ผศ.นพ.รัฐพล ตวงทอง
อ.พญ.จรัสศรี ฬียาพรรณ
ภาควิชาตจวิทยา
สมัยเด็ก เรามักได้ยินโรคยอดฮิตที่เป็นกันมากในหมู่เพื่อน... “เหา” ครับ
เหา เป็นโรคติดต่อง่าย มักพบว่าเป็นกันทั้งครอบครัวหรือระบาดอยู่ในชุมชน เกิดจากการติดตัวเหา ซึ่งเป็นแมลงชื่อ Pediculus humanus capitis ลักษณะรูปร่างตัวเรียวยาว ขนาด 3-4 มม.มีความคล่องตัวในการเคลื่อนไหว จึงทำให้ติดโรคกันง่าย
โดยเหาจะวางไข่บนเส้นขนชิดหนังศีรษะ และหลั่งสารหุ้มปลายด้านหนึ่งของไข่ให้เกาะแน่นติดอยู่ และเมื่อผมยาวขึ้น ไข่เหาจะถูกเลื่อนสูงขึ้นไปด้วย โดยไข่เหามีขนาดยาว 0.5 มม.สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า และมีชีวิตอยู่ได้นานถึง 10 วัน ภายนอกร่างกาย ขณะที่ตัวเหาสามารถมีชีวิตอยู่ได้นานภายนอกถึง 4 วัน ในอุณหภูมิห้องปกติ
การติดเชื้อ เกิดจากการสัมผัสใกล้ชิด เช่น การสัมผัสโดยตรง สัมผัสเสื้อผ้า ผ้าปูที่นอน หมวก ที่แต่งผมและหวี เป็นต้น พบบ่อยในเด็กวัยเรียน โดยเฉพาะเด็กผู้หญิง จะมีอาการคัน เกิดเป็นตุ่มคันบริเวณที่ติดเชื้อเหา พบมากที่ศีรษะ แต่อาจพบได้ที่อื่น เช่น บริเวณเครา ในรายที่เป็นมานานหรือมีอาการรุนแรง จะมีการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำเติมที่ผิวหนังและมีต่อมน้ำเหลืองข้างคอและท้ายทอยโต
จะรู้ว่าเป็นเหา โดย …
1.การซักประวัติ ผื่นที่มีอาการคันมาก และพบสมาชิกหรือผู้ใกล้ชิดที่มีอาการคล้ายๆ กัน หรือมีการระบาดของเหาในโรงเรียน ชุมชน ก็จะช่วยในการวินิจฉัยได้ง่ายขึ้น
2.การตรวจร่างกาย พบตัวเหาหรือไข่เหาติดที่เส้นผม แยกจากรังแคหรือปลอกหุ้มเส้นผม โดยไข่เหาจะไม่สามารถเลื่อนไปตามเส้นผมได้
3.การตรวจดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ โดยนำเส้นผมมาดู พบตัวเหาหรือไข่เหา
วิธีรักษาที่ได้ผลดี คือ การตัดผมหรือโกนผม เพราะเมื่อตัวเหาและไข่ไม่มีที่เกาะยึดแล้ว โรคก็จะหายไปได้ แต่เป็นสิ่งที่ลำบากใจที่จะทำ วิธีอื่นก็อาจใช้ยาทา permethrin lotion, pyrethrins หรือ malathion ทาให้ทั่วศีรษะ ทิ้งไว้ 5-10 นาที แล้วล้างออก แต่ก่อนทาควรสวมถุงมือยางด้วย หลังจากนั้นให้ใช้หวีซี่ถี่ๆ หวีตัวเหาและไข่เหาออก และทายาซ้ำอีก 7 วัน บางรายอาจกินยา Ivermectin ซึ่งมีประสิทธิภาพรักษาเหาได้ดี และมีผลข้างเคียงน้อย
แต่ถ้าไม่อยากให้คนในบ้านเป็นเหา ลองไปทำกันครับ
1.ควรรักษาสมาชิกทุกคนในครอบครัว โรงเรียนหรือชุมชนพร้อมๆ กัน
