ดันแนวทาง คปร.-คสป.ปฏิรูป 4 เรื่องใหญ่ทางออกประเทศ พลิกกลับ 3 เหลี่ยมอำนาจ-ออก 4 กฎหมายแก้ความจน-ปลุกพลังพลเมือง-เปลี่ยนประชาธิปไตยตัวแทนเป็นแบบมีส่วนร่วม
วันนี้ (19 พ.ย.) ที่อาคารสุขภาพแห่งชาติ มีการแถลงข่าว “4 แนวทางปฏิรูป” ข้ามมิติความขัดแย้ง ร่วมหาทางออกประเทศไทย โดย นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) กล่าวว่า สช.ในฐานะได้รับมอบหมายให้จัดตั้งสำนักงานปฏิรูปเป็นหน่วยเลขานุการให้คณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) ที่มี นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน และคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป (คสป.) ที่มี นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโสเป็นประธาน เห็นว่าควรนำข้อเสนอของคณะกรรมการ 2 ชุดที่จัดทำในปี 2553-2556 เป็นทางออกของประเทศไทยในช่วงที่มีความขัดแย้ง คือ ต้องปฏิรูป 4 เรื่องใหญ่ ได้แก่ 1.อำนาจ ลดอำนาจส่วนกลางคืนอำนาจให้ชุมชนท้องถิ่นจัดการตัวเอง หรือพลิกกลับ 3 เหลี่ยมอำนาจ 2.ความยากจน คปร.ได้เสนอให้มีการออกกฎหมาย 4 ฉบับแต่ปัจจุบันยังไม่มีพลังสังคมมาผลักดันและเอาจริงอาจังในเรื่องนี้ 3.พลเมือง ต้องส่งเสริมพลังพลเมืองให้ร่วมเป็นธุระกับเรื่องของบ้านเมือง และ 4.ประชาธิปไตย ต้องเปลี่ยนประชาธิปไตยแบบตัวแทน เป็นประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม ไม่ใช่ประชาชนมีสิทธิแค่หย่อนบัตรเลือกตั้งแต่ต้องมีการตรวจสอบได้ในทุกระบบ ซึ่งรัฐธรรมนูญในปัจจุบันกำหนดให้ประชาชนมีส่วนร่วมได้อยู่แล้ว ทั้งนี้ หากดำเนินการได้ใน 4 เรื่องที่สามารถดำเนินการได้ทันทีจะเป็นทางออกของประเทศ เกิดการปฏิรูปและเปลี่ยนผ่าน โดยพลังภาคประชาชน พลังสังคมต้องช่วยกันในการขับเคลื่อนสิ่งเหล่านี้ให้เกิดขึ้น
ด้าน ดร.เดชรัต สุขกำเนิด นักวิชาการและอดีตเลขานุการ คปร.กล่าวว่า ในส่วนของการปฏิรูปอำนาจนั้น ต้องกระจายอำนาจความเป็นราชการสู่ประชาชนอย่างแท้จริง ซึ่ง คปร.เสนอแนวทางที่ทำได้ทันทีคือ การกระจายร้อยละ 5 ของงบประมาณแผ่นดินหรือประมาณ 1 แสนล้านที่เคยจัดสรรให้ส่วนกลางไปให้กับจังหวัด แต่ต้องปรับระบบการจัดสรรให้กระจายไปยังจังหวัดที่พัฒนาน้อยกว่า หรือมีสัดส่วนความยากจนให้ได้รับงบประมาณนี้มากกว่าจังหวัดที่พัฒนาสูง จะช่วยให้จังหวัดที่มีสัดส่วนความยากจนสูงได้รับงบเพิ่มไม่น้อยกว่า 1 พันล้านบาทต่อปี จะทำให้มีศักยภาพในการพัฒนาตัวอย่างตามบริบทของพื้นที่ เกิดการพัฒนาหลากหลายรูปแบบไม่ใช่พิมพ์เขียวเหมือนกันทั้งประเทศ
