ศธ.เล็งใช้วิธีอุดหนุนรายโรงเรียน เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ชี้คนละส่วนกับอุดหนุนรายหัวที่จ่ายปกติ ย้ำไม่เหมาประเด็นจำนวน นร.เป็นตัวแปรผันการอุดหนุนงบ เผยข้อกังวล สพฐ.หวั่นถูกฟ้องหากปรับแก้ประกาศรับ นร.นั้นยังไม่รู้ข้อสรุปชัดรอหารือย้ำยังมีเวลาดำเนินการ
สืบเนื่องจากกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ระบุว่าไม่สามารถพิจารณาปรับแก้ประกาศการรับนักเรียน ในโรงเรียนสังกัด สพฐ.ประจำปีการศึกษา 2557 โดยเฉพาะในเรื่องข้อกำหนดเรื่องอาจกำหนดจำนวนนักเรียนต่อห้อง ที่ 40 คนต่อห้อง หรือกำหนดให้นักเรียนจบมัธยมศึกษาปี่ที่ 3 ที่จะเรียนต่อ ม.4 โรงเรียนเดิมต้องเกรดเฉลี่ยสะสม 2.50 ขึ้นไปจากเดิมเกรดเฉลี่ย 2.00 ฯลฯ เพื่อให้สอดคล้อง รับตามนโยบายการเพิ่มสัดส่วนผู้เรียนสายอาชีวศึกษาต่อสายสามัญเป็น 51 ต่อ 49 ในปี 2558 ได้เพราะเกรงว่าจะมีปัญหาฟ้องร้องตามมา ซึ่งอาจส่งผลให้นโยบายการเพิ่มนักเรียนสายอาชีวะอีก 9% ในปีการศึกษา2557 เป็นไปได้ยาก
นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ให้ความเห็นว่าการแก้ไขประกาศรับนักเรียน ปีการศึกษา 2557 ไม่ใช่จุดที่เป็นเงื่อนไขสำคัญซึ่งตนยังไม่แน่ใจว่า สพฐ.สรุปเช่นไรแต่ขณะนี้ยังพอมีเวลา ดังนั้น เมื่อ สพฐ.ได้ข้อสรุปแล้วก็คงต้องมาหารือในรายละเอียดร่วมกันอีกครั้ง ทั้งนี้ ประเด็นการปรับลดจำนวนนักเรียนต่อห้องให้อยู่ที่ 40 คนต่อห้องนั้น ไม่ใด้มีเป้าหมายแค่จะเพิ่มสัดส่วนการรับนักเรียนสายอาชีวะเพิ่มขึ้นเท่านั้น แต่ประเด็นสำคัญคือจะต้องการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ เพราะการมีนักเรียนต่อห้องจำนวนมากทำให้การจัดการศึกษามีปัญหา ครูไม่สามารถดูแลนักเรียนได้ทั่วถึง โดยเฉพาะการเรียนภาษาต่างประเทศ หากมีนักเรียนต่อห้องมากเกินไป จะทำให้ครูไม่สามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีคุณภาพ
“ประเด็นการลดจำนวนนักเรียนต่อห้องลง ในหลายประเทศก็มีปัญหาคล้ายๆ กัน เพราะต้องอยู่ภายใต้ความกดดันของสังคมและทำได้ยาก บางประเทศถึงขั้นต้องออกเป็นกฎหมาย แต่ในส่วนของประเทศไทยคงยังไม่ถึงขั้นต้องออกกฎหมายแต่จะต้องไปคิดหามาตรการต่างๆ มาประกอบ อาทิ ที่ผ่านมามีข้อเสนอ ให้ปรับระบบเงินอุดหนุนรายหัว มาเป็นอุดหนุนตามโรงเรียน และกำหนดกติกาว่าแต่ละโรงเรียนจะต้องมีนักเรียนต่อห้องไม่เกินเท่าไร ซึ่ง ศธ.