ภาคีต้านภัยเอดส์ เปิดตัวโครงการ VCT@WORK ให้คำปรึกษา ตรวจเลือดเอชไอวีโดยสมัครใจ ครั้งแรกในไทย ตั้งเป้าในปี 58 มีสมาชิกจากทั่วโลก 5 ล้านคน
วันนี้ (15 พ.ย.) องค์การแรงงานระหว่างประเทศ หรือ ไอแอลโอ (ILO) ร่วมกับสมาคมแนวร่วมภาคธุรกิจไทยต้านภัยเอดส์, ศูนย์วิจัยเอดส์ สภากาชาดไทย, โครงการเอดส์แห่งสหประชาชาติ (UNAIDS) จัดงานเปิดตัว โครงการ VCT@WORK (Voluntary HIV Counselling and Testing at Work Programme -ให้คำปรึกษา และตรวจเลือดเอชไอวีโดยสมัครใจ) ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยมี ดร.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดงาน กล่าวว่า โครงการนี้จัดทำขึ้นมาเพื่อลดจำนวนผู้ติดเชื้อเอชไอวีในไทยและทั่วโลก พร้อมสนับสนุนให้ประชาชนได้รู้สถานภาพการติดเชื้อเอชไอวีของตนเองตั้งแต่ในระยะเริ่มแรก เพื่อที่จะได้เข้ารับการรักษาได้อย่างรวดเร็ว และสามารถดำเนินชีวิตอยู่ต่อไปด้วยการมีสุขภาพที่ดี โดยทางเจ้าของกิจการหรือสถานประกอบการ จะต้องสนับสนุนในการนำพนักงานหรือลูกจ้างของบริษัทให้ได้จำนวน 100,000 คน ในการเข้ารับการตรวจเลือดเอชไอวีโดยสมัครใจผ่านสถานประกอบการ ภายในสิ้นปี พ.ศ.2558 นอกจากนี้ยังมีความเห็นจากบุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว ดังนี้
นายมอริซิโอ บุซซี่ รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานแรงงานระหว่างประเทศ ประจำประเทศไทย กัมพูชา และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กล่าวว่า “สถานประกอบกิจการคือสะพานสำคัญ ที่จะเชื่อมการให้ความรู้ด้านการป้องกันกับการรักษาเข้าด้วยกัน ซึ่งทำให้เราได้มองเห็นศักยภาพของสถานประกอบการในการสื่อสารเรื่องการป้องกันในประเทศไทย ถึงเวลาแล้วที่เราต้องให้ความสนใจในการสนับสนุนให้พนักงานได้เข้าถึงการเข้ารับการรักษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานประกอบการ หรือในกิจการที่มีความเสี่ยง”
นพ.ทวีทรัพย์ ศิริประภาศิริ ผู้อำนวยการศูนย์บริหารจัดการปัญหาเอดส์แห่งชาติ กล่าวว่า “จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข การเข้ารับบริการตรวจเลือดเอชไอวีในประเทศไทยยังอยู่ในระดับต่ำ มีเพียงร้อยละ 40 ของประชากรที่มีพฤติกรรมเสี่ยงที่ได้มาเข้ารับการตรวจหาเชื้อเอชไอวีในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ซึ่งในประเทศไทยปัจจุบันมีการคาดการณ์ว่ามีจำนวนผู้ติดเชื้อจำนวน 480,000 คน ที่ยังมีชีวิตอยู่ แต่จะมีเพียงแค่ 240,000 คน ที่ได้เข้ารับการรักษา ดังนั้นการสนับสนุนให้คำปรึกษา และการตรวจหาเอชไอวี ประกอบกับบริการด้านการรักษา จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง และเป็นกลยุทธ์ของประเทศที่ต้องการจะลดผู้ติดเชื้อรายใหม่ และยังป้องกันการเสียชีวิตจากโรคเอดส์ได้อีกด้วย”
