“บุหรี่” บางคนแค่ได้ยินชื่อก็ถึงขั้นร้องยี้แล้ว เพราะอันตรายจากการสูบบุหรี่เรียกได้ว่ามีมากมายมหาศาล ทั้งมะเร็งปอด โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งล้วนแต่เป็นโรคเรื้อรังที่รอวันตายแบบผ่อนส่ง นอกจากนี้ ยังทำให้แก่ก่อนวัยผิวพรรณแลดูไม่น่ามองด้วย เช่น ริมฝีปากดำ เล็บเหลือง ฟันเป็นคราบ มีกลิ่นปาก กลิ่นตัว และถึงขั้นก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้เลยทีเดียว
ประเด็นสำคัญคือเมื่อเป็นโรคเรื้อรังอันเกิดจากการสูบบุหรี่แล้ว ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลนั้นล้วนตามมาอีกมากโข ดังนั้น การขจัดต้นตอด้วยการเลิกสูบบุหรี่ ดูเหมือนจะเป็นวิธีการที่ดีที่สุด ในเวลาที่ไม่สามารถกำจัดยาสูบทุกชนิดออกไปจากประเทศได้ ด้วยเพราะเหตุผลใดก็ตาม
แต่ปัญหาที่พบคือ การสูบบุหรี่เป็นเรื่องของพฤติกรรม การจะทำให้เยาวชนรุ่นใหม่ไม่สูบบุหรี่อาจจะพอรณรงค์ได้ แต่การจะให้คนสูบบุหรี่อยู่แล้ว และมีอาการเสพติดเลิกสูบคงเป็นไปได้ยาก เพราะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกันขนานใหญ่ และต้องใช้ความพยายามอย่างมากจึงจะเลิกได้สำเร็จ เพราะคนที่อยู่ในช่วงการเลิกสูบบุหรี่นั้นจะเจอกับปัญหาหลากหลาย เช่น หงุดหงิดง่าย ซึมเศร้า นอนไม่หลับ ซึ่งคนรอบข้างอาจไม่เข้าใจในอาการเหล่านี้ ทำให้คนตั้งใจสูบเกิดความเครียด พอเครียดแล้วไม่รู้จะหาทางไปลงตรงไหน ก็หันกลับไปสูบบุหรี่ใหม่ สุดท้ายก็เลิกไม่ได้เสียที ทั้งที่ตั้งใจอยากจะเลิก
ดังนั้น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ นอกจากเจ้าตัวจะต้องมีความตั้งใจแล้ว คนรอบข้างไม่ว่าจะเป็นครอบครัว เพื่อน คนในชุมชน ล้วนแต่มีความสำคัญในการเป็นกำลังใจให้ช่วยผ่านพ้นช่วงเวลาที่สำคัญนี้ไปได้ ซึ่งการจัดตั้งกองทุนสุขภาพตำบล สนับสนุนงบประมาณโดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อจัดดำเนินการโครงการแก้ปัญหาสุขภาพชุมชน ด้วยคนในชุมชนจึงเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่ช่วยให้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เป็นปัญหาประสบความสำเร็จได้
“จริงๆ แล้วการดำเนินการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค แพทย์แทบไม่มีความเกี่ยวข้อง แต่คนที่มีความสำคัญจริงๆ คือคนในชุมชนที่มีส่วนช่วยให้คนในชุมชนด้วยกันเองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เช่น ผู้นำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ครู พระ อสม.เป็นต้น เรียกว่าเป็นการทำงานแบบสหวิชาชีพร่วมกับคนในชุมชน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพจึงจะสำเร็จ โดยมีงบประมาณจาก สปสช.และ อบต.ลงไปช่วยสนับสนุนโครงการเหล่านี้” นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการ สปสช.กล่าวระหว่างลงพื้นที่ศึกษาดูการดำเนินการกิจกรรมกองทุนสุขภาพตำบล
