เด็ก ป.1 แห้วแท็บเล็ต “เซิ่นเจิ้น อิงถัง” ส่งหนังสือขอยกเลิกสัญญา อ้างเหตุความไม่แน่นอนของการเมืองไทย และความไม่เข้าใจต่อทีโออาร์ รวมทั้งสัญญาที่สื่อสารไม่ตรงกัน มอบคณะกรรมการจัดซื้อ สพฐ.ไปพิจารณาริบเงินค้ำประกัน 120 ล.บาท และฟ้องร้องบริษัทเรียกค่าเสียหาย
วันนี้ (4 ก.พ.) นายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ในฐานะคณะกรรมการจัดซื้อคอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต) ในโครงการ 1 คอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต) ต่อ 1 นักเรียน ประจำปีการศึกษา 2556 ได้ทำหนังสือเร่งรัดให้บริษัทที่ชนะการประมูลด้วยวิธีจัดซื้อจัดจ้างทางอิเล็กทรอนิกส์ หรืออี-ออกชัน ดำเนินการจัดส่งแท็บเล็ตตามสัญญานั้น โดยเมื่อวันที่ 30 มกราคมที่ผ่านมา บริษัทเซิ่นเจิ้น อิงถัง อินเทลลิเจ้นท์ คอนโทรล จำกัด ที่ชนะการประมูลจัดซื้อแท็บเล็ตระดับประถมศึกษาปีที่ 1 โซน 1 (ภาคกลาง และภาคใต้) จำนวน 431,105 เครื่อง มูลค่า 842 ล้านบาท และ ป.1 โซน 2 (ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) จำนวน 373,637 เครื่อง เป็นเงิน 786 ล้านบาท รวมทั้ง 2 โซน เป็นวงเงิน 1,628 ล้านบาท ได้ทำหนังสือแจ้งขอยกเลิกสัญญาซื้อขายแท็บเล็ตโดยให้เหตุผลถึงความแน่นอนของสถานการณ์การเมืองไทย ความเข้าใจต่อทีโออาร์ (TOR) และสัญญาไม่ตรงกัน รวมถึงการติดต่อสื่อสารมีปัญหาอุปสรรค จนกระทั่งบริษัทส่งมอบของล่าช้า และถูกเรียกค่าปรับ
นอกจากนี้ บริษัทเซิ่นเจิ้นฯ แจ้งอีกว่า เพื่อไม่ส่งผลกระทบต่อโครงการแท็บเล็ตฯ และเพื่อหลีกเลี่ยงการสูญเสียทางธุรกิจจึงขอยกเลิกสัญญาทั้งหมดที่ได้ลงนาม ส่วนการขอคืนหลักประกันตามสัญญาที่ทางบริษัทเซิ่นเจิ้นฯ ได้มอบไว้ ทางบริษัทเซิ่นเจิ้นฯ ขอสงวนสิทธิอุทธรณ์ตามกฎหมาย ซึ่งทางคณะกรรมการจัดซื้อของ สพฐ.จะพิจารณาในประเด็นการริบวงเงินค้ำประกัน 120 ล้านบาท การฟ้องร้องบริษัทในฐานะผู้ละทิ้งงาน และเรียกร้องค่าเสียหายในส่วนต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการจัดซื้อเดิม และการประมูลจัดซื้อใหม่ที่จะเกิดขึ้นตามระเบียบของทางราชการ ซึ่งจะต้องพิจารณา และสรุปเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายฯ ที่มีตนเป็นประธานในวันที่ 7 กุมภาพันธ์นี้
รักษาการ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อว่า ถึงแม้จะสามารถเรียกร้องค่าเสียหายกับบริษัทได้ แต่คงไม่คุ้มกับความเสียหายที่เด็กไม่ได้ใช้แท็บเล็ตมาจนถึงเวลานี้ซึ่งกำลังครบ 1 ปีการศึกษา ซึ่งจะต้องมีการสรุปบทเรียนจากการดำเนินการที่ผ่านมาทั้งหมด และต้องยอมรับว่า การจัดซื้อแท็บเล็ตที่ผ่านมามีปัญหาอย่างมาก ทั้งปัญหาทางเทคนิค วิธีการ กระบวนการจัดซื้อ และยังมีปัญหาแทรกซ้อนขึ้นมา เช่น ปัญหาบริษัทที่เสนอราคาประมูลต่ำแต่ทำไม่ได้จริง มีข้อสงสัยว่าแข่งกันจริงหรือไม่ในบางรายการ และเมื่อจะยกเลิกก็ยกเลิกไม่ได้เหมือนเขาวงกต