กาชาดจี้หญิงท้องตรวจเลือดรู้ให้ลึกถึงระบบ Rh ระบุหากเป็น Rh- ร่างกายแม่มีโอกาสสร้างภูมิต้านทานเลือด Rh+ ของลูก และทำลายเม็ดเลือดแดงลูก จนเสี่ยงแท้ง-ตายในครรภ์ ซ้ำร้ายหากไม่ตาย เม็ดเลือดแดงที่ถูกทำลายจะกลายเป็นสารร้ายสีเหลือง เกาะสมองเด็กจนพิการ หรือคลอดออกมาแล้วตัวเหลืองต้องเข้าเครื่องฉายแสงทำลาย แนะฝากครรภ์ตรวจครรภ์เป็นประจำเพื่อป้องกัน
น.ส.ทัศนีย์ สกุลดำรงค์พานิช รองผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย กล่าวภายในงาน “รวมพล (ครอบครัว) หมู่โลหิตหายาก ประจำปี 2557” ตอน Rh- หัวใจฟิต สุขภาพเฟิร์ม เพิ่มโลหิต เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า นอกจากหมู่โลหิตระบบ A B O ซึ่งประกอบไปด้วยเลือดกรุ๊ป A B AB และ O แล้ว ยังมีอีกระบบคือ ระบบ Rh แบ่งเป็น Rh positive (Rh+) และ Rh negative (Rh-) ซึ่งคนที่มีเลือดเป็น Rh+ จะมีสารแอนติเจนดี (AntigenD) อยู่ที่ผิวเม็ดเลือด ส่วนคนที่มีเลือดเป็น Rh- จะไม่มีสารดังกล่าว ทำให้คนที่มีเลือดเป็น Rh- ไม่สามารถรับการถ่ายเลือดจากคนที่เป็น Rh+ ได้ เนื่องจากร่างกายจะสร้างภูมิต้านทาน (Antibody D) ขึ้นมา ทำให้รับการถ่ายเลือดได้จากคนที่เป็น Rh- ด้วยกันเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่คนไทย 99.7% จะเป็นหมู่โลหิต Rh+ มีเพียง 3 ใน 1,000 คนเท่านั้นหรือ 0.3% ที่เป็น Rh- ทำให้ Rh- เป็นหมู่โลหิตหายากของเมืองไทย
“การบริจาคโลหิตในปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีว่าแทบจะไม่เพียงพอต่อการนำไปใช้รักษาผู้ป่วย หมู่โลหิต Rh- ที่ยิ่งหาได้ยากจึงแทบไม่เพียงพอเลย ศูนย์บริการโลหิตฯ จึงจัดตั้งชมรมผู้บริจาคโลหิตหมู่พิเศษ (Rh negative club) ขึ้นเมื่อวันที่ 26 พ.ค. 2532 โดยถือว่าผู้บริจาคโลหิต Rh- ทุกคนเป็นสมาชิกของชมรม ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกแค่ประมาณ 5,000 คน จาก 10 จังหวัดเท่านั้น ซึ่งเราจะมีการตามกลุ่มคนเหล่านี้มาบริจาคเลือดเป็นประจำทุก 3 เดือน เป็นการกระตุ้นให้เกิดการบริจาคเลือดเพิ่มมากขึ้น และมีการจัดกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเรื่องหมู่โลหิตพิเศษนี้” รอง ผอ.ศูนย์บริการโลหิตฯ กล่าว
น.ส.ทัศนีย์ กล่าวอีกว่า เรื่องหนึ่งที่กลุ่ม Rh- ควรรู้ โดยเฉพาะผู้หญิงก็คือเรื่องการตั้งครรภ์ เพราะหากภรรยามีเลือด Rh- แล้วฝ่ายสามีมีเลือด Rh+ แบบ 100% ไม่มียีนแฝง แน่นอนว่าลูกในท้องจะมีหมู่เลือดเป็น Rh+ ตามพ่อ ซึ่งระหว่างการตั้งครรภ์ก็มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุจนเลือดของลูกไหลผ่านรกเข้าไปในร่างกายของแม่ได้ ทำให้ร่างกายของแม่สร้างภูมิต้านทานขึ้นมา ซึ่งภูมิต้านทานเหล่านี้จะเข้าไปทำลายเม็ดเลือดแดงของลูก จนเกิดเป็นสารสีเหลือง ซึ่งสารเหล่านี้โดยปกติร่างกายของแม่จะช่วยขับออกไปได้ แต่หากมีมากเกินไปสารสีเหลืองจะไปเกาะสมองของเด็ก ทำให้เด็กพิการได้ นอกจากนี้ ภูมิต้านทานแม่ยิ่งมีมากก็ยิ่งเกิดโอกาสแท้งลูกและตายในครรภ์ได้ การรักษามี 2 ทางคือ 1.