2.ทำความสะอาดเครื่องใช้ เครื่องนุ่งห่ม ที่นอน หมอนเสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว ที่ใช้ใน 1 อาทิตย์ที่ผ่านมา ด้วยการซักน้ำร้อนอย่างน้อย 5 นาที สำหรับเครื่องนุ่งห่มที่ซักไม่ได้ เช่น หมอนและพรม ควรอบแห้งในอุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 20 นาที หรือเก็บไว้ในถุงพลาสติกปิดปากแน่นอย่างน้อย 14 วัน
3.ล้างหวีในน้ำร้อน ในอุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส หรือแช่ใน 2% Lysol เป็นเวลา 1 ชั่วโมง เพื่อฆ่าตัวเหา
4.แยกของใช้ส่วนตัว หวี ผ้าเช็ดตัว เครื่องนุ่งห่ม และที่นอน ไม่ใช้ของร่วมกับผู้ป่วย
5.ตัดเล็บสั้น ไม่แคะแกะเกาผื่นคัน
ทำครบทั้ง 5 ข้อนี้ ก็จะช่วยป้องกันเหาได้ชงัด
-------------------------------------------------------
พบกิจกรรมดีๆ ที่ศิริราช
ขอเชิญบุคลากรวิทยาเขตบางกอกน้อยและประชาชนร่วมฟังบรรยายธรรม เรื่อง “ละเมอ” โดย พญ.อมรา มลิลา ในวันอังคารที่ 18 ก.พ.นี้ เวลา 16.30 -18.00 น.ที่ห้อง 1306 ตึกอดุลยเดชวิกรม ชั้น 13 รพ.ศิริราช สอบถาม โทร. 0 2419 9435
ขอเชิญแพทย์ศิริราชทุกรุ่นร่วมงาน “ศิริราชคืนสู่เหย้า ที่เราข้ามฟาก” ในวันเสาร์ที่ 1 มี.ค.นี้ เวลา 16.30 น.เป็นต้นไป ณ ลานพลับพลาสยามินทราศิริราชานุสรณีย์ สถาบันการแพทย์สยามินทราธิราช รพ.ศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ สอบถาม โทร.0 2419 8518
อ.พญ.จรัสศรี ฬียาพรรณ
ภาควิชาตจวิทยา
สมัยเด็ก เรามักได้ยินโรคยอดฮิตที่เป็นกันมากในหมู่เพื่อน... “เหา” ครับ
เหา เป็นโรคติดต่อง่าย มักพบว่าเป็นกันทั้งครอบครัวหรือระบาดอยู่ในชุมชน เกิดจากการติดตัวเหา ซึ่งเป็นแมลงชื่อ Pediculus humanus capitis ลักษณะรูปร่างตัวเรียวยาว ขนาด 3-4 มม.มีความคล่องตัวในการเคลื่อนไหว จึงทำให้ติดโรคกันง่าย
โดยเหาจะวางไข่บนเส้นขนชิดหนังศีรษะ และหลั่งสารหุ้มปลายด้านหนึ่งของไข่ให้เกาะแน่นติดอยู่ และเมื่อผมยาวขึ้น ไข่เหาจะถูกเลื่อนสูงขึ้นไปด้วย โดยไข่เหามีขนาดยาว 0.5 มม.สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า และมีชีวิตอยู่ได้นานถึง 10 วัน ภายนอกร่างกาย ขณะที่ตัวเหาสามารถมีชีวิตอยู่ได้นานภายนอกถึง 4 วัน ในอุณหภูมิห้องปกติ
การติดเชื้อ เกิดจากการสัมผัสใกล้ชิด เช่น การสัมผัสโดยตรง สัมผัสเสื้อผ้า ผ้าปูที่นอน หมวก ที่แต่งผมและหวี เป็นต้น พบบ่อยในเด็กวัยเรียน โดยเฉพาะเด็กผู้หญิง จะมีอาการคัน เกิดเป็นตุ่มคันบริเวณที่ติดเชื้อเหา พบมากที่ศีรษะ แต่อาจพบได้ที่อื่น เช่น บริเวณเครา ในรายที่เป็นมานานหรือมีอาการรุนแรง จะมีการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำเติมที่ผิวหนังและมีต่อมน้ำเหลืองข้างคอและท้ายทอยโต
