บิ๊ก 5 องค์กรสุขภาพ “ศิริราช-สธ.-สปสช.-สรพ.-สสส.” ร่วมลงนามสนับสนุนการทำ R2R ให้แก่หน่วยงานต่างๆ ในระบบสุขภาพ ชี้เป็นการพัฒนาคน พัฒนางาน พัฒนาองค์กร ด้วยการใช้งานวิจัยแก้ปัญหาจากการทำงานประจำ ระบุช่วยให้ระบบสุขภาพประเทศไทยดีขึ้น ลดภาระค่าใช้จ่ายลงได้
วันนี้ (18 ก.พ.) ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวในพิธีลงนามความร่วมมือทางวิชาการเพื่อดำเนินงานสนับสนุนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (R2R) ระดับประเทศระหว่างคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) (สรพ.) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ว่า การทำวิจัย Routine to Research หรือ R2R จัดเป็นเครื่องมือพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย โดยหลักของ R2R คือ การตั้งคำถามจากปัญหาที่เกิดขึ้นจากงานประจำ แล้วแก้ให้ดีขึ้นด้วยการพัฒนาผลการวิจัยที่ได้ ถ้ามีระบบการบริหารจัดการที่ดีจะสามารถนำผลนั้นไปพัฒนาองค์กรให้ดีขึ้นได้ และเป็นการปลูกฝังวัฒนธรรมการเรียนรู้ให้แก่บุคลากร
“R2R ช่วยให้ความจำเจของงานประจำหายไป กลายเป็นความท้าทาย เป็นความสนุกที่ได้คิดค้นวิธีการสร้างความรู้เล็กๆ แต่เป็นความรู้ใหม่ๆ ขึ้นมาทำประโยชน์ และเกิดความภาคภูมิใจในสิ่งที่ตนเองทำ เป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน ที่สำคัญคือต้องทำเป็นทีม ช่วยให้เกิดความสามัคคี การลงนามในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบสุขภาพทุกระดับ ทั้งงานบริการ การรักษาพยาบาล และการสร้างเสริมสุขภาพของระบบสาธารณสุขไทย” ศ.นพ.วิจารณ์ กล่าว
ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล กล่าวว่า ศิริราชเริ่มทำ R2R มาตั้งแต่ปี 2547 โดยสนับสนุนบุคลากรให้นำ R2R มาใช้พัฒนางานประจำของตน โดยได้รับคำปรึกษาด้านการบริหารจัดการจากมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) จนปี 2551 ได้มีการทำบันทึกความร่วมมือทางวิชาการระหว่างคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล สธ. สปสช. และสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) เผยแพร่แนวคิด R2R จนเกิดกิจกรรมและเครือข่าย R2R ทั่วประเทศ
“การทำ R2R ช่วยให้บุคลากรศิริราชเกิดการพัฒนา ผ่านการสร้างงานวิจัยเพื่อปรับปรุงงานประจำให้ดีขึ้น ให้คุณภาพด้านการรักษา การบริการ จนประสบความสำเร็จ ผู้ป่วยได้รับการบริการที่ดีขึ้น ปลอดภัยมากขึ้น และค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลลดลง ความพึงพอใจสุงขึ้น นอกจากนี้ ยังเป็นการช่วยขับเคลื่อนพัฒนาองค์กร โดยผู้บริหารไม่จำเป็นต้องสั่งการ ซึ่งความสำเร็จนี้เป็นที่สนใจของต่างประเทศจนต้องมาศึกษาดูงาน เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย และลาว เป็นต้น ปัจจุบันศิริราชได้สนับสนุนด้านวิชาการในรูปแบบฐานข้อมูลเว็บไซต์ จดหมายข่าว กิจกรรมต่างๆ และพร้อมเป็นแกนนำในการสนับสนุนแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างเครือข่าย R2R ทั่วประเทศ” ศ.คลินิก นพ.อุดม กล่าว