นางปรีดา คงแป้น ผู้จัดการมูลนิธิชุมชนไท และอดีตกรรมการ คสป.กล่าวว่า การกระจุกตัวของโครงสร้างอำนาจ ทำให้เกิดการกระจุกตัวของการถือครองที่ดิน เกิดความเหลื่อมล้ำและความยากจนมาก โดยปัจจุบันที่ดินที่ออกเอกสารสิทธิแล้วกว่า 70% อยู่ในมือคนกลุ่มหนึ่งที่มีจำนวนไม่ถึง 6 ล้านคน ขณะที่ประชาชนกว่า 50 ล้านคน ครอบครองที่ดินคนละไม่ถึง 1 ไร่เท่านั้น และมีคนจนถูกจับในคดีที่ดินเกือบ 7 พันคดี ขณะที่นายทุนรุกพื้นที่สาธารณะและเอกชนได้สัมปทานพื้นที่เพิ่มขึ้น จึงได้มีการยกร่างกฎหมาย 4 ฉบับเพื่อแก้ความยากจน หรือ 4 Laws for the Poors ได้แก่ ร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินอัตราก้าวหน้า ช่วยแก้ปัญหาการกระจุกตัวการถือครองที่ดิน 2.ร่าง พ.ร.บ.ธนาคารที่ดิน หรือ พ.ร.บ.โฉนดชุมชน ช่วยคนจนที่ไร้ที่ทำกิน 3.ร่าง พ.ร.บ.สิทธิชุมชนในการจัดการที่ดินและทรัพยากร ให้ชุมชนมีสิทธิ์ในการดูแลทรัพยากรและที่ดิน และ 4.ร่าง พ.ร.บ.กองทุนยุติธรรม ช่วยคนจนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมอย่างแท้จริง
นายเตชิต ชาวบางพรหม ตัวเทนเครือข่ายคนรุ่นใหม่หัวใจพลเมือง กล่าวว่า พลังพลเมืองที่จะช่วยในการขับเคลื่อนประเทศไปข้างหน้าต้องดำเนินการอย่างน้อย 3 ประการ ประกอบด้วย 1.เฝ้าระวัง ไม่ยอมให้เกิดการผูกขาดอำนาจบริหารบ้านเมืองไว้เฉพาะพวกด้วยการหาทางเข้าไปมีส่วนร่วมตามสิทธิรัฐธรรมนูญ 2.ตรวจสอบ ไม่ยอมเห็นความไม่ถูกต้อง การทุจริต หรือลุแก่อำนาจ และ 3.ชอบเป็นธุระ เสียสละใส่ใจเอาธุระของกิจการบ้านเมือง โดยทำตัวเป็นคนไทย-ไม่เฉย
ดร.วณี ปิ่นประทีป ผอ.สำนักงานประสานการพัฒนาสังคมสุขภาวะ (สปพส.) กล่าวว่า ต้องมีการปฏิรูประบบป้องกันและปราบปรามการทุจริต ที่ถือเป็นต้นเหตุสำคัญของความขัดแย้งในบ้านเมือง โดยต้องมีกลไกการมีส่วนร่วมทั้งประชาชน รัฐและเอกชนในการตรวจสอบและป้องกันการทุจริต รวมถึงพัฒนาความเข้มแข็งของพลเมือง เช่น การรวบรวมรายชื่อเพื่อถอดถอน ส.ส.300 คน เป็นต้น
วันนี้ (19 พ.ย.) ที่อาคารสุขภาพแห่งชาติ มีการแถลงข่าว “4 แนวทางปฏิรูป” ข้ามมิติความขัดแย้ง ร่วมหาทางออกประเทศไทย โดย นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) กล่าวว่า สช.ในฐานะได้รับมอบหมายให้จัดตั้งสำนักงานปฏิรูปเป็นหน่วยเลขานุการให้คณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) ที่มี นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน และคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป (คสป.) ที่มี นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโสเป็นประธาน เห็นว่าควรนำข้อเสนอของคณะกรรมการ 2 ชุดที่จัดทำในปี 2553-2556 เป็นทางออกของประเทศไทยในช่วงที่มีความขัดแย้ง คือ ต้องปฏิรูป 4 เรื่องใหญ่ ได้แก่ 1.อำนาจ ลดอำนาจส่วนกลางคืนอำนาจให้ชุมชนท้องถิ่นจัดการตัวเอง หรือพลิกกลับ 3 เหลี่ยมอำนาจ 2.ความยากจน คปร.ได้เสนอให้มีการออกกฎหมาย 4 ฉบับแต่ปัจจุบันยังไม่มีพลังสังคมมาผลักดันและเอาจริงอาจังในเรื่องนี้ 3.พลเมือง ต้องส่งเสริมพลังพลเมืองให้ร่วมเป็นธุระกับเรื่องของบ้านเมือง และ 4.ประชาธิปไตย ต้องเปลี่ยนประชาธิปไตยแบบตัวแทน เป็นประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม ไม่ใช่ประชาชนมีสิทธิแค่หย่อนบัตรเลือกตั้งแต่ต้องมีการตรวจสอบได้ในทุกระบบ ซึ่งรัฐธรรมนูญในปัจจุบันกำหนดให้ประชาชนมีส่วนร่วมได้อยู่แล้ว ทั้งนี้ หากดำเนินการได้ใน 4 เรื่องที่สามารถดำเนินการได้ทันทีจะเป็นทางออกของประเทศ เกิดการปฏิรูปและเปลี่ยนผ่าน โดยพลังภาคประชาชน พลังสังคมต้องช่วยกันในการขับเคลื่อนสิ่งเหล่านี้ให้เกิดขึ้น
