แพทย์ย้ำ “สาหร่ายทอดกรอบ” บริโภคได้ หลังสังคมออนไลน์กระหน่ำส่งต่อเมล์แพร่ข้อมูลเด็กสาวกินมากเกินทำตาพร่ามัว ไตวาย เผยผลสำรวจทั้งประเทศพบโซเดียมเฉลี่ย 100 มิลลิกรัมเท่านั้น สามารถบริโภคได้
กรุงเทพมหานคร : ผศ.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ ประธานเครือข่ายลดบริโภคเค็ม ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี เปิดเผยว่า จากกรณีที่มีการส่งต่อข้อความผ่านทางสังคมออนไลน์ ระบุว่า มีเด็กสาวบริโภคสาหร่ายเป็นประจำทุกวันติดต่อกันนานกว่า 6 เดือนและเกิดตาพร่ามัว ม่านตาเสีย เลนส์ตาเสื่อม และไตพัง ซึ่งแพทย์แจ้งว่าเกิดจากการบริโภคเกลือและโซเดียมกลูตาเมทนั้น ที่ผ่านมายังไม่มีงานวิจัยใด แสดงถึงการบริโภคขนมขบเคี้ยวประเภทสาหร่าย แล้วได้รับปริมาณโซเดียมมากเกินไป ซึ่งสาหร่ายทอดกรอบมีปริมาณโซเดียมเฉลี่ย 100 มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค หากบริโภคเฉลี่ยวันละ 4 ซอง จะได้รับปริมาณโซเดียมราว 400 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งยังอยู่ในปริมาณที่ร่างกายสามารถรับได้ที่เฉลี่ยวันละ 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน สอดคล้องกับความเห็นของนักโภชนาการที่แนะนำให้บริโภคขนมขบเคี้ยวที่มีปริมาณโซเดียมไม่เกิน 200 มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค โดยร่างกายก็จะขับโซเดียมออกผ่านทางการปัสสาวะ ดังนั้นหากบริโภคเป็นระยะเวลานานติดต่อกัน 6-8 เดือนย่อมไม่ส่งผลต่อร่างกาย เหตุการณ์ดังเช่นที่เกิดขึ้นในสังคมออนไลน์จึงไม่ใช่เกิดจากการบริโภคสาหร่ายทอดกรอบ จึงอยากแนะนำให้ผู้ที่ประสบเหตุ ควรปรึกษาแพทย์และตรวจร่างกายให้ละเอียด เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง เพราะอาจจะส่งผลกระทบต่อร่างกายหากป่วยเป็นโรคร้ายแรง แต่อย่างไรก็ดี การบริโภคอาหารที่หลากหลายและครบถ้วนตามหลักโภชนาการถือว่ามีประโยชน์ต่อร่างกายมากที่สุด
ทั้งนี้ จากรายงานวิจัย “สถานการณ์การแสดงข้อมูลโภชนาการและปริมาณโซเดียมบนฉลากอาหารในผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคทันที” จัดทำโดย สำนักอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ร่วมกับเครือข่ายลดบริโภคเค็ม ซึ่งสำรวจสถานการณ์การแสดงข้อมูลโภชนาการและปริมาณโซเดียมบนฉลากอาหารในผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคทันทีที่มีจำหน่ายในห้างสรรพสินค้าและร้านสะดวกซื้อรวม 9 แห่งในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลในช่วงเดือนพฤษภาคม 2555 มีจำนวนทั้งสิ้น 3,281 ผลิตภัณฑ์ พบว่า ผลิตภัณฑ์อาหารส่วนใหญ่มีการแสดงปริมาณโซเดียมบนฉลากโภชนาการอยู่ในช่วง 0 – 300 มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค จานวน 1,618 ผลิตภัณฑ์ หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 90.8 ส่วนใหญ่พบในกลุ่มขนมขบเคี้ยว ได้แก่ ขนมปังกรอบ แครกเกอร์ บิสกิต เวเฟอร์ ปลาเส้น และสาหร่ายปรุงรส เป็นต้น
กลุ่มอาหารกึ่งสำเร็จรูปที่มีปริมาณโซเดียมมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป คือมีโซเดียมเฉลี่ย 2,000 มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค ขณะที่กลุ่มขนมขบเคี้ยว พบว่า ผลิตภัณฑ์ประเภทปลาเส้น มีปริมาณโซเดียมที่แสดงบนฉลากโภชนาการอยู่ในช่วง 310 – 900 มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค ผลิตภัณฑ์ประเภทถั่ว มีปริมาณโซเดียมที่แสดงบนฉลากโภชนาการอยู่ในช่วง 10 – 240 มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค ผลิตภัณฑ์ประเภทคุกกี้ มีปริมาณโซเดียมที่แสดงบนฉลากโภชนาการอยู่ในช่วง 0 – 220 มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค ผลิตภัณฑ์ประเภทสาหร่ายมีปริมาณโซเดียมที่แสดงบนฉลากโภชนาการอยู่ในช่วง 0 – 250 มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค
