สคล.แฉธุรกิจน้ำเมาหวังทำการตลาดช่วงปีใหม่ พบออกสินค้าผิดกฎหมายล่อใจเยาวชน ผู้หญิงเพียบ ทั้งไอศกรีมรสเบียร์ จัดอีเวนต์บุฟเฟ่ต์เบียร์ ยันต้องเร่งรณรงค์อย่างต่อเนื่อง
นายธีระ วัชรปราณี ผู้จัดการสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) กล่าวว่า ช่วงเทศกาลส่งท้ายปลายปียังมีประเด็นที่ต้องรณรงค์ให้ประชาชนลด ละ เลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างต่อเนื่อง ทั้งการรณรงค์ให้ของขวัญจริงใจ ไม่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในกระเช้า ซึ่งตั้งแต่มีการรณรงค์กระเช้าปลอดเหล้าในช่วงเทศกาลปีใหม่ หรือให้เหล้าเท่ากับแช่งนั้น เห็นได้ว่าประชาชนให้เหล้าในช่วงเทศกาลลดลงกว่าครึ่ง โดยในปีนี้จะเชิญชวนให้หน่วยงานราชการ สานต่อโครงการและเป็นแบบอย่าง เพื่อให้เกิดค่านิยมใหม่ในสังคมไทย
นายธีระ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ยังจำเป็นต้องเฝ้าระวังการทำผิดกฎหมาย ซึ่งพบว่าธุรกิจเหล้ามักใช้เป็นโอกาสในการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ เช่น การออกไอศกรีมรสเบียร์ การจัดอีเวนต์ให้เด็กมหาวิทยาลัย เช่น รักสี่เศร้า เมาสี มอ.ที่เป็นการจัดปาร์ตีขายบัตรบุฟเฟ่ต์เบียร์ หรือการจัดลานเบียร์ จัดคอนเสิร์ต งานกาชาด จะพบได้เสมอว่ามักมีการกระทำผิดกฎหมายในการทำการตลาด ขายในสถานที่ห้ามขาย โดยภาคีเครือข่ายในทั่วประเทศจะได้ร่วมกันเฝ้าระวังและจับตาการทำการตลาดเหล่านี้ เพื่อไม่ให้เกิดการกระทำผิดกฎหมาย
“ไอศกรีมที่ใส่เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ก็ถือเป็นแอลกอฮอล์ชนิดหนึ่ง เพราะกฎหมายได้นิยามว่าคือผลิตภัณฑ์ใดๆ ก็ตามที่ผสมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งในกรณีนี้จะมีความผิดถ้าขายให้เด็กอายุต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนด แต่เหนือสิ่งอื่นใดผลิตภัณฑ์ลักษณะนี้ มีลักษณะเหมือนเหล้าปั่น ที่สร้างรูปแบบให้น่าตื่นเต้น น่าลองมากขึ้น แม้ว่าในทางกฎหมายจะไม่ผิด แต่ก็ถือเป็นการทำตลาดที่ไม่มีความรับผิดชอบต่อสังคม เพราะตั้งใจจะมุ่งไปที่นักดื่มหน้าใหม่ โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชนและผู้หญิงให้ลองและเป็นลูกค้ารายใหม่ในที่สุด” นายธีระ กล่าว
นายธีระ วัชรปราณี ผู้จัดการสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) กล่าวว่า ช่วงเทศกาลส่งท้ายปลายปียังมีประเด็นที่ต้องรณรงค์ให้ประชาชนลด ละ เลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างต่อเนื่อง ทั้งการรณรงค์ให้ของขวัญจริงใจ ไม่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในกระเช้า ซึ่งตั้งแต่มีการรณรงค์กระเช้าปลอดเหล้าในช่วงเทศกาลปีใหม่ หรือให้เหล้าเท่ากับแช่งนั้น เห็นได้ว่าประชาชนให้เหล้าในช่วงเทศกาลลดลงกว่าครึ่ง โดยในปีนี้จะเชิญชวนให้หน่วยงานราชการ สานต่อโครงการและเป็นแบบอย่าง เพื่อให้เกิดค่านิยมใหม่ในสังคมไทย
นายธีระ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ยังจำเป็นต้องเฝ้าระวังการทำผิดกฎหมาย ซึ่งพบว่าธุรกิจเหล้ามักใช้เป็นโอกาสในการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ เช่น การออกไอศกรีมรสเบียร์ การจัดอีเวนต์ให้เด็กมหาวิทยาลัย เช่น รักสี่เศร้า เมาสี มอ.ที่เป็นการจัดปาร์ตีขายบัตรบุฟเฟ่ต์เบียร์ หรือการจัดลานเบียร์ จัดคอนเสิร์ต งานกาชาด จะพบได้เสมอว่ามักมีการกระทำผิดกฎหมายในการทำการตลาด ขายในสถานที่ห้ามขาย โดยภาคีเครือข่ายในทั่วประเทศจะได้ร่วมกันเฝ้าระวังและจับตาการทำการตลาดเหล่านี้ เพื่อไม่ให้เกิดการกระทำผิดกฎหมาย
“ไอศกรีมที่ใส่เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ก็ถือเป็นแอลกอฮอล์ชนิดหนึ่ง เพราะกฎหมายได้นิยามว่าคือผลิตภัณฑ์ใดๆ ก็ตามที่ผสมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งในกรณีนี้จะมีความผิดถ้าขายให้เด็กอายุต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนด แต่เหนือสิ่งอื่นใดผลิตภัณฑ์ลักษณะนี้ มีลักษณะเหมือนเหล้าปั่น ที่สร้างรูปแบบให้น่าตื่นเต้น น่าลองมากขึ้น แม้ว่าในทางกฎหมายจะไม่ผิด แต่ก็ถือเป็นการทำตลาดที่ไม่มีความรับผิดชอบต่อสังคม เพราะตั้งใจจะมุ่งไปที่นักดื่มหน้าใหม่ โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชนและผู้หญิงให้ลองและเป็นลูกค้ารายใหม่ในที่สุด” นายธีระ กล่าว