สธ.เผยผลสำรวจยังพบแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายสูงในวัด และโรงเรียน ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกแห่งให้ความรู้ สร้างความตระหนักประชาชนในการป้องกันโรค ต้องนอนในมุ้ง แม้อากาศหนาวเย็นก็ตาม ย้ำหากป่วยเป็นไข้สูงลอย 2 วันอาการไม่ดีขึ้น ไม่ไอ ไม่มีน้ำมูก ให้รีบไปพบแพทย์
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในช่วงวันหยุดยาวเทศกาลปีใหม่ 2557 นี้ จะมีประชาชนจำนวนมากเดินทางกลับภูมิลำเนา หรือไปท่องเที่ยวตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ และเนื่องจากการอยู่ในสถานที่ท่องเที่ยวที่มีคนอยู่ร่วมกันเป็นจำนวนมาก ประกอบกับในปีนี้สภาพอากาศค่อนข้างหนาวเย็น อาจทำให้เจ็บป่วยจากโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจได้ง่าย รวมทั้งโรคไข้เลือดออก ซึ่งแม้สภาพอากาศหนาวเย็นจะมีผลให้สถานการณ์การแพร่ระบาดไข้เลือดออกลดลง จากเดิมพบผู้ป่วยช่วงสูงสุดในช่วงฤดูฝนเดือนมิถุนายน-สิงหาคมสัปดาห์ละประมาณ 5,000 ราย ลดลงเหลือสัปดาห์ละ 1,000 รายในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา แต่ยังไม่สามารถวางใจได้ เพราะยังมียุงลายอยู่ในพื้นที่
ผลการสำรวจลูกน้ำยุงลายของกรมควบคุมโรค ล่าสุดเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2556 พบว่าในภาชนะขังน้ำในบ้านเรือนประชาชน โรงเรียน โรงพยาบาล รวมทั้งศาสนสถาน ยังมีลูกน้ำยุงลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ศาสนสถาน สำรวจทั้งหมด 120 แห่ง พบลูกน้ำยุงลายในภาชนะขังน้ำ 75 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 63 ซึ่งอาจทำให้ประชาชนที่นิยมไปทำบุญขอพรปีใหม่ถูกยุงกัดและป่วยเป็นไข้เลือดออกได้ ได้กำชับให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกแห่ง ให้ความรู้และสร้างความตระหนักแก่ประชาชนในการป้องกันโรคไข้เลือดออก และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี หากสามารถกำจัดได้ในช่วงฤดูหนาวและฤดูร้อนได้มาก ปัญหาก็จะลดลงในฤดูฝน ขอให้นอนในมุ้ง หรือห้องที่มีมุ้งลวดแม้ว่าอากาศจะหนาวเย็นก็ตาม เพราะยังมีประชาชนบางพื้นที่เชื่อว่าหน้าหนาวไม่มียุง
ด้านนพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า อาการป่วยของไข้เลือดออกในฤดูหนาว จะมีคล้ายคลึงกับโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น ไข้หวัด ซึ่งพบมากขึ้นในช่วงฤดูหนาวอยู่แล้ว จะเริ่มต้นด้วยอาการไข้ ปวดศีรษะ เหมือนๆ กัน อาจทำให้เข้าใจผิดได้ ดังนั้นหากประชาชนป่วย มีไข้สูงลอยเกิน 2 วัน กินยาลดไข้แล้วไข้ไม่ลด ร่วมกับอาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ซึ่งไข้เลือดออกจะแตกต่างจากไข้หวัดคือ มักไม่ไอ ไม่มีน้ำมูก เว้นแต่จะเป็นทั้ง 2 โรคร่วมกัน หากมีอาการดังกล่าว ขอให้รีบไปพบแพทย์รับการตรวจรักษาอย่างละเอียด เพื่อให้ได้รับการรักษาที่เหมาะสม ป้องกันการเสียชีวิต หากมีข้อสงสัยสอบถามที่สายด่วนกระทรวงสาธารณสุขหมายเลข 1422 และศูนย์ปฏิบัติการกรมควบคุมโรค หมายเลขโทรศัพท์ 0 2590 3333 ตลอด 24 ชั่วโมง
ทั้งนี้ ไข้เลือดออกเป็นโรคประจำถิ่นของประเทศไทย มียุงลายบ้านและยุงลายสวนเป็นตัวนำเชื้อโรคมาสู่คน ขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน การป้องกันโรคที่ได้ผลที่สุดคือให้ทุกบ้านทุกชุมชน ช่วยกันทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย โดยปิดภาชนะขังน้ำให้มิดชิด ไม่ให้ยุงลายเข้าไปวางไข่ เปลี่ยนน้ำแจกันถังเก็บน้ำทุก 7 วัน ตัดวงจรลูกน้ำกลายเป็นยุง ปล่อยปลากินลูกน้ำเช่น ปลาหางนกยูง ในภาชนะใส่น้ำถาวร ดูแลความสะอาดบ้านเรือนให้ โล่ง สะอาด ลมพัดผ่าน ขัดล้างไข่ยุงลายตามผนังภาชนะเก็บน้ำทุกแห่ง รวมทั้งป้องกันไม่ให้ถูกยุงกัด โดยนอนในมุ้ง และทาสารไล่ยุงหรือสารป้องกันยุงกัดในบริเวณที่เสื้อและกางเกงปกคลุมไม่ได้
