ผู้โดยสารร้องนั่งรถไฟสายใต้เจอ “คอทองแดง” ดวลเบียร์ทั้งคืน สร้างความรำคาญ แถมเสี่ยงอุบัติเหตุและล่วงละเมิดทางเพศ สคล.ระบุกฎหมายสถานที่ห้ามดื่มยังไม่ครอบคลุมในส่วนของรถไฟ ต้องแก้ พ.ร.บ.ก่อน เตรียมสำรวจความเห็นประชาชนสมควรห้ามขายห้ามดื่มบนรถไฟหรือไม่ คาดต้นปี 2557 เห็นผล
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีได้รับแจ้งว่า ภายในรถไฟสายใต้ ขบวนที่ 38 รถด่วนทักษิณ จากสถานีชุมทางหาดใหญ่ปลายทางสถานีกรุงเทพฯ ในส่วนของรถไฟชั้น 2 นอนปรับอากาศนั้น เจ้าหน้าที่ได้อนุญาตให้ผู้โดยสารชาย 2 คนนั่งดวลเบียร์อยู่ภายในที่นั่ง ซึ่งแม้จะไม่มีกฎหมายห้ามดื่ม แต่กลับมีการดื่มจนมีอาการคล้ายคนเมา พูดจาเสียงดังสร้างความรำคาญให้กับผู้โดยสารคนอื่น ที่สำคัญมีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายทั้งอุบัติเหตุและการล่วงละเมิดทางเพศได้ง่าย
นายธีระ วัชรปราณี ผู้จัดการสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า(สคล.) กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 กำหนดว่าห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนรถ แต่ไม่ได้หมายรวมถึงรถไฟ การที่จะให้มีกฎหมายบังคับในเรื่องนี้ ต้องแก้ พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ฯตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ซึ่งขณะนี้กระทรวงคมนาคมมีความเข้มงวดมากขึ้นในการเร่ขายบนรถไฟ เนื่องจากมีการร้องเรียนมาก โดยเฉพาะรถไฟสายสั้นหรือสายชานเมือง แต่ยังไม่ครอบคลุมเรื่องการดื่ม
นายธีระ กล่าวอีกว่า ต.ค.นี้ สคล.จะทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่ใช้บริการรถไฟว่ามีความคิดเห็นอย่างไรต่อมาตรการที่จะเพิ่มสถานที่ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้รวมถึงบนรถไฟด้วย อีกทั้ง จะประสานกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้พิจารณาใช้อำนาจตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ฯ เพื่อควบคุมการขายและการดื่มบนรถไฟ
“เมื่อดูจากความพร้อมของฝ่ายนโยบาย คาดว่าภายในต้นปี 2557 จะสามารถออกมาตรการเพิ่มสถานที่ห้ามขายและห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนรถไฟได้ และอาจเป็นมาตรการที่ออกมาเพื่อรองรับเทศกาลปีใหม่ โดยจะทำให้หากมีการเพิ่มสถานที่ห้ามขาย แต่ยังมีผู้ฝ่าฝืนจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือนปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท ทั้งผู้ดื่มและผู้ขาย” ผู้จัดการ สคล.กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีได้รับแจ้งว่า ภายในรถไฟสายใต้ ขบวนที่ 38 รถด่วนทักษิณ จากสถานีชุมทางหาดใหญ่ปลายทางสถานีกรุงเทพฯ ในส่วนของรถไฟชั้น 2 นอนปรับอากาศนั้น เจ้าหน้าที่ได้อนุญาตให้ผู้โดยสารชาย 2 คนนั่งดวลเบียร์อยู่ภายในที่นั่ง ซึ่งแม้จะไม่มีกฎหมายห้ามดื่ม แต่กลับมีการดื่มจนมีอาการคล้ายคนเมา พูดจาเสียงดังสร้างความรำคาญให้กับผู้โดยสารคนอื่น ที่สำคัญมีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายทั้งอุบัติเหตุและการล่วงละเมิดทางเพศได้ง่าย
นายธีระ วัชรปราณี ผู้จัดการสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า(สคล.) กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 กำหนดว่าห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนรถ แต่ไม่ได้หมายรวมถึงรถไฟ การที่จะให้มีกฎหมายบังคับในเรื่องนี้ ต้องแก้ พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ฯตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ซึ่งขณะนี้กระทรวงคมนาคมมีความเข้มงวดมากขึ้นในการเร่ขายบนรถไฟ เนื่องจากมีการร้องเรียนมาก โดยเฉพาะรถไฟสายสั้นหรือสายชานเมือง แต่ยังไม่ครอบคลุมเรื่องการดื่ม
นายธีระ กล่าวอีกว่า ต.ค.นี้ สคล.จะทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่ใช้บริการรถไฟว่ามีความคิดเห็นอย่างไรต่อมาตรการที่จะเพิ่มสถานที่ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้รวมถึงบนรถไฟด้วย อีกทั้ง จะประสานกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้พิจารณาใช้อำนาจตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ฯ เพื่อควบคุมการขายและการดื่มบนรถไฟ
“เมื่อดูจากความพร้อมของฝ่ายนโยบาย คาดว่าภายในต้นปี 2557 จะสามารถออกมาตรการเพิ่มสถานที่ห้ามขายและห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนรถไฟได้ และอาจเป็นมาตรการที่ออกมาเพื่อรองรับเทศกาลปีใหม่ โดยจะทำให้หากมีการเพิ่มสถานที่ห้ามขาย แต่ยังมีผู้ฝ่าฝืนจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือนปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท ทั้งผู้ดื่มและผู้ขาย” ผู้จัดการ สคล.กล่าว