“ประดิษฐ” สั่ง อภ.-สปสช.ตั้ง คกก.สอบข้อเท็จจริง “ยาโครพิโดเกรล” เหตุมีข้อเรียกร้องพยายามสั่งซื้อทั้งที่ไม่จำเป็นและมีราคาสูง พร้อมให้รายงานผลสอบใช้เงินสวัสดิการ อภ.ไม่ถูกต้อง พร้อมเตือน อภ.ตรวจคุณภาพมาตรฐานตัวเอง ย้ำไม่ห้ามใช้ยาออริจินัล
วันนี้ (28 พ.ย.) นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ว่า ตนได้ให้องค์การเภสัชกรรม (อภ.) และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเรื่องยาโครพิโดเกรล เนื่องจากมีการเรียกร้องและสอบถามว่า มีพฤติกรรมพยายามให้สั่งซื้อที่ไม่จำเป็น หรือมีราคาที่สูงไป ซึ่งการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบจะให้ทั้ง 2 หน่วยงานเป็นผู้ตั้งเอง เพราะหากตนเป็นคนตั้งจะกลายเป็นการตั้งธง ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวควรมีการเชิญบุคคลภายนอกมาร่วมสอบสวนให้เกิดความกระจ่าง นอกจากนี้ จะให้รายงานผลสอบเรื่องข้อกล่าวหาที่ตนนำเงินสวัสดิการ อภ.ไปใช้ในทางที่ไม่สมควร ซึ่งดีเอสไอส่งรายงานมาแล้ว ตั้งแต่ปีที่ตนถูกร้อง ซึ่งมีการตรวจสอบย้อนหลัง 2 ปี เพื่อให้เกิดความชัดเจนด้วย ถ้ามีการนำเงินหลวง 75 ล้านบาทไปใช้จริง ตนก็ต้องรับผิดและดำเนินไปตามคดี รวมไปถึงผลสอบจากดีเอสไอเรื่องต่างๆ ที่จะทยอยออกมา เช่น เรื่องความเสียหายของ อภ.จากผลการดำเนินการของ นพ.วิทิต อรรถเวชกุล อดีต ผอ.อภ.ว่าจะมาเรียกร้องทางแพ่งอย่างไรต่อไป
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า ส่วนปัญหาเรื่องคุณภาพน้ำเกลือ ตนสั่งให้ไปตรวจสอบทั้งหมดแล้ว โดยให้ อภ.กลับไปทบทวนมาตรฐานสินค้าที่ตัวเองจำหน่ายทั้งผลิตเองและซื้อมา รวมถึงตรวจคุณภาพการผลิต และทำตัวให้ชัดเจนอยู่ในหลักเกณฑ์ของ อย. เพราะ อภ.มีข่าวไม่ได้มาตรฐานมาตลอด ตั้งแต่สมัยอดีต ผอ.อภ.จนปัจจุบันยังต้องเข้าไปแก้ไข ซึ่งตนก็หนักใจเพราะเรื่องดังกล่าวทำให้ความเชื่อมั่นของประชาชนและแพทย์ในเรื่องยาสามัญแย่ลงไป ซึ่งขณะนี้ สธ.พยายามกระตุ้นให้ใช้เงินซื้อยาอย่างเหมาะสม ซึ่งเงินที่ประหยัดได้รัฐบาลก็พูดชัดเจนว่าจะไม่เอาคืน สามารถนำไปใช้พัฒนาโรงพยาบาลต่อได้ หรือเพิ่มสิทธิให้ประชาชน