จะรู้ว่าเป็นเหา โดย …
1.การซักประวัติ ผื่นที่มีอาการคันมาก และพบสมาชิกหรือผู้ใกล้ชิดที่มีอาการคล้ายๆ กัน หรือมีการระบาดของเหาในโรงเรียน ชุมชน ก็จะช่วยในการวินิจฉัยได้ง่ายขึ้น
2.การตรวจร่างกาย พบตัวเหาหรือไข่เหาติดที่เส้นผม แยกจากรังแคหรือปลอกหุ้มเส้นผม โดยไข่เหาจะไม่สามารถเลื่อนไปตามเส้นผมได้
3.การตรวจดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ โดยนำเส้นผมมาดู พบตัวเหาหรือไข่เหา
วิธีรักษาที่ได้ผลดี คือ การตัดผมหรือโกนผม เพราะเมื่อตัวเหาและไข่ไม่มีที่เกาะยึดแล้ว โรคก็จะหายไปได้ แต่เป็นสิ่งที่ลำบากใจที่จะทำ วิธีอื่นก็อาจใช้ยาทา permethrin lotion, pyrethrins หรือ malathion ทาให้ทั่วศีรษะ ทิ้งไว้ 5-10 นาที แล้วล้างออก แต่ก่อนทาควรสวมถุงมือยางด้วย หลังจากนั้นให้ใช้หวีซี่ถี่ๆ หวีตัวเหาและไข่เหาออก และทายาซ้ำอีก 7 วัน บางรายอาจกินยา Ivermectin ซึ่งมีประสิทธิภาพรักษาเหาได้ดี และมีผลข้างเคียงน้อย
แต่ถ้าไม่อยากให้คนในบ้านเป็นเหา ลองไปทำกันครับ
1.ควรรักษาสมาชิกทุกคนในครอบครัว โรงเรียนหรือชุมชนพร้อมๆ กัน
2.ทำความสะอาดเครื่องใช้ เครื่องนุ่งห่ม ที่นอน หมอนเสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว ที่ใช้ใน 1 อาทิตย์ที่ผ่านมา ด้วยการซักน้ำร้อนอย่างน้อย 5 นาที สำหรับเครื่องนุ่งห่มที่ซักไม่ได้ เช่น หมอนและพรม ควรอบแห้งในอุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 20 นาที หรือเก็บไว้ในถุงพลาสติกปิดปากแน่นอย่างน้อย 14 วัน
3.ล้างหวีในน้ำร้อน ในอุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส หรือแช่ใน 2% Lysol เป็นเวลา 1 ชั่วโมง เพื่อฆ่าตัวเหา
4.แยกของใช้ส่วนตัว หวี ผ้าเช็ดตัว เครื่องนุ่งห่ม และที่นอน ไม่ใช้ของร่วมกับผู้ป่วย
5.ตัดเล็บสั้น ไม่แคะแกะเกาผื่นคัน
ทำครบทั้ง 5 ข้อนี้ ก็จะช่วยป้องกันเหาได้ชงัด
-------------------------------------------------------
พบกิจกรรมดีๆ ที่ศิริราช
ขอเชิญบุคลากรวิทยาเขตบางกอกน้อยและประชาชนร่วมฟังบรรยายธรรม เรื่อง “ละเมอ” โดย พญ.อมรา มลิลา ในวันอังคารที่ 18 ก.พ.นี้ เวลา 16.30 -18.00 น.ที่ห้อง 1306 ตึกอดุลยเดชวิกรม ชั้น 13 รพ.ศิริราช สอบถาม โทร. 0 2419 9435
ขอเชิญแพทย์ศิริราชทุกรุ่นร่วมงาน “ศิริราชคืนสู่เหย้า ที่เราข้ามฟาก” ในวันเสาร์ที่ 1 มี.ค.นี้ เวลา 16.30 น.เป็นต้นไป ณ ลานพลับพลาสยามินทราศิริราชานุสรณีย์ สถาบันการแพทย์สยามินทราธิราช รพ.ศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ สอบถาม โทร.0 2419 8518