สปสช.หนุนงบสุขภาพตำบลริมปิง ชูโครงการ “DEWAL” ช่วยคนเลิกสูบบุหรี่ได้จริงในเวลา 6 เดือน ระบุเลิกสำเร็จได้ถึง 23 คน ชี้คนในครอบครัวและชุมชนมีส่วนสำคัญในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เผยใช้นวัตกรรมจำลองพิษภัยควันบุหรี่อย่างง่าย จนชาวบ้านขยายสูบบุหรี่
วันนี้ (11 ก.พ.) ที่สวนไม้ไทย ต.ริมปิง อ.เมือง จ.ลำพูน นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวภายหลังลงพื้นที่ดูการดำเนินการกิจกรรมกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นหรือกองทุนสุขภาพตำบลของเทศบาล ต.ริมปิง อ.เมือง จ.ลำพูน ว่า สปสช.ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดตั้งกองทุนสุขภาพตำบล ซึ่งปัจจุบันเกือบครอบคลุมทุกพื้นที่ประเทศไทยแล้วคือ 7,751 แห่ง หรือร้อยละ 99.68 ครอบคลุมประชากรจำนวน 56.66 ล้านคน โดยบอร์ด สปสช.จัดสรรงบประมาณเพิ่มจาก 40 บาทต่อประชากรในปี 2556 เป็น 45 บาทต่อประชากร ในปี 2557 หรือสนับสนุนงบประมาณ 2,562 ล้านบาท และ อบต.สมทบอีก 300 ล้านบาท เพื่อดำเนินงานด้านการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคและฟื้นฟูสมรรถภาพของประชาชน ทั้งนี้ ต.ริมปิง มีงบประมาณดำเนินกิจกรรมต่างๆ ปีละประมาณ 6 แสนบาท ซึ่งถือเป็นเรื่องที่น่าชื่นชมเนื่องจากมีกิจกรรมที่หลากหลาย และผลงานที่เห็นได้ชัดเจนคือสามารถลดการสูบบุหรี่ของคนในชุมชนลงได้หรือโครงการ DEWAL สร้างความตระหนักลด ละ เลิกบุหรี่
"จริงๆ แล้วการดำเนินการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค แพทย์แทบไม่มีความเกี่ยวข้อง แต่คนที่มีความสำคัญจริงๆ คือคนในชุมชนที่มีส่วนช่วยให้คนในชุมชนด้วยกันเองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เช่น ผู้นำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ครู พระ อสม.เป็นต้น เรียกว่าเป็นการทำงานแบบสหวิชาชีพร่วมกับคนในชุมชน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพจึงจะสำเร็จ โดยมีงบประมาณจาก สปสช.และ อบต.ลงไปช่วยสนับสนุนโครงการเหล่านี้” เลขาธิการ สปสช.กล่าว
นายเอนก มหาเกียรติคุณ นายกเทศมนตรี ต.ริมปิง กล่าวว่า ปัญหาสุขภาพที่สำคัญของตำบลก็คือเรื่องการสูบบุหรี่ โดยจากการสำรวจเบื้องต้นอย่างเร่งด่วนพบว่า มีผู้สูบบุหรี่เป็นประจำและยาวนานกว่า 10 ปีขึ้นไปในตำบล 310 คน จากประชากรทั้งหมด 6-7 พันคน จึงได้จัดทำโครงการ DEWAL ขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดนักสูบหน้าใหม่ และจัดคลินิกอดบุหรี่ของ รพ.สต.ริมปิง เพื่อช่วยให้ผู้สูบบุหรี่อยู่สามารถเลิกได้ โดยมีนวัตกรรมสาธิตให้เห็นว่าการสูบบุหรี่มีผลอย่างไร โดยจุดบุหรี่บนรูฝาถังน้ำ จากนั้นนำดินน้ำมันซึ่งอุดใต้ถังน้ำออก เมื่อน้ำไหลออกจะเหลือแต่ควันบุหรี่ภายในถัง จากนั้นทิชชูปิดถังน้ำแทนฝาถังแล้วใช้ที่สูบลมสูบไล่ควันบุหรี่ จะพบว่ากระดาษทิชชูเปลี่ยนสี เป็นการแสดงให้เห็นว่า ถังน้ำหรือปอดของเราต้องกักเก็บควันไว้มากเท่าไร และทำให้กระดาษทิชชูมีสภาพอย่างไร ก็จะทำให้ประชาชนเข้าใจถึงพิษภัยของบุหรี่ได้ชัดเจนขึ้น
