ศธ.อึ้ง! ผลสำรวจการอ่านเด็ก ป.3 ป.6 ล่าสุดอ่านไม่ออก และอ่านได้พอเข้าใจเรื่องกว่า 4 แสนคน พุ่งสูงกว่าเท่าตัวจากการสำรวจก่อนหน้าที่พบกว่า 2 แสนคน สั่ง สพฐ.ประสานกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งปรับระบบภาพรวม
วันนี้ (24 ธ.ค.)นายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า ในการประชุมผู้บริหารองค์กรหลักของ ศธ.เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้รายงานผลการดำเนินโครงการเร่งรัดคุณภาพการอ่านรู้เรื่องและสื่อสารได้ ซึ่ง สพฐ.ได้ทำเครื่องมือทดสอบเพื่อตรวจสอบและคัดกรอง หรือสแกนความสามารถการอ่านออกเสียง และความเข้าใจการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ ป.6 ทั่วประเทศจำนวน 1.6 ล้านคน ในช่วงเดือนกันยายน ที่ผ่านมา สรุปผลภาพรวม แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มแรก นักเรียนอ่านไม่ได้ จำนวน 45,929 คน เป็นนักเรียนชั้น ม.3 จำนวน 33,084 คน นักเรียนชั้น ป.6 จำนวน 12,845 คน กลุ่มที่สอง นักเรียนที่อ่านได้และเข้าใจเรื่องบ้าง อยู่ในระดับปรับปรุง จำนวน 365,420 คน เป็นนักเรียนชั้น ม.3 จำนวน 184,598 คน นักเรียนชั้น ป.6 จำนวน 180,822 คน และกลุ่มสุดท้ายนักเรียนอ่านได้และเข้าใจเรื่องดี ทั้งนี้ เมื่อรวมจำนวนเด็กที่อ่านไม่ได้ อ่านได้และเข้าเรื่องบ้าง ควรปรับปรุง จำนวน 411,346 คน
อย่างไรก็ตาม ตัวเลขดังกล่าวถือว่าเพิ่มขึ้นกว่าผลสำรวจที่ผ่านมา ซึ่งมีเด็กที่อ่านไม่ได้, อ่านได้ แต่ควรปรับปรุง, อ่านได้แต่ไม่เข้าใจ และอ่านได้ เข้าใจบ้าง จำนวน 200,590 คน ส่วนสาเหตุที่ทำให้นักเรียนมีปัญหาเรื่องการอ่าน มาจากครูไม่มีเวลา เพราะต้องทำงานอื่นๆ ครูสอนไม่ตรงวิชาเอก และไม่ให้ความสำคัญกับการสะกดคำ ซึ่งเป็นวิธีการสอนที่สำคัญ ส่วนวิธีการแก้ปัญหาจะต้องเน้นการเรียนการสอนที่เข้มข้นขึ้น รวมถึงจะต้องปรับปรุงแบบเรียน หนังสือที่ช่วยในการอ่าน อาทิ การจดจำรูปสระ ใช้เพลงหรือบทร้อง นิทาน แบบฝึกทักษะ หนังสือแนวสอนซ่อมเสริม จัดพิมพ์แบบเรียนใหม่ด้วย รวมถึงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพิ่มเติมเพื่อให้ได้วิธีการเรียนการสอนที่ สามารถนำไปปรับใช้ได้ ขณะเดียวกันโรงเรียนจะต้องเพิ่มกิจกรรมเพื่อเสริมทักษะในการเรียนการสอน เรื่องดังกล่าวด้วย
“ผมขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ช่วยไปคิดต่อเรื่องการดูแลการเรียนการสอนภาษาไทยทั้งระบบในระดับที่สูงกว่านี้ โดยจะต้องมีการดูแลความรู้ภาษาไทยที่กว้างทั้งทักษะการฟัง การอ่าน การเขียน และการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล เพราะขณะนี้ได้ยินเสียงบ่นมาจากผู้บริหารมหาวิทยาลัย ว่าเด็กสอบเข้าไปเรียนในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง มีปัญหาเรื่องการอ่านและสรุปความไม่ได้ เขียนเรียงความ เขียนอธิบายไม่ได้ สะท้อนให้เห็นว่าระบบการศึกษาของเราไปเน้นการสอบแบบไม่ต้องอธิบาย ไม่มีข้อสอบแบบอัตนัย ดั้นนั้น จึงขอให้ สพฐ.ไปดูให้กว้างขึ้น รวมถึงจะต้องเร่งพัฒนาหลักสูตร การเรียนการสอน การวัดผลที่เหมาะสม และได้มาตรฐาน ทั้งนี้ขอให้ประสานกับทางโรงเรียนเอกชน และโรงเรียนสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม อัธยาศัย (กศน.) เพื่อแก้ปัญหาในภาพรวม และก่อนหน้านั้นได้ขอความร่วมมือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทำแบบทดสอบวัดระดับความรู้ภาษาไทยสำหรับคนไทย ด้วย” นายจาตุรนต์ กล่าว
