อึ้ง! พื้นที่ชายแดนใช้เวลาวินิจฉัยโรคมาลาเรียนานถึง 66 วัน เฉลี่ยที่ 21 วัน สคร.10 เชียงใหม่ผุด “กล้องจุลทรรศน์เครือข่าย เว็บแคม ไมโครสโคป” ช่วยให้เจ้าหน้าที่ส่งภาพผ่านออนไลน์ตรวจวินิจฉัยโดยเจ้าหน้าที่ส่วนกลางได้ทันที ช่วยให้ได้ผลตรวจเร็ว ทันที ลดค่าใช้จ่าย รักษาได้ทันเวลา ลดเสี่ยงการดื้อยาและการตาย
วันนี้ (3 ต.ค.) นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า จากรายงานของสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง คร. ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-13 ก.ย.พบผู้ป่วยโรคมาลาเรีย 20,599 ราย ร้อยละ 90 ผู้ป่วยอยู่ใน 33 จังหวัดชายแดน พบมากที่สุดที่จังหวัดตาก ส่วนแหล่งที่มีการแพร่ของโรคมาลาเรียส่วนใหญ่อยู่ตามจังหวัดชายแดน โดยเฉพาะบริเวณที่เป็นภูเขาสูง ป่าทึบ มีแหล่งน้ำ และลำธาร ซึ่งเป็นแหล่งแพร่พันธุ์ของยุงก้นปล่อง โดยเฉพาะยุงตัวเมีย ซึ่งเป็นพาหะแพร่เชื้อติดต่อสู่คน โดยหลังได้รับเชื้อประมาณ 1-2 สัปดาห์ ผู้ป่วยมีอาการนำคล้ายเป็นหวัด และมีลักษณะเฉพาะโรคที่เรียกว่า ไข้จับสั่น คือ มีอาการหนาวสั่น ไข้สูง ตามด้วยเหงื่อออก การรักษาขึ้นกับชนิดของเชื้อ เนื่องจากมีความไวต่อยาที่ใช้รักษาต่างกัน และมีระยะแฝงในตับที่ต่างกัน ดังนั้น การตรวจวินิจฉัยว่า เกิดจากเชื้อชนิดใด จึงมีความสำคัญมากที่นำไปสู่การรักษาที่ถูกต้อง
“โรคนี้รักษาหายขาดได้ ถ้าได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง รวดเร็ว และได้รับการรักษาด้วยยาที่มีประสิทธิภาพตรงตามชนิดของเชื้อที่เป็นสาเหตุ การซื้อยารักษาด้วยตนเอง หรือกินยาไม่ครบ อาจก่อปัญหาเชื้อดื้อยา ทำให้เป็นโรครุนแรงขึ้น และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้” อธิบดี คร.กล่าว
พญ.วราภรณ์ ภูมิสวัสดิ์ รองอธิบดี คร.กล่าวว่า จากการติดตามควบคุมคุณภาพการตรวจวินิจฉัยเลือดของผู้ป่วยเพื่อยืนยันเชื้อว่าเป็นชนิดใดนั้น ในปี 2555 สำนักงานป้องกันควบคุมโรค (สคร.) ที่ 10 เชียงใหม่ ได้ทำการติดตามการตรวจวินิจฉัยเลือดผู้ป่วย พบว่า ระยะเวลาตั้งแต่เจาะเลือดจนถึงการรายงานผลการตอบกลับ ใช้เวลาเฉลี่ยประมาณ 21 วัน สั้นที่สุด 16 วัน และนานที่สุดคือ 66 วัน ซึ่งระยะเวลานานขนาดนี้ ไม่สามารถช่วยผู้ป่วยให้ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง รวดเร็ว และทันเวลาได้ อีกทั้งการติดตามผู้ป่วยหลังได้รับแจ้งผลตรวจวินิจฉัยคลาดเคลื่อนทำได้ยาก เนื่องจากผู้ป่วยตามแนวชายแดน มีการเคลื่อนย้ายสูง บางรายเสียชีวิต