นายเอนก กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ยังมีการอบรม อสม.เพื่อช่วยให้กำลังใจแก่ผู้สูบบุหรี่ให้มีกำลังใจเลิกสูบด้วย พร้อมให้ความรู้ความเข้าใจแก่ครอบครัวของผู้เข้าร่วมโครงการว่าการเลิกสูบบุหรี่จะเกิดผลกระทบอย่างไรต่อผู้สูบบ้าง เช่น เกิดความเครียด หงุดหงิด เป็นต้น ควรจะมีการรับมืออย่างไร และให้กำลังใจอย่างไร ซึ่งจากการดำเนินการภายในระยะเวลา 6 เดือน พบว่ามีผู้สามารถเลิกบุหรี่ได้อย่างเด็ดขาด 23 คน จนทำให้ได้รับรางวัลศูนย์เรียนรู้กองทุนตำบลระดับอำเภอด้วย
นายมิตร สิงห์โตวะนา กำนันตำบลริมปิง กล่าวว่า ตนเข้าร่วมโครงการดังกล่าว เพราะลูกๆ ทั้ง 3 คนของตนอยากให้เลิกสูบบุหรี่ ยอมรับว่านวัตกรรม DEWAL มีผลส่วนหนึ่งที่ทำให้คิดอยากเลิกสูบบุหรี่ แต่ส่วนสำคัญจริงๆ ที่ช่วยให้เลิกสูบบุหรี่ได้คือ กำลังใจจากครอบครัว อย่างหลายปีก่อนตนก็เคยเลิกบุหรี่ แต่มักจะเกิดอารมณ์หงุดหงิดจากการงดสูบ ซึ่งครอบครัวไม่เข้าใจสุดท้ายก็ทะเลาะและกลับไปสูบบุหรี่อีก แต่ครั้งนี้เมื่อมีการอบรมและมทำความเข้าใจ ครอบครัวก็ร่วมให้กำลังใจจนสามารถเลิกสูบบุหรี่ได้ในที่สุด ซึ่งหลังจากเริ่มสูบบุหรี่ได้พบว่า ช่วยให้ตนรับประทานอาหารได้มากขึ้น และครอบครัวใกล้ชิดกันมากขึ้นกว่าเดิม เพราะสมัยตอนตนสูบบุหรี่มักจะมีกลิ่นตัวเหม็น ทั้งยังติดตามเสื้อผ้า ทำให้ภรรยาและลูกๆ มักไม่ค่อยเข้าหา
วันนี้ (11 ก.พ.) ที่สวนไม้ไทย ต.ริมปิง อ.เมือง จ.ลำพูน นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวภายหลังลงพื้นที่ดูการดำเนินการกิจกรรมกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นหรือกองทุนสุขภาพตำบลของเทศบาล ต.ริมปิง อ.เมือง จ.ลำพูน ว่า สปสช.ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดตั้งกองทุนสุขภาพตำบล ซึ่งปัจจุบันเกือบครอบคลุมทุกพื้นที่ประเทศไทยแล้วคือ 7,751 แห่ง หรือร้อยละ 99.68 ครอบคลุมประชากรจำนวน 56.66 ล้านคน โดยบอร์ด สปสช.จัดสรรงบประมาณเพิ่มจาก 40 บาทต่อประชากรในปี 2556 เป็น 45 บาทต่อประชากร ในปี 2557 หรือสนับสนุนงบประมาณ 2,562 ล้านบาท และ อบต.สมทบอีก 300 ล้านบาท เพื่อดำเนินงานด้านการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคและฟื้นฟูสมรรถภาพของประชาชน ทั้งนี้ ต.ริมปิง มีงบประมาณดำเนินกิจกรรมต่างๆ ปีละประมาณ 6 แสนบาท ซึ่งถือเป็นเรื่องที่น่าชื่นชมเนื่องจากมีกิจกรรมที่หลากหลาย และผลงานที่เห็นได้ชัดเจนคือสามารถลดการสูบบุหรี่ของคนในชุมชนลงได้หรือโครงการ DEWAL สร้างความตระหนักลด ละ เลิกบุหรี่
