รพ.รามาฯแถลงพบมีผู้ถูกกระสุนจริงยิง 4 ราย จากเหตุที่ ม.รามคำแหง 2 ราย และเหตุปะทะกับผู้ชุมนุมอีก 2 ราย ระบุอาการสาหัส 1 ราย ยังเร่งทำการผ่าตัด เสี่ยงอัมพาตหรือเสียชีวิต หลังถูกยิงที่หน้าอกทะลุช่องท้องผ่านกระดูกไขสันหลัง วอนหยุดใช้ความรุนแรงและเลิกใช้อาวุธจริงทุกฝ่าย
วันนี้ (2 ธ.ค.) เมื่อเวลา 19.00 น.ที่โรงพยาบาลรามาธิบดี ศ.นพ.วินิต พัวประดิษฐ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี นำทีมแพทย์แถลงข่าวกรณีผู้ได้รับบาดเจ็บจากเหตุปะทะระหว่างการชุมนุมตั้งแต่วันที่ 30 พ.ย.-2 ธ.ค. โดย รศ.นพ.สุรศักดิ์ ลีลาอุดมลิปิ ผู้อำนวยการ รพ.รามาธิบดี กล่าวว่า ขณะนี้ รพ.รามาธิบดี ให้การดูแลรักษาผู้ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ชุมนุมทั้งสิ้น 27 ราย เป็นชาย 22 ราย หญิง 5 ราย ยังนอนพักรักษา 7 ราย โดยวันที่ 30 พ.ย.จากเหตุการณ์ปะทะที่บริเวณมหาวิทยาลัยรามคำแหง พบถูกยิง 2 รายที่บริเวณขา ถูกกระแทกจนกระดูกแขนแตก 1 ราย และมีบาดแผลที่ศีรษะ 1 ราย วันที่ 1 ธ.ค.มีจำนวน 16 ราย ถูกแก๊สน้ำตา 14 ราย หัวแตก 1 ราย และกระดูกมือแตก 1 ราย และวันที่ 2 ธ.ค.มีจำนวน 7 ราย ถูกแก๊สน้ำตา 3 ราย แผลที่ขา 1 ราย ถูกยิงที่ท้องด้วยกระสุนยาง 1 ราย ถูกยิงที่หน้าอกด้วยกระสุนจริง 1 ราย และถูกยิงที่ขาขวาด้วยกระสุนจริง 1 ราย
รศ.นพ.ธันย์ สุภัทรพันธุ์ รองคณบดีฝ่ายบริการ คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี กล่าวว่า รายที่โดนกระสุนยางยิงที่หน้าท้อง ไม่อันตรายมาก แต่ฟกช้ำ แต่สำหรับรายที่ถูกยิงด้วยกระสุนจริงที่หน้าอก มีอาการหนัก ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างกำลังผ่าตัดเอากระสุนออก โดยนำตัวมาจากบริเวณสะพานชมัยมรุเชฐ ถูกยิงที่หน้าอก กระสุนทะลุช่องท้อง ผ่านกระดูกไขสันหลัง และตุงค้างอยู่ที่บริเวณด้านหลัง อาการสาหัส เสี่ยงต่อการเสียชีวิต หากไม่เสียชีวิตก็อาจจะต้องสูญเสียการทำงานของอวัยวะบางอย่างแน่นอนหรือเป็นอัมพาต ส่วนรายถูกยิงที่ขาขวา ได้รับตัวมาจากบริเวณวัดเบญจฯ กระดูกแตกละเอียด ยังพักรักษาตัวในโรงพยาบาล
พล.อ.ต.นพ.วิชาญ เปี้ยวนิ่ม หัวหน้าสาขาวิชานิติเวชศาสตร์ รพ.รามาธิบดี กล่าวว่า จากการพิสูจน์ลักษณะบาดแผลและฟิล์มเอกซเรย์ พบว่า รายที่ถูกยิงที่หน้าอกเป็นกระสุนขนาด 9 มม.เป็นลูกโดดชนิดพกพาทั่วไป ไม่ได้มีความเร็วสูงแบบที่ใช้ในสงคราม ส่วนรายที่ถูกยิงขาขวานั้น เนื่องจากกระสุนกระแทกกระดูกจนแตกละเอียด ทำให้ไม่สามารถทราบได้ว่าเป็นกระสุนขนาดใด แต่จากลักษณะของบาดแผลคาดว่าจะเป็นกระสุนขนาด 9 มม.