พญ.วราภรณ์ กล่าวอีกว่า การวินิจฉัยที่คลาดเคลื่อน องค์การอนามัยโลกยอมรับได้ โดยต้องมีค่าความคลาดเคลื่อนไม่เกินร้อยละ 5 จากการสำรวจของ สคร.ที่ 10 เชียงใหม่ พบว่าในปี 2555 มีความคลาดเคลื่อนในการตรวจวินิจฉัย 49 ฟิล์ม จาก 11,780 ฟิล์ม คิดเป็นร้อยละ 0.42 ซึ่งไม่เกินมาตรฐานสากล แต่เพื่อให้บริการที่ดีที่สุดกับคนไทยที่อยู่ห่างไกล จึงได้คิดค้นนวัตกรรมตรวจวินิจฉัย ที่รวดเร็ว เรียกว่า กล้องจุลทรรศน์เครือข่าย เว็บแคม ไมโครสโคป ซึ่งเพิ่มประสิทธิภาพในการวินิจฉัยโรค เพิ่มความสะดวกการให้บริการ ยืนยันผล โดยผู้เชี่ยวชาญด้านเชื้อมาลาเรียจากส่วนกลางทันทีผ่านระบบออนไลน์ เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในถิ่นทุรกันดาร จะสามารถส่งภาพเชื้อมาลาเรียจากกล้องจุลทรรศน์ที่เชื่อมต่อกับเวปแคมให้ผู้เชี่ยวชาญดูได้พร้อมกันในเวลาเดียวกัน ขณะเดียวกัน หากเจ้าหน้าที่ในพื้นที่มีข้อสงสัยสามารถสอบถามผู้เชี่ยวชาญได้เลย ซึ่งเมื่อวินิจฉัยเชื้อโรคได้ถูกต้อง รวดเร็ว จะสามารถใช้ยาที่มีประสิทธิภาพตรงกับเชื้อที่เป็นสาเหตุ รักษาให้หายขาด
นพ.วิทยา หลิวเสรี ผอ.สคร.ที่ 10 เชียงใหม่ กล่าวว่า กล้องดังกล่าวมีประโยชน์สูง คือ 1.ป้องกันการเกิดภาวะมาลาเรียรุนแรง และลดการเสียชีวิต 2.ป้องกันเชื้อมาลาเรียดื้อต่อยารักษามาลาเรีย 3.ลดจำนวนเวลาในการยืนยันผลเลือดจาก 21 วัน เป็นศูนย์วัน คือ สามารถวินิจฉัย และยืนยันผลโดยผู้เชี่ยวชาญในเวลาเดียวกัน 4.ลดค่าใช้จ่ายจากเดิมต้องเสียค่าค่าวินิจฉัยตรวจยืนยัน รายละ 7,000 บาท เหลือ 1,500 บาท ลดลงร้อยละ 78 และ 5.ผู้ป่วยในชุมชนห่างไกลทุรกันดาร ได้รับบริการที่ถูกต้อง รวดเร็ว เสมอภาคกับผู้ป่วยในท้องที่ที่มีความเจริญ และมีความมั่นใจในการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นมากขึ้น
“นวัตกรรมนี้เป็นผลงานของ สคร.ที่ 10 เชียงใหม่ โดยทำการจดสิทธิบัตรการประดิษฐ์จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา เมื่อวันที่ 15 มิ.ย.2555 ได้รับรางวัลในการนำเสนอผลงานทางวิชาการ กรมควบคุมโรค ประจำปี 2555 และรางวัลบริการภาครัฐแห่งชาติ ประจำปี 2556 สาขารางวัลนวัตกรรมการบริการที่เป็นเลิศ ระดับดีเด่น ซึ่งผลงานชิ้นนี้จะเผยแพร่ไปยังหน่วยงานอื่นๆ รวมถึงประเทศเพื่อนบ้าน และประเทศอื่นๆ ที่ยังมีปัญหามาลาเรีย ซึ่ง คร.จะสนับสนุนให้ประเทศเพื่อนบ้านนำไปใช้ประโยชน์ในการตรวจวินิจฉัยโรคมาลาเรียต่อไป” นพ.วิทยา กล่าว
