เครือข่ายงดเหล้า จี้คมนาคมประสาน สธ.เร่งออกกฎหมายห้ามขาย-ห้ามดื่มสุราบนรถไฟและสถานีรถไฟ หวังแก้ปัญหาขี้เมาป่วน ขณะที่โพลชี้ ประชาชน 93.53% หนุนออกกฎหมายคุมเข้ม เหตุสร้างความรำคาญ-เสี่ยงอันตรายอุบัติเหตุ-ทะเลาะวิวาท-ลวนลาม
วันนี้ (16 ธ.ค.) ที่กรมการขนส่งทางบก ภก.สงกรานต์ ภาคโชคดี ผู้อำนวยการสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) พร้อมด้วยสมาชิกภาคีเครือข่ายกว่า 30 คน เข้ายื่นหนังสือต่อนายสมชัย ศิริวัฒนโชค ปลัดกระทรวงคมนาคม เรียกร้องให้เร่งประสานกระทรวงสาธารณสุข ออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี อาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 ห้ามขายห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนรถไฟและบริเวณสถานีรถไฟ
ภก.สงกรานต์ กล่าวว่า ปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายห้ามขายห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนรถไฟ จึงยังเป็นปัญหาใหญ่ที่สร้างความรำคาญให้กับผู้โดยสาร สุ่มเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุ ทะเลาะวิวาท ละเมิดทางเพศ อีกทั้งที่ผ่านมาได้มีการมอบนโยบายจากนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ที่ให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงกวดขันความปลอดภัยแก่ผู้ใช้บริการรถไฟ โดยเฉพาะปัญหาการดื่มสุราบนรถไฟนั้น แม้ปัจจุบันจะมีประกาศของการรถไฟแห่งประเทศไทยออกมาควบคุม แต่ก็ยังไม่เห็นผลเป็นรูปธรรมชัดเจน เนื่องจากเป็นลักษณะขอความร่วมมือมากกว่า
ภก.สงกรานต์ กล่าวว่า ล่าสุดทางเครือข่ายฯได้ลงพื้นที่สำรวจความคิดเห็นประชาชนผู้โดยสารรถไฟ อายุ 15 ปีขึ้นไป ต่อปัญหาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนรถไฟ ในพื้นที่สถานีหัวลำโพง สามเสน บางเขน บางซื่อ หลักสี่ ธนบุรี ลาดกระบัง หัวหมาก ฯลฯ ระหว่างวันที่ 3-10 ธ.ค.2556 จำนวน 1,160 ตัวอย่าง พบกว่า 85.95% มองว่าการขายและดื่มสุราบนรถไฟ เป็นปัญหาใหญ่และส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้โดยสาร โดยจำแนกระดับของปัญหาดังนี้คือ เสียงดังรบกวนสร้างความรำคาญ 44.23% ทะเลาะวิวาท 29.31% อุบัติเหตุ 10.60% ลวนลาม/คุกคามทางเพศ 8.45% และลักขโมย 7.41% ขณะเดียวกัน กลุ่มตัวอย่างเกือบทั้งหมด หรือ 93.53% เห็นด้วยหากมีการออกกฎหมายห้ามขายห้ามดื่มสุราบนรถไฟ เพราะช่วยให้ผู้โดยสารปลอดภัยมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ 86.03% ยังเห็นด้วยหากกฎหมายนี้จะครอบคลุมไปถึงบริเวณสถานีรถไฟด้วย
“จากผลสำรวจสะท้อนถึงความเดือนร้อนของผู้โดยสารบนรถไฟ โดยเฉพาะช่วงเทศกาลสำคัญๆ ที่มีผู้ใช้บริการรถไฟจำนวนมาก ประชาชนอาจยังกังวลเรื่องความปลอดภัย เครือข่ายจึงขอเสนอข้อเรียกร้องเพื่อให้กระทรวงคมนาคมดังนี้ 1.เร่งประสานกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งดูแล พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 ให้ออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ห้ามขายหรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนรถไฟและสถานีรถไฟ เพื่อให้มีผลบังคับใช้โดยเร็ว ซึ่งจะมีบทลงโทษสูงถึงจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 2.ระหว่างที่รอการออกกฎหมายดังกล่าว ขอให้กระทรวงคมนาคมมีคำสั่งไปยังการรถไฟแห่งประเทศไทยให้ออกประกาศห้ามขายห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนรถไฟ ให้มีผล คลอบคลุมรถไฟทุกขบวน มิใช่เฉพาะแค่รถไฟฟรี โดยอาจจะยกเว้นบริเวณตู้เสบียงไว้ก่อนในเบื้องต้น และควรมีการประชาสัมพันธ์ให้กว้างขวาง” ภก.สงกรานต์ กล่าว
นายสมชัย ศิริวัฒนโชค ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวภายหลังจากรับเรื่องร้องเรียน ว่า ยินดีรับข้อเสนอของเครือข่ายฯไปพิจารณาและร่วมรณรงค์ เนื่องจากทางกระทรวงเองก็ได้รับเรื่องร้องเรียนปัญหานี้มาบ้าง อีกทั้งหากดูจากข้อมูลผลสำรวจของเครือข่ายก็พบว่าประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยให้ออกกฎหมายมาควบคุมหลังจากนี้ระหว่างที่ยังไม่มีกฎหมายบังคับใช้ ทางกระทรวงจะประสานการรถไฟแห่งประเทศไทยเพื่อออกเป็นคำสั่งและจะเข้มงวดเพิ่มเจ้าหน้าที่ประจำแต่ละจุดตรวจตราอย่างละเอียด