“สิ่งที่อยากเพิ่มคือให้แพทย์ฟัง รมว.สาธารณสุข พูดบ้าง ว่า รัฐบาลไม่ได้มีการห้ามใช้ยาออริจินัล อย่าได้ไปบอกคนไข้ว่าห้ามใช้ รัฐบาลให้ใช้ยาออริจินัลได้เหมือนเดิม ราคาก็ไม่ได้ไปลดลง ให้เบิกได้ตามที่ซื้อจากบริษัทยาแล้วบวกกำไรลงไป แล้วเงินในอนาคตข้างหน้า ประชาชนต้องฟังโดยเฉพาะข้าราชการ ถ้าประหยัดได้ก็จะไปเพิ่มยาออรจินัลให้เบิกได้มากขึ้นอีก เพราะยังมียากลุ่มนอกบัญชียาหลักแห่งชาติ และเครื่องมือต่างๆ ที่ยังเบิกไม่ได้ เงินที่เราเซฟได้จะไปเป็นสิทธิของข้าราชการ ซึ่งขณะนี้ปัญหาดังกล่าวกระจายไปวงกว้างมาก แม้แต่ ร.ร.แพทย์ยังต้องมาถามผม ซึ่งผมก็บอกว่าเบิกได้หมด” รมว.สาธารณสุข กล่าว
นพ.ประดิษฐ กล่าวด้วยว่า ส่วนเรื่องน้ำเกลือที่เหลือจากตอนเกิดเหตุน้ำท่วมใหญ่นั้น เป็นเหตุฉุกเฉิน การสั่งสเปกต่างๆ ที่ สธ.อยากใช้ก็ไม่ได้ตามความต้องการ เช่น แพทย์ พยาบาลอยากได้ขวดแก้ว ที่มีสเกลชัดเจน แต่สั่งเข้ามาเป็นขวดพลาสติกเวลาให้น้ำเกลือจึงยุบลงมา ทำให้ให้น้ำเกลือได้ยาก ซึ่งอันนี้ต้องยอมรับว่าการจะเอาไปใช้ในยามปกติ ก็มีการตั้งข้อแม้ แต่ก็ต้องพยายามค่อยๆ ระบายไป เพราะน้ำเกลือไม่ได้เสียทันที และตอนนั้นก็ฉุกเฉิน โทษ นพ.วิทิต ว่าไปสั่งของอะไรเช่นนั้นไม่ได้ แต่ตอนนี้ยามปกติคนก็เลือกใช้ ถ้าน้ำท่วมใหม่ไม่มีน้ำเกลือ มีอย่างไรก็ต้องใช้ นี่คือตัวอย่างการสร้างความมั่นคงประเทศ ตอนนั้นจำเป็นเท่าไรก็ต้องยอมเสียเงินเพื่อให้ประเทศมีน้ำเกลือใช้ก่อน ตอนนี้จะขาดทุน 3 ล้านบาท หรือ 5 ล้านบาท หากเกิดจริงก็ต้องยอม มิเช่นนั้นประชาชนจะบอกว่าตอนนั้นทำไมไม่สั่ง ซึ่งตอนนี้จะมาบ่นอย่างนี้ไม่ได้
วันนี้ (28 พ.ย.) นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ว่า ตนได้ให้องค์การเภสัชกรรม (อภ.) และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเรื่องยาโครพิโดเกรล เนื่องจากมีการเรียกร้องและสอบถามว่า มีพฤติกรรมพยายามให้สั่งซื้อที่ไม่จำเป็น หรือมีราคาที่สูงไป ซึ่งการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบจะให้ทั้ง 2 หน่วยงานเป็นผู้ตั้งเอง เพราะหากตนเป็นคนตั้งจะกลายเป็นการตั้งธง ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวควรมีการเชิญบุคคลภายนอกมาร่วมสอบสวนให้เกิดความกระจ่าง นอกจากนี้ จะให้รายงานผลสอบเรื่องข้อกล่าวหาที่ตนนำเงินสวัสดิการ อภ.ไปใช้ในทางที่ไม่สมควร ซึ่งดีเอสไอส่งรายงานมาแล้ว ตั้งแต่ปีที่ตนถูกร้อง ซึ่งมีการตรวจสอบย้อนหลัง 2 ปี เพื่อให้เกิดความชัดเจนด้วย ถ้ามีการนำเงินหลวง 75 ล้านบาทไปใช้จริง ตนก็ต้องรับผิดและดำเนินไปตามคดี รวมไปถึงผลสอบจากดีเอสไอเรื่องต่างๆ ที่จะทยอยออกมา เช่น เรื่องความเสียหายของ อภ.จากผลการดำเนินการของ นพ.วิทิต อรรถเวชกุล อดีต ผอ.อภ.ว่าจะมาเรียกร้องทางแพ่งอย่างไรต่อไป
