โดย...สิรวุฒิ รวีไชยวัฒน์
ในยุคที่คนหันมาแข่งกันสวย หรือแม้แต่หนุ่มๆ ก็เริ่มรู้จักหันมาดูแลเอาใจใส่สภาพผิวหน้าของตนเอง ไม่แปลกที่เมื่อความอยากสวยอยากหล่อมีมาก ย่อมมีเครื่องประทินโฉมต่างๆ ออกมาแข่งขันทำการตลาด มีหลายเกรดสินค้าและราคาให้เลือกมากมาย ตั้งแต่ระดับแบรนด์หรูยันวางขายแบกะดิน
ไม่ว่าผลิตภัณฑ์กลุ่มเครื่องสำอางจะอยู่ระดับเกรดใด ล้วนต้องมีการผลิตอย่างถูกกฎหมายคือ ต้องมีการจดแจ้งกับทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อที่จะผ่านการตรวจสอบว่า สินค้าที่ผลิตหรือนำเข้ามีความปลอดภัยก่อนมาถึงมือคนไทยอย่างแท้จริง แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ มักจะมีข่าวอย่างต่อเนื่องว่า มีการจับกุมสินค้าประเภทเครื่องสำอางเถื่อนได้เป็นจำนวนมาก ทั้งประเภทที่ไม่มีการจดแจ้ง หรือมีส่วนผสมของสารผิดกฎหมายหรือเป็นอันตรายต่อหนังหน้า เช่น ไฮโดรควิโนน สารปรอท เป็นต้น รวมไปถึงการแอบอ้างชื่อโรงพยาบาลจนก่อให้เกิดความเข้าใจผิด
ซึ่งก่อนหน้านั้น อย.ได้มีการบุกจับทลายเครื่องสำอางที่แอบอ้างชื่อ “หมอยันฮี” มาแล้ว ทาง รพ.ยันฮีก็ออกมายืนยันว่า ไม่มีส่วนในการผลิตเครื่องสำอางดังกล่าว นอกจากเครื่องสำอางแล้วยังมี “ยา” ประเภทช่วยขับถ่าย ยาระบาย ยาขับปัสสาวะต่างๆ ที่มีการนำมาผสม หรือเรียกกันว่า สูตรค็อกเทล เพื่อนำมาใช้ลดความอ้วน ซึ่งมีการขายโฆษณากันเกร่ออินเทอร์เน็ต
ล่าสุด นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ รองเลขาธิการ อย.เปิดเผยว่า หน่วยควบคุมกำกับด้านยาประเทศสิงคโปร์ได้แจ้งว่า ศุลกากรสิงคโปร์ตรวจพบผู้โดยสารหญิงนำยาเม็ดไม่ระบุชื่อจำนวนหลายชนิด คาดว่าสั่งจ่ายโดยโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในไทย เมื่อตรวจวิเคราะห์พบว่า เป็นยาชุดลดน้ำหนักมีหลายชนิดผสมกันหรือที่เรียกว่า “ยาสูตรค็อกเทล” มีทั้งยาระบาย ยาขับปัสสาวะ ยาที่ช่วยเพิ่มการเผาผลาญ ยาที่ช่วยระงับความอยากอาหาร แต่จากการตรวจสอบ รพ.เอกชนที่คาดว่าเป็นผู้จ่ายยาสูตรค็อกเทลดังกล่าวพบว่า โรงพยาบาลไม่ได้มีการจำหน่ายยาแต่อย่างใด
คงปฏิเสธไม่ได้ว่าที่ผลิตภัณฑ์พวกนี้ยังคงขายอยู่ได้ เพราะคนไทยมีความสนใจในเรื่องของความสวยงามอยู่แล้วเป็นทุนเดิม ประกอบกับการใช้ยี่ห้อเป็นชื่อของโรงพยาบาล ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คนเชื่อว่าเป็นของโรงพยาบาลอย่างแน่นอน ซ้ำยังมีราคาถูก น่าจะปลอดภัย โดยที่ไม่เคยเฉลียวใจเลยว่า โรงพยาบาลได้ผลิตเครื่องสำอาง ยา หรือผลิตภัณฑ์บำรุงผิวออกมาจริงหรือไม่
เรียกได้ว่า เรายังขาดการพิจารณาข้อมูลอย่างหนัก เพราะบางรายไม่เคยหาข้อมูลประกอบแต่ตัดสินใจซื้อเลย หรือบางรายมีการหาข้อมูลแล้ว แต่ท่ามกลางข้อมูลในอินเทอร์เน็ตที่เรานิยมเล่น จะมีกี่เปอร์เซ็นต์ที่เชื่อได้อย่างแน่นอน สิ่งสำคัญจึงต้องอาศัยการตกผลึกข้อมูลอย่างถี่ถ้วน