วันนี้ (16 ธ.ค.) ที่กรมการขนส่งทางบก ภก.สงกรานต์ ภาคโชคดี ผู้อำนวยการสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) พร้อมด้วยสมาชิกภาคีเครือข่ายกว่า 30 คน เข้ายื่นหนังสือต่อนายสมชัย ศิริวัฒนโชค ปลัดกระทรวงคมนาคม เรียกร้องให้เร่งประสานกระทรวงสาธารณสุข ออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี อาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 ห้ามขายห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนรถไฟและบริเวณสถานีรถไฟ
ภก.สงกรานต์ กล่าวว่า ปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายห้ามขายห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนรถไฟ จึงยังเป็นปัญหาใหญ่ที่สร้างความรำคาญให้กับผู้โดยสาร สุ่มเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุ ทะเลาะวิวาท ละเมิดทางเพศ อีกทั้งที่ผ่านมาได้มีการมอบนโยบายจากนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ที่ให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงกวดขันความปลอดภัยแก่ผู้ใช้บริการรถไฟ โดยเฉพาะปัญหาการดื่มสุราบนรถไฟนั้น แม้ปัจจุบันจะมีประกาศของการรถไฟแห่งประเทศไทยออกมาควบคุม แต่ก็ยังไม่เห็นผลเป็นรูปธรรมชัดเจน เนื่องจากเป็นลักษณะขอความร่วมมือมากกว่า
ภก.สงกรานต์ กล่าวว่า ล่าสุดทางเครือข่ายฯได้ลงพื้นที่สำรวจความคิดเห็นประชาชนผู้โดยสารรถไฟ อายุ 15 ปีขึ้นไป ต่อปัญหาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนรถไฟ ในพื้นที่สถานีหัวลำโพง สามเสน บางเขน บางซื่อ หลักสี่ ธนบุรี ลาดกระบัง หัวหมาก ฯลฯ ระหว่างวันที่ 3-10 ธ.ค.2556 จำนวน 1,160 ตัวอย่าง พบกว่า 85.95% มองว่าการขายและดื่มสุราบนรถไฟ เป็นปัญหาใหญ่และส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้โดยสาร โดยจำแนกระดับของปัญหาดังนี้คือ เสียงดังรบกวนสร้างความรำคาญ 44.23% ทะเลาะวิวาท 29.31% อุบัติเหตุ 10.60% ลวนลาม/คุกคามทางเพศ 8.45% และลักขโมย 7.41% ขณะเดียวกัน กลุ่มตัวอย่างเกือบทั้งหมด หรือ 93.53% เห็นด้วยหากมีการออกกฎหมายห้ามขายห้ามดื่มสุราบนรถไฟ เพราะช่วยให้ผู้โดยสารปลอดภัยมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ 86.03% ยังเห็นด้วยหากกฎหมายนี้จะครอบคลุมไปถึงบริเวณสถานีรถไฟด้วย
“จากผลสำรวจสะท้อนถึงความเดือนร้อนของผู้โดยสารบนรถไฟ โดยเฉพาะช่วงเทศกาลสำคัญๆ ที่มีผู้ใช้บริการรถไฟจำนวนมาก ประชาชนอาจยังกังวลเรื่องความปลอดภัย เครือข่ายจึงขอเสนอข้อเรียกร้องเพื่อให้กระทรวงคมนาคมดังนี้ 1.เร่งประสานกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งดูแล พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 ให้ออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ห้ามขายหรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนรถไฟและสถานีรถไฟ เพื่อให้มีผลบังคับใช้โดยเร็ว ซึ่งจะมีบทลงโทษสูงถึงจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 2.ระหว่างที่รอการออกกฎหมายดังกล่าว ขอให้กระทรวงคมนาคมมีคำสั่งไปยังการรถไฟแห่งประเทศไทยให้ออกประกาศห้ามขายห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนรถไฟ ให้มีผล คลอบคลุมรถไฟทุกขบวน มิใช่เฉพาะแค่รถไฟฟรี โดยอาจจะยกเว้นบริเวณตู้เสบียงไว้ก่อนในเบื้องต้น และควรมีการประชาสัมพันธ์ให้กว้างขวาง” ภก.สงกรานต์ กล่าว
นายสมชัย ศิริวัฒนโชค ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวภายหลังจากรับเรื่องร้องเรียน ว่า ยินดีรับข้อเสนอของเครือข่ายฯไปพิจารณาและร่วมรณรงค์ เนื่องจากทางกระทรวงเองก็ได้รับเรื่องร้องเรียนปัญหานี้มาบ้าง อีกทั้งหากดูจากข้อมูลผลสำรวจของเครือข่ายก็พบว่าประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยให้ออกกฎหมายมาควบคุมหลังจากนี้ระหว่างที่ยังไม่มีกฎหมายบังคับใช้ ทางกระทรวงจะประสานการรถไฟแห่งประเทศไทยเพื่อออกเป็นคำสั่งและจะเข้มงวดเพิ่มเจ้าหน้าที่ประจำแต่ละจุดตรวจตราอย่างละเอียด