นพ.อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล ผอ.สรพ.กล่าวว่า R2R เป็นเหมือนแว่นขยายในการมองปัญหาและช่วยหาทางแก้ปัญหาที่ชัดเจนขึ้น รวมถึงเป็นการพัฒนาคนและพัฒนางาน ตรงกับเป้าหมายของ สรพ.ที่ต้องพัฒนางานเพื่อผู้ป่วย ซึ่งปัจจุบัน สรพ.กำหนดให้ทุกองค์กรต้องมีผลงานวิจัย R2R เป็นหนึ่งในเกณฑ์รับรองคุณภาพสถานพยาบาลในระดับสูงขึ้น
ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้จัดการ สสส.กล่าวว่า สสส.เพิ่งเข้าร่วมสนับสนุนขับเคลื่อนงาน R2R เพราะเห็นความสำคัญในการพัฒนาคน ซึ่ง สสส.ให้ความสำคัญมาตลอด เพราะปัจจุบันปัญหาสุขภาพส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรม โรงพยาบาลต้องเน้นบทบาทการส่งเสริมป้องกันมากขึ้นจึงต้องนำ R2R มาใช้คิดทำงานเชิงรุกมากกว่าเชิงรับ ดังนั้น สสส.จึงอยากสนับสนุนให้คนทำงานสุขภาพทั้งในระบบคือ บุคลากรทางการแพทย์ สหสาขาวิชาชีพ และนอกระบบ เช่น เครือข่ายภาคประชาชน ได้มีเครื่องมือช่วยยกระดับการทำงานไปถ่ายทอดให้แก่ผู้อื่น โดย สสส.จะสนับสนุนให้ภาคีเครือข่าย สสส.ที่มีมากกว่า 10,000 องค์กร พัฒนางาน R2R ในประเด็นปัจจัยเสี่ยง ทั้งยาสูบ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อุบัติเหตุ และการป้องกันโรคไม่ติดต่อไปปรับใช้อย่างเป็นรูปธรรม โดยตั้งเป้า 2 ปี ต้องได้อย่างน้อย 10 ประเด็น และเกิดนักสร้างเสริมกระบวนการ R2R 100 คน
นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการ สปสช.กล่าวว่า นโยบายสุขภาพของไทยคือรัฐบาลแบกรับภาระค่าใช้จ่าย กลไกเช่นนี้ระบบต้องมีประสิทธิภาพ ซึ่ง R2R สามารถทำให้หน่วยบริการมีประสิทธิภาพได้ ซึ่ง สปสช.จะสนับสนุนให้หน่วยบริการในเขตทั้ง 13 เขตของ สปสช. และ กทม.ได้จัดแสดงผลงาน เป็นการกระตุ้นให้เกิดการตั้งโจทย์การทำงานที่ดีขึ้น การเก็บข้อมูลที่เป็นหลักวิทยาศาสตร์ รวมถึงใช้เครือข่ายที่มีอยู่ทั้งหมดอย่างกองทุนสุขภาพตำบลที่มีอยู่กว่า 7,850 แห่ง ดำเนินการตามกรอบ R2R ทำสะสมไปเรื่อยๆ ก็จะช่วยให้ระบบสุขภาพของประเทศดีขึ้น ประหยัดค่าใช้จ่ายที่ระบบต้องแบกรับได้
นพ.กำจัด รามกุล หัวหน้าสำนักวิชาการสาธารณสุข สธ.กล่าวว่า สธ.เห็นความสำคัญของ R2R ในการพัฒนาบุคลากร และระบบบริหารการจัดการโดยเฉพาะการปฏิรูป สธ.โดยมีสำนักวิชาการฯ ควบคุมกำกับและสนับสนุนด้านวิชาการแนะนวัตกรรมด้านสุขภาพให้ร่วมผลักดันและส่งเสริมภาคีเครือข่ายใช้ R2R ให้เกิดนวัตกรรมการบริหารจัดการด้านการวิจัยและพัฒนาเพื่อนำประโยชน์ด้านวิชาการมาใช้เป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการปฏิรูป สธ.