อยู่ระหว่างศึกษารายละเอียดโดยเงินรายหัวนักเรียนต้องมีจัดสรรให้ต่อไป แต่จะไม่นำมาเป็นประเด็นสำคัญในการจัดสรรงบประมาณให้โรงเรียน เราต้องมาคิดใหม่ เพราะเวลานี้เราเน้นแต่รายหัว ทำให้เกิดความได้เปรียเสียเปรียบ อาทิ โรงเรียนขนาดเล็กที่มีเด็กน้อยก็ได้เงินน้อย ไม่เพียงพอต่อการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน หรือพัฒนาการศึกษาได้เท่าที่ควรจะเป็น ก็อาจจะต้องมีการปรับโดยดูความเป็นโรงเรียนเล็ก กลาง ใหญ่ ส่วนจะแตกต่างมากน้อยแค่ไหน ต้องไปศึกษาดูก่อน แต่ที่สำคัญจะต้องไม่แปรผันตามจำนวนนักเรียนอย่างเดียว ส่วนจะต้องดูเรื่องผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนประกอบหรือไม่นั้น ต้องหารือในรายละเอียด เพราะเรื่องนี้ก็เป็นดาบสองคม หากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กไม่ดี และเราไปตัดงบ ก็เท่ากับทำให้โรงเรียนไม่สามารถพัฒนาตัวเองได้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กก็ไม่มีวันดีขึ้น เรื่องนี้คงต้องดูให้รอบด้านเพื่อไม่ให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบ” นายจาตุรนต์ กล่าว
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวด้วยว่า อย่างไรก็ตาม เป้าหมายการเพิ่มสัดส่วนผู้เรียนในสายอาชีวะเป็น 9% ขึ้นกับปัจจัยอื่นๆ ด้วย เช่น การแนะนำอาชีพ การพัฒนาการเรียนการสอนอาชีวะจูงใจให้รู้ว่าเรียนแล้วมีงานทำ มีรายได้ดี หากทำให้เห็นชัดเจน เด็กก็อาจหันมาเลือกเรียนสายอาชีวศึกษาเพิ่มมากขึ้น แม้ว่าจำนวนที่นักเรียนต่อห้องของสายสามัญจะเปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยนก็ตาม
สืบเนื่องจากกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ระบุว่าไม่สามารถพิจารณาปรับแก้ประกาศการรับนักเรียน ในโรงเรียนสังกัด สพฐ.ประจำปีการศึกษา 2557 โดยเฉพาะในเรื่องข้อกำหนดเรื่องอาจกำหนดจำนวนนักเรียนต่อห้อง ที่ 40 คนต่อห้อง หรือกำหนดให้นักเรียนจบมัธยมศึกษาปี่ที่ 3 ที่จะเรียนต่อ ม.4 โรงเรียนเดิมต้องเกรดเฉลี่ยสะสม 2.50 ขึ้นไปจากเดิมเกรดเฉลี่ย 2.00 ฯลฯ เพื่อให้สอดคล้อง รับตามนโยบายการเพิ่มสัดส่วนผู้เรียนสายอาชีวศึกษาต่อสายสามัญเป็น 51 ต่อ 49 ในปี 2558 ได้เพราะเกรงว่าจะมีปัญหาฟ้องร้องตามมา ซึ่งอาจส่งผลให้นโยบายการเพิ่มนักเรียนสายอาชีวะอีก 9% ในปีการศึกษา2557 เป็นไปได้ยาก
นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ให้ความเห็นว่าการแก้ไขประกาศรับนักเรียน ปีการศึกษา 2557 ไม่ใช่จุดที่เป็นเงื่อนไขสำคัญซึ่งตนยังไม่แน่ใจว่า สพฐ.สรุปเช่นไรแต่ขณะนี้ยังพอมีเวลา ดังนั้น เมื่อ สพฐ.