ด้าน ดร.เดชรัต สุขกำเนิด นักวิชาการและอดีตเลขานุการ คปร.กล่าวว่า ในส่วนของการปฏิรูปอำนาจนั้น ต้องกระจายอำนาจความเป็นราชการสู่ประชาชนอย่างแท้จริง ซึ่ง คปร.เสนอแนวทางที่ทำได้ทันทีคือ การกระจายร้อยละ 5 ของงบประมาณแผ่นดินหรือประมาณ 1 แสนล้านที่เคยจัดสรรให้ส่วนกลางไปให้กับจังหวัด แต่ต้องปรับระบบการจัดสรรให้กระจายไปยังจังหวัดที่พัฒนาน้อยกว่า หรือมีสัดส่วนความยากจนให้ได้รับงบประมาณนี้มากกว่าจังหวัดที่พัฒนาสูง จะช่วยให้จังหวัดที่มีสัดส่วนความยากจนสูงได้รับงบเพิ่มไม่น้อยกว่า 1 พันล้านบาทต่อปี จะทำให้มีศักยภาพในการพัฒนาตัวอย่างตามบริบทของพื้นที่ เกิดการพัฒนาหลากหลายรูปแบบไม่ใช่พิมพ์เขียวเหมือนกันทั้งประเทศ
นางปรีดา คงแป้น ผู้จัดการมูลนิธิชุมชนไท และอดีตกรรมการ คสป.กล่าวว่า การกระจุกตัวของโครงสร้างอำนาจ ทำให้เกิดการกระจุกตัวของการถือครองที่ดิน เกิดความเหลื่อมล้ำและความยากจนมาก โดยปัจจุบันที่ดินที่ออกเอกสารสิทธิแล้วกว่า 70% อยู่ในมือคนกลุ่มหนึ่งที่มีจำนวนไม่ถึง 6 ล้านคน ขณะที่ประชาชนกว่า 50 ล้านคน ครอบครองที่ดินคนละไม่ถึง 1 ไร่เท่านั้น และมีคนจนถูกจับในคดีที่ดินเกือบ 7 พันคดี ขณะที่นายทุนรุกพื้นที่สาธารณะและเอกชนได้สัมปทานพื้นที่เพิ่มขึ้น จึงได้มีการยกร่างกฎหมาย 4 ฉบับเพื่อแก้ความยากจน หรือ 4 Laws for the Poors ได้แก่ ร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินอัตราก้าวหน้า ช่วยแก้ปัญหาการกระจุกตัวการถือครองที่ดิน 2.ร่าง พ.ร.บ.ธนาคารที่ดิน หรือ พ.ร.บ.โฉนดชุมชน ช่วยคนจนที่ไร้ที่ทำกิน 3.ร่าง พ.ร.บ.สิทธิชุมชนในการจัดการที่ดินและทรัพยากร ให้ชุมชนมีสิทธิ์ในการดูแลทรัพยากรและที่ดิน และ 4.ร่าง พ.ร.บ.กองทุนยุติธรรม ช่วยคนจนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมอย่างแท้จริง
นายเตชิต ชาวบางพรหม ตัวเทนเครือข่ายคนรุ่นใหม่หัวใจพลเมือง กล่าวว่า พลังพลเมืองที่จะช่วยในการขับเคลื่อนประเทศไปข้างหน้าต้องดำเนินการอย่างน้อย 3 ประการ ประกอบด้วย 1.เฝ้าระวัง ไม่ยอมให้เกิดการผูกขาดอำนาจบริหารบ้านเมืองไว้เฉพาะพวกด้วยการหาทางเข้าไปมีส่วนร่วมตามสิทธิรัฐธรรมนูญ 2.ตรวจสอบ ไม่ยอมเห็นความไม่ถูกต้อง การทุจริต หรือลุแก่อำนาจ และ 3.ชอบเป็นธุระ เสียสละใส่ใจเอาธุระของกิจการบ้านเมือง โดยทำตัวเป็นคนไทย-ไม่เฉย
ดร.วณี ปิ่นประทีป ผอ.สำนักงานประสานการพัฒนาสังคมสุขภาวะ (สปพส.) กล่าวว่า ต้องมีการปฏิรูประบบป้องกันและปราบปรามการทุจริต ที่ถือเป็นต้นเหตุสำคัญของความขัดแย้งในบ้านเมือง โดยต้องมีกลไกการมีส่วนร่วมทั้งประชาชน รัฐและเอกชนในการตรวจสอบและป้องกันการทุจริต รวมถึงพัฒนาความเข้มแข็งของพลเมือง เช่น การรวบรวมรายชื่อเพื่อถอดถอน ส.ส.300 คน เป็นต้น