ศธ.เตรียมเปิดเวทีแสดงความคิดเห็นการปรับปรุงหลักสูตร พร้อมไฟเขียวตั้ง “สถาบันหลักสูตรและนวัตกรรมการเรียนรู้” เป็นองค์การมหาชน เพื่อเก็บข้อมูล และวิจัยหลักสูตรให้ไม่หยุดนิ่ง และทันสมัย เตรียมย้ายบางหน่วยของ สพฐ.เข้าร่วม เร่งจัดตั้งให้เสร็จใน 3 เดือน
นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมคณะกรรมการกำหนดวิสัยทัศน์การปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครั้งที่ 1/2556 เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า การประชุมครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกเพื่อสรุปความคืบหน้าการดำเนินงานของคณะกรรมการชุดต่างๆ รวมทั้งรับทราบสรุปการจัดทำร่างหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน และพิจารณาแนวทางการดำเนินงานการจัดทำหลักสูตรสำหรับระดับมัธยมปลายทั้ง 6 กลุ่มความรู้ ซึ่งที่ประชุมเห็นตรงกันว่า ควรมีการปรับหลักสูตร แต่จะต้องให้หน่วยงาน และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้หารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นมากขึ้น เพราะยังมีความเห็นต่างกันมากในเรื่องหลักสูตร เช่น บางรายเห็นว่าหลักสูตรปัจจุบันไม่จำเป็นต้องเปลี่ยน บางรายเห็นว่าต้องปรับปรุงเป็นบางส่วน เป็นต้น จึงต้องให้มีการประชุมแสดงความคิดเห็นที่เหมาะสมให้ผู้เกี่ยวข้องได้มาพูดคุยหารือ ตั้งแต่หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 จนถึงหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 ว่าต้องปรับเปลี่ยนอย่างไร และให้คนทั้งสังคมเข้ามามีส่วนร่วมด้วย
นายภาวิช ทองโรจน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำ ศธ. กล่าวว่า ที่ประชุมโดยทั่วไปเห็นด้วยที่จะต้องมีการปรับปรุงหลักสูตร แต่มีข้อกังวลในแง่การนำหลักสูตรไปใช้ การปรับตัวของครูผู้สอน และกระบวนการต่างๆ ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิธีการเรียนการสอน ซึ่งเดิมจะใช้ศึกษานิเทศก์ แต่ระบบใหม่จะมีเรื่องของเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ดังนั้น การประชุมคณะกรรมการจัดตั้งสถาบันหลักสูตรและนวัตกรรมการเรียนรู้ ที่มี รมว.ศึกษาธิการ เป็นประธานเมื่อเร็วๆ นี้ จึงไฟเขียวให้จัดตั้งสถาบันดังกล่าวขึ้น โดยสถาบันนี้จะเป็นองค์การมหาชน มีการบริหารงานที่ปราศจากการเมือง ทำหน้าที่เก็บข้อมูล และวิจัยหลักสูตร เพื่อให้หลักสูตรมีวิวัฒนาการไปเรื่อยๆ ไปหยุดนิ่ง และสร้างนวัตกรรมการเรียนการสอนที่ทันสมัย ทำงานเชื่อมโยงหน่วยงานที่มีสถานศึกษาในสังกัดทุกแห่ง
“สถาบันแห่งนี้อาจจะเคลื่อนย้ายบางหน่วยงานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เข้ามา เช่น สำนักวิชาการ สำนักทดสอบของ สพฐ. แต่ไม่ใช่จะไปยุบรวมหน่วยงานของ สพฐ.มาไว้ที่สถาบัน แต่อาจจะมีบางส่วนที่ต้องทำงานร่วมกัน โดยขณะนี้ได้มอบหมายให้ สพฐ. ไปคำนวนงบประมาณการจัดตั้งสถาบัน และร่างรายละเอียดต่างๆ เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาต่อไป โดยจะเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน เพื่อให้การดำเนินการจัดทำหลักสูตรมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง” นายภาวิช กล่าว
นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมคณะกรรมการกำหนดวิสัยทัศน์การปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครั้งที่ 1/2556 เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า การประชุมครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกเพื่อสรุปความคืบหน้าการดำเนินงานของคณะกรรมการชุดต่างๆ รวมทั้งรับทราบสรุปการจัดทำร่างหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน และพิจารณาแนวทางการดำเนินงานการจัดทำหลักสูตรสำหรับระดับมัธยมปลายทั้ง 6 กลุ่มความรู้ ซึ่งที่ประชุมเห็นตรงกันว่า ควรมีการปรับหลักสูตร แต่จะต้องให้หน่วยงาน และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้หารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นมากขึ้น เพราะยังมีความเห็นต่างกันมากในเรื่องหลักสูตร เช่น บางรายเห็นว่าหลักสูตรปัจจุบันไม่จำเป็นต้องเปลี่ยน บางรายเห็นว่าต้องปรับปรุงเป็นบางส่วน เป็นต้น จึงต้องให้มีการประชุมแสดงความคิดเห็นที่เหมาะสมให้ผู้เกี่ยวข้องได้มาพูดคุยหารือ ตั้งแต่หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 จนถึงหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 ว่าต้องปรับเปลี่ยนอย่างไร และให้คนทั้งสังคมเข้ามามีส่วนร่วมด้วย
นายภาวิช ทองโรจน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำ ศธ. กล่าวว่า ที่ประชุมโดยทั่วไปเห็นด้วยที่จะต้องมีการปรับปรุงหลักสูตร แต่มีข้อกังวลในแง่การนำหลักสูตรไปใช้ การปรับตัวของครูผู้สอน และกระบวนการต่างๆ ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิธีการเรียนการสอน ซึ่งเดิมจะใช้ศึกษานิเทศก์ แต่ระบบใหม่จะมีเรื่องของเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ดังนั้น การประชุมคณะกรรมการจัดตั้งสถาบันหลักสูตรและนวัตกรรมการเรียนรู้ ที่มี รมว.ศึกษาธิการ เป็นประธานเมื่อเร็วๆ นี้ จึงไฟเขียวให้จัดตั้งสถาบันดังกล่าวขึ้น โดยสถาบันนี้จะเป็นองค์การมหาชน มีการบริหารงานที่ปราศจากการเมือง ทำหน้าที่เก็บข้อมูล และวิจัยหลักสูตร เพื่อให้หลักสูตรมีวิวัฒนาการไปเรื่อยๆ ไปหยุดนิ่ง และสร้างนวัตกรรมการเรียนการสอนที่ทันสมัย ทำงานเชื่อมโยงหน่วยงานที่มีสถานศึกษาในสังกัดทุกแห่ง
“สถาบันแห่งนี้อาจจะเคลื่อนย้ายบางหน่วยงานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เข้ามา เช่น สำนักวิชาการ สำนักทดสอบของ สพฐ. แต่ไม่ใช่จะไปยุบรวมหน่วยงานของ สพฐ.มาไว้ที่สถาบัน แต่อาจจะมีบางส่วนที่ต้องทำงานร่วมกัน โดยขณะนี้ได้มอบหมายให้ สพฐ. ไปคำนวนงบประมาณการจัดตั้งสถาบัน และร่างรายละเอียดต่างๆ เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาต่อไป โดยจะเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน เพื่อให้การดำเนินการจัดทำหลักสูตรมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง” นายภาวิช กล่าว