แพทย์แผนไทยเฮ! บอร์ด สปสช.หนุนการทำงาน อัดฉีดงบรายหัวปี 2557 เพิ่มขึ้น เป็น 8.19 บาทต่อประชากร รวมเป็น 400 ล้านบาท ฟุ้งปี 2556 มีคนใช้บริการเกือบ 1 ล้านคน สั่งยาสมุนไพรมากขึ้น ทั้งขมิ้นชัน ฟ้าทะลายโจร เชื่อเพิ่มงบแล้วจะช่วยเพิ่มการเข้าถึงมากขึ้น
นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ได้เพิ่มงบสำหรับบริการแพทย์แผนไทยในปีงบประมาณ 2557 ขึ้นจากเดิมที่ได้รับ 7.20 บาทต่อประชากรในปีงบประมาณ 2556 รวม 348 ล้านบาท เป็น 8.19 บาทต่อประชากร รวม 400 ล้านบาท เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการด้วยการใช้บริการแพทย์แผนไทยเพิ่มขึ้น อย่างมีคุณภาพและปลอดภัย และเพื่อให้มีการใช้ยาจากสมุนไพรที่อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติเพิ่มขึ้น
นพ.ประทีป กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ สปสช.จะสนับสนุนยุทธศาสตร์และแผนงานแพทย์แผนไทยและสมุนไพร ของกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกด้วย เพื่อเป็นทางเลือกควบคู่กับการบริการสาธารณสุขอื่นๆ โดยขยายจังหวัดต้นแบบการพัฒนาและจัดบริการแพทย์แผนไทยฯ แบบครบวงจรอย่างน้อยเขตละ 1 จังหวัด ส่งเสริมการจัดตั้งคลินิกเวชกรรมไทยที่มีแพทย์แผนไทยหลักสูตร 4 ปี ประจำครอบคลุม โรงพยาบาลศูนย์ (รพศ.) โรงพยาบาลทั่วไป (รพท.) โรงพยาบาลชุมชน (รพช.) และการจัดบริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ที่มีผู้ช่วยแพทย์แผนไทย และการแพทย์พื้นบ้าน
นางอรจิตต์ บำรุงสกุลสวัสดิ์ ผู้อำนวยการแผนงานสนับสนุนระบบบริการฟื้นฟูด้านการแพทย์ ระบบบริการการแพทย์แผนไทยและระบบสุขภาพชุมชน สปสช.กล่าวว่า ปัจจุบันมีสถานพยาบาลที่ให้บริการแพทย์แผนไทย และมีแพทย์แผนไทยประจำ แบ่งเป็นระดับ รพ.สต.4,769 แห่ง รพช.616 แห่ง รพศ./รพท. 72 แห่ง และ รพ.รัฐนอกสังกัด สธ./เอกชน 26 แห่ง มีบุคลากรแพทย์แผนไทยในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 13,244 คน ขณะเดียวกันในปีงบประมาณ 2556 มีประชาชนได้รับบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 931,857 คน และ 10 อันดับยาสมุนไพรที่มีการสั่งใช้มากที่สุด ดังนี้ 1.ขมิ้นชัน 582,726 ครั้ง 2.ฟ้าทะลายโจร 415,128 ครั้ง 3.ประสะมะแว้ง 262,436 ครั้ง 4.ไพล 164,417 ครั้ง 5.น้ำมันไพล 115,164 ครั้ง 6.เถาวัลย์เปรียง 111,735 ครั้ง 7.มะขามแขก 109,084 ครั้ง 8.ขี้ผึ้งไพล 93,076 ครั้ง 9.ยาประคบ 86,453 ครั้ง และ 10.ธาตุอบเชย 79,215 ครั้ง
“ระบบหลักประกันฯความสำคัญกับการส่งเสริมบริการแพทย์แผนไทย โดยบอร์ด สปสช.มีมติให้จัดสรรงบบริการแพทย์แผนไทยฯแยกออกมาจากงบรายหัว ตั้งแต่ปี 2550 เพื่อกระตุ้นให้เกิดการจัดบริการสำหรับผู้ป่วยในระบบหลักประกันฯ ซึ่งผลการดำเนินงานที่ผ่านมาสามารถกระตุ้นให้สถานพยาบาลบริการแพทย์แผนไทยมากขึ้น ทั้งนี้ สิทธิประโยชน์บริการการแพทย์แผนไทยในระบบหลักประกันฯ ประกอบด้วย 1.นวดไทย นวด ประคบ อบสมุนไพร ทั้งการบริการในสถานพยาบาล และการบริการเชิงรุกในชุมชน 2.บริการฟื้นฟูสุขภาพแม่หลังคลอดด้วยการแพทย์แผนไทย ได้แก่ นวด อบ ประคบ ทับหม้อเกลือ แนะนำการดูแลหลังคลอด และ 3.การสั่งจ่ายยาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ” นางอรจิตต์ กล่าว
นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ได้เพิ่มงบสำหรับบริการแพทย์แผนไทยในปีงบประมาณ 2557 ขึ้นจากเดิมที่ได้รับ 7.20 บาทต่อประชากรในปีงบประมาณ 2556 รวม 348 ล้านบาท เป็น 8.19 บาทต่อประชากร รวม 400 ล้านบาท เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการด้วยการใช้บริการแพทย์แผนไทยเพิ่มขึ้น อย่างมีคุณภาพและปลอดภัย และเพื่อให้มีการใช้ยาจากสมุนไพรที่อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติเพิ่มขึ้น
นพ.ประทีป กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ สปสช.จะสนับสนุนยุทธศาสตร์และแผนงานแพทย์แผนไทยและสมุนไพร ของกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกด้วย เพื่อเป็นทางเลือกควบคู่กับการบริการสาธารณสุขอื่นๆ โดยขยายจังหวัดต้นแบบการพัฒนาและจัดบริการแพทย์แผนไทยฯ แบบครบวงจรอย่างน้อยเขตละ 1 จังหวัด ส่งเสริมการจัดตั้งคลินิกเวชกรรมไทยที่มีแพทย์แผนไทยหลักสูตร 4 ปี ประจำครอบคลุม โรงพยาบาลศูนย์ (รพศ.) โรงพยาบาลทั่วไป (รพท.) โรงพยาบาลชุมชน (รพช.) และการจัดบริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ที่มีผู้ช่วยแพทย์แผนไทย และการแพทย์พื้นบ้าน
นางอรจิตต์ บำรุงสกุลสวัสดิ์ ผู้อำนวยการแผนงานสนับสนุนระบบบริการฟื้นฟูด้านการแพทย์ ระบบบริการการแพทย์แผนไทยและระบบสุขภาพชุมชน สปสช.กล่าวว่า ปัจจุบันมีสถานพยาบาลที่ให้บริการแพทย์แผนไทย และมีแพทย์แผนไทยประจำ แบ่งเป็นระดับ รพ.สต.4,769 แห่ง รพช.616 แห่ง รพศ./รพท. 72 แห่ง และ รพ.รัฐนอกสังกัด สธ./เอกชน 26 แห่ง มีบุคลากรแพทย์แผนไทยในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 13,244 คน ขณะเดียวกันในปีงบประมาณ 2556 มีประชาชนได้รับบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 931,857 คน และ 10 อันดับยาสมุนไพรที่มีการสั่งใช้มากที่สุด ดังนี้ 1.ขมิ้นชัน 582,726 ครั้ง 2.ฟ้าทะลายโจร 415,128 ครั้ง 3.ประสะมะแว้ง 262,436 ครั้ง 4.ไพล 164,417 ครั้ง 5.น้ำมันไพล 115,164 ครั้ง 6.เถาวัลย์เปรียง 111,735 ครั้ง 7.มะขามแขก 109,084 ครั้ง 8.ขี้ผึ้งไพล 93,076 ครั้ง 9.ยาประคบ 86,453 ครั้ง และ 10.ธาตุอบเชย 79,215 ครั้ง
“ระบบหลักประกันฯความสำคัญกับการส่งเสริมบริการแพทย์แผนไทย โดยบอร์ด สปสช.มีมติให้จัดสรรงบบริการแพทย์แผนไทยฯแยกออกมาจากงบรายหัว ตั้งแต่ปี 2550 เพื่อกระตุ้นให้เกิดการจัดบริการสำหรับผู้ป่วยในระบบหลักประกันฯ ซึ่งผลการดำเนินงานที่ผ่านมาสามารถกระตุ้นให้สถานพยาบาลบริการแพทย์แผนไทยมากขึ้น ทั้งนี้ สิทธิประโยชน์บริการการแพทย์แผนไทยในระบบหลักประกันฯ ประกอบด้วย 1.นวดไทย นวด ประคบ อบสมุนไพร ทั้งการบริการในสถานพยาบาล และการบริการเชิงรุกในชุมชน 2.บริการฟื้นฟูสุขภาพแม่หลังคลอดด้วยการแพทย์แผนไทย ได้แก่ นวด อบ ประคบ ทับหม้อเกลือ แนะนำการดูแลหลังคลอด และ 3.การสั่งจ่ายยาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ” นางอรจิตต์ กล่าว