วันนี้ (24 ธ.ค.)นายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า ในการประชุมผู้บริหารองค์กรหลักของ ศธ.เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้รายงานผลการดำเนินโครงการเร่งรัดคุณภาพการอ่านรู้เรื่องและสื่อสารได้ ซึ่ง สพฐ.ได้ทำเครื่องมือทดสอบเพื่อตรวจสอบและคัดกรอง หรือสแกนความสามารถการอ่านออกเสียง และความเข้าใจการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ ป.6 ทั่วประเทศจำนวน 1.6 ล้านคน ในช่วงเดือนกันยายน ที่ผ่านมา สรุปผลภาพรวม แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มแรก นักเรียนอ่านไม่ได้ จำนวน 45,929 คน เป็นนักเรียนชั้น ม.3 จำนวน 33,084 คน นักเรียนชั้น ป.6 จำนวน 12,845 คน กลุ่มที่สอง นักเรียนที่อ่านได้และเข้าใจเรื่องบ้าง อยู่ในระดับปรับปรุง จำนวน 365,420 คน เป็นนักเรียนชั้น ม.3 จำนวน 184,598 คน นักเรียนชั้น ป.6 จำนวน 180,822 คน และกลุ่มสุดท้ายนักเรียนอ่านได้และเข้าใจเรื่องดี ทั้งนี้ เมื่อรวมจำนวนเด็กที่อ่านไม่ได้ อ่านได้และเข้าเรื่องบ้าง ควรปรับปรุง จำนวน 411,346 คน
อย่างไรก็ตาม ตัวเลขดังกล่าวถือว่าเพิ่มขึ้นกว่าผลสำรวจที่ผ่านมา ซึ่งมีเด็กที่อ่านไม่ได้, อ่านได้ แต่ควรปรับปรุง, อ่านได้แต่ไม่เข้าใจ และอ่านได้ เข้าใจบ้าง จำนวน 200,590 คน ส่วนสาเหตุที่ทำให้นักเรียนมีปัญหาเรื่องการอ่าน มาจากครูไม่มีเวลา เพราะต้องทำงานอื่นๆ ครูสอนไม่ตรงวิชาเอก และไม่ให้ความสำคัญกับการสะกดคำ ซึ่งเป็นวิธีการสอนที่สำคัญ ส่วนวิธีการแก้ปัญหาจะต้องเน้นการเรียนการสอนที่เข้มข้นขึ้น รวมถึงจะต้องปรับปรุงแบบเรียน หนังสือที่ช่วยในการอ่าน อาทิ การจดจำรูปสระ ใช้เพลงหรือบทร้อง นิทาน แบบฝึกทักษะ หนังสือแนวสอนซ่อมเสริม จัดพิมพ์แบบเรียนใหม่ด้วย รวมถึงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพิ่มเติมเพื่อให้ได้วิธีการเรียนการสอนที่ สามารถนำไปปรับใช้ได้ ขณะเดียวกันโรงเรียนจะต้องเพิ่มกิจกรรมเพื่อเสริมทักษะในการเรียนการสอน เรื่องดังกล่าวด้วย
“ผมขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ช่วยไปคิดต่อเรื่องการดูแลการเรียนการสอนภาษาไทยทั้งระบบในระดับที่สูงกว่านี้ โดยจะต้องมีการดูแลความรู้ภาษาไทยที่กว้างทั้งทักษะการฟัง การอ่าน การเขียน และการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล เพราะขณะนี้ได้ยินเสียงบ่นมาจากผู้บริหารมหาวิทยาลัย ว่าเด็กสอบเข้าไปเรียนในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง มีปัญหาเรื่องการอ่านและสรุปความไม่ได้ เขียนเรียงความ เขียนอธิบายไม่ได้ สะท้อนให้เห็นว่าระบบการศึกษาของเราไปเน้นการสอบแบบไม่ต้องอธิบาย ไม่มีข้อสอบแบบอัตนัย ดั้นนั้น จึงขอให้ สพฐ.ไปดูให้กว้างขึ้น รวมถึงจะต้องเร่งพัฒนาหลักสูตร การเรียนการสอน การวัดผลที่เหมาะสม และได้มาตรฐาน ทั้งนี้ขอให้ประสานกับทางโรงเรียนเอกชน และโรงเรียนสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม อัธยาศัย (กศน.) เพื่อแก้ปัญหาในภาพรวม และก่อนหน้านั้นได้ขอความร่วมมือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทำแบบทดสอบวัดระดับความรู้ภาษาไทยสำหรับคนไทย ด้วย” นายจาตุรนต์ กล่าว