(พื้นที่ประชาสัมพันธ์)
กรุงเทพมหานคร : ผศ.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ ประธานเครือข่ายลดบริโภคเค็ม ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี เปิดเผยว่า จากกรณีที่มีการส่งต่อข้อความผ่านทางสังคมออนไลน์ ระบุว่า มีเด็กสาวบริโภคสาหร่ายเป็นประจำทุกวันติดต่อกันนานกว่า 6 เดือนและเกิดตาพร่ามัว ม่านตาเสีย เลนส์ตาเสื่อม และไตพัง ซึ่งแพทย์แจ้งว่าเกิดจากการบริโภคเกลือและโซเดียมกลูตาเมทนั้น ที่ผ่านมายังไม่มีงานวิจัยใด แสดงถึงการบริโภคขนมขบเคี้ยวประเภทสาหร่าย แล้วได้รับปริมาณโซเดียมมากเกินไป ซึ่งสาหร่ายทอดกรอบมีปริมาณโซเดียมเฉลี่ย 100 มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค หากบริโภคเฉลี่ยวันละ 4 ซอง จะได้รับปริมาณโซเดียมราว 400 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งยังอยู่ในปริมาณที่ร่างกายสามารถรับได้ที่เฉลี่ยวันละ 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน สอดคล้องกับความเห็นของนักโภชนาการที่แนะนำให้บริโภคขนมขบเคี้ยวที่มีปริมาณโซเดียมไม่เกิน 200 มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค โดยร่างกายก็จะขับโซเดียมออกผ่านทางการปัสสาวะ ดังนั้นหากบริโภคเป็นระยะเวลานานติดต่อกัน 6-8 เดือนย่อมไม่ส่งผลต่อร่างกาย เหตุการณ์ดังเช่นที่เกิดขึ้นในสังคมออนไลน์จึงไม่ใช่เกิดจากการบริโภคสาหร่ายทอดกรอบ จึงอยากแนะนำให้ผู้ที่ประสบเหตุ ควรปรึกษาแพทย์และตรวจร่างกายให้ละเอียด เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง เพราะอาจจะส่งผลกระทบต่อร่างกายหากป่วยเป็นโรคร้ายแรง แต่อย่างไรก็ดี การบริโภคอาหารที่หลากหลายและครบถ้วนตามหลักโภชนาการถือว่ามีประโยชน์ต่อร่างกายมากที่สุด
ทั้งนี้ จากรายงานวิจัย “สถานการณ์การแสดงข้อมูลโภชนาการและปริมาณโซเดียมบนฉลากอาหารในผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคทันที” จัดทำโดย สำนักอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ร่วมกับเครือข่ายลดบริโภคเค็ม ซึ่งสำรวจสถานการณ์การแสดงข้อมูลโภชนาการและปริมาณโซเดียมบนฉลากอาหารในผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคทันทีที่มีจำหน่ายในห้างสรรพสินค้าและร้านสะดวกซื้อรวม 9 แห่งในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลในช่วงเดือนพฤษภาคม 2555 มีจำนวนทั้งสิ้น 3,281 ผลิตภัณฑ์ พบว่า ผลิตภัณฑ์อาหารส่วนใหญ่มีการแสดงปริมาณโซเดียมบนฉลากโภชนาการอยู่ในช่วง 0 – 300 มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค จานวน 1,618 ผลิตภัณฑ์ หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 90.8 ส่วนใหญ่พบในกลุ่มขนมขบเคี้ยว ได้แก่ ขนมปังกรอบ แครกเกอร์ บิสกิต เวเฟอร์ ปลาเส้น และสาหร่ายปรุงรส เป็นต้น
กลุ่มอาหารกึ่งสำเร็จรูปที่มีปริมาณโซเดียมมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป คือมีโซเดียมเฉลี่ย 2,000 มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค ขณะที่กลุ่มขนมขบเคี้ยว พบว่า ผลิตภัณฑ์ประเภทปลาเส้น มีปริมาณโซเดียมที่แสดงบนฉลากโภชนาการอยู่ในช่วง 310 – 900 มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค ผลิตภัณฑ์ประเภทถั่ว มีปริมาณโซเดียมที่แสดงบนฉลากโภชนาการอยู่ในช่วง 10 – 240 มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค ผลิตภัณฑ์ประเภทคุกกี้ มีปริมาณโซเดียมที่แสดงบนฉลากโภชนาการอยู่ในช่วง 0 – 220 มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค ผลิตภัณฑ์ประเภทสาหร่ายมีปริมาณโซเดียมที่แสดงบนฉลากโภชนาการอยู่ในช่วง 0 – 250 มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค
(พื้นที่ประชาสัมพันธ์)