รศ.นพ.เชิดชัย นพมณีจำรัสเลิศ หัวหน้าทีมที่ปรึกษาโครงการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย กล่าวว่า เครือข่าย R2R ก่อให้เกิดผลงานทั่วประเทศ เช่น โครงการ Fast Track การก่อตั้งเครือข่ายดูแลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันภาคเหนือตอนบน ม.เชียงใหม่ โครงการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพการใช้ยาขยายรูม่านตาผู้ป่วย รพ.ศิริราช การวิจัยบำบัดน้ำเสีย รพ.หาดใหญ่ เป็นต้น การลงนามครั้งนี้จะช่วยสนับสนุนทางด้านวิชาการ บริหารจัดการ นโยบาย และงบประมาณในการดำเนินการการทำ R2R ให้แก่หน่วยงานต่างๆ ในระบบสุขภาพ
วันนี้ (18 ก.พ.) ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวในพิธีลงนามความร่วมมือทางวิชาการเพื่อดำเนินงานสนับสนุนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (R2R) ระดับประเทศระหว่างคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) (สรพ.) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ว่า การทำวิจัย Routine to Research หรือ R2R จัดเป็นเครื่องมือพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย โดยหลักของ R2R คือ การตั้งคำถามจากปัญหาที่เกิดขึ้นจากงานประจำ แล้วแก้ให้ดีขึ้นด้วยการพัฒนาผลการวิจัยที่ได้ ถ้ามีระบบการบริหารจัดการที่ดีจะสามารถนำผลนั้นไปพัฒนาองค์กรให้ดีขึ้นได้ และเป็นการปลูกฝังวัฒนธรรมการเรียนรู้ให้แก่บุคลากร
“R2R ช่วยให้ความจำเจของงานประจำหายไป กลายเป็นความท้าทาย เป็นความสนุกที่ได้คิดค้นวิธีการสร้างความรู้เล็กๆ แต่เป็นความรู้ใหม่ๆ ขึ้นมาทำประโยชน์ และเกิดความภาคภูมิใจในสิ่งที่ตนเองทำ เป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน ที่สำคัญคือต้องทำเป็นทีม ช่วยให้เกิดความสามัคคี การลงนามในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบสุขภาพทุกระดับ ทั้งงานบริการ การรักษาพยาบาล และการสร้างเสริมสุขภาพของระบบสาธารณสุขไทย” ศ.นพ.วิจารณ์ กล่าว
ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล กล่าวว่า ศิริราชเริ่มทำ R2R มาตั้งแต่ปี 2547 โดยสนับสนุนบุคลากรให้นำ R2R มาใช้พัฒนางานประจำของตน โดยได้รับคำปรึกษาด้านการบริหารจัดการจากมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) จนปี 2551 ได้มีการทำบันทึกความร่วมมือทางวิชาการระหว่างคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล สธ. สปสช. และสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) เผยแพร่แนวคิด R2R จนเกิดกิจกรรมและเครือข่าย R2R ทั่วประเทศ
“การทำ R2R ช่วยให้บุคลากรศิริราชเกิดการพัฒนา ผ่านการสร้างงานวิจัยเพื่อปรับปรุงงานประจำให้ดีขึ้น ให้คุณภาพด้านการรักษา การบริการ จนประสบความสำเร็จ ผู้ป่วยได้รับการบริการที่ดีขึ้น ปลอดภัยมากขึ้น และค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลลดลง ความพึงพอใจสุงขึ้น นอกจากนี้ ยังเป็นการช่วยขับเคลื่อนพัฒนาองค์กร โดยผู้บริหารไม่จำเป็นต้องสั่งการ ซึ่งความสำเร็จนี้เป็นที่สนใจของต่างประเทศจนต้องมาศึกษาดูงาน เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย และลาว เป็นต้น ปัจจุบันศิริราชได้สนับสนุนด้านวิชาการในรูปแบบฐานข้อมูลเว็บไซต์ จดหมายข่าว กิจกรรมต่างๆ และพร้อมเป็นแกนนำในการสนับสนุนแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างเครือข่าย R2R ทั่วประเทศ” ศ.คลินิก นพ.อุดม กล่าว
