ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดประชุมสมัชชานานาชาติแก้ไขปัญหาโรคเอดส์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก 21 ประเทศ ตั้งเป้าภายใน พ.ศ.2558 จะลดปัญหาโรคเอดส์ให้เป็นศูนย์ 3 เรื่อง คือ ไม่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ ไม่มีผู้เสียชีวิตจากเอดส์และไม่มีการตีตราและเลือกปฏิบัติได้สำเร็จตามเป้าหมายองค์การสหประชาชาติ เผยล่าสุดในปี 2554 มีผู้ติดเชื้อในภูมิภาคนี้ประมาณ 5 ล้านคน หรือประมาณ 1 ใน 10 ของผู้ติดเชื้อทั่วโลก เสียชีวิตปีละ 3 แสนคน ปัญหาหลักเกิดจากติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ การฉีดยาเสพติดเข้าเส้น กลุ่มชายรักชาย และกลุ่มแปลงเพศ
วันนี้ (19 พ.ย.) ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพมหานคร นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (รมว.สธ.) เปิดประชุมสมัชชานานาชาติเรื่องโรคเอดส์ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ครั้งที่ 11 (The 11th International Congress on AIDS in Asia and the Pacific: ICAAP) จัดโดยกระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน สมาคมเอดส์แห่งเอเชียและแปซิฟิก และยูเอ็นเอดส์ ระหว่างวันที่ 18-22 พฤศจิกายน 2556 หัวข้อหลัก เอดส์ในเอเชียแปซิกฟิก ลดให้เหลือเป็นศูนย์ 3 ประการได้ ด้วยการลงทุนด้านนวัตกรรม (Asia/Pacific Reaching Triple Zero: Investing in Innovation) ตามเป้าหมายของสหประชาชาติกำหนด คือ 1.ไม่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 2.ไม่มีผู้ที่เสียชีวิตจากเอดส์ 3.ไม่มีการตีตราและเลือกปฏิบัติ ภายใน พ.ศ. 2558 มีผู้ร่วมประชุมจาก 21 ประเทศในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกกว่า 3,000 คน
นพ.ประดิษฐ กล่าวว่า ขณะนี้โรคเอดส์ยังคงเป็นปัญหา เป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยและเสียชีวิตของประชาชนทุกภูมิภาคทั่วโลก โครงการโรคเอดส์แห่งสหประชาชาติ (UNAIDS) รายงานล่าสุดในปี 2555 ทั่วโลกมีผู้ติดเชื้อเอชไอวี 35.3 ล้านคน เสียชีวิตปีละ 1.6 ล้านคน ซึ่งลดลงจากปี 2548 ร้อยละ 30 เนื่องจากผู้ติดเชื้อเข้าถึงการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอชไอวีมากขึ้น โดยมีผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มปีละ 2.3 ล้านคน สำหรับในกลุ่มประเทศเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งมี 21 ประเทศ รวมไทยด้วย มีผู้ติดเชื้อเอดส์ประมาณ 1 ใน 10 ของทั่วโลก ในปี 2554 มีรายงานผู้ติดเชื้อประมาณ 5 ล้านคน ซึ่งจำนวนพอๆ กับเมื่อช่วง 5 ปีก่อน เสียชีวิตปีละ 3 แสนกว่าคน มีผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มปีละ 360,000 คน