ตกหลุมดำ แล้วหาทางออกไม่เจอ ซึ่งเรื่องนี้ต้องเร่งสรุปบทเรียนเพื่อนำมาแก้ปัญหาในการดำเนินการจัดซื้อรอบใหม่ ทั้งนี้ กรณีของบริษัทเซิ่นเจิ้นฯ ในเรื่องของผู้ดำเนินการก็ต้องมาสรุปปัญหาเช่นกันว่ามีใครทำอะไรในแต่ละขั้นตอน เช่น เห็นปัญหาอยู่แล้ว และหากทางป้องกันดีหรือไม่ เพราะที่ผ่านมา ก็มีข่าวเป็นระยะเกี่ยวกับความมั่นคงของบริษัท เป็นต้น อย่างไรก็ตาม สพฐ.จะต้องเร่งสรุปบทเรียนในครั้งนี้ และเมื่อยกเลิกสัญญาแล้วต้องรีบดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อจัดซื้อ แต่แนวโน้มเด็ก ป.1และ ม.1 ปีการศึกษา 2556 น่าจะได้ใช้แท็บเล็ตพร้อมกับเด็กชั้น ป.1และ ม.1ในปีการศึกษา2557
“ถามว่าจะให้ใครเป็นผู้รับผิดชอบต่อความเสียหายครั้งนี้ก็คงเป็นเรื่องที่ต้องไปดู แต่เรื่องนี้ดำเนินการไปตามระเบียบที่กำหนดไว้ เมื่อผมเข้ามาทำงานกระบวนการต่างๆ ก็ผ่านไปครึ่งทาง จะปรับเปลี่ยน หรือแก้ไขก็ไม่สามารถทำได้ ซึ่งการจัดซื้อแท็บเล็ตจะต้องดำเนินการต่อไปเพราะเป็นโครงการที่ได้รับมาตาม พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่าย ประจำปี 2556 ที่ได้อนุมัติวงเงินไว้แล้วจึงต้องทำให้ได้ สำหรับวิธีการจัดซื้อที่มีผู้เสนอให้กระจายอำนาจให้เขตพื้นที่การศึกษาดำเนินการเองนั้น จะต้องมาดูมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่อนุมัติไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะให้ดำเนินการได้หรือไม่อย่างไร และจะผูกพันไปถึง ครม.ชุดใหม่หรือไม่ ดังนั้น จึงต้องมาดูว่าจะทำได้มากน้อยแค่ไหน” นายจาตุรนต์ กล่าว
วันนี้ (4 ก.พ.) นายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ในฐานะคณะกรรมการจัดซื้อคอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต) ในโครงการ 1 คอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต) ต่อ 1 นักเรียน ประจำปีการศึกษา 2556 ได้ทำหนังสือเร่งรัดให้บริษัทที่ชนะการประมูลด้วยวิธีจัดซื้อจัดจ้างทางอิเล็กทรอนิกส์ หรืออี-ออกชัน ดำเนินการจัดส่งแท็บเล็ตตามสัญญานั้น โดยเมื่อวันที่ 30 มกราคมที่ผ่านมา บริษัทเซิ่นเจิ้น อิงถัง อินเทลลิเจ้นท์ คอนโทรล จำกัด ที่ชนะการประมูลจัดซื้อแท็บเล็ตระดับประถมศึกษาปีที่ 1 โซน 1 (ภาคกลาง และภาคใต้) จำนวน 431,105 เครื่อง มูลค่า 842 ล้านบาท และ ป.1 โซน 2 (ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) จำนวน 373,637 เครื่อง เป็นเงิน 786 ล้านบาท รวมทั้ง 2 โซน เป็นวงเงิน 1,628 ล้านบาท ได้ทำหนังสือแจ้งขอยกเลิกสัญญาซื้อขายแท็บเล็ตโดยให้เหตุผลถึงความแน่นอนของสถานการณ์การเมืองไทย ความเข้าใจต่อทีโออาร์ (TOR) และสัญญาไม่ตรงกัน รวมถึงการติดต่อสื่อสารมีปัญหาอุปสรรค จนกระทั่งบริษัทส่งมอบของล่าช้า และถูกเรียกค่าปรับ
