วิจัยพบชุมชนมีส่วนร่วมทำหมู่บ้านปลอดบุหรี่ ช่วยสร้างแรงจูงใจเลิกบุหรี่ได้ 33.33% ส่วนที่เหลือยังเลิกไม่ได้ แต่มีการสูบบุหรี่น้อยลง ชี้ตัดเด็กออกจากวงจรนักสูบหน้าใหม่
นายสมภพ แสงจันทร์ นักวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) นครพนม หนึ่งในทีมวิจัยโครงการ “หมู่บ้านต้นแบบลดและเลิกบุหรี่โดยชุมชนมีส่วนร่วม” สนับสนุนโดย ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เปิดเผยว่า จากการทำการวิจัยเพื่อศึกษาหารูปแบบหมู่บ้านต้นแบบ ในการลด ละ เลิกบุหรี่โดยชุมชนมีส่วนร่วม ที่หมู่บ้านหนองย่างชิ้น ต.หนองย่างชิ้น อ.เรณูนคร จ.นครพนม ซึ่งมีสมาชิกในหมู่บ้านร่วมเข้าโครงการลดละเลิกบุหรี่ในชุมชน 15 คน และครอบครัวผู้ที่สูบบุหรี่ จำนวน 15 ครัวเรือน โดยทำการศึกษาระหว่าง ส.ค. 2555 - ก.ค. 2556
นายสมภพ กล่าวอีกว่า จากการศึกษาพบว่า บ้านหนองย่างชิ้นหมู่ 7 มีประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 240 คน และมีคนสูบบุหรี่ 15 คน คิดเป็นร้อยละ 6.25 เป็นเพศชายทั้งหมด 15 คน ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 30-49 ปี ร้อยละ 66.67 อายุน้อยสุด 21 ปี และอายุมากสุด 54 ปี ระยะเวลาที่สูบบุหรี่ 10-20 ปี ร้อยละ 53.33 ปริมาณที่สูบวันละ 1 ซอง ร้อยละ 46.67 โดยระบุว่าสาเหตุที่ทำให้สูบบุหรี่ คือ เพื่อดับกลิ่นคาวหลังจากรับประทานอาหาร สูบเพื่ออยากลอง เห็นเพื่อนสูบ เพื่อคลายเครียด ทำให้สบายใจ มีแหล่งจำหน่ายบุหรี่ใกล้บ้าน มีร้านค้าที่สะดวก เป็นต้น ซึ่งได้มีกระบวนการหาวิธีลด ละ เลิก ให้ความรู้ทั้งชุมชนไม่ว่าจะเป็นครอบครัว โรงเรียน อสม. และทำให้ผู้นำชุมชนมีส่วนร่วมและสร้างนโยบายสาธารณะของชุมชนโดยจากกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน พบว่ามีผู้ที่สามารถเลิกสูบบุหรี่ได้ 5 คน คิดเป็นร้อยละ 33.33 นอกจากนี้ ยังพบบุคคลต้นแบบที่มีวิธีการเลิกบุหรี่ได้อย่างเด็ดขาด ส่วนอีก 10 คนถึงแม้จะยังเลิกสูบไม่ได้แต่ก็มีการลดปริมาณการสูบลง
น.ส.กาญจนา ทองทั่ว พี่เลี้ยงโครงการฯภาคอีสานใต้ กล่าวว่า จากการวิจัยทำให้เห็นว่าเมื่อนำมาตรการต่างๆ ทั้งการทำข้อตกลง การสร้างขวัญกำลังใจ สร้างการมีส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชน โรงเรียน ทำให้ชุมชนตื่นตัวและเกิดความตระหนักถึงปัญหาการสูบบุหรี่ ซึ่งสามารถขยายความร่วมมือลักษณะเดียวกันออกไปให้ครอบคลุมมากขึ้น นอกจากนี้ การแก้ปัญหาสามารถทำได้ด้วยการตัดวงจรการสูบบุหรี่ตั้งแต่เด็กไม่ให้กลายเป็นนักสูบหน้าใหม่ ซึ่งต้องทำทั้งการให้ความรู้ และสร้างมาตรการชุมชนเพื่อปกป้องเด็กด้วย งานวิจัยในชุมชนลักษณะนี้ สามารถช่วยลดปัญหาการแพร่ระบาดของบุหรี่และยาเส้นด้วยภูมิคุ้มกันของชุมชนเอง
