สธ.ชู รพ.หัวหิน เป็นศูนย์อุบัติเหตุและโรคหัวใจ ตลอด 24 ชั่วโมง ระบุเป็นศูนย์รับแจ้งสั่งการแพทย์ฉุกเฉินประจำ อ.หัวหิน มีทีมแพทย์ออกทำหน้าที่ 10 ทีม
นายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวระหว่างเดินทางตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลหัวหิน อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เพื่อติดตามความก้าวหน้าการพัฒนาโรงพยาบาลตามแผนพัฒนากระทรวงสาธารณสุข พร้อมรับฟังผลการดำเนินงาน รวมทั้งปัญหาอุปสรรคในการทำงาน ว่า จากการตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลหัวหิน ซึ่งเป็นโรงพยาบาลทั่วไปขนาด 200 เตียง และได้ยกระดับและพัฒนาศักยภาพให้เป็นศูนย์เชี่ยวชาญด้านอุบัติเหตุและโรคหัวใจระดับต้น เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประจำพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ขณะนี้นับว่ามีความสมบูรณ์แบบ มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและเครื่องมือแพทย์ครบถ้วน ต่อวันมีประชาชนใช้บริการที่แผนกผู้ป่วยนอกเฉลี่ย 1,200 ราย อัตราการครองเตียงเกิน 100% ของเตียงทั้งหมด โดยมีการเสริมเตียงเพิ่มเป็น 340 เตียง เฉพาะบริการโรคหัวใจ ซึ่งจัดเป็นโรคฉุกเฉิน มีผู้ป่วยเข้ารับบริการเดือนละ 50 ราย ส่วนใหญ่เป็นโรคหัวใจล้มเหลว รองลงมาโรคหัวใจขาดเลือด อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยลดลงจากร้อยละ 11 ในปี 2554 เหลือร้อยละ 8 ในปี 2555 โดยในปี 2555 ให้บริการผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด 332 ราย และพัฒนาช่องทางด่วนปรึกษาอายุรแพทย์หัวใจ หลายระบบ เช่น ส่งข้อความ (MMS) โทรสาร (Fax) อีเมล (E-mail) เพื่อลดปัญหาการวินิจฉัยล่าช้า ในสัปดาห์หน้าจะเพิ่มบริการส่วนหัวใจ และพัฒนาความพร้อมผ่าตัดหัวใจเช่นเดียวกับศูนย์เชี่ยวชาญอื่นๆ
ทั้งนี้ โรงพยาบาลหัวหินตั้งอยู่บนเส้นทางเพชรเกษม มีปัญหาอุบัติเหตุจราจรเกิดขึ้นบ่อยมาก ส่วนใหญ่บาดเจ็บที่สมองและบาดเจ็บหลายระบบพร้อมกัน สธ.ได้เพิ่มขีดความสามารถในตรวจวินิจฉัยและรักษา โดยเป็นศูนย์รับแจ้งและสั่งการการแพทย์ฉุกเฉิน 1669 ในเขตอำเภอหัวหิน สามารถออกปฏิบัติการได้คราวเดียวกัน 10 ทีม และพัฒนาศักยภาพของห้องฉุกเฉิน มีเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เครื่องเอกซเรย์สมอง พร้อมแพทย์เชี่ยวชาญตลอด 24 ชั่วโมง มีคลังเลือดและห้องผ่าตัดพร้อมปฏิบัติการทันที ในปี 2555 ออกปฏิบัติการจำนวน 3,816 ครั้ง เฉลี่ยวันละ 10 ครั้ง โดยเป็นผู้ป่วยที่มีอาการในระดับวิกฤติร้อยละ 9 ทีมแพทย์ฉุกเฉินเข้าถึงจุดเกิดเหตุภายใน 10 นาทีตามมาตรฐานได้ถึงร้อยละ 80 ซึ่งโรงพยาบาลหัวหินได้จัดฝึกซ้อมแผนรับมือผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน เพื่อเพิ่มทักษะความพร้อมเจ้าหน้าที่ทุกระดับอย่างต่อเนื่อง และทบทวนแผนทุก 3 เดือน เพื่อช่วยชีวิตผู้เจ็บป่วยและป้องกันความพิการซ้ำซ้อนให้ได้มากที่สุด
นายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวระหว่างเดินทางตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลหัวหิน อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เพื่อติดตามความก้าวหน้าการพัฒนาโรงพยาบาลตามแผนพัฒนากระทรวงสาธารณสุข พร้อมรับฟังผลการดำเนินงาน รวมทั้งปัญหาอุปสรรคในการทำงาน ว่า จากการตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลหัวหิน ซึ่งเป็นโรงพยาบาลทั่วไปขนาด 200 เตียง และได้ยกระดับและพัฒนาศักยภาพให้เป็นศูนย์เชี่ยวชาญด้านอุบัติเหตุและโรคหัวใจระดับต้น เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประจำพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ขณะนี้นับว่ามีความสมบูรณ์แบบ มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและเครื่องมือแพทย์ครบถ้วน ต่อวันมีประชาชนใช้บริการที่แผนกผู้ป่วยนอกเฉลี่ย 1,200 ราย อัตราการครองเตียงเกิน 100% ของเตียงทั้งหมด โดยมีการเสริมเตียงเพิ่มเป็น 340 เตียง เฉพาะบริการโรคหัวใจ ซึ่งจัดเป็นโรคฉุกเฉิน มีผู้ป่วยเข้ารับบริการเดือนละ 50 ราย ส่วนใหญ่เป็นโรคหัวใจล้มเหลว รองลงมาโรคหัวใจขาดเลือด อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยลดลงจากร้อยละ 11 ในปี 2554 เหลือร้อยละ 8 ในปี 2555 โดยในปี 2555 ให้บริการผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด 332 ราย และพัฒนาช่องทางด่วนปรึกษาอายุรแพทย์หัวใจ หลายระบบ เช่น ส่งข้อความ (MMS) โทรสาร (Fax) อีเมล (E-mail) เพื่อลดปัญหาการวินิจฉัยล่าช้า ในสัปดาห์หน้าจะเพิ่มบริการส่วนหัวใจ และพัฒนาความพร้อมผ่าตัดหัวใจเช่นเดียวกับศูนย์เชี่ยวชาญอื่นๆ
ทั้งนี้ โรงพยาบาลหัวหินตั้งอยู่บนเส้นทางเพชรเกษม มีปัญหาอุบัติเหตุจราจรเกิดขึ้นบ่อยมาก ส่วนใหญ่บาดเจ็บที่สมองและบาดเจ็บหลายระบบพร้อมกัน สธ.ได้เพิ่มขีดความสามารถในตรวจวินิจฉัยและรักษา โดยเป็นศูนย์รับแจ้งและสั่งการการแพทย์ฉุกเฉิน 1669 ในเขตอำเภอหัวหิน สามารถออกปฏิบัติการได้คราวเดียวกัน 10 ทีม และพัฒนาศักยภาพของห้องฉุกเฉิน มีเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เครื่องเอกซเรย์สมอง พร้อมแพทย์เชี่ยวชาญตลอด 24 ชั่วโมง มีคลังเลือดและห้องผ่าตัดพร้อมปฏิบัติการทันที ในปี 2555 ออกปฏิบัติการจำนวน 3,816 ครั้ง เฉลี่ยวันละ 10 ครั้ง โดยเป็นผู้ป่วยที่มีอาการในระดับวิกฤติร้อยละ 9 ทีมแพทย์ฉุกเฉินเข้าถึงจุดเกิดเหตุภายใน 10 นาทีตามมาตรฐานได้ถึงร้อยละ 80 ซึ่งโรงพยาบาลหัวหินได้จัดฝึกซ้อมแผนรับมือผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน เพื่อเพิ่มทักษะความพร้อมเจ้าหน้าที่ทุกระดับอย่างต่อเนื่อง และทบทวนแผนทุก 3 เดือน เพื่อช่วยชีวิตผู้เจ็บป่วยและป้องกันความพิการซ้ำซ้อนให้ได้มากที่สุด