โครงการหนึ่งที่เป็นต้นแบบได้อย่างชัดเจนก็คือ “โครงการ DEWAL สร้างความตระหนักลด ละ เลิกบุหรี่” ของเทศบาลตำบลริมปิง อ.เมือง จ.ลำพูน ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการที่ สปสช.และ อปท.สนับสนุนงบประมาณจนสามารถช่วยชาวบ้านลดละเลิกบุหรี่ได้สำเร็จ
ทั้งนี้ นายเอนก มหาเกียรติคุณ นายกเทศมนตรี ต.ริมปิง เล่าว่า ปัญหาสุขภาพที่สำคัญของตำบลคือเรื่องการสูบบุหรี่ จากการสำรวจเบื้องต้นพบว่า มีผู้สูบบุหรี่เป็นประจำและยาวนานกว่า 10 ปีขึ้นไปในตำบล 310 คน จากประชากรทั้งหมด 6-7 พันคน จึงจัดทำโครงการ DEWAL ขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดนักสูบหน้าใหม่ และจัดคลินิกอดบุหรี่ของ รพ.สต.ริมปิง เพื่อช่วยให้ผู้สูบบุหรี่อยู่สามารถเลิกได้ โดยมีนวัตกรรมสาธิตให้เห็นว่าการสูบบุหรี่มีผลอย่างไร โดย DE มาจากคำว่า Demonstration คือ การสาธิตให้เห็นผลที่เกิดจากพิษภัยของควันบุหรี่ WA มาจาก Water คือน้ำ ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการสาธิตนวัตกรรม DEWAL ให้เห็นถึงลักษณะการสูบบุหรี่และละกษณะสีของสารที่เข้าไปในปอด และ L มาจาก Lung คือปอด ที่เปรียบเทียบให้เห็นว่าเนื้อเยื่อปอดของคนที่สูบบุหรี่เป็นอย่างไร
นวัตกรรมที่ว่านั้น นายเอนก บอกว่า นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ที่มาฝึกงานเป็นผู้ร่วมกันคิดค้นเมื่อปี 2556 โดย 1.ใช้ถังน้ำขนาด 6 ลิตร 1 ถังเจาะรูที่ก้นถังจากนั้นปิดรูด้วยดินน้ำมัน 2.เปิดฝาขวดเทน้ำใส่ถังประมาณ 2 ลิตร/มวน 3.ปิดฝาถังแล้วนำบุหรี่ไปเสียบที่รูฝาถังน้ำอุดรวบๆ ด้วยดินน้ำมัน 4.จุดบุหรี่พร้อมดึงจุกดินน้ำมันก้นถังน้ำออก 5.ปล่อยน้ำไหลออกจนหมด ให้ภายในถังเหลือแค่ควันบุหรี่ 6.ใช้ที่สูบลมลูกโป่งเสียบที่ก้นถัง 7.เปิดฝาถังแล้วใช้กระดาษทิชชูปิดแทนฝาถังน้ำ 8.สูบลมไล่ควันบุหรี่ให้ออกทางปากถัง จนควันที่อยู่ในถังน้ำออกหมอ 9.นำกระดาษทิชชูออกจากปากถังแล้วสังเกตกระดาษของทิชชู
นายเอนก เล่าว่า ผลที่ได้คือสีกระดาษของทิชชูเปลี่ยนไปกลายเป็นสีน้ำตาล นวัตกรรมนี้เป็นการจำลองให้ชาวบ้านในโครงการ DEWAL ที่ตั้งใจต้องการเลิกบุหรี่เห็นถึงพิษภัยของบุหรี่ได้ชัดเจนขึ้น ก็เกิดความกลัวว่าสภาพปอดก็คงไม่ดีไปกว่ากันเท่าไร จึงมีความตั้งใจที่จะเลิกสูบบุหรี่มากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีการอบรม อสม.เพื่อช่วยให้กำลังใจแก่ผู้สูบบุหรี่ให้มีกำลังใจเลิกสูบด้วย พร้อมให้ความรู้ความเข้าใจแก่ครอบครัวของผู้เข้าร่วมโครงการว่าการเลิกสูบบุหรี่จะเกิดผลกระทบอย่างไรต่อผู้สูบบ้าง เช่น เกิดความเครียด หงุดหงิด เป็นต้น ควรจะมีการรับมืออย่างไร และให้กำลังใจอย่างไร ซึ่งจากการดำเนินการภายในระยะเวลา 6 เดือน พบว่ามีผู้สามารถเลิกบุหรี่ได้อย่างเด็ดขาด 23 คน จนทำให้ได้รับรางวัลศูนย์เรียนรู้กองทุนตำบลระดับอำเภอด้วย
