ศธ.ปรับแผนพัฒนาการศึกษาใต้ เพิ่มยอดเด็กเรียนต่อมหาวิทยาลัย “สุทธศรี” เผยจะมอบ กศน.ต่อยอดนโยบายดึงเด็ก เรียนต่อจนจบ ม.6 โดยเฉพาะเด็กปอเนาะ เพื่อเพิ่มยอดผู้เรียนทั้งพื้นฐานและอุดมศึกษา เตรียมตั้ง คกก.1 ชุดกำหนดแผนสัดส่วนผู้จบการศึกษาแต่ละระดับกี่เปอร์เซ็นต์ให้ชัดเจน
วันนี้ (10 ต.ค.) นางสุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า ในการประชุมผู้บริหาร ศธ.เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประชุมได้หารือถึงการปรับปรุงแผนปฏิบัติงานพัฒนาการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปีการศึกษา 2557-2559 โดยสำนักงานปลัด ศธ.จะเป็นตัวกลางประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาบูรณาการทำงานร่วมกัน มีเป้าหมายที่สำคัญ คือต้องการให้เด็กในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพ จึงได้กำหนดแนวทางที่ต้องเร่งดำเนินการทั้งหมด อาทิ ให้นักเรียนมีทักษะในการอ่านออกเขียนได้ ในแต่ละช่วงชั้น โดยขยายผลนโยบายการเรียนภาษาถิ่นคู่กับภาษาไทย หรือ ทวิภาษา การให้บุคลากรครูไม่น้อยกว่า 30% ได้รับการพัฒนาทักษาด้านภาษาต่างประเทศ การเพิ่มคะแนนทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) รวมถึงเพิ่มจำนวนผู้เรียนสายอาชีพ ที่ขณะนี้มีเพียง 20% และที่สำคัญคือเร่งเพิ่มจำนวนผู้ที่เรียนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน (มัธยมศึกษาปีที่ 6) และส่งเสริมให้เข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษามากขึ้น
ปัจจุบันนักเรียนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนใหญ่จะเรียนทางด้านศาสนา ในสถาบันปอเนาะและจบเพียงการศึกษาภาคบังคับ คือ ระดับชั้น ม.3 เท่านั้น ขณะที่ผู้ที่เรียนจบในสถาบันปอเนาะก็ไม่สามารถเทียบกับการเรียนในระดับ ม.6 ได้ ส่งผลให้เมื่อจบปอเนาะแล้วจึงไม่สามารถเรียนต่อในมหาวิทยาลัยของไทยได้ เด็กส่วนใหญ่จึงเลือกที่จะไปเรียนต่อยังต่างประเทศ อาทิ ประเทศมาเลเซีย ที่เปิดสอนในหลักสูตรอิสลามศึกษา เป็นต้น เพราะฉะนั้น ตนเห็นว่าเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของเด็กในพื้นที่ จ.ชายแดนใต้ จึงต้องหาวิธีการให้นักเรียนจบ ม.6 มากขึ้น เพื่อเพิ่มจำนวนผู้เข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย ซึ่งที่ผ่านมาเคยมีการเสนอให้ผู้ที่จบจากสถาบันปอเนาะสามารถเทียบการเรียนการสอน เพื่อให้เข้าเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาของไทยได้แต่ยังไม่เคยมีการดำเนินการ
“ดิฉันจะมีนโยบายให้ กศน.เข้าไปส่งเสริมและจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนใน จ.ชายแดนใต้จนจบชั้น ม.6 จากเดิมที่จบแค่ ม.3 โดยอาจจะเรียนช่วงเสาร์ อาทิตย์ หรืออาจจะนำโครงการเทียบระดับการศึกษาขั้นสูงสุดการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือในชื่อเดิมคือจบ ม.6 ใน 8 เดือน ที่ รมว.ศึกษาธิการ มีนโยบายให้พัฒนาคุณภาพมาตรฐานมาดูว่า จะทำอย่างไรให้ลงไปสู่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย ซึ่งต้องดูว่าจะเทียบความรู้กับสายศาสนาหรือเทียบประสบการณ์ทำงานได้อย่างไร เพราะถ้าเราตั้งเป้าว่าจะเพิ่มผู้เรียนในระดับอุดมศึกษา แต่ไม่ตั้งเป้าที่จะเพิ่มผู้เรียนในสายสามัญด้วยก็คงไม่สำเร็จ” นางสุทธศรี กล่าว