วันนี้ (3 ต.ค.) นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า จากรายงานของสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง คร. ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-13 ก.ย.พบผู้ป่วยโรคมาลาเรีย 20,599 ราย ร้อยละ 90 ผู้ป่วยอยู่ใน 33 จังหวัดชายแดน พบมากที่สุดที่จังหวัดตาก ส่วนแหล่งที่มีการแพร่ของโรคมาลาเรียส่วนใหญ่อยู่ตามจังหวัดชายแดน โดยเฉพาะบริเวณที่เป็นภูเขาสูง ป่าทึบ มีแหล่งน้ำ และลำธาร ซึ่งเป็นแหล่งแพร่พันธุ์ของยุงก้นปล่อง โดยเฉพาะยุงตัวเมีย ซึ่งเป็นพาหะแพร่เชื้อติดต่อสู่คน โดยหลังได้รับเชื้อประมาณ 1-2 สัปดาห์ ผู้ป่วยมีอาการนำคล้ายเป็นหวัด และมีลักษณะเฉพาะโรคที่เรียกว่า ไข้จับสั่น คือ มีอาการหนาวสั่น ไข้สูง ตามด้วยเหงื่อออก การรักษาขึ้นกับชนิดของเชื้อ เนื่องจากมีความไวต่อยาที่ใช้รักษาต่างกัน และมีระยะแฝงในตับที่ต่างกัน ดังนั้น การตรวจวินิจฉัยว่า เกิดจากเชื้อชนิดใด จึงมีความสำคัญมากที่นำไปสู่การรักษาที่ถูกต้อง
“โรคนี้รักษาหายขาดได้ ถ้าได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง รวดเร็ว และได้รับการรักษาด้วยยาที่มีประสิทธิภาพตรงตามชนิดของเชื้อที่เป็นสาเหตุ การซื้อยารักษาด้วยตนเอง หรือกินยาไม่ครบ อาจก่อปัญหาเชื้อดื้อยา ทำให้เป็นโรครุนแรงขึ้น และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้” อธิบดี คร.กล่าว
พญ.วราภรณ์ ภูมิสวัสดิ์ รองอธิบดี คร.กล่าวว่า จากการติดตามควบคุมคุณภาพการตรวจวินิจฉัยเลือดของผู้ป่วยเพื่อยืนยันเชื้อว่าเป็นชนิดใดนั้น ในปี 2555 สำนักงานป้องกันควบคุมโรค (สคร.) ที่ 10 เชียงใหม่ ได้ทำการติดตามการตรวจวินิจฉัยเลือดผู้ป่วย พบว่า ระยะเวลาตั้งแต่เจาะเลือดจนถึงการรายงานผลการตอบกลับ ใช้เวลาเฉลี่ยประมาณ 21 วัน สั้นที่สุด 16 วัน และนานที่สุดคือ 66 วัน ซึ่งระยะเวลานานขนาดนี้ ไม่สามารถช่วยผู้ป่วยให้ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง รวดเร็ว และทันเวลาได้ อีกทั้งการติดตามผู้ป่วยหลังได้รับแจ้งผลตรวจวินิจฉัยคลาดเคลื่อนทำได้ยาก เนื่องจากผู้ป่วยตามแนวชายแดน มีการเคลื่อนย้ายสูง บางรายเสียชีวิต
