สธ.ย้ายวอร์รูม รพ.เลิดสิน ชี้ผู้ชุมนุมทำพิษ ออกปฏิบัติการลำบาก ยันไร้ปัญหาทำงานแพทย์อาสา ระบุศูนย์ส่วนหน้า รพ.สงฆ์ ยังช่วยหนุนยา เวชภัณฑ์ และความช่วยเหลือต่อเนื่อง
วันนี้ (10 ธ.ค.) ที่โรงพยาบาลเลิดสิน นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมศูนย์ปฏิบัติการการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณภัยด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีชุมนุมการเมือง กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ว่า ขณะนี้แผนการดูแลผู้ชุมนุมยังคงไว้ที่แผนเอราวัณ 2 เช่นเดิม แต่ได้รับความร่วมมือเพิ่มเติมจากทีมแพทย์พยาบาลจากกองพันทหารเสนารักษ์ กรมการแพทย์ทหารบก อีก 14 ทีม จำนวน 59 คน ในการออกปฏิบัติการทีมแพทย์สนามเพื่อดูแลผู้ชุมนุม ตั้งแต่เมื่อวันที่ 9 ธ.ค.ที่ผ่านมา โดยเดินเท้าร่วมไปกับผู้ชุมนุมทั้ง 9 เส้นทางที่เดินทางไปยังทำเนียบรัฐบาล เพื่อให้การดูแลรักษาเบื้องต้นแก่ผู้ป่วย และหากเกิดเหตุฉุกเฉินก็จะเป็นผู้ส่งต่อผู้ป่วยออกมาภายนอกพื้นที่ นอกจากนี้ ยังมีทีมแพทย์อาสาอีกจำนวน 300 คน ที่ร่วมดูแลผู้ชุมนุมด้วย ขอยืนยันมีการประสานกับทีมแพทย์อาสาตลอด และไม่ได้มีปัญหาในการทำงานร่วมกันแต่อย่างใด
นพ.สุพรรณ กล่าวอีกว่า ส่วนการประเมินสถานการณ์เชื่อว่า จะไม่มีความรุนแรงเกิดขึ้น เนื่องจากมวลชนประจำอยู่ที่จุดหลักๆ ใน 3 พื้นที่ คือ บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนินนอก และสนามม้านางเลิ้ง แต่ที่ต้องเฝ้าระวัง คือ บริเวณชายขอบของการชุมนุม ที่อาจจะมีผู้ก่อกวนเข้ามาสร้างสถานการณ์
ผู้สื่อข่าวถามว่า เหตุใดจึงมีการย้ายศูนย์ปฏิบัติการฯจาก รพ.สงฆ์ มายัง รพ.เลิดสิน นพ.สุพรรณ กล่าวว่า จากการเดินเท้าไปยังทำเนียบรัฐบาลเมื่อวันที่ 9 ธ.ค.พบว่าปลายแถวของผู้ชุมนุมยาวมาจนถึงหน้า รพ.สงฆ์ ทำให้ไม่สะดวกในการเคลื่อนย้ายทีมออกปฏิบัติการดูแลผู้ชุมนุม จึงตั้งศูนย์ปฏิบัติการขึ้นอีกแห่งที่ รพ.เลิดสิน เพื่อเป็นศูนย์บัญชาการ และย้ายทีมแพทย์ พยาบาล และบุคลากรส่วนหนึ่งมาที่นี่ เพื่อให้สะดวกต่อการออกปฏิบัติการ แต่ที่ รพ.สงฆ์ ยังคงเป็นศูนย์ส่วนหน้าเช่นเดิม โดยจะทำหน้าที่สนับสนุนยา เวชภัณฑ์ และความช่วยเหลือแก่ทีมแพทย์ในที่ชุมนุม นอกจากนี้ ยังคงทีมกู้ชีพชั้นสูง (ALS) จำนวน 9 ทีม ไว้ที่ศูนย์ส่วนหน้าเช่นเดิม ส่วนทีมกู้ชีพพื้นฐาน (BLS) ของมูลนิธิต่างๆ ก็ยังเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ ยังสำรองทีมแพทย์จาก 3 จังหวัด ได้แก่ นครปฐม สมุทรสาคร และสมุทรปราการ หากเกิดสถานการณ์รุนแรงด้วย
นพ.สุพรรณ กล่าวด้วยว่า สำหรับจำนวนผู้บาดเจ็บตั้งแต่ วันที่ 30 พ.ย.-10 ธ.ค.ข้อมูลเมื่อเวลา 08.00 น.ไม่มีผู้บาดเจ็บเพิ่มเติมตั้งแต่วันที่ 6 ธ.ค.ที่ผ่านมา โดยยอดสะสมผู้บาดเจ็บทั้งหมดคือ 290 ราย เหลือนอนพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลทั้งหมด 15 ราย จากทั้งหมด 89 ราย เสียชีวิตทั้งหมด 5 ราย สำหรับอาการบาดเจ็บของผู้ชุมนุมเมื่อวันที่ 9 ธ.ค.ส่วนใหญ่มีอาการเป็นลม และเจ็บป่วยด้วยโรคประจำตัว