ได้ข้อสรุปแล้วก็คงต้องมาหารือในรายละเอียดร่วมกันอีกครั้ง ทั้งนี้ ประเด็นการปรับลดจำนวนนักเรียนต่อห้องให้อยู่ที่ 40 คนต่อห้องนั้น ไม่ใด้มีเป้าหมายแค่จะเพิ่มสัดส่วนการรับนักเรียนสายอาชีวะเพิ่มขึ้นเท่านั้น แต่ประเด็นสำคัญคือจะต้องการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ เพราะการมีนักเรียนต่อห้องจำนวนมากทำให้การจัดการศึกษามีปัญหา ครูไม่สามารถดูแลนักเรียนได้ทั่วถึง โดยเฉพาะการเรียนภาษาต่างประเทศ หากมีนักเรียนต่อห้องมากเกินไป จะทำให้ครูไม่สามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีคุณภาพ
“ประเด็นการลดจำนวนนักเรียนต่อห้องลง ในหลายประเทศก็มีปัญหาคล้ายๆ กัน เพราะต้องอยู่ภายใต้ความกดดันของสังคมและทำได้ยาก บางประเทศถึงขั้นต้องออกเป็นกฎหมาย แต่ในส่วนของประเทศไทยคงยังไม่ถึงขั้นต้องออกกฎหมายแต่จะต้องไปคิดหามาตรการต่างๆ มาประกอบ อาทิ ที่ผ่านมามีข้อเสนอ ให้ปรับระบบเงินอุดหนุนรายหัว มาเป็นอุดหนุนตามโรงเรียน และกำหนดกติกาว่าแต่ละโรงเรียนจะต้องมีนักเรียนต่อห้องไม่เกินเท่าไร ซึ่ง ศธ.อยู่ระหว่างศึกษารายละเอียดโดยเงินรายหัวนักเรียนต้องมีจัดสรรให้ต่อไป แต่จะไม่นำมาเป็นประเด็นสำคัญในการจัดสรรงบประมาณให้โรงเรียน เราต้องมาคิดใหม่ เพราะเวลานี้เราเน้นแต่รายหัว ทำให้เกิดความได้เปรียเสียเปรียบ อาทิ โรงเรียนขนาดเล็กที่มีเด็กน้อยก็ได้เงินน้อย ไม่เพียงพอต่อการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน หรือพัฒนาการศึกษาได้เท่าที่ควรจะเป็น ก็อาจจะต้องมีการปรับโดยดูความเป็นโรงเรียนเล็ก กลาง ใหญ่ ส่วนจะแตกต่างมากน้อยแค่ไหน ต้องไปศึกษาดูก่อน แต่ที่สำคัญจะต้องไม่แปรผันตามจำนวนนักเรียนอย่างเดียว ส่วนจะต้องดูเรื่องผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนประกอบหรือไม่นั้น ต้องหารือในรายละเอียด เพราะเรื่องนี้ก็เป็นดาบสองคม หากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กไม่ดี และเราไปตัดงบ ก็เท่ากับทำให้โรงเรียนไม่สามารถพัฒนาตัวเองได้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กก็ไม่มีวันดีขึ้น เรื่องนี้คงต้องดูให้รอบด้านเพื่อไม่ให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบ” นายจาตุรนต์ กล่าว
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวด้วยว่า อย่างไรก็ตาม เป้าหมายการเพิ่มสัดส่วนผู้เรียนในสายอาชีวะเป็น 9% ขึ้นกับปัจจัยอื่นๆ ด้วย เช่น การแนะนำอาชีพ การพัฒนาการเรียนการสอนอาชีวะจูงใจให้รู้ว่าเรียนแล้วมีงานทำ มีรายได้ดี หากทำให้เห็นชัดเจน เด็กก็อาจหันมาเลือกเรียนสายอาชีวศึกษาเพิ่มมากขึ้น แม้ว่าจำนวนที่นักเรียนต่อห้องของสายสามัญจะเปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยนก็ตาม