นายมิตร สิงห์โตวะนา กำนันตำบลริมปิง กล่าวว่า ตนเข้าร่วมโครงการดังกล่าว เพราะลูกๆ ทั้ง 3 คนของตนอยากให้เลิกสูบบุหรี่ ยอมรับว่านวัตกรรม DEWAL มีผลส่วนหนึ่งที่ทำให้คิดอยากเลิกสูบบุหรี่ แต่ส่วนสำคัญจริงๆ ที่ช่วยให้เลิกสูบบุหรี่ได้คือ กำลังใจจากครอบครัว อย่างหลายปีก่อนตนก็เคยเลิกบุหรี่ แต่มักจะเกิดอารมณ์หงุดหงิดจากการงดสูบ ซึ่งครอบครัวไม่เข้าใจสุดท้ายก็ทะเลาะและกลับไปสูบบุหรี่อีก แต่ครั้งนี้เมื่อมีการอบรมและทำความเข้าใจ ครอบครัวก็ร่วมให้กำลังใจจนสามารถเลิกสูบบุหรี่ได้ในที่สุด ซึ่งหลังจากเริ่มสูบบุหรี่ได้พบว่า ช่วยให้ตนรับประทานอาหารได้มากขึ้น และครอบครัวใกล้ชิดกันมากขึ้นกว่าเดิม เพราะสมัยตอนตนสูบบุหรี่มักจะมีกลิ่นตัวเหม็น ทั้งยังติดตามเสื้อผ้า ทำให้ภรรยาและลูกๆ มักไม่ค่อยเข้าหา
เรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรมที่ชาวบ้านช่วยกันคิด ช่วยกันทำ โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก สปสช.และ อปท.ให้สามารถดำเนินโครงการได้จนประสบความสำเร็จ สามารถเปลี่ยนปัญหาพฤติกรรมสุขภาพได้ และชาวบ้านในตำบลมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ประเด็นสำคัญคือเมื่อเป็นโรคเรื้อรังอันเกิดจากการสูบบุหรี่แล้ว ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลนั้นล้วนตามมาอีกมากโข ดังนั้น การขจัดต้นตอด้วยการเลิกสูบบุหรี่ ดูเหมือนจะเป็นวิธีการที่ดีที่สุด ในเวลาที่ไม่สามารถกำจัดยาสูบทุกชนิดออกไปจากประเทศได้ ด้วยเพราะเหตุผลใดก็ตาม
แต่ปัญหาที่พบคือ การสูบบุหรี่เป็นเรื่องของพฤติกรรม การจะทำให้เยาวชนรุ่นใหม่ไม่สูบบุหรี่อาจจะพอรณรงค์ได้ แต่การจะให้คนสูบบุหรี่อยู่แล้ว และมีอาการเสพติดเลิกสูบคงเป็นไปได้ยาก เพราะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกันขนานใหญ่ และต้องใช้ความพยายามอย่างมากจึงจะเลิกได้สำเร็จ เพราะคนที่อยู่ในช่วงการเลิกสูบบุหรี่นั้นจะเจอกับปัญหาหลากหลาย เช่น หงุดหงิดง่าย ซึมเศร้า นอนไม่หลับ ซึ่งคนรอบข้างอาจไม่เข้าใจในอาการเหล่านี้ ทำให้คนตั้งใจสูบเกิดความเครียด พอเครียดแล้วไม่รู้จะหาทางไปลงตรงไหน ก็หันกลับไปสูบบุหรี่ใหม่ สุดท้ายก็เลิกไม่ได้เสียที ทั้งที่ตั้งใจอยากจะเลิก