สำหรับการแก้ไขปัญหาเอดส์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก พบว่าประสบความสำเร็จเป็นลำดับ โดยเฉพาะการลดผู้ติดเชื้อรายใหม่และลดการถ่ายทอดเชื้อจากแม่สู่ลูกด้วยการให้ยาต้านไวรัสในแม่ก่อนคลอด ซึ่งต้องพยายามรักษามาตรฐานการดำเนินงานให้ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม พบว่าภูมิภาคยังมีความท้าทายที่ต้องเร่งแก้ปัญหาการติดเชื้อในบางกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย กลุ่มผู้แปลงเพศ ผู้ขายบริการทางเพศ กลุ่มผู้ฉีดยาเสพติดเข้าเส้น โดยพบว่าผู้ติดเชื้อรายใหม่เป็นกลุ่มเยาวชนอายุต่ำกว่า 25 ปีสูงขึ้น การประชุมครั้งนี้นับว่าเป็นการประชุมครั้งใหญ่ที่สุด มีเวทีนำเสนอและแลกเปลี่ยนวิชาการด้านเอดส์ เพื่อหาวิธีที่จะหยุดปัญหาเอดส์ให้ได้เร็วที่สุด โดยอาศัยการลงทุนอย่างคุ้มค่าทั้งการป้องกันและการรักษาเอดส์ โดยเฉพาะการวิจัยเรื่องการใช้ยาต้านไวรัสเอชไอวี ทำให้โลกมีความหวังที่จะหยุดการระบาดและรักษาให้หายขาดได้ แต่ที่สำคัญคือเราต้องมีความมุ่งมั่นที่จะต่อสู้กับปัญหานี้อย่างจริงจัง และแก้ปัญหาอย่างบูรณาการภายใต้ความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งในระดับประเทศ ระดับภูมิภาคและระดับ
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า ในส่วนของไทยนั้น ประสบความสำเร็จในการลดการแพร่เชื้อจากแม่สู่ลูกจนอยู่ในระดับต่ำ รวมทั้งระบบหลักประกันสุขภาพของไทยไทย ได้เพิ่มความครอบคลุมการให้การรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์สูงถึงร้อยละ 70 และมีความพยายามที่จะปรับแนวทางการให้ยาต้านไวรัสให้เร็วที่สุด โดยไม่ต้องคำนึงถึงระดับเม็ดเลือดขาวซีดีโฟว์ (CD4) ขณะนี้ได้เพิ่มระบบการให้คำปรึกษารายที่มีพฤติกรรมเสี่ยง เพื่อรับการตรวจเลือดหาเชื้อให้เร็วที่สุด ซึ่งจะทำให้สามารถให้การรักษาโดยเร็วที่สุด ผู้ติดเชื้อสามารถกลับมามีชีวิตได้เหมือนคนปกติ เป็นการลงทุนที่คุ้มค่ามาก ซึ่งจากการวิจัยพบว่าการลงทุนด้านนี้จะได้ผลตอบแทนกลับมาถึง 3 เท่า และเป็นตามหลักสิทธิมนุษยชน โดยคาดว่าในปี พ.ศ.2556 ประเทศไทยจะมีผู้ติดเชื้อเอดส์และผู้ป่วยเอดส์ มีชีวิตอยู่ 447,640 คน และมีผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ประมาณ 8,959 คน
วันนี้ (19 พ.ย.) ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพมหานคร นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (รมว.สธ.) เปิดประชุมสมัชชานานาชาติเรื่องโรคเอดส์ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ครั้งที่ 11 (The 11th International Congress on AIDS in Asia and the Pacific: ICAAP) จัดโดยกระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน สมาคมเอดส์แห่งเอเชียและแปซิฟิก และยูเอ็นเอดส์ ระหว่างวันที่ 18-22 พฤศจิกายน 2556 หัวข้อหลัก เอดส์ในเอเชียแปซิกฟิก ลดให้เหลือเป็นศูนย์ 3 ประการได้ ด้วยการลงทุนด้านนวัตกรรม (Asia/Pacific Reaching Triple Zero: Investing in Innovation) ตามเป้าหมายของสหประชาชาติกำหนด คือ 1.ไม่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 2.ไม่มีผู้ที่เสียชีวิตจากเอดส์ 3.ไม่มีการตีตราและเลือกปฏิบัติ ภายใน พ.ศ. 2558 มีผู้ร่วมประชุมจาก 21 ประเทศในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกกว่า 3,000 คน