นอกจากนี้ บริษัทเซิ่นเจิ้นฯ แจ้งอีกว่า เพื่อไม่ส่งผลกระทบต่อโครงการแท็บเล็ตฯ และเพื่อหลีกเลี่ยงการสูญเสียทางธุรกิจจึงขอยกเลิกสัญญาทั้งหมดที่ได้ลงนาม ส่วนการขอคืนหลักประกันตามสัญญาที่ทางบริษัทเซิ่นเจิ้นฯ ได้มอบไว้ ทางบริษัทเซิ่นเจิ้นฯ ขอสงวนสิทธิอุทธรณ์ตามกฎหมาย ซึ่งทางคณะกรรมการจัดซื้อของ สพฐ.จะพิจารณาในประเด็นการริบวงเงินค้ำประกัน 120 ล้านบาท การฟ้องร้องบริษัทในฐานะผู้ละทิ้งงาน และเรียกร้องค่าเสียหายในส่วนต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการจัดซื้อเดิม และการประมูลจัดซื้อใหม่ที่จะเกิดขึ้นตามระเบียบของทางราชการ ซึ่งจะต้องพิจารณา และสรุปเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายฯ ที่มีตนเป็นประธานในวันที่ 7 กุมภาพันธ์นี้
รักษาการ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อว่า ถึงแม้จะสามารถเรียกร้องค่าเสียหายกับบริษัทได้ แต่คงไม่คุ้มกับความเสียหายที่เด็กไม่ได้ใช้แท็บเล็ตมาจนถึงเวลานี้ซึ่งกำลังครบ 1 ปีการศึกษา ซึ่งจะต้องมีการสรุปบทเรียนจากการดำเนินการที่ผ่านมาทั้งหมด และต้องยอมรับว่า การจัดซื้อแท็บเล็ตที่ผ่านมามีปัญหาอย่างมาก ทั้งปัญหาทางเทคนิค วิธีการ กระบวนการจัดซื้อ และยังมีปัญหาแทรกซ้อนขึ้นมา เช่น ปัญหาบริษัทที่เสนอราคาประมูลต่ำแต่ทำไม่ได้จริง มีข้อสงสัยว่าแข่งกันจริงหรือไม่ในบางรายการ และเมื่อจะยกเลิกก็ยกเลิกไม่ได้เหมือนเขาวงกต ตกหลุมดำ แล้วหาทางออกไม่เจอ ซึ่งเรื่องนี้ต้องเร่งสรุปบทเรียนเพื่อนำมาแก้ปัญหาในการดำเนินการจัดซื้อรอบใหม่ ทั้งนี้ กรณีของบริษัทเซิ่นเจิ้นฯ ในเรื่องของผู้ดำเนินการก็ต้องมาสรุปปัญหาเช่นกันว่ามีใครทำอะไรในแต่ละขั้นตอน เช่น เห็นปัญหาอยู่แล้ว และหากทางป้องกันดีหรือไม่ เพราะที่ผ่านมา ก็มีข่าวเป็นระยะเกี่ยวกับความมั่นคงของบริษัท เป็นต้น อย่างไรก็ตาม สพฐ.จะต้องเร่งสรุปบทเรียนในครั้งนี้ และเมื่อยกเลิกสัญญาแล้วต้องรีบดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อจัดซื้อ แต่แนวโน้มเด็ก ป.1และ ม.1 ปีการศึกษา 2556 น่าจะได้ใช้แท็บเล็ตพร้อมกับเด็กชั้น ป.1และ ม.1ในปีการศึกษา2557
“ถามว่าจะให้ใครเป็นผู้รับผิดชอบต่อความเสียหายครั้งนี้ก็คงเป็นเรื่องที่ต้องไปดู แต่เรื่องนี้ดำเนินการไปตามระเบียบที่กำหนดไว้ เมื่อผมเข้ามาทำงานกระบวนการต่างๆ ก็ผ่านไปครึ่งทาง จะปรับเปลี่ยน หรือแก้ไขก็ไม่สามารถทำได้ ซึ่งการจัดซื้อแท็บเล็ตจะต้องดำเนินการต่อไปเพราะเป็นโครงการที่ได้รับมาตาม พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่าย ประจำปี 2556 ที่ได้อนุมัติวงเงินไว้แล้วจึงต้องทำให้ได้ สำหรับวิธีการจัดซื้อที่มีผู้เสนอให้กระจายอำนาจให้เขตพื้นที่การศึกษาดำเนินการเองนั้น จะต้องมาดูมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่อนุมัติไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะให้ดำเนินการได้หรือไม่อย่างไร และจะผูกพันไปถึง ครม.ชุดใหม่หรือไม่ ดังนั้น จึงต้องมาดูว่าจะทำได้มากน้อยแค่ไหน” นายจาตุรนต์ กล่าว