สปสช.ฟุ้งหนุนศักยภาพระบบการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจ 7 จังหวัดภาคใต้ ชี้ 4 ปีลดอัตราการตายผู้ป่วยระหว่างรอคิวจากร้อยละ 12.5 เหลือร้อยละ 9.8 ภายใน 2 ปี เตรียมผลักดัน รพ.ตรัง-รพ.ยะลา เพิ่มประสิทธิภาพรักษาผู้ป่วยหัวใจเพิ่ม
นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า โรคระบบไหลเวียนโลหิต เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับที่ 1 ของการรับบริการผู้ป่วยในของประชาชนในพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง โดยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เป็นสาเหตุหลักในกลุ่มนี้ มีความชุกเพิ่มสูงขึ้นจาก 132.92 ต่อแสนประชากร ในปี 2553 เป็น 157.37 ต่อแสนประชากร ในปี 2555 และอัตราการเสียชีวิตเท่ากับ 8.87 ต่อแสนประชากร ประกอบกับที่ผ่านมา การเข้าถึงการรักษายังต่ำ ทั้งการสวนหัวใจ และการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด ทั้งมีระยะเวลาการรอคอยรักษามากกว่า 1,000 วัน ดังนั้น เพื่อเพิ่มการเข้าถึงการรักษาจึงต้องเพิ่มศักยภาพหน่วยบริการในพื้นที่ให้สามารถบริการสวนหัวใจและผ่าตัดหัวใจแบบเปิดเพิ่มขึ้น รวมถึงสนับสนุนให้มีมาตรการส่งเสริมป้องกันไม่ให้ป่วย หรือเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคมากขึ้น
นพ.วินัย กล่าวอีกว่า ด้วยเหตุนี้ทางคณะอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพเขต 12 จึงให้การสนับสนุนพัฒนาศักยภาพการให้บริการรักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ทั้งการสวนหัวใจ และการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด นอกจากช่วยผู้ป่วยกลุ่มโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดแล้ว ยังช่วยผู้ป่วยกลุ่มอื่น เช่น กลุ่มโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด เป็นต้น เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการได้มากขึ้น ทั้งการเพิ่มหน่วยบริการในการรักษาผู้ป่วย โดยได้ประสานความร่วมมือกับโรงพยาบาลเอกชน อย่าง โรงพยาบาลกรุงเทพ หาดใหญ่ ที่มีศักยภาพบริการสวนหัวใจและผ่าตัดหัวใจแบบเปิด การพัฒนาศักยภาพโรงพยาบาลศูนย์หาดใหญ่ให้สามารถบริการสวนหัวใจ และผ่าตัดหัวใจแบบเปิดได้ ด้วยการสนับสนุนงบค่าเสื่อมตติยภูมิระดับประเทศ การสนับสนุนเงินชดเชยเพิ่มเติมสำหรับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดในโรงพยาบาลของรัฐ และสนับสนุนงบส่งเสริมคุณภาพหน่วยบริการรับส่งต่อ เป็นต้น
“ในส่วนของการสนับสนับสนุนพัฒนาศักยภาพโรงพยาบาลศูนย์หาดใหญ่ ทำให้ในปี 2556 สามารถเปิดให้บริการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดได้ ซึ่งนอกจาก สปสช.ให้การสนับสนุนด้านงบประมาณแล้ว ยังได้รับความร่วมมือจากโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ในการพัฒนาบุคลากรเพื่อให้การรักษา และใน ก.พ. ปี 2557 นี้ ยังมีแผนเปิดให้บริการสวนหัวใจเพิ่มเติม” เลขาธิการ สปสช. กล่าว
นพ.วินัย กล่าวต่อว่า นอกจากโรงพยาบาลศูนย์หาดใหญ่แล้ว ในปี 2557 สปสช.ยังได้ให้การสนับสนุนงบประมาณโรงพยาบาลศูนย์ตรังเพื่อพัฒนาศักยภาพเพื่อให้บริการสวนหัวใจ และผ่าตัดแบบเปิดเพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงได้มากขึ้น และยังมีแผนที่จะสนับสนุนแก่โรงพยาบาลศูนย์ยะลาต่อไป รวมถึงการส่งเสริมการจัดเครือข่ายระบบส่งต่อผู้ป่วยโรคหัวใจที่รวดเร็ว (STEMI FAST TRACT) ให้ครอบคลุมเต็มพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาระบบบริการของเครือข่ายบริการที่ 12 ของกระทรวงสาธารณสุข ทั้งนี้ เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และทั่วถึง
ด้าน นพ.กุลเดช เตชะนภารักษ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลหาดใหญ่ จ.สงขลา กล่าวว่า ในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างมีปัญหาเรื่องคิวการผ่าตัดโรคหัวใจมาก เมื่อมีการดำเนินการร่วมกับ สปสช. จากผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ทำให้ผู้ป่วยโรคหัวใจลดการรอคิวการผ่าตัดลงได้ เฉลี่ยจากเดิมที่เคยรอคิวข้ามปีก็สามารถลดการรอคอยการผ่าตัดให้ได้รับการผ่าตัดได้ในปีเดียว ทำให้ลดอัตราการเสียชีวิตในระหว่างรอคิวผ่าตัดของผู้ป่วยลงได้ โดยปี 2556 อยู่ที่ร้อยละ 9.8 จากปี 2554 อยู่ที่ร้อยละ 12.5 จะเห็นได้ว่า ไม่เพียงแต่ช่วยผู้ป่วยโรคหัวใจเข้าถึงการรักษาเพิ่มมากขึ้น แต่ยังสามารถช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยกลุ่มนี้ลงอย่างเห็นได้ชัด ถือเป็นผลสำเร็จ และต้องมีการพัฒนาต่อไป
นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า โรคระบบไหลเวียนโลหิต เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับที่ 1 ของการรับบริการผู้ป่วยในของประชาชนในพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง โดยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เป็นสาเหตุหลักในกลุ่มนี้ มีความชุกเพิ่มสูงขึ้นจาก 132.92 ต่อแสนประชากร ในปี 2553 เป็น 157.37 ต่อแสนประชากร ในปี 2555 และอัตราการเสียชีวิตเท่ากับ 8.87 ต่อแสนประชากร ประกอบกับที่ผ่านมา การเข้าถึงการรักษายังต่ำ ทั้งการสวนหัวใจ และการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด ทั้งมีระยะเวลาการรอคอยรักษามากกว่า 1,000 วัน ดังนั้น เพื่อเพิ่มการเข้าถึงการรักษาจึงต้องเพิ่มศักยภาพหน่วยบริการในพื้นที่ให้สามารถบริการสวนหัวใจและผ่าตัดหัวใจแบบเปิดเพิ่มขึ้น รวมถึงสนับสนุนให้มีมาตรการส่งเสริมป้องกันไม่ให้ป่วย หรือเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคมากขึ้น
นพ.วินัย กล่าวอีกว่า ด้วยเหตุนี้ทางคณะอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพเขต 12 จึงให้การสนับสนุนพัฒนาศักยภาพการให้บริการรักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ทั้งการสวนหัวใจ และการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด นอกจากช่วยผู้ป่วยกลุ่มโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดแล้ว ยังช่วยผู้ป่วยกลุ่มอื่น เช่น กลุ่มโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด เป็นต้น เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการได้มากขึ้น ทั้งการเพิ่มหน่วยบริการในการรักษาผู้ป่วย โดยได้ประสานความร่วมมือกับโรงพยาบาลเอกชน อย่าง โรงพยาบาลกรุงเทพ หาดใหญ่ ที่มีศักยภาพบริการสวนหัวใจและผ่าตัดหัวใจแบบเปิด การพัฒนาศักยภาพโรงพยาบาลศูนย์หาดใหญ่ให้สามารถบริการสวนหัวใจ และผ่าตัดหัวใจแบบเปิดได้ ด้วยการสนับสนุนงบค่าเสื่อมตติยภูมิระดับประเทศ การสนับสนุนเงินชดเชยเพิ่มเติมสำหรับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดในโรงพยาบาลของรัฐ และสนับสนุนงบส่งเสริมคุณภาพหน่วยบริการรับส่งต่อ เป็นต้น
“ในส่วนของการสนับสนับสนุนพัฒนาศักยภาพโรงพยาบาลศูนย์หาดใหญ่ ทำให้ในปี 2556 สามารถเปิดให้บริการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดได้ ซึ่งนอกจาก สปสช.ให้การสนับสนุนด้านงบประมาณแล้ว ยังได้รับความร่วมมือจากโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ในการพัฒนาบุคลากรเพื่อให้การรักษา และใน ก.พ. ปี 2557 นี้ ยังมีแผนเปิดให้บริการสวนหัวใจเพิ่มเติม” เลขาธิการ สปสช. กล่าว
นพ.วินัย กล่าวต่อว่า นอกจากโรงพยาบาลศูนย์หาดใหญ่แล้ว ในปี 2557 สปสช.ยังได้ให้การสนับสนุนงบประมาณโรงพยาบาลศูนย์ตรังเพื่อพัฒนาศักยภาพเพื่อให้บริการสวนหัวใจ และผ่าตัดแบบเปิดเพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงได้มากขึ้น และยังมีแผนที่จะสนับสนุนแก่โรงพยาบาลศูนย์ยะลาต่อไป รวมถึงการส่งเสริมการจัดเครือข่ายระบบส่งต่อผู้ป่วยโรคหัวใจที่รวดเร็ว (STEMI FAST TRACT) ให้ครอบคลุมเต็มพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาระบบบริการของเครือข่ายบริการที่ 12 ของกระทรวงสาธารณสุข ทั้งนี้ เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และทั่วถึง
ด้าน นพ.กุลเดช เตชะนภารักษ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลหาดใหญ่ จ.สงขลา กล่าวว่า ในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างมีปัญหาเรื่องคิวการผ่าตัดโรคหัวใจมาก เมื่อมีการดำเนินการร่วมกับ สปสช. จากผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ทำให้ผู้ป่วยโรคหัวใจลดการรอคิวการผ่าตัดลงได้ เฉลี่ยจากเดิมที่เคยรอคิวข้ามปีก็สามารถลดการรอคอยการผ่าตัดให้ได้รับการผ่าตัดได้ในปีเดียว ทำให้ลดอัตราการเสียชีวิตในระหว่างรอคิวผ่าตัดของผู้ป่วยลงได้ โดยปี 2556 อยู่ที่ร้อยละ 9.8 จากปี 2554 อยู่ที่ร้อยละ 12.5 จะเห็นได้ว่า ไม่เพียงแต่ช่วยผู้ป่วยโรคหัวใจเข้าถึงการรักษาเพิ่มมากขึ้น แต่ยังสามารถช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยกลุ่มนี้ลงอย่างเห็นได้ชัด ถือเป็นผลสำเร็จ และต้องมีการพัฒนาต่อไป