นพ.ปฐม บอกอีกว่า ยาที่ขายโดยมีการอ้างชื่อโรงพยาบาลนั้นพิสูจน์ได้ยาก เพราะยาในโรงพยาบาลส่วนใหญ่จะเป็นการซื้อจากบริษัทยา จากนั้นนำมาแบ่งบรรจุใส่ซองให้ผู้ป่วยเวลาจ่ายยา ซึ่งซองมีชื่อของโรงพยาบาล ดังนั้น หากเป็นยาที่รับมาจากห้องจ่ายยาของโรงพยาบาลคือยาของโรงพยาบาลอย่างแท้จริง แต่เมื่อนำออกมาจากโรงพยาบาลแล้ว จะพิสูจน์อย่างไรว่ายานั้นเป็นของโรงพยาบาล แต่สิ่งสำคัญก็คือโรงพยาบาลไม่ได้มีการผลิตยาเองแน่นอน
ในส่วนของเครื่องสำอางก็เช่นกัน นพ.ปฐม อธิบายว่า ไม่ว่าจะเป็นครีม สบู่ หรือเครื่องสำอางใดๆ ก็ตามหากมีการใช้ชื่อยี่ห้อเป็นชื่อของโรงพยาบาล ขออย่าเพิ่งปักใจเชื่อ ให้ตรวจสอบก่อนว่าเป็นของโรงพยาบาลจริงหรือไม่
“ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการ โรงพยาบาล หากจะมีการผลิตเครื่องสำอางจะต้องขออนุญาตกับ อย.เพื่อดูว่ามีโรงงานการผลิตที่ได้มาตรฐานหรือไม่ ชื่อสินค้าต้องไม่มีลักษณะที่โอ้อวดสรรพคุณเกินไป ซึ่งจะมีหลักเกณฑ์ในการกำหนดต่างๆ ฉะนั้น หากต้องการทราบว่าเครื่องสำอางต่างๆ ที่มีชื่อโรงพยาบาลเป็นของโรงพยาบาลจริงหรือไม่ สามารถนำเลขจดแจ้งบนฉลากมาตรวจสอบกับทาง อย.ได้"
นพ.ปฐม กล่าวด้วยว่า ขณะนี้ อย.ได้ผลิตแอปพลิเคชัน Oryor Smart Application ช่วยให้ผู้บริโภคตรวจสอบได้ 24 ชั่วโมง ว่าเครื่องสำอางถูกกฎหมาย หรือเป็นการแอบอ้างชื่อโรงพยาบาลหรือไม่ แอ๊ฟนี้เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการช่วยคุ้มครองผู้บริโภค ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อยาหรือเครื่องสำอางที่หลอกลวงและเป็นอันตราย
ในยุคที่คนหันมาแข่งกันสวย หรือแม้แต่หนุ่มๆ ก็เริ่มรู้จักหันมาดูแลเอาใจใส่สภาพผิวหน้าของตนเอง ไม่แปลกที่เมื่อความอยากสวยอยากหล่อมีมาก ย่อมมีเครื่องประทินโฉมต่างๆ ออกมาแข่งขันทำการตลาด มีหลายเกรดสินค้าและราคาให้เลือกมากมาย ตั้งแต่ระดับแบรนด์หรูยันวางขายแบกะดิน
ไม่ว่าผลิตภัณฑ์กลุ่มเครื่องสำอางจะอยู่ระดับเกรดใด ล้วนต้องมีการผลิตอย่างถูกกฎหมายคือ ต้องมีการจดแจ้งกับทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อที่จะผ่านการตรวจสอบว่า สินค้าที่ผลิตหรือนำเข้ามีความปลอดภัยก่อนมาถึงมือคนไทยอย่างแท้จริง แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ มักจะมีข่าวอย่างต่อเนื่องว่า มีการจับกุมสินค้าประเภทเครื่องสำอางเถื่อนได้เป็นจำนวนมาก ทั้งประเภทที่ไม่มีการจดแจ้ง หรือมีส่วนผสมของสารผิดกฎหมายหรือเป็นอันตรายต่อหนังหน้า เช่น ไฮโดรควิโนน สารปรอท เป็นต้น รวมไปถึงการแอบอ้างชื่อโรงพยาบาลจนก่อให้เกิดความเข้าใจผิด
ซึ่งก่อนหน้านั้น อย.ได้มีการบุกจับทลายเครื่องสำอางที่แอบอ้างชื่อ “หมอยันฮี” มาแล้ว ทาง รพ.ยันฮีก็ออกมายืนยันว่า ไม่มีส่วนในการผลิตเครื่องสำอางดังกล่าว นอกจากเครื่องสำอางแล้วยังมี “ยา” ประเภทช่วยขับถ่าย ยาระบาย ยาขับปัสสาวะต่างๆ ที่มีการนำมาผสม หรือเรียกกันว่า สูตรค็อกเทล เพื่อนำมาใช้ลดความอ้วน ซึ่งมีการขายโฆษณากันเกร่ออินเทอร์เน็ต
ล่าสุด นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ รองเลขาธิการ อย.เปิดเผยว่า หน่วยควบคุมกำกับด้านยาประเทศสิงคโปร์ได้แจ้งว่า ศุลกากรสิงคโปร์ตรวจพบผู้โดยสารหญิงนำยาเม็ดไม่ระบุชื่อจำนวนหลายชนิด คาดว่าสั่งจ่ายโดยโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในไทย เมื่อตรวจวิเคราะห์พบว่า เป็นยาชุดลดน้ำหนักมีหลายชนิดผสมกันหรือที่เรียกว่า “ยาสูตรค็อกเทล” มีทั้งยาระบาย ยาขับปัสสาวะ ยาที่ช่วยเพิ่มการเผาผลาญ ยาที่ช่วยระงับความอยากอาหาร แต่จากการตรวจสอบ รพ.เอกชนที่คาดว่าเป็นผู้จ่ายยาสูตรค็อกเทลดังกล่าวพบว่า โรงพยาบาลไม่ได้มีการจำหน่ายยาแต่อย่างใด
คงปฏิเสธไม่ได้ว่าที่ผลิตภัณฑ์พวกนี้ยังคงขายอยู่ได้ เพราะคนไทยมีความสนใจในเรื่องของความสวยงามอยู่แล้วเป็นทุนเดิม ประกอบกับการใช้ยี่ห้อเป็นชื่อของโรงพยาบาล ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คนเชื่อว่าเป็นของโรงพยาบาลอย่างแน่นอน ซ้ำยังมีราคาถูก น่าจะปลอดภัย โดยที่ไม่เคยเฉลียวใจเลยว่า โรงพยาบาลได้ผลิตเครื่องสำอาง ยา หรือผลิตภัณฑ์บำรุงผิวออกมาจริงหรือไม่
เรียกได้ว่า เรายังขาดการพิจารณาข้อมูลอย่างหนัก เพราะบางรายไม่เคยหาข้อมูลประกอบแต่ตัดสินใจซื้อเลย หรือบางรายมีการหาข้อมูลแล้ว แต่ท่ามกลางข้อมูลในอินเทอร์เน็ตที่เรานิยมเล่น จะมีกี่เปอร์เซ็นต์ที่เชื่อได้อย่างแน่นอน สิ่งสำคัญจึงต้องอาศัยการตกผลึกข้อมูลอย่างถี่ถ้วน
นพ.ปฐม บอกอีกว่า ยาที่ขายโดยมีการอ้างชื่อโรงพยาบาลนั้นพิสูจน์ได้ยาก เพราะยาในโรงพยาบาลส่วนใหญ่จะเป็นการซื้อจากบริษัทยา จากนั้นนำมาแบ่งบรรจุใส่ซองให้ผู้ป่วยเวลาจ่ายยา ซึ่งซองมีชื่อของโรงพยาบาล ดังนั้น หากเป็นยาที่รับมาจากห้องจ่ายยาของโรงพยาบาลคือยาของโรงพยาบาลอย่างแท้จริง แต่เมื่อนำออกมาจากโรงพยาบาลแล้ว จะพิสูจน์อย่างไรว่ายานั้นเป็นของโรงพยาบาล แต่สิ่งสำคัญก็คือโรงพยาบาลไม่ได้มีการผลิตยาเองแน่นอน
ในส่วนของเครื่องสำอางก็เช่นกัน นพ.ปฐม อธิบายว่า ไม่ว่าจะเป็นครีม สบู่ หรือเครื่องสำอางใดๆ ก็ตามหากมีการใช้ชื่อยี่ห้อเป็นชื่อของโรงพยาบาล ขออย่าเพิ่งปักใจเชื่อ ให้ตรวจสอบก่อนว่าเป็นของโรงพยาบาลจริงหรือไม่
“ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการ โรงพยาบาล หากจะมีการผลิตเครื่องสำอางจะต้องขออนุญาตกับ อย.เพื่อดูว่ามีโรงงานการผลิตที่ได้มาตรฐานหรือไม่ ชื่อสินค้าต้องไม่มีลักษณะที่โอ้อวดสรรพคุณเกินไป ซึ่งจะมีหลักเกณฑ์ในการกำหนดต่างๆ ฉะนั้น หากต้องการทราบว่าเครื่องสำอางต่างๆ ที่มีชื่อโรงพยาบาลเป็นของโรงพยาบาลจริงหรือไม่ สามารถนำเลขจดแจ้งบนฉลากมาตรวจสอบกับทาง อย.ได้"
นพ.ปฐม กล่าวด้วยว่า ขณะนี้ อย.ได้ผลิตแอปพลิเคชัน Oryor Smart Application ช่วยให้ผู้บริโภคตรวจสอบได้ 24 ชั่วโมง ว่าเครื่องสำอางถูกกฎหมาย หรือเป็นการแอบอ้างชื่อโรงพยาบาลหรือไม่ แอ๊ฟนี้เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการช่วยคุ้มครองผู้บริโภค ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อยาหรือเครื่องสำอางที่หลอกลวงและเป็นอันตราย