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในช่วงวันหยุดยาวเทศกาลปีใหม่ 2557 นี้ จะมีประชาชนจำนวนมากเดินทางกลับภูมิลำเนา หรือไปท่องเที่ยวตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ และเนื่องจากการอยู่ในสถานที่ท่องเที่ยวที่มีคนอยู่ร่วมกันเป็นจำนวนมาก ประกอบกับในปีนี้สภาพอากาศค่อนข้างหนาวเย็น อาจทำให้เจ็บป่วยจากโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจได้ง่าย รวมทั้งโรคไข้เลือดออก ซึ่งแม้สภาพอากาศหนาวเย็นจะมีผลให้สถานการณ์การแพร่ระบาดไข้เลือดออกลดลง จากเดิมพบผู้ป่วยช่วงสูงสุดในช่วงฤดูฝนเดือนมิถุนายน-สิงหาคมสัปดาห์ละประมาณ 5,000 ราย ลดลงเหลือสัปดาห์ละ 1,000 รายในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา แต่ยังไม่สามารถวางใจได้ เพราะยังมียุงลายอยู่ในพื้นที่
ผลการสำรวจลูกน้ำยุงลายของกรมควบคุมโรค ล่าสุดเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2556 พบว่าในภาชนะขังน้ำในบ้านเรือนประชาชน โรงเรียน โรงพยาบาล รวมทั้งศาสนสถาน ยังมีลูกน้ำยุงลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ศาสนสถาน สำรวจทั้งหมด 120 แห่ง พบลูกน้ำยุงลายในภาชนะขังน้ำ 75 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 63 ซึ่งอาจทำให้ประชาชนที่นิยมไปทำบุญขอพรปีใหม่ถูกยุงกัดและป่วยเป็นไข้เลือดออกได้ ได้กำชับให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกแห่ง ให้ความรู้และสร้างความตระหนักแก่ประชาชนในการป้องกันโรคไข้เลือดออก และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี หากสามารถกำจัดได้ในช่วงฤดูหนาวและฤดูร้อนได้มาก ปัญหาก็จะลดลงในฤดูฝน ขอให้นอนในมุ้ง หรือห้องที่มีมุ้งลวดแม้ว่าอากาศจะหนาวเย็นก็ตาม เพราะยังมีประชาชนบางพื้นที่เชื่อว่าหน้าหนาวไม่มียุง
ด้านนพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า อาการป่วยของไข้เลือดออกในฤดูหนาว จะมีคล้ายคลึงกับโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น ไข้หวัด ซึ่งพบมากขึ้นในช่วงฤดูหนาวอยู่แล้ว จะเริ่มต้นด้วยอาการไข้ ปวดศีรษะ เหมือนๆ กัน อาจทำให้เข้าใจผิดได้ ดังนั้นหากประชาชนป่วย มีไข้สูงลอยเกิน 2 วัน กินยาลดไข้แล้วไข้ไม่ลด ร่วมกับอาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ซึ่งไข้เลือดออกจะแตกต่างจากไข้หวัดคือ มักไม่ไอ ไม่มีน้ำมูก เว้นแต่จะเป็นทั้ง 2 โรคร่วมกัน หากมีอาการดังกล่าว ขอให้รีบไปพบแพทย์รับการตรวจรักษาอย่างละเอียด เพื่อให้ได้รับการรักษาที่เหมาะสม ป้องกันการเสียชีวิต หากมีข้อสงสัยสอบถามที่สายด่วนกระทรวงสาธารณสุขหมายเลข 1422 และศูนย์ปฏิบัติการกรมควบคุมโรค หมายเลขโทรศัพท์ 0 2590 3333 ตลอด 24 ชั่วโมง
ทั้งนี้ ไข้เลือดออกเป็นโรคประจำถิ่นของประเทศไทย มียุงลายบ้านและยุงลายสวนเป็นตัวนำเชื้อโรคมาสู่คน ขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน การป้องกันโรคที่ได้ผลที่สุดคือให้ทุกบ้านทุกชุมชน ช่วยกันทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย โดยปิดภาชนะขังน้ำให้มิดชิด ไม่ให้ยุงลายเข้าไปวางไข่ เปลี่ยนน้ำแจกันถังเก็บน้ำทุก 7 วัน ตัดวงจรลูกน้ำกลายเป็นยุง ปล่อยปลากินลูกน้ำเช่น ปลาหางนกยูง ในภาชนะใส่น้ำถาวร ดูแลความสะอาดบ้านเรือนให้ โล่ง สะอาด ลมพัดผ่าน ขัดล้างไข่ยุงลายตามผนังภาชนะเก็บน้ำทุกแห่ง รวมทั้งป้องกันไม่ให้ถูกยุงกัด โดยนอนในมุ้ง และทาสารไล่ยุงหรือสารป้องกันยุงกัดในบริเวณที่เสื้อและกางเกงปกคลุมไม่ได้