เช่นกัน อย่างไรก็ตาม ไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นกระสุนจากฝ่ายใด มีวิถีกระสุนอย่างไร และยิงมาจากปืนชนิดใด ต้องให้ส่งให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจต่อ คือ กองพิสูจน์หลักฐาน หรือสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม เป็นผู้ตรวจ ทั้งนี้ กระสุนปืนมี 2 ชนิดคือ ลูกโดดที่จะออกจากลำกล้องทีละนัด เช่น ปืนสั้น ปืนพก ปืนลูกโม่ ปืนแม็กกาซีนอย่างที่ทหารใช้ ปืนไรเฟิล ปืนยาว และลูกซอง ที่เมื่อยิงแล้วจะออกมาหลายนัด
ผู้สื่อข่าวถามกรณีพบกระดูกในรถบัสที่ถูกไฟไหม้นั้น การถูกไฟไหม้ทำให้ร่างเหลือเพียงกระดูกได้หรือไม่ พล.อ.ต.นพ.วิชาญ กล่าวว่า โดยปกติหากเกิดไฟไหม้ร่างกายเป็นเวลานาน ก็สามารถทำให้เหลือเพียงกระดูกได้ อย่างไรก็ตาม จะเหลือผิวหนังที่ไหม้เกรียมบางส่วนและจะมีกระดูกโผล่ออกมาก ทั้งนี้ เรื่องดังกล่าวทางนิติเวชสามารถตรวจสอบได้ และจะทราบได้ว่าเป็นโครงกระดูกของมนุษย์หรือสัตว์ แต่ตนไม่ทราบรายละเอียด เพราะไม่ได้ส่งมาพิสูจน์ที่นิติเวช รพ.รามาธิบดี จึงบอกถึงหลักการทั่วไปเท่านั้น
ศ.นพ.วินิต กล่าวว่า รพ.รามาธิบดี เตรียมพร้อม 24 ชั่วโมง ทั้งบุคลากร น้ำเกลือ และเลือด ซึ่งการให้ข้อมูลในครั้งนี้ เพราะต้องการให้สังคมรับทราบว่า มีความรุนแรงเกิดขึ้นและมีการใช้อาวุธปราบปราม มีการใช้ความรุนแรง จึงขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายยุติการใช้ความรุนแรง เลิกใช้อาวุธจริงไม่ว่าจะเป็นฝ่ายใด ที่สำคัญการใช้ห้องผ่าตัดก็ต้องนำมาใช้เพื่อรักษาผู้ได้รับบาดเจ็บ ทำให้คิวการผ่าตัดหัวใจ และมะเร็งต้องลดลงไป ผู้ป่วยอื่นก็ต้องรอเป็นผลกระทบ
วันนี้ (2 ธ.ค.) เมื่อเวลา 19.00 น.ที่โรงพยาบาลรามาธิบดี ศ.นพ.วินิต พัวประดิษฐ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี นำทีมแพทย์แถลงข่าวกรณีผู้ได้รับบาดเจ็บจากเหตุปะทะระหว่างการชุมนุมตั้งแต่วันที่ 30 พ.ย.-2 ธ.ค. โดย รศ.นพ.สุรศักดิ์ ลีลาอุดมลิปิ ผู้อำนวยการ รพ.รามาธิบดี กล่าวว่า ขณะนี้ รพ.รามาธิบดี ให้การดูแลรักษาผู้ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ชุมนุมทั้งสิ้น 27 ราย เป็นชาย 22 ราย หญิง 5 ราย ยังนอนพักรักษา 7 ราย โดยวันที่ 30 พ.ย.จากเหตุการณ์ปะทะที่บริเวณมหาวิทยาลัยรามคำแหง พบถูกยิง 2 รายที่บริเวณขา ถูกกระแทกจนกระดูกแขนแตก 1 ราย และมีบาดแผลที่ศีรษะ 1 ราย วันที่ 1 ธ.ค.มีจำนวน 16 ราย ถูกแก๊สน้ำตา 14 ราย หัวแตก 1 ราย และกระดูกมือแตก 1 ราย และวันที่ 2 ธ.ค.มีจำนวน 7 ราย ถูกแก๊สน้ำตา 3 ราย แผลที่ขา 1 ราย ถูกยิงที่ท้องด้วยกระสุนยาง 1 ราย ถูกยิงที่หน้าอกด้วยกระสุนจริง 1 ราย และถูกยิงที่ขาขวาด้วยกระสุนจริง 1 ราย