ดังนั้น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ นอกจากเจ้าตัวจะต้องมีความตั้งใจแล้ว คนรอบข้างไม่ว่าจะเป็นครอบครัว เพื่อน คนในชุมชน ล้วนแต่มีความสำคัญในการเป็นกำลังใจให้ช่วยผ่านพ้นช่วงเวลาที่สำคัญนี้ไปได้ ซึ่งการจัดตั้งกองทุนสุขภาพตำบล สนับสนุนงบประมาณโดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อจัดดำเนินการโครงการแก้ปัญหาสุขภาพชุมชน ด้วยคนในชุมชนจึงเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่ช่วยให้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เป็นปัญหาประสบความสำเร็จได้
“จริงๆ แล้วการดำเนินการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค แพทย์แทบไม่มีความเกี่ยวข้อง แต่คนที่มีความสำคัญจริงๆ คือคนในชุมชนที่มีส่วนช่วยให้คนในชุมชนด้วยกันเองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เช่น ผู้นำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ครู พระ อสม.เป็นต้น เรียกว่าเป็นการทำงานแบบสหวิชาชีพร่วมกับคนในชุมชน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพจึงจะสำเร็จ โดยมีงบประมาณจาก สปสช.และ อบต.ลงไปช่วยสนับสนุนโครงการเหล่านี้” นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการ สปสช.กล่าวระหว่างลงพื้นที่ศึกษาดูการดำเนินการกิจกรรมกองทุนสุขภาพตำบล
โครงการหนึ่งที่เป็นต้นแบบได้อย่างชัดเจนก็คือ “โครงการ DEWAL สร้างความตระหนักลด ละ เลิกบุหรี่” ของเทศบาลตำบลริมปิง อ.เมือง จ.ลำพูน ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการที่ สปสช.และ อปท.สนับสนุนงบประมาณจนสามารถช่วยชาวบ้านลดละเลิกบุหรี่ได้สำเร็จ
ทั้งนี้ นายเอนก มหาเกียรติคุณ นายกเทศมนตรี ต.ริมปิง เล่าว่า ปัญหาสุขภาพที่สำคัญของตำบลคือเรื่องการสูบบุหรี่ จากการสำรวจเบื้องต้นพบว่า มีผู้สูบบุหรี่เป็นประจำและยาวนานกว่า 10 ปีขึ้นไปในตำบล 310 คน จากประชากรทั้งหมด 6-7 พันคน จึงจัดทำโครงการ DEWAL ขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดนักสูบหน้าใหม่ และจัดคลินิกอดบุหรี่ของ รพ.สต.ริมปิง เพื่อช่วยให้ผู้สูบบุหรี่อยู่สามารถเลิกได้ โดยมีนวัตกรรมสาธิตให้เห็นว่าการสูบบุหรี่มีผลอย่างไร โดย DE มาจากคำว่า Demonstration คือ การสาธิตให้เห็นผลที่เกิดจากพิษภัยของควันบุหรี่ WA มาจาก Water คือน้ำ ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการสาธิตนวัตกรรม DEWAL ให้เห็นถึงลักษณะการสูบบุหรี่และละกษณะสีของสารที่เข้าไปในปอด และ L มาจาก Lung คือปอด ที่เปรียบเทียบให้เห็นว่าเนื้อเยื่อปอดของคนที่สูบบุหรี่เป็นอย่างไร