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า ส่วนปัญหาเรื่องคุณภาพน้ำเกลือ ตนสั่งให้ไปตรวจสอบทั้งหมดแล้ว โดยให้ อภ.กลับไปทบทวนมาตรฐานสินค้าที่ตัวเองจำหน่ายทั้งผลิตเองและซื้อมา รวมถึงตรวจคุณภาพการผลิต และทำตัวให้ชัดเจนอยู่ในหลักเกณฑ์ของ อย. เพราะ อภ.มีข่าวไม่ได้มาตรฐานมาตลอด ตั้งแต่สมัยอดีต ผอ.อภ.จนปัจจุบันยังต้องเข้าไปแก้ไข ซึ่งตนก็หนักใจเพราะเรื่องดังกล่าวทำให้ความเชื่อมั่นของประชาชนและแพทย์ในเรื่องยาสามัญแย่ลงไป ซึ่งขณะนี้ สธ.พยายามกระตุ้นให้ใช้เงินซื้อยาอย่างเหมาะสม ซึ่งเงินที่ประหยัดได้รัฐบาลก็พูดชัดเจนว่าจะไม่เอาคืน สามารถนำไปใช้พัฒนาโรงพยาบาลต่อได้ หรือเพิ่มสิทธิให้ประชาชน
“สิ่งที่อยากเพิ่มคือให้แพทย์ฟัง รมว.สาธารณสุข พูดบ้าง ว่า รัฐบาลไม่ได้มีการห้ามใช้ยาออริจินัล อย่าได้ไปบอกคนไข้ว่าห้ามใช้ รัฐบาลให้ใช้ยาออริจินัลได้เหมือนเดิม ราคาก็ไม่ได้ไปลดลง ให้เบิกได้ตามที่ซื้อจากบริษัทยาแล้วบวกกำไรลงไป แล้วเงินในอนาคตข้างหน้า ประชาชนต้องฟังโดยเฉพาะข้าราชการ ถ้าประหยัดได้ก็จะไปเพิ่มยาออรจินัลให้เบิกได้มากขึ้นอีก เพราะยังมียากลุ่มนอกบัญชียาหลักแห่งชาติ และเครื่องมือต่างๆ ที่ยังเบิกไม่ได้ เงินที่เราเซฟได้จะไปเป็นสิทธิของข้าราชการ ซึ่งขณะนี้ปัญหาดังกล่าวกระจายไปวงกว้างมาก แม้แต่ ร.ร.แพทย์ยังต้องมาถามผม ซึ่งผมก็บอกว่าเบิกได้หมด” รมว.สาธารณสุข กล่าว
นพ.ประดิษฐ กล่าวด้วยว่า ส่วนเรื่องน้ำเกลือที่เหลือจากตอนเกิดเหตุน้ำท่วมใหญ่นั้น เป็นเหตุฉุกเฉิน การสั่งสเปกต่างๆ ที่ สธ.อยากใช้ก็ไม่ได้ตามความต้องการ เช่น แพทย์ พยาบาลอยากได้ขวดแก้ว ที่มีสเกลชัดเจน แต่สั่งเข้ามาเป็นขวดพลาสติกเวลาให้น้ำเกลือจึงยุบลงมา ทำให้ให้น้ำเกลือได้ยาก ซึ่งอันนี้ต้องยอมรับว่าการจะเอาไปใช้ในยามปกติ ก็มีการตั้งข้อแม้ แต่ก็ต้องพยายามค่อยๆ ระบายไป เพราะน้ำเกลือไม่ได้เสียทันที และตอนนั้นก็ฉุกเฉิน โทษ นพ.วิทิต ว่าไปสั่งของอะไรเช่นนั้นไม่ได้ แต่ตอนนี้ยามปกติคนก็เลือกใช้ ถ้าน้ำท่วมใหม่ไม่มีน้ำเกลือ มีอย่างไรก็ต้องใช้ นี่คือตัวอย่างการสร้างความมั่นคงประเทศ ตอนนั้นจำเป็นเท่าไรก็ต้องยอมเสียเงินเพื่อให้ประเทศมีน้ำเกลือใช้ก่อน ตอนนี้จะขาดทุน 3 ล้านบาท หรือ 5 ล้านบาท หากเกิดจริงก็ต้องยอม มิเช่นนั้นประชาชนจะบอกว่าตอนนั้นทำไมไม่สั่ง ซึ่งตอนนี้จะมาบ่นอย่างนี้ไม่ได้