นายสมภพ แสงจันทร์ นักวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) นครพนม หนึ่งในทีมวิจัยโครงการ “หมู่บ้านต้นแบบลดและเลิกบุหรี่โดยชุมชนมีส่วนร่วม” สนับสนุนโดย ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เปิดเผยว่า จากการทำการวิจัยเพื่อศึกษาหารูปแบบหมู่บ้านต้นแบบ ในการลด ละ เลิกบุหรี่โดยชุมชนมีส่วนร่วม ที่หมู่บ้านหนองย่างชิ้น ต.หนองย่างชิ้น อ.เรณูนคร จ.นครพนม ซึ่งมีสมาชิกในหมู่บ้านร่วมเข้าโครงการลดละเลิกบุหรี่ในชุมชน 15 คน และครอบครัวผู้ที่สูบบุหรี่ จำนวน 15 ครัวเรือน โดยทำการศึกษาระหว่าง ส.ค. 2555 - ก.ค. 2556
นายสมภพ กล่าวอีกว่า จากการศึกษาพบว่า บ้านหนองย่างชิ้นหมู่ 7 มีประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 240 คน และมีคนสูบบุหรี่ 15 คน คิดเป็นร้อยละ 6.25 เป็นเพศชายทั้งหมด 15 คน ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 30-49 ปี ร้อยละ 66.67 อายุน้อยสุด 21 ปี และอายุมากสุด 54 ปี ระยะเวลาที่สูบบุหรี่ 10-20 ปี ร้อยละ 53.33 ปริมาณที่สูบวันละ 1 ซอง ร้อยละ 46.67 โดยระบุว่าสาเหตุที่ทำให้สูบบุหรี่ คือ เพื่อดับกลิ่นคาวหลังจากรับประทานอาหาร สูบเพื่ออยากลอง เห็นเพื่อนสูบ เพื่อคลายเครียด ทำให้สบายใจ มีแหล่งจำหน่ายบุหรี่ใกล้บ้าน มีร้านค้าที่สะดวก เป็นต้น ซึ่งได้มีกระบวนการหาวิธีลด ละ เลิก ให้ความรู้ทั้งชุมชนไม่ว่าจะเป็นครอบครัว โรงเรียน อสม. และทำให้ผู้นำชุมชนมีส่วนร่วมและสร้างนโยบายสาธารณะของชุมชนโดยจากกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน พบว่ามีผู้ที่สามารถเลิกสูบบุหรี่ได้ 5 คน คิดเป็นร้อยละ 33.33 นอกจากนี้ ยังพบบุคคลต้นแบบที่มีวิธีการเลิกบุหรี่ได้อย่างเด็ดขาด ส่วนอีก 10 คนถึงแม้จะยังเลิกสูบไม่ได้แต่ก็มีการลดปริมาณการสูบลง
น.ส.กาญจนา ทองทั่ว พี่เลี้ยงโครงการฯภาคอีสานใต้ กล่าวว่า จากการวิจัยทำให้เห็นว่าเมื่อนำมาตรการต่างๆ ทั้งการทำข้อตกลง การสร้างขวัญกำลังใจ สร้างการมีส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชน โรงเรียน ทำให้ชุมชนตื่นตัวและเกิดความตระหนักถึงปัญหาการสูบบุหรี่ ซึ่งสามารถขยายความร่วมมือลักษณะเดียวกันออกไปให้ครอบคลุมมากขึ้น นอกจากนี้ การแก้ปัญหาสามารถทำได้ด้วยการตัดวงจรการสูบบุหรี่ตั้งแต่เด็กไม่ให้กลายเป็นนักสูบหน้าใหม่ ซึ่งต้องทำทั้งการให้ความรู้ และสร้างมาตรการชุมชนเพื่อปกป้องเด็กด้วย งานวิจัยในชุมชนลักษณะนี้ สามารถช่วยลดปัญหาการแพร่ระบาดของบุหรี่และยาเส้นด้วยภูมิคุ้มกันของชุมชนเอง