นวัตกรรมที่ว่านั้น นายเอนก บอกว่า นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ที่มาฝึกงานเป็นผู้ร่วมกันคิดค้นเมื่อปี 2556 โดย 1.ใช้ถังน้ำขนาด 6 ลิตร 1 ถังเจาะรูที่ก้นถังจากนั้นปิดรูด้วยดินน้ำมัน 2.เปิดฝาขวดเทน้ำใส่ถังประมาณ 2 ลิตร/มวน 3.ปิดฝาถังแล้วนำบุหรี่ไปเสียบที่รูฝาถังน้ำอุดรวบๆ ด้วยดินน้ำมัน 4.จุดบุหรี่พร้อมดึงจุกดินน้ำมันก้นถังน้ำออก 5.ปล่อยน้ำไหลออกจนหมด ให้ภายในถังเหลือแค่ควันบุหรี่ 6.ใช้ที่สูบลมลูกโป่งเสียบที่ก้นถัง 7.เปิดฝาถังแล้วใช้กระดาษทิชชูปิดแทนฝาถังน้ำ 8.สูบลมไล่ควันบุหรี่ให้ออกทางปากถัง จนควันที่อยู่ในถังน้ำออกหมอ 9.นำกระดาษทิชชูออกจากปากถังแล้วสังเกตกระดาษของทิชชู
นายเอนก เล่าว่า ผลที่ได้คือสีกระดาษของทิชชูเปลี่ยนไปกลายเป็นสีน้ำตาล นวัตกรรมนี้เป็นการจำลองให้ชาวบ้านในโครงการ DEWAL ที่ตั้งใจต้องการเลิกบุหรี่เห็นถึงพิษภัยของบุหรี่ได้ชัดเจนขึ้น ก็เกิดความกลัวว่าสภาพปอดก็คงไม่ดีไปกว่ากันเท่าไร จึงมีความตั้งใจที่จะเลิกสูบบุหรี่มากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีการอบรม อสม.เพื่อช่วยให้กำลังใจแก่ผู้สูบบุหรี่ให้มีกำลังใจเลิกสูบด้วย พร้อมให้ความรู้ความเข้าใจแก่ครอบครัวของผู้เข้าร่วมโครงการว่าการเลิกสูบบุหรี่จะเกิดผลกระทบอย่างไรต่อผู้สูบบ้าง เช่น เกิดความเครียด หงุดหงิด เป็นต้น ควรจะมีการรับมืออย่างไร และให้กำลังใจอย่างไร ซึ่งจากการดำเนินการภายในระยะเวลา 6 เดือน พบว่ามีผู้สามารถเลิกบุหรี่ได้อย่างเด็ดขาด 23 คน จนทำให้ได้รับรางวัลศูนย์เรียนรู้กองทุนตำบลระดับอำเภอด้วย
นายมิตร สิงห์โตวะนา กำนันตำบลริมปิง กล่าวว่า ตนเข้าร่วมโครงการดังกล่าว เพราะลูกๆ ทั้ง 3 คนของตนอยากให้เลิกสูบบุหรี่ ยอมรับว่านวัตกรรม DEWAL มีผลส่วนหนึ่งที่ทำให้คิดอยากเลิกสูบบุหรี่ แต่ส่วนสำคัญจริงๆ ที่ช่วยให้เลิกสูบบุหรี่ได้คือ กำลังใจจากครอบครัว อย่างหลายปีก่อนตนก็เคยเลิกบุหรี่ แต่มักจะเกิดอารมณ์หงุดหงิดจากการงดสูบ ซึ่งครอบครัวไม่เข้าใจสุดท้ายก็ทะเลาะและกลับไปสูบบุหรี่อีก แต่ครั้งนี้เมื่อมีการอบรมและทำความเข้าใจ ครอบครัวก็ร่วมให้กำลังใจจนสามารถเลิกสูบบุหรี่ได้ในที่สุด ซึ่งหลังจากเริ่มสูบบุหรี่ได้พบว่า ช่วยให้ตนรับประทานอาหารได้มากขึ้น และครอบครัวใกล้ชิดกันมากขึ้นกว่าเดิม เพราะสมัยตอนตนสูบบุหรี่มักจะมีกลิ่นตัวเหม็น ทั้งยังติดตามเสื้อผ้า ทำให้ภรรยาและลูกๆ มักไม่ค่อยเข้าหา
เรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรมที่ชาวบ้านช่วยกันคิด ช่วยกันทำ โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก สปสช.และ อปท.ให้สามารถดำเนินโครงการได้จนประสบความสำเร็จ สามารถเปลี่ยนปัญหาพฤติกรรมสุขภาพได้ และชาวบ้านในตำบลมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น