นพ.อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล ผอ.สรพ.กล่าวว่า R2R เป็นเหมือนแว่นขยายในการมองปัญหาและช่วยหาทางแก้ปัญหาที่ชัดเจนขึ้น รวมถึงเป็นการพัฒนาคนและพัฒนางาน ตรงกับเป้าหมายของ สรพ.ที่ต้องพัฒนางานเพื่อผู้ป่วย ซึ่งปัจจุบัน สรพ.กำหนดให้ทุกองค์กรต้องมีผลงานวิจัย R2R เป็นหนึ่งในเกณฑ์รับรองคุณภาพสถานพยาบาลในระดับสูงขึ้น
ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้จัดการ สสส.กล่าวว่า สสส.เพิ่งเข้าร่วมสนับสนุนขับเคลื่อนงาน R2R เพราะเห็นความสำคัญในการพัฒนาคน ซึ่ง สสส.ให้ความสำคัญมาตลอด เพราะปัจจุบันปัญหาสุขภาพส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรม โรงพยาบาลต้องเน้นบทบาทการส่งเสริมป้องกันมากขึ้นจึงต้องนำ R2R มาใช้คิดทำงานเชิงรุกมากกว่าเชิงรับ ดังนั้น สสส.จึงอยากสนับสนุนให้คนทำงานสุขภาพทั้งในระบบคือ บุคลากรทางการแพทย์ สหสาขาวิชาชีพ และนอกระบบ เช่น เครือข่ายภาคประชาชน ได้มีเครื่องมือช่วยยกระดับการทำงานไปถ่ายทอดให้แก่ผู้อื่น โดย สสส.จะสนับสนุนให้ภาคีเครือข่าย สสส.ที่มีมากกว่า 10,000 องค์กร พัฒนางาน R2R ในประเด็นปัจจัยเสี่ยง ทั้งยาสูบ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อุบัติเหตุ และการป้องกันโรคไม่ติดต่อไปปรับใช้อย่างเป็นรูปธรรม โดยตั้งเป้า 2 ปี ต้องได้อย่างน้อย 10 ประเด็น และเกิดนักสร้างเสริมกระบวนการ R2R 100 คน
นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการ สปสช.กล่าวว่า นโยบายสุขภาพของไทยคือรัฐบาลแบกรับภาระค่าใช้จ่าย กลไกเช่นนี้ระบบต้องมีประสิทธิภาพ ซึ่ง R2R สามารถทำให้หน่วยบริการมีประสิทธิภาพได้ ซึ่ง สปสช.จะสนับสนุนให้หน่วยบริการในเขตทั้ง 13 เขตของ สปสช. และ กทม.ได้จัดแสดงผลงาน เป็นการกระตุ้นให้เกิดการตั้งโจทย์การทำงานที่ดีขึ้น การเก็บข้อมูลที่เป็นหลักวิทยาศาสตร์ รวมถึงใช้เครือข่ายที่มีอยู่ทั้งหมดอย่างกองทุนสุขภาพตำบลที่มีอยู่กว่า 7,850 แห่ง ดำเนินการตามกรอบ R2R ทำสะสมไปเรื่อยๆ ก็จะช่วยให้ระบบสุขภาพของประเทศดีขึ้น ประหยัดค่าใช้จ่ายที่ระบบต้องแบกรับได้
นพ.กำจัด รามกุล หัวหน้าสำนักวิชาการสาธารณสุข สธ.กล่าวว่า สธ.เห็นความสำคัญของ R2R ในการพัฒนาบุคลากร และระบบบริหารการจัดการโดยเฉพาะการปฏิรูป สธ.โดยมีสำนักวิชาการฯ ควบคุมกำกับและสนับสนุนด้านวิชาการแนะนวัตกรรมด้านสุขภาพให้ร่วมผลักดันและส่งเสริมภาคีเครือข่ายใช้ R2R ให้เกิดนวัตกรรมการบริหารจัดการด้านการวิจัยและพัฒนาเพื่อนำประโยชน์ด้านวิชาการมาใช้เป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการปฏิรูป สธ.
รศ.นพ.เชิดชัย นพมณีจำรัสเลิศ หัวหน้าทีมที่ปรึกษาโครงการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย กล่าวว่า เครือข่าย R2R ก่อให้เกิดผลงานทั่วประเทศ เช่น โครงการ Fast Track การก่อตั้งเครือข่ายดูแลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันภาคเหนือตอนบน ม.เชียงใหม่ โครงการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพการใช้ยาขยายรูม่านตาผู้ป่วย รพ.ศิริราช การวิจัยบำบัดน้ำเสีย รพ.หาดใหญ่ เป็นต้น การลงนามครั้งนี้จะช่วยสนับสนุนทางด้านวิชาการ บริหารจัดการ นโยบาย และงบประมาณในการดำเนินการการทำ R2R ให้แก่หน่วยงานต่างๆ ในระบบสุขภาพ