มศว จุดประกายการเรียนให้แก่เด็กสนับสนุนการเรียนวิทยาศาสตร์ชี้สร้างประเทศได้ ระบุหากเปิดอาเซียนต้องสอนให้เด็กไทยมีอัตลักษณ์เป็นของตัวเองประกาศจะเป็นศูนย์กลางทางการศึกษา
ผศ.กิตติคุณ รุ่งเรือง ผอ.สถาบันวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) เปิดเผยว่า หลังจากที่ มศว จัดงานประชุมวิชาการด้านการศึกษาสู่สังคมอาเซียน เพราะต้องการขับเคลื่อนการศึกษาชาติสู่ระดับนานาชาติ ในฐานะที่ประเทศไทยเป็น Education Hub (ศูนย์กลางของการศึกษาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) ประกอบกับ มศว มีสถาบันวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ และมีโรงเรียนสาธิต มศว ทั้งระดับประถม มัธยม อีกทั้งมีการจัดการเรียนการสอนแบบภาษาไทย สองภาษา และระดับนานาชาติ เราตั้งเป้าหมาย พร้อมจุดประกายการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์ให้เด็กไทย เนื่องจากเด็กสมัยนี้มองว่าการเรียนวิทยาศาสตร์เข้าสู่เส้นทางอาชีพได้แคบกว่าการเรียนในสาขาอื่น ซึ่งยังมีความคิดกันว่า เรียนวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ต้องทำงานในโรงงาน หรือเป็นได้แค่ครู นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ ติวเตอร์ แต่ในความสำคัญของวิทยาศาสตร์นั้นถือเป็นวิชาสำคัญในการช่วยสร้างประเทศชาติ โดยตอนนี้ทางสถาบันได้ทำความร่วมมือกับ Bielefeld University ถือเป็นต้นแบบ มีการทำแล็บในระดับนักเรียนและยังจัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยเด็กขึ้นที่ประเทศเยอรมนี อีกทั้งยังได้ทำความร่วมมือกับสถาบันพัฒนาวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย โดยมีสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงเป็นประธาน และยังมีสถาบันไอสไตน์ที่เปิดโอกาสให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ จัดสถานที่คล้ายพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์
“การเรียนวิทยาศาสตร์ในประเทศเยอรมันนั้นสอนกันตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงระดับอุดมศึกษา ตอนนี้จึงอยากกระตุ้นให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องด้านการจัดการศึกษาของประเทศ ปรับกระบวนทัศน์การเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เพื่อให้เกิดความตื่นตัว โดย มศว จะเป็นผู้ขับเคลื่อนเพื่อให้มหาวิทยาลัยด้าวเข้าสู่การเป็นศูนย์กลางของการศึกษาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้ได้ นอกจากนี้ มศว จะขับเคลื่อนเรื่องการอัตลักษณ์ของประเทศนั้นๆ แต่ละประเทศต้องสอนความเป็นอัตลักษณ์ของประเทศตัวเอง ในโลกแห่งอนาคตจะไม่มีอะไรมาขวางกั้นกันอีกต่อไป เมื่อเปิดประเทศในปี 2015 มีการเปิดประเทศกันมากขึ้น ดังนั้นแต่ละประเทศจะต้องทำให้เยาวชนของตัวเองมีความเป็นเอกลักษณ์ที่บ่งบอกให้รู้ว่า แต่ละคนมาจากชาติไหน กิริยาท่าทาง จะต้องสามารถบอกได้ว่าคนแต่ละชาตินั้นมีความแตกต่างกันอย่างไร มิฉะนั้นแล้วแต่ละชาติก็จะเหมือนกันโดยแยกกันไม่ออก เราจึงต้องสอนกันในเรื่องอัตลักษณ์ความเป็นชาติของตัวเอง เพื่อให้เห็นความแตกต่างในความเป็นชาติของของแต่ละชาติ” ผศ.กิตติคุณ กล่าว
ผศ.กิตติคุณ รุ่งเรือง ผอ.สถาบันวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) เปิดเผยว่า หลังจากที่ มศว จัดงานประชุมวิชาการด้านการศึกษาสู่สังคมอาเซียน เพราะต้องการขับเคลื่อนการศึกษาชาติสู่ระดับนานาชาติ ในฐานะที่ประเทศไทยเป็น Education Hub (ศูนย์กลางของการศึกษาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) ประกอบกับ มศว มีสถาบันวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ และมีโรงเรียนสาธิต มศว ทั้งระดับประถม มัธยม อีกทั้งมีการจัดการเรียนการสอนแบบภาษาไทย สองภาษา และระดับนานาชาติ เราตั้งเป้าหมาย พร้อมจุดประกายการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์ให้เด็กไทย เนื่องจากเด็กสมัยนี้มองว่าการเรียนวิทยาศาสตร์เข้าสู่เส้นทางอาชีพได้แคบกว่าการเรียนในสาขาอื่น ซึ่งยังมีความคิดกันว่า เรียนวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ต้องทำงานในโรงงาน หรือเป็นได้แค่ครู นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ ติวเตอร์ แต่ในความสำคัญของวิทยาศาสตร์นั้นถือเป็นวิชาสำคัญในการช่วยสร้างประเทศชาติ โดยตอนนี้ทางสถาบันได้ทำความร่วมมือกับ Bielefeld University ถือเป็นต้นแบบ มีการทำแล็บในระดับนักเรียนและยังจัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยเด็กขึ้นที่ประเทศเยอรมนี อีกทั้งยังได้ทำความร่วมมือกับสถาบันพัฒนาวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย โดยมีสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงเป็นประธาน และยังมีสถาบันไอสไตน์ที่เปิดโอกาสให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ จัดสถานที่คล้ายพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์
“การเรียนวิทยาศาสตร์ในประเทศเยอรมันนั้นสอนกันตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงระดับอุดมศึกษา ตอนนี้จึงอยากกระตุ้นให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องด้านการจัดการศึกษาของประเทศ ปรับกระบวนทัศน์การเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เพื่อให้เกิดความตื่นตัว โดย มศว จะเป็นผู้ขับเคลื่อนเพื่อให้มหาวิทยาลัยด้าวเข้าสู่การเป็นศูนย์กลางของการศึกษาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้ได้ นอกจากนี้ มศว จะขับเคลื่อนเรื่องการอัตลักษณ์ของประเทศนั้นๆ แต่ละประเทศต้องสอนความเป็นอัตลักษณ์ของประเทศตัวเอง ในโลกแห่งอนาคตจะไม่มีอะไรมาขวางกั้นกันอีกต่อไป เมื่อเปิดประเทศในปี 2015 มีการเปิดประเทศกันมากขึ้น ดังนั้นแต่ละประเทศจะต้องทำให้เยาวชนของตัวเองมีความเป็นเอกลักษณ์ที่บ่งบอกให้รู้ว่า แต่ละคนมาจากชาติไหน กิริยาท่าทาง จะต้องสามารถบอกได้ว่าคนแต่ละชาตินั้นมีความแตกต่างกันอย่างไร มิฉะนั้นแล้วแต่ละชาติก็จะเหมือนกันโดยแยกกันไม่ออก เราจึงต้องสอนกันในเรื่องอัตลักษณ์ความเป็นชาติของตัวเอง เพื่อให้เห็นความแตกต่างในความเป็นชาติของของแต่ละชาติ” ผศ.กิตติคุณ กล่าว