"จริงๆ แล้วการดำเนินการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค แพทย์แทบไม่มีความเกี่ยวข้อง แต่คนที่มีความสำคัญจริงๆ คือคนในชุมชนที่มีส่วนช่วยให้คนในชุมชนด้วยกันเองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เช่น ผู้นำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ครู พระ อสม.เป็นต้น เรียกว่าเป็นการทำงานแบบสหวิชาชีพร่วมกับคนในชุมชน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพจึงจะสำเร็จ โดยมีงบประมาณจาก สปสช.และ อบต.ลงไปช่วยสนับสนุนโครงการเหล่านี้” เลขาธิการ สปสช.กล่าว
นายเอนก มหาเกียรติคุณ นายกเทศมนตรี ต.ริมปิง กล่าวว่า ปัญหาสุขภาพที่สำคัญของตำบลก็คือเรื่องการสูบบุหรี่ โดยจากการสำรวจเบื้องต้นอย่างเร่งด่วนพบว่า มีผู้สูบบุหรี่เป็นประจำและยาวนานกว่า 10 ปีขึ้นไปในตำบล 310 คน จากประชากรทั้งหมด 6-7 พันคน จึงได้จัดทำโครงการ DEWAL ขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดนักสูบหน้าใหม่ และจัดคลินิกอดบุหรี่ของ รพ.สต.ริมปิง เพื่อช่วยให้ผู้สูบบุหรี่อยู่สามารถเลิกได้ โดยมีนวัตกรรมสาธิตให้เห็นว่าการสูบบุหรี่มีผลอย่างไร โดยจุดบุหรี่บนรูฝาถังน้ำ จากนั้นนำดินน้ำมันซึ่งอุดใต้ถังน้ำออก เมื่อน้ำไหลออกจะเหลือแต่ควันบุหรี่ภายในถัง จากนั้นทิชชูปิดถังน้ำแทนฝาถังแล้วใช้ที่สูบลมสูบไล่ควันบุหรี่ จะพบว่ากระดาษทิชชูเปลี่ยนสี เป็นการแสดงให้เห็นว่า ถังน้ำหรือปอดของเราต้องกักเก็บควันไว้มากเท่าไร และทำให้กระดาษทิชชูมีสภาพอย่างไร ก็จะทำให้ประชาชนเข้าใจถึงพิษภัยของบุหรี่ได้ชัดเจนขึ้น
นายเอนก กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ยังมีการอบรม อสม.เพื่อช่วยให้กำลังใจแก่ผู้สูบบุหรี่ให้มีกำลังใจเลิกสูบด้วย พร้อมให้ความรู้ความเข้าใจแก่ครอบครัวของผู้เข้าร่วมโครงการว่าการเลิกสูบบุหรี่จะเกิดผลกระทบอย่างไรต่อผู้สูบบ้าง เช่น เกิดความเครียด หงุดหงิด เป็นต้น ควรจะมีการรับมืออย่างไร และให้กำลังใจอย่างไร ซึ่งจากการดำเนินการภายในระยะเวลา 6 เดือน พบว่ามีผู้สามารถเลิกบุหรี่ได้อย่างเด็ดขาด 23 คน จนทำให้ได้รับรางวัลศูนย์เรียนรู้กองทุนตำบลระดับอำเภอด้วย
นายมิตร สิงห์โตวะนา กำนันตำบลริมปิง กล่าวว่า ตนเข้าร่วมโครงการดังกล่าว เพราะลูกๆ ทั้ง 3 คนของตนอยากให้เลิกสูบบุหรี่ ยอมรับว่านวัตกรรม DEWAL มีผลส่วนหนึ่งที่ทำให้คิดอยากเลิกสูบบุหรี่ แต่ส่วนสำคัญจริงๆ ที่ช่วยให้เลิกสูบบุหรี่ได้คือ กำลังใจจากครอบครัว อย่างหลายปีก่อนตนก็เคยเลิกบุหรี่ แต่มักจะเกิดอารมณ์หงุดหงิดจากการงดสูบ ซึ่งครอบครัวไม่เข้าใจสุดท้ายก็ทะเลาะและกลับไปสูบบุหรี่อีก แต่ครั้งนี้เมื่อมีการอบรมและมทำความเข้าใจ ครอบครัวก็ร่วมให้กำลังใจจนสามารถเลิกสูบบุหรี่ได้ในที่สุด ซึ่งหลังจากเริ่มสูบบุหรี่ได้พบว่า ช่วยให้ตนรับประทานอาหารได้มากขึ้น และครอบครัวใกล้ชิดกันมากขึ้นกว่าเดิม เพราะสมัยตอนตนสูบบุหรี่มักจะมีกลิ่นตัวเหม็น ทั้งยังติดตามเสื้อผ้า ทำให้ภรรยาและลูกๆ มักไม่ค่อยเข้าหา