พญ.วราภรณ์ กล่าวอีกว่า การวินิจฉัยที่คลาดเคลื่อน องค์การอนามัยโลกยอมรับได้ โดยต้องมีค่าความคลาดเคลื่อนไม่เกินร้อยละ 5 จากการสำรวจของ สคร.ที่ 10 เชียงใหม่ พบว่าในปี 2555 มีความคลาดเคลื่อนในการตรวจวินิจฉัย 49 ฟิล์ม จาก 11,780 ฟิล์ม คิดเป็นร้อยละ 0.42 ซึ่งไม่เกินมาตรฐานสากล แต่เพื่อให้บริการที่ดีที่สุดกับคนไทยที่อยู่ห่างไกล จึงได้คิดค้นนวัตกรรมตรวจวินิจฉัย ที่รวดเร็ว เรียกว่า กล้องจุลทรรศน์เครือข่าย เว็บแคม ไมโครสโคป ซึ่งเพิ่มประสิทธิภาพในการวินิจฉัยโรค เพิ่มความสะดวกการให้บริการ ยืนยันผล โดยผู้เชี่ยวชาญด้านเชื้อมาลาเรียจากส่วนกลางทันทีผ่านระบบออนไลน์ เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในถิ่นทุรกันดาร จะสามารถส่งภาพเชื้อมาลาเรียจากกล้องจุลทรรศน์ที่เชื่อมต่อกับเวปแคมให้ผู้เชี่ยวชาญดูได้พร้อมกันในเวลาเดียวกัน ขณะเดียวกัน หากเจ้าหน้าที่ในพื้นที่มีข้อสงสัยสามารถสอบถามผู้เชี่ยวชาญได้เลย ซึ่งเมื่อวินิจฉัยเชื้อโรคได้ถูกต้อง รวดเร็ว จะสามารถใช้ยาที่มีประสิทธิภาพตรงกับเชื้อที่เป็นสาเหตุ รักษาให้หายขาด
นพ.วิทยา หลิวเสรี ผอ.สคร.ที่ 10 เชียงใหม่ กล่าวว่า กล้องดังกล่าวมีประโยชน์สูง คือ 1.ป้องกันการเกิดภาวะมาลาเรียรุนแรง และลดการเสียชีวิต 2.ป้องกันเชื้อมาลาเรียดื้อต่อยารักษามาลาเรีย 3.ลดจำนวนเวลาในการยืนยันผลเลือดจาก 21 วัน เป็นศูนย์วัน คือ สามารถวินิจฉัย และยืนยันผลโดยผู้เชี่ยวชาญในเวลาเดียวกัน 4.ลดค่าใช้จ่ายจากเดิมต้องเสียค่าค่าวินิจฉัยตรวจยืนยัน รายละ 7,000 บาท เหลือ 1,500 บาท ลดลงร้อยละ 78 และ 5.ผู้ป่วยในชุมชนห่างไกลทุรกันดาร ได้รับบริการที่ถูกต้อง รวดเร็ว เสมอภาคกับผู้ป่วยในท้องที่ที่มีความเจริญ และมีความมั่นใจในการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นมากขึ้น
“นวัตกรรมนี้เป็นผลงานของ สคร.ที่ 10 เชียงใหม่ โดยทำการจดสิทธิบัตรการประดิษฐ์จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา เมื่อวันที่ 15 มิ.ย.2555 ได้รับรางวัลในการนำเสนอผลงานทางวิชาการ กรมควบคุมโรค ประจำปี 2555 และรางวัลบริการภาครัฐแห่งชาติ ประจำปี 2556 สาขารางวัลนวัตกรรมการบริการที่เป็นเลิศ ระดับดีเด่น ซึ่งผลงานชิ้นนี้จะเผยแพร่ไปยังหน่วยงานอื่นๆ รวมถึงประเทศเพื่อนบ้าน และประเทศอื่นๆ ที่ยังมีปัญหามาลาเรีย ซึ่ง คร.จะสนับสนุนให้ประเทศเพื่อนบ้านนำไปใช้ประโยชน์ในการตรวจวินิจฉัยโรคมาลาเรียต่อไป” นพ.วิทยา กล่าว