รศ.นพ.ธันย์ สุภัทรพันธุ์ รองคณบดีฝ่ายบริการ คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี กล่าวว่า รายที่โดนกระสุนยางยิงที่หน้าท้อง ไม่อันตรายมาก แต่ฟกช้ำ แต่สำหรับรายที่ถูกยิงด้วยกระสุนจริงที่หน้าอก มีอาการหนัก ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างกำลังผ่าตัดเอากระสุนออก โดยนำตัวมาจากบริเวณสะพานชมัยมรุเชฐ ถูกยิงที่หน้าอก กระสุนทะลุช่องท้อง ผ่านกระดูกไขสันหลัง และตุงค้างอยู่ที่บริเวณด้านหลัง อาการสาหัส เสี่ยงต่อการเสียชีวิต หากไม่เสียชีวิตก็อาจจะต้องสูญเสียการทำงานของอวัยวะบางอย่างแน่นอนหรือเป็นอัมพาต ส่วนรายถูกยิงที่ขาขวา ได้รับตัวมาจากบริเวณวัดเบญจฯ กระดูกแตกละเอียด ยังพักรักษาตัวในโรงพยาบาล
พล.อ.ต.นพ.วิชาญ เปี้ยวนิ่ม หัวหน้าสาขาวิชานิติเวชศาสตร์ รพ.รามาธิบดี กล่าวว่า จากการพิสูจน์ลักษณะบาดแผลและฟิล์มเอกซเรย์ พบว่า รายที่ถูกยิงที่หน้าอกเป็นกระสุนขนาด 9 มม.เป็นลูกโดดชนิดพกพาทั่วไป ไม่ได้มีความเร็วสูงแบบที่ใช้ในสงคราม ส่วนรายที่ถูกยิงขาขวานั้น เนื่องจากกระสุนกระแทกกระดูกจนแตกละเอียด ทำให้ไม่สามารถทราบได้ว่าเป็นกระสุนขนาดใด แต่จากลักษณะของบาดแผลคาดว่าจะเป็นกระสุนขนาด 9 มม.เช่นกัน อย่างไรก็ตาม ไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นกระสุนจากฝ่ายใด มีวิถีกระสุนอย่างไร และยิงมาจากปืนชนิดใด ต้องให้ส่งให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจต่อ คือ กองพิสูจน์หลักฐาน หรือสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม เป็นผู้ตรวจ ทั้งนี้ กระสุนปืนมี 2 ชนิดคือ ลูกโดดที่จะออกจากลำกล้องทีละนัด เช่น ปืนสั้น ปืนพก ปืนลูกโม่ ปืนแม็กกาซีนอย่างที่ทหารใช้ ปืนไรเฟิล ปืนยาว และลูกซอง ที่เมื่อยิงแล้วจะออกมาหลายนัด
ผู้สื่อข่าวถามกรณีพบกระดูกในรถบัสที่ถูกไฟไหม้นั้น การถูกไฟไหม้ทำให้ร่างเหลือเพียงกระดูกได้หรือไม่ พล.อ.ต.นพ.วิชาญ กล่าวว่า โดยปกติหากเกิดไฟไหม้ร่างกายเป็นเวลานาน ก็สามารถทำให้เหลือเพียงกระดูกได้ อย่างไรก็ตาม จะเหลือผิวหนังที่ไหม้เกรียมบางส่วนและจะมีกระดูกโผล่ออกมาก ทั้งนี้ เรื่องดังกล่าวทางนิติเวชสามารถตรวจสอบได้ และจะทราบได้ว่าเป็นโครงกระดูกของมนุษย์หรือสัตว์ แต่ตนไม่ทราบรายละเอียด เพราะไม่ได้ส่งมาพิสูจน์ที่นิติเวช รพ.รามาธิบดี จึงบอกถึงหลักการทั่วไปเท่านั้น
ศ.นพ.วินิต กล่าวว่า รพ.รามาธิบดี เตรียมพร้อม 24 ชั่วโมง ทั้งบุคลากร น้ำเกลือ และเลือด ซึ่งการให้ข้อมูลในครั้งนี้ เพราะต้องการให้สังคมรับทราบว่า มีความรุนแรงเกิดขึ้นและมีการใช้อาวุธปราบปราม มีการใช้ความรุนแรง จึงขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายยุติการใช้ความรุนแรง เลิกใช้อาวุธจริงไม่ว่าจะเป็นฝ่ายใด ที่สำคัญการใช้ห้องผ่าตัดก็ต้องนำมาใช้เพื่อรักษาผู้ได้รับบาดเจ็บ ทำให้คิวการผ่าตัดหัวใจ และมะเร็งต้องลดลงไป ผู้ป่วยอื่นก็ต้องรอเป็นผลกระทบ