วันนี้ (10 ธ.ค.) ที่โรงพยาบาลเลิดสิน นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมศูนย์ปฏิบัติการการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณภัยด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีชุมนุมการเมือง กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ว่า ขณะนี้แผนการดูแลผู้ชุมนุมยังคงไว้ที่แผนเอราวัณ 2 เช่นเดิม แต่ได้รับความร่วมมือเพิ่มเติมจากทีมแพทย์พยาบาลจากกองพันทหารเสนารักษ์ กรมการแพทย์ทหารบก อีก 14 ทีม จำนวน 59 คน ในการออกปฏิบัติการทีมแพทย์สนามเพื่อดูแลผู้ชุมนุม ตั้งแต่เมื่อวันที่ 9 ธ.ค.ที่ผ่านมา โดยเดินเท้าร่วมไปกับผู้ชุมนุมทั้ง 9 เส้นทางที่เดินทางไปยังทำเนียบรัฐบาล เพื่อให้การดูแลรักษาเบื้องต้นแก่ผู้ป่วย และหากเกิดเหตุฉุกเฉินก็จะเป็นผู้ส่งต่อผู้ป่วยออกมาภายนอกพื้นที่ นอกจากนี้ ยังมีทีมแพทย์อาสาอีกจำนวน 300 คน ที่ร่วมดูแลผู้ชุมนุมด้วย ขอยืนยันมีการประสานกับทีมแพทย์อาสาตลอด และไม่ได้มีปัญหาในการทำงานร่วมกันแต่อย่างใด
นพ.สุพรรณ กล่าวอีกว่า ส่วนการประเมินสถานการณ์เชื่อว่า จะไม่มีความรุนแรงเกิดขึ้น เนื่องจากมวลชนประจำอยู่ที่จุดหลักๆ ใน 3 พื้นที่ คือ บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนินนอก และสนามม้านางเลิ้ง แต่ที่ต้องเฝ้าระวัง คือ บริเวณชายขอบของการชุมนุม ที่อาจจะมีผู้ก่อกวนเข้ามาสร้างสถานการณ์
ผู้สื่อข่าวถามว่า เหตุใดจึงมีการย้ายศูนย์ปฏิบัติการฯจาก รพ.สงฆ์ มายัง รพ.เลิดสิน นพ.สุพรรณ กล่าวว่า จากการเดินเท้าไปยังทำเนียบรัฐบาลเมื่อวันที่ 9 ธ.ค.พบว่าปลายแถวของผู้ชุมนุมยาวมาจนถึงหน้า รพ.สงฆ์ ทำให้ไม่สะดวกในการเคลื่อนย้ายทีมออกปฏิบัติการดูแลผู้ชุมนุม จึงตั้งศูนย์ปฏิบัติการขึ้นอีกแห่งที่ รพ.เลิดสิน เพื่อเป็นศูนย์บัญชาการ และย้ายทีมแพทย์ พยาบาล และบุคลากรส่วนหนึ่งมาที่นี่ เพื่อให้สะดวกต่อการออกปฏิบัติการ แต่ที่ รพ.สงฆ์ ยังคงเป็นศูนย์ส่วนหน้าเช่นเดิม โดยจะทำหน้าที่สนับสนุนยา เวชภัณฑ์ และความช่วยเหลือแก่ทีมแพทย์ในที่ชุมนุม นอกจากนี้ ยังคงทีมกู้ชีพชั้นสูง (ALS) จำนวน 9 ทีม ไว้ที่ศูนย์ส่วนหน้าเช่นเดิม ส่วนทีมกู้ชีพพื้นฐาน (BLS) ของมูลนิธิต่างๆ ก็ยังเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ ยังสำรองทีมแพทย์จาก 3 จังหวัด ได้แก่ นครปฐม สมุทรสาคร และสมุทรปราการ หากเกิดสถานการณ์รุนแรงด้วย
นพ.สุพรรณ กล่าวด้วยว่า สำหรับจำนวนผู้บาดเจ็บตั้งแต่ วันที่ 30 พ.ย.-10 ธ.ค.ข้อมูลเมื่อเวลา 08.00 น.ไม่มีผู้บาดเจ็บเพิ่มเติมตั้งแต่วันที่ 6 ธ.ค.ที่ผ่านมา โดยยอดสะสมผู้บาดเจ็บทั้งหมดคือ 290 ราย เหลือนอนพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลทั้งหมด 15 ราย จากทั้งหมด 89 ราย เสียชีวิตทั้งหมด 5 ราย สำหรับอาการบาดเจ็บของผู้ชุมนุมเมื่อวันที่ 9 ธ.ค.ส่วนใหญ่มีอาการเป็นลม และเจ็บป่วยด้วยโรคประจำตัว