขาว ตัวอักษรสีดำ เป็นต้น ไม่ควรใช้สีเข้ม เพื่อที่จะไม่ต้องใช้สายตาเพ่งมากเกินไป และแนะนำให้ตรวจเช็คสายตาทุก 1 ปี เพื่อเปลี่ยนเลนส์ของแว่นให้เหมาะสมกับสภาพของสายตา
นพ.ปานเนตร ปางพุฒิพงศ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) อ.สามพราน จ.นครปฐม ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านจักษุวิทยา เปิดเผยว่า โรคต้อหินเป็นสาเหตุของปัญหาตาบอดมากเป็นอันดับ 2 รองจากตาต้อกระจก หากเป็นแล้วจะรักษาให้เหมือนปกติไม่ได้ โดยคาดว่ามีผู้ที่เป็นโรคนี้ทุกกลุ่มอายุประมาณร้อยละ 6 ของประชากร หรือประมาณ 3,360,000 ราย เกิดจากน้ำหล่อเลี้ยงที่สร้างภายในลูกตาและถูกขับออกมาภายนอกไม่สมดุลกัน ทำให้ความดันในลูกตาสูงขึ้นและเกิดการเสียสมดุล ขั้วประสาทตาจะถูกทำลาย ส่งผลให้ลานสายตาผิดปกติ ความสามารถในการมองเห็นลดลง มักจะเกิดจากด้านข้างของลูกตามาก่อน มองเห็นภาพมัวที่ขอบแต่จะชัดตรงกลาง ต่อไปจะมัวลงทั้งหมดจะทำให้ตาบอดในที่สุด
“ต้อหินที่พบบ่อยที่สุดร้อยละ 60-70 คือ ชนิดที่มุมตาเปิด ชนิดนี้มักจะไม่มีอาการและไม่รู้ตัว เนื่องจากไม่มีความผิดปกติใดๆ เกิดขึ้นระยะแรก จะรู้ตัวเมื่อสายตาค่อยๆ มัวลง มองด้านข้างไม่ค่อยเห็น คนป่วยจึงมาพบแพทย์ ทั้งนี้ คาดว่าจะมีผู้ที่ยังไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคต้อหินประมาณ 3 ล้านคน ส่วนอีกชนิดคือมุมตาปิดคาดว่ามีประมาณร้อยละ 30-40 จะเกิดในคนที่มีมุมตาค่อนข้างแคบ ทำให้ขวางกั้นการระบายน้ำในตา ทำให้ความดันลูกตาสูงขึ้นอย่างเฉียบพลัน จะมีอาการปวดตา ตาแดง ตามัว ปวดศีรษะอย่างรุนแรง บางรายมีอาการคลื่นใส้อาเจียน เห็นแสงสีรุ้งรอบดวงไฟ หากไม่รักษาภายใน 48 ชั่วโมง อาจทำให้ตาบอดได้” ผอ.รพ.วัดไร่ขิง กล่าว
นพ.ปานเนตร กล่าวอีกว่า การป้องกันโรคต้อหินคือควรได้รับการตรวจคัดกรองความดันลูกตาและขั้วประสาทตาอย่างน้อย 1 ครั้ง โดยเฉพาะกลุ่มผู้ที่อายุ 40 ปีขึ้นไป กลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นต้อหิน ผู้ที่มีสายตาสั้นหรือยาวมาก ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับเลือดและหลอดเลือดซึ่งเลือดไหลเวียนขึ้นไปประสาทตาไม่ดี และผู้ที่ใช้ยาหยอดตาจำพวกสเตียรอยด์เองโดยไม่ได้อยู่ภายใต้การดูแลของจักษุแพทย์ นอกจากนี้ ควรตรวจซ้ำเป็นระยะทุก 1-5 ปี ตามคำแนะนำของแพทย์ หากผิดปกติจะได้รับการดูแลรักษาอย่างรวดเร็ว เพื่อไม่ให้ประสาทตาเสื่อมมากขึ้น ซึ่งการรักษาโรคต้อหินเป็นเพียงการระงับไม่ให้ประสาทตาถูกทำลายไปมากกว่าเดิม แต่ไม่สามารถรักษาให้กลับมามองเห็นได้ชัดเหมือนเดิมเหมือนกับการรักษาตาต้อกระจก
“การรักษาต้อหินมีหลายวิธี เช่น การใช้ยาหยอดตา รับประทานยา ยิงเลเซอร์ และผ่าตัด แต่ละวิธีมีข้อจำกัดขึ้นอยู่กับตัวผู้ป่วยและประเภทของต้อหิน สำหรับกิจกรรมเนื่องในสัปดาห์วันต้อหินโลก ปี 2556 วันที่ 10-16 มี.ค.ของทุกปี รพ.เมตตาประชารักษ์ จะจัดในวันจันทร์ที่ 4 มี.ค.นี้ ที่ศูนย์ประชุมชั้น 4 อาคารบริการของโรงพยาบาลฯ ภายในงานมีการจัดนิทรรศการให้คำปรึกษา ถาม-ตอบปัญหาโรคห้อหิน ให้บริการตรวจคัดกรองโรคต้อหินด้วยเครื่องมือที่ทันสมัยโดยจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ฟรี หากพบจะได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง” ผอ.รพ.วัดไร่ขิง กล่าว
นพ.ปานเนตร กล่าวด้วยว่า กลุ่มคนที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป นอกจากเสี่ยงเรื่องต้อหินแล้ว ยังเป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนสรีระทางสายตา เข้าสู่ภาวะสายตายาว หรือสายตาคนแก่ ทำให้การมองเห็นระยะใกล้ลดลง หากไม่ได้สวมแว่นสายตาช่วย จะทำให้ต้องใช้กล้ามเนื้อตาเพ่งมองมากและนานกว่าปกติ จะทำให้กล้ามเนื้อตาเกิดอาการล้าและปวดเมื่อยตา ที่น่าห่วงหากคนกลุ่มนี้ใช้แท็บเล็ตหรือสมาร์ทโฟนที่มีขนาดหน้าจอและตัวหนังสือที่เล็กมาก จะต้องเพ่งมองในระยะใกล้ๆ ทำให้กล้ามเนื้อภายในและภายนอกลูกตาต้องหดตัวเพื่อปรับระยะโฟกัสและมุมตามามองใกล้ ดังนั้น จึงแนะนำให้เลือกใช้อุปกรณ์ที่มีขนาดตัวหนังสือ หรือขนาดหน้าจอใหญ่ หรือชนิดที่ขยายตัวอักษรได้ และการปรับสีพื้นหน้าจอ ตัวอักษรควรเป็นสีที่มองแล้วสบายตาที่สุด เช่น พื้นจอสีขาว ตัวอักษรสีดำ เป็นต้น ไม่ควรใช้สีเข้ม เพื่อที่จะไม่ต้องใช้สายตาเพ่งมากเกินไป และแนะนำให้ตรวจเช็คสายตาทุก 1 ปี เพื่อเปลี่ยนเลนส์ของแว่นให้เหมาะสมกับสภาพของสายตา