นพ.ประดิษฐ กล่าวว่า ขณะนี้โรคเอดส์ยังคงเป็นปัญหา เป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยและเสียชีวิตของประชาชนทุกภูมิภาคทั่วโลก โครงการโรคเอดส์แห่งสหประชาชาติ (UNAIDS) รายงานล่าสุดในปี 2555 ทั่วโลกมีผู้ติดเชื้อเอชไอวี 35.3 ล้านคน เสียชีวิตปีละ 1.6 ล้านคน ซึ่งลดลงจากปี 2548 ร้อยละ 30 เนื่องจากผู้ติดเชื้อเข้าถึงการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอชไอวีมากขึ้น โดยมีผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มปีละ 2.3 ล้านคน สำหรับในกลุ่มประเทศเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งมี 21 ประเทศ รวมไทยด้วย มีผู้ติดเชื้อเอดส์ประมาณ 1 ใน 10 ของทั่วโลก ในปี 2554 มีรายงานผู้ติดเชื้อประมาณ 5 ล้านคน ซึ่งจำนวนพอๆ กับเมื่อช่วง 5 ปีก่อน เสียชีวิตปีละ 3 แสนกว่าคน มีผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มปีละ 360,000 คน
สำหรับการแก้ไขปัญหาเอดส์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก พบว่าประสบความสำเร็จเป็นลำดับ โดยเฉพาะการลดผู้ติดเชื้อรายใหม่และลดการถ่ายทอดเชื้อจากแม่สู่ลูกด้วยการให้ยาต้านไวรัสในแม่ก่อนคลอด ซึ่งต้องพยายามรักษามาตรฐานการดำเนินงานให้ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม พบว่าภูมิภาคยังมีความท้าทายที่ต้องเร่งแก้ปัญหาการติดเชื้อในบางกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย กลุ่มผู้แปลงเพศ ผู้ขายบริการทางเพศ กลุ่มผู้ฉีดยาเสพติดเข้าเส้น โดยพบว่าผู้ติดเชื้อรายใหม่เป็นกลุ่มเยาวชนอายุต่ำกว่า 25 ปีสูงขึ้น การประชุมครั้งนี้นับว่าเป็นการประชุมครั้งใหญ่ที่สุด มีเวทีนำเสนอและแลกเปลี่ยนวิชาการด้านเอดส์ เพื่อหาวิธีที่จะหยุดปัญหาเอดส์ให้ได้เร็วที่สุด โดยอาศัยการลงทุนอย่างคุ้มค่าทั้งการป้องกันและการรักษาเอดส์ โดยเฉพาะการวิจัยเรื่องการใช้ยาต้านไวรัสเอชไอวี ทำให้โลกมีความหวังที่จะหยุดการระบาดและรักษาให้หายขาดได้ แต่ที่สำคัญคือเราต้องมีความมุ่งมั่นที่จะต่อสู้กับปัญหานี้อย่างจริงจัง และแก้ปัญหาอย่างบูรณาการภายใต้ความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งในระดับประเทศ ระดับภูมิภาคและระดับ
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า ในส่วนของไทยนั้น ประสบความสำเร็จในการลดการแพร่เชื้อจากแม่สู่ลูกจนอยู่ในระดับต่ำ รวมทั้งระบบหลักประกันสุขภาพของไทยไทย ได้เพิ่มความครอบคลุมการให้การรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์สูงถึงร้อยละ 70 และมีความพยายามที่จะปรับแนวทางการให้ยาต้านไวรัสให้เร็วที่สุด โดยไม่ต้องคำนึงถึงระดับเม็ดเลือดขาวซีดีโฟว์ (CD4) ขณะนี้ได้เพิ่มระบบการให้คำปรึกษารายที่มีพฤติกรรมเสี่ยง เพื่อรับการตรวจเลือดหาเชื้อให้เร็วที่สุด ซึ่งจะทำให้สามารถให้การรักษาโดยเร็วที่สุด ผู้ติดเชื้อสามารถกลับมามีชีวิตได้เหมือนคนปกติ เป็นการลงทุนที่คุ้มค่ามาก ซึ่งจากการวิจัยพบว่าการลงทุนด้านนี้จะได้ผลตอบแทนกลับมาถึง 3 เท่า และเป็นตามหลักสิทธิมนุษยชน โดยคาดว่าในปี พ.ศ.2556 ประเทศไทยจะมีผู้ติดเชื้อเอดส์และผู้ป่วยเอดส์ มีชีวิตอยู่ 447,640 คน และมีผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ประมาณ 8,959 คน