นายสาวิทย์ แก้วหวาน อดีตเลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ได้กล่าวว่า ปัจจุบันพนักงานในไทยมีแนวโน้มที่จะไปตรวจหาเชื้อเอชไอวีกันเพิ่มมากขึ้น และถ้าหากพวกเขารู้ว่าสิทธิของตนเองจะได้รับการคุ้มครอง ก้าวแรกคือสภาพแวดล้อมที่จะเอื้อต่อนโยบายในเรื่องนี้ ดังนั้นการคุ้มครองสิทธิโดยเฉพาะเรื่องการจ้างงานของผู้ติดเชื้อเอชไอวี คือสิ่งสำคัญในการขยายการตรวจเลือดเอชไอวี นอกจากนี้การรักษาเข้าไปยังสถานประกอบการ ซึ่งในนโยบายแรงงานของประเทศไทยได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่าสถานประกอบการไม่ควรเลือกปฏิบัติต่อผู้ที่มีเชื้อเอชไอวี และควรจะรักษาความลับเรื่องสถานะ การติดเชื้อ โดยในเดือนมิถุนายน พ.ศ.2553 ที่ผ่านมา องค์การแรงงานระหว่างประเทศได้มีมติรับรองมาตรฐานแรงงานสากลว่าด้วยเอชไอวีและเอดส์ ข้อแนะเกี่ยวกับเอชไอวีและเอดส์ในที่ทำงาน (ข้อแนะฉบับที่ 200) มาตรฐานดังกล่าวไม่ให้มีการเลือกปฏิบัติทุกรูปแบบต่อลูกจ้างที่มีเชื้อเอชไอวี และเรียกร้องให้นายจ้างได้สนับสนุนให้ลูกจ้างเข้าถึงการตรวจหาเชื้อเอชไอวีและการรักษา
สำหรับโครงการ VCT@WORK ที่จัดในประเทศไทยนั้น ถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงการระดับโลกที่องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) และโครงการเอดส์แห่งสหประชาชาติ (UNAIDS) ได้เปิดตัวขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ.2556 ที่ผ่านมา โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้บริการตรวจเลือดโดยสมัครใจ ครอบคลุมในกลุ่มพนักงานจากทั่วโลกเป็นจำนวน 5 ล้านคน ภายในปี พ.ศ.2558 โดยภาคีหลักของการจัดทำโครงการนี้ ในประเทศไทยประกอบด้วยกระทรวงแรงงาน, สภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย, สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.), สภาแรงงานแห่งประเทศไทย และศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย โดยผู้ที่สนใจในรายละเอียด สอบถามได้ที่โทรศัพท์ 02-2881664 ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
วันนี้ (15 พ.ย.) องค์การแรงงานระหว่างประเทศ หรือ ไอแอลโอ (ILO) ร่วมกับสมาคมแนวร่วมภาคธุรกิจไทยต้านภัยเอดส์, ศูนย์วิจัยเอดส์ สภากาชาดไทย, โครงการเอดส์แห่งสหประชาชาติ (UNAIDS) จัดงานเปิดตัว โครงการ VCT@WORK (Voluntary HIV Counselling and Testing at Work Programme -ให้คำปรึกษา และตรวจเลือดเอชไอวีโดยสมัครใจ) ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยมี ดร.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดงาน กล่าวว่า โครงการนี้จัดทำขึ้นมาเพื่อลดจำนวนผู้ติดเชื้อเอชไอวีในไทยและทั่วโลก พร้อมสนับสนุนให้ประชาชนได้รู้สถานภาพการติดเชื้อเอชไอวีของตนเองตั้งแต่ในระยะเริ่มแรก เพื่อที่จะได้เข้ารับการรักษาได้อย่างรวดเร็ว และสามารถดำเนินชีวิตอยู่ต่อไปด้วยการมีสุขภาพที่ดี โดยทางเจ้าของกิจการหรือสถานประกอบการ จะต้องสนับสนุนในการนำพนักงานหรือลูกจ้างของบริษัทให้ได้จำนวน 100,000 คน ในการเข้ารับการตรวจเลือดเอชไอวีโดยสมัครใจผ่านสถานประกอบการ ภายในสิ้นปี พ.ศ.2558 นอกจากนี้ยังมีความเห็นจากบุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว ดังนี้
นายมอริซิโอ บุซซี่ รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานแรงงานระหว่างประเทศ ประจำประเทศไทย กัมพูชา และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กล่าวว่า “สถานประกอบกิจการคือสะพานสำคัญ ที่จะเชื่อมการให้ความรู้ด้านการป้องกันกับการรักษาเข้าด้วยกัน ซึ่งทำให้เราได้มองเห็นศักยภาพของสถานประกอบการในการสื่อสารเรื่องการป้องกันในประเทศไทย ถึงเวลาแล้วที่เราต้องให้ความสนใจในการสนับสนุนให้พนักงานได้เข้าถึงการเข้ารับการรักษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานประกอบการ หรือในกิจการที่มีความเสี่ยง”