วันนี้ (10 ต.ค.) นางสุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า ในการประชุมผู้บริหาร ศธ.เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประชุมได้หารือถึงการปรับปรุงแผนปฏิบัติงานพัฒนาการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปีการศึกษา 2557-2559 โดยสำนักงานปลัด ศธ.จะเป็นตัวกลางประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาบูรณาการทำงานร่วมกัน มีเป้าหมายที่สำคัญ คือต้องการให้เด็กในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพ จึงได้กำหนดแนวทางที่ต้องเร่งดำเนินการทั้งหมด อาทิ ให้นักเรียนมีทักษะในการอ่านออกเขียนได้ ในแต่ละช่วงชั้น โดยขยายผลนโยบายการเรียนภาษาถิ่นคู่กับภาษาไทย หรือ ทวิภาษา การให้บุคลากรครูไม่น้อยกว่า 30% ได้รับการพัฒนาทักษาด้านภาษาต่างประเทศ การเพิ่มคะแนนทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) รวมถึงเพิ่มจำนวนผู้เรียนสายอาชีพ ที่ขณะนี้มีเพียง 20% และที่สำคัญคือเร่งเพิ่มจำนวนผู้ที่เรียนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน (มัธยมศึกษาปีที่ 6) และส่งเสริมให้เข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษามากขึ้น
ปัจจุบันนักเรียนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนใหญ่จะเรียนทางด้านศาสนา ในสถาบันปอเนาะและจบเพียงการศึกษาภาคบังคับ คือ ระดับชั้น ม.3 เท่านั้น ขณะที่ผู้ที่เรียนจบในสถาบันปอเนาะก็ไม่สามารถเทียบกับการเรียนในระดับ ม.6 ได้ ส่งผลให้เมื่อจบปอเนาะแล้วจึงไม่สามารถเรียนต่อในมหาวิทยาลัยของไทยได้ เด็กส่วนใหญ่จึงเลือกที่จะไปเรียนต่อยังต่างประเทศ อาทิ ประเทศมาเลเซีย ที่เปิดสอนในหลักสูตรอิสลามศึกษา เป็นต้น เพราะฉะนั้น ตนเห็นว่าเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของเด็กในพื้นที่ จ.ชายแดนใต้ จึงต้องหาวิธีการให้นักเรียนจบ ม.6 มากขึ้น เพื่อเพิ่มจำนวนผู้เข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย ซึ่งที่ผ่านมาเคยมีการเสนอให้ผู้ที่จบจากสถาบันปอเนาะสามารถเทียบการเรียนการสอน เพื่อให้เข้าเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาของไทยได้แต่ยังไม่เคยมีการดำเนินการ
“ดิฉันจะมีนโยบายให้ กศน.เข้าไปส่งเสริมและจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนใน จ.ชายแดนใต้จนจบชั้น ม.6 จากเดิมที่จบแค่ ม.3 โดยอาจจะเรียนช่วงเสาร์ อาทิตย์ หรืออาจจะนำโครงการเทียบระดับการศึกษาขั้นสูงสุดการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือในชื่อเดิมคือจบ ม.6 ใน 8 เดือน ที่ รมว.ศึกษาธิการ มีนโยบายให้พัฒนาคุณภาพมาตรฐานมาดูว่า จะทำอย่างไรให้ลงไปสู่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย ซึ่งต้องดูว่าจะเทียบความรู้กับสายศาสนาหรือเทียบประสบการณ์ทำงานได้อย่างไร เพราะถ้าเราตั้งเป้าว่าจะเพิ่มผู้เรียนในระดับอุดมศึกษา แต่ไม่ตั้งเป้าที่จะเพิ่มผู้เรียนในสายสามัญด้วยก็คงไม่สำเร็จ” นางสุทธศรี กล่าว