ถ่ายเลือดให้ลูกในครรภ์ โดยให้เลือด Rh- แก่เด็ก และ 2.คลอดก่อนกำหนด อย่างไรก็ตาม เมื่อคลอดออกมา ไม่ว่าคลอดก่อนกำหนดหรือคลอดตามปกติ หากเด็กมีอาการตัวเหลือง ซึ่งเกิดจากสารสีเหลืองตกค้างในร่างกาย ต้องนำเข้าตู้ฉายแสงเพื่อกำจัดสารดังกล่าว เพราะร่างกายของเด็กยังไม่สามารถขับออกเองได้เหมือนอยู่ในท้องแม่
น.ส.ทัศนีย์ กล่าวด้วยว่า หากโชคดีระหว่างการตั้งครรภ์ไม่เกิดอุบัติเหตุให้เลือดของลูกเข้าไปในร่างกายของแม่ แต่ระหว่างคลอดรกต้องฉีกขาดแน่นอน ทำให้เลือดของลูกเข้าไปในร่างกายของแม่ และสร้างภูมิต้านทานขึ้น หากต้องการมีลูกคนที่สองจะต้องรีบให้ยาทำลายเม็ดเลือดแดงของลูกที่เข้าไปในร่างกายแม่ภายใน 3 วัน ก่อนที่จะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมา จึงจะสามารถมีลูกคนที่สองได้ แต่หากร่างกายแม่มีภูมิต้านทานขึ้นมาแล้ว ไม่แนะนำให้มีลูกอีก เพราะจะเป็นอันตรายต่อเด็กในท้อง อย่างไรก็ตาม สำหรับการให้ยาทำลายเม็ดเลือดแดงของลูกที่เข้าไปในร่างกายของแม่ ปัจจุบันสามารถให้ยาดังกล่าวได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 8 เดือน เพื่อป้องกันการสร้างภูมิต้านทานในร่างกายแม่ขึ้น ดังนั้น การฝากครรภ์ปัจจุบันจึงมีการบังคับให้ตรวจเลือดและภูมิต้านทาน เพื่อป้องกันการเกิดเหตุลักษณะดังกล่าว และหญิงตั้งครรภ์ควรไปฝากครรภ์และตรวจครรภ์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อสุขภาพและความปลอดภัยของแม่และเด็ก
น.ส.ทัศนีย์ สกุลดำรงค์พานิช รองผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย กล่าวภายในงาน “รวมพล (ครอบครัว) หมู่โลหิตหายาก ประจำปี 2557” ตอน Rh- หัวใจฟิต สุขภาพเฟิร์ม เพิ่มโลหิต เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า นอกจากหมู่โลหิตระบบ A B O ซึ่งประกอบไปด้วยเลือดกรุ๊ป A B AB และ O แล้ว ยังมีอีกระบบคือ ระบบ Rh แบ่งเป็น Rh positive (Rh+) และ Rh negative (Rh-) ซึ่งคนที่มีเลือดเป็น Rh+ จะมีสารแอนติเจนดี (AntigenD) อยู่ที่ผิวเม็ดเลือด ส่วนคนที่มีเลือดเป็น Rh- จะไม่มีสารดังกล่าว ทำให้คนที่มีเลือดเป็น Rh- ไม่สามารถรับการถ่ายเลือดจากคนที่เป็น Rh+ ได้ เนื่องจากร่างกายจะสร้างภูมิต้านทาน (Antibody D) ขึ้นมา ทำให้รับการถ่ายเลือดได้จากคนที่เป็น Rh- ด้วยกันเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่คนไทย 99.7% จะเป็นหมู่โลหิต Rh+ มีเพียง 3 ใน 1,000 คนเท่านั้นหรือ 0.3% ที่เป็น Rh- ทำให้ Rh- เป็นหมู่โลหิตหายากของเมืองไทย
“การบริจาคโลหิตในปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีว่าแทบจะไม่เพียงพอต่อการนำไปใช้รักษาผู้ป่วย หมู่โลหิต Rh- ที่ยิ่งหาได้ยากจึงแทบไม่เพียงพอเลย ศูนย์บริการโลหิตฯ จึงจัดตั้งชมรมผู้บริจาคโลหิตหมู่พิเศษ (Rh negative club) ขึ้นเมื่อวันที่ 26 พ.ค. 2532 โดยถือว่าผู้บริจาคโลหิต Rh- ทุกคนเป็นสมาชิกของชมรม ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกแค่ประมาณ 5,000 คน จาก 10 จังหวัดเท่านั้น ซึ่งเราจะมีการตามกลุ่มคนเหล่านี้มาบริจาคเลือดเป็นประจำทุก 3 เดือน เป็นการกระตุ้นให้เกิดการบริจาคเลือดเพิ่มมากขึ้น และมีการจัดกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเรื่องหมู่โลหิตพิเศษนี้” รอง ผอ.ศูนย์บริการโลหิตฯ กล่าว
น.ส.ทัศนีย์ กล่าวอีกว่า เรื่องหนึ่งที่กลุ่ม Rh- ควรรู้ โดยเฉพาะผู้หญิงก็คือเรื่องการตั้งครรภ์ เพราะหากภรรยามีเลือด Rh- แล้วฝ่ายสามีมีเลือด Rh+ แบบ 100% ไม่มียีนแฝง แน่นอนว่าลูกในท้องจะมีหมู่เลือดเป็น Rh+ ตามพ่อ ซึ่งระหว่างการตั้งครรภ์ก็มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุจนเลือดของลูกไหลผ่านรกเข้าไปในร่างกายของแม่ได้ ทำให้ร่างกายของแม่สร้างภูมิต้านทานขึ้นมา ซึ่งภูมิต้านทานเหล่านี้จะเข้าไปทำลายเม็ดเลือดแดงของลูก จนเกิดเป็นสารสีเหลือง ซึ่งสารเหล่านี้โดยปกติร่างกายของแม่จะช่วยขับออกไปได้ แต่หากมีมากเกินไปสารสีเหลืองจะไปเกาะสมองของเด็ก ทำให้เด็กพิการได้ นอกจากนี้ ภูมิต้านทานแม่ยิ่งมีมากก็ยิ่งเกิดโอกาสแท้งลูกและตายในครรภ์ได้ การรักษามี 2 ทางคือ 1.ถ่ายเลือดให้ลูกในครรภ์ โดยให้เลือด Rh- แก่เด็ก และ 2.คลอดก่อนกำหนด อย่างไรก็ตาม เมื่อคลอดออกมา ไม่ว่าคลอดก่อนกำหนดหรือคลอดตามปกติ หากเด็กมีอาการตัวเหลือง ซึ่งเกิดจากสารสีเหลืองตกค้างในร่างกาย ต้องนำเข้าตู้ฉายแสงเพื่อกำจัดสารดังกล่าว เพราะร่างกายของเด็กยังไม่สามารถขับออกเองได้เหมือนอยู่ในท้องแม่
น.ส.ทัศนีย์ กล่าวด้วยว่า หากโชคดีระหว่างการตั้งครรภ์ไม่เกิดอุบัติเหตุให้เลือดของลูกเข้าไปในร่างกายของแม่ แต่ระหว่างคลอดรกต้องฉีกขาดแน่นอน ทำให้เลือดของลูกเข้าไปในร่างกายของแม่ และสร้างภูมิต้านทานขึ้น หากต้องการมีลูกคนที่สองจะต้องรีบให้ยาทำลายเม็ดเลือดแดงของลูกที่เข้าไปในร่างกายแม่ภายใน 3 วัน ก่อนที่จะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมา จึงจะสามารถมีลูกคนที่สองได้ แต่หากร่างกายแม่มีภูมิต้านทานขึ้นมาแล้ว ไม่แนะนำให้มีลูกอีก เพราะจะเป็นอันตรายต่อเด็กในท้อง อย่างไรก็ตาม สำหรับการให้ยาทำลายเม็ดเลือดแดงของลูกที่เข้าไปในร่างกายของแม่ ปัจจุบันสามารถให้ยาดังกล่าวได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 8 เดือน เพื่อป้องกันการสร้างภูมิต้านทานในร่างกายแม่ขึ้น ดังนั้น การฝากครรภ์ปัจจุบันจึงมีการบังคับให้ตรวจเลือดและภูมิต้านทาน เพื่อป้องกันการเกิดเหตุลักษณะดังกล่าว และหญิงตั้งครรภ์ควรไปฝากครรภ์และตรวจครรภ์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อสุขภาพและความปลอดภัยของแม่และเด็ก