นพ.ทวีทรัพย์ ศิริประภาศิริ ผู้อำนวยการศูนย์บริหารจัดการปัญหาเอดส์แห่งชาติ กล่าวว่า “จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข การเข้ารับบริการตรวจเลือดเอชไอวีในประเทศไทยยังอยู่ในระดับต่ำ มีเพียงร้อยละ 40 ของประชากรที่มีพฤติกรรมเสี่ยงที่ได้มาเข้ารับการตรวจหาเชื้อเอชไอวีในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ซึ่งในประเทศไทยปัจจุบันมีการคาดการณ์ว่ามีจำนวนผู้ติดเชื้อจำนวน 480,000 คน ที่ยังมีชีวิตอยู่ แต่จะมีเพียงแค่ 240,000 คน ที่ได้เข้ารับการรักษา ดังนั้นการสนับสนุนให้คำปรึกษา และการตรวจหาเอชไอวี ประกอบกับบริการด้านการรักษา จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง และเป็นกลยุทธ์ของประเทศที่ต้องการจะลดผู้ติดเชื้อรายใหม่ และยังป้องกันการเสียชีวิตจากโรคเอดส์ได้อีกด้วย”
นายสาวิทย์ แก้วหวาน อดีตเลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ได้กล่าวว่า ปัจจุบันพนักงานในไทยมีแนวโน้มที่จะไปตรวจหาเชื้อเอชไอวีกันเพิ่มมากขึ้น และถ้าหากพวกเขารู้ว่าสิทธิของตนเองจะได้รับการคุ้มครอง ก้าวแรกคือสภาพแวดล้อมที่จะเอื้อต่อนโยบายในเรื่องนี้ ดังนั้นการคุ้มครองสิทธิโดยเฉพาะเรื่องการจ้างงานของผู้ติดเชื้อเอชไอวี คือสิ่งสำคัญในการขยายการตรวจเลือดเอชไอวี นอกจากนี้การรักษาเข้าไปยังสถานประกอบการ ซึ่งในนโยบายแรงงานของประเทศไทยได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่าสถานประกอบการไม่ควรเลือกปฏิบัติต่อผู้ที่มีเชื้อเอชไอวี และควรจะรักษาความลับเรื่องสถานะ การติดเชื้อ โดยในเดือนมิถุนายน พ.ศ.2553 ที่ผ่านมา องค์การแรงงานระหว่างประเทศได้มีมติรับรองมาตรฐานแรงงานสากลว่าด้วยเอชไอวีและเอดส์ ข้อแนะเกี่ยวกับเอชไอวีและเอดส์ในที่ทำงาน (ข้อแนะฉบับที่ 200) มาตรฐานดังกล่าวไม่ให้มีการเลือกปฏิบัติทุกรูปแบบต่อลูกจ้างที่มีเชื้อเอชไอวี และเรียกร้องให้นายจ้างได้สนับสนุนให้ลูกจ้างเข้าถึงการตรวจหาเชื้อเอชไอวีและการรักษา
สำหรับโครงการ VCT@WORK ที่จัดในประเทศไทยนั้น ถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงการระดับโลกที่องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) และโครงการเอดส์แห่งสหประชาชาติ (UNAIDS) ได้เปิดตัวขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ.2556 ที่ผ่านมา โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้บริการตรวจเลือดโดยสมัครใจ ครอบคลุมในกลุ่มพนักงานจากทั่วโลกเป็นจำนวน 5 ล้านคน ภายในปี พ.ศ.2558 โดยภาคีหลักของการจัดทำโครงการนี้ ในประเทศไทยประกอบด้วยกระทรวงแรงงาน, สภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย, สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.), สภาแรงงานแห่งประเทศไทย และศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย โดยผู้ที่สนใจในรายละเอียด สอบถามได้ที่โทรศัพท์ 02-2881664 ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป