xs
xsm
sm
md
lg

สตรี 3 จ.ใต้ อ้อนรัฐส่งครูฝึกอาชีพ-จัดระบบเยียวยา

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

กลุ่มสตรีชาวใต้เสนอรัฐแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนใต้ อ้อนขอครูมาสอนอาชีพ พร้อมพัฒนาระบบเยียวยาให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบรวดเร็ว

วันนี้ (8 พ.ย.) ที่เดอะมอลล์ บางกะปิ ภายในงานมหากรรมแสดงสินค้า “เทิดไท้องค์ราชัน องค์ราชินิ มหกรรมสินค้าดี จากสตรีชายแดนใต้” จัดเสวนาวิชาการหัวข้อ “เสียงผู้หญิงในสถานการ์ชายแดนใต้” โดย นางสาวซาร่าห์ บินเย๊าะ ผู้อำนวยการสำนักงานการให้ความช่วยเหลือและเยียวยา กล่าวว่าสำหรับสถานการณ์ความรุนแรงของ 3 จังหวัดชายแดนใต้นั้น หากคิดเป็นเปอร์เซ็นต์มีประชาชนที่ได้รับความเสียหายเพียงแค่ 20 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น แต่อาจจะมีบ้างบางครั้งที่ได้รับลูกหลงจากการปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ และกลุ่มผู้ก่อการร้าย แต่สำหรับครูก็ต้องยอมรับว่าเป็นเป้าหมายที่อ่อนแอ จึงทำให้ตกเป็นเป้าในการก่อการร้ายอยู่บ่อยครั้ง ดังนั้นทางสำนักงานจึงต้องเข้าไปช่วยเหล่อและเยียวยากับสิ่งที่เกิดขึ้น ซึ่งขณะนี้มีผู้ที่ได้รับการเยียวยาไปแล้วทั้งหมด 4,500 ราย อย่างไรก็ตามตนมองว่านโยบายที่รัฐส่งเสริมและเยียวยานั้นเป็นเพียงการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า แต่สตรีภาคใต้ที่ได้รับผลกระทบนั้นอยากจะมีรายได้ มีอาชีพ ที่ยั่งยืนมากกว่านี้

นางสาวโซรยา จามจุรี นักวิชาการส่งเสริมการศึกษาต่อเนื่อง มกาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวถึงการเข้าไปมีส่วนร่วมเพื่อที่จะแก้ไขปัญหาและเยียวยา ว่าเหตุการณ์ความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนใต้เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี 2547 ซึ่งในขณะนั้นคนกรุงเทพฯและมูลนิธิต่างๆ ได้เข้ามาให้ความช่วยเหลือก่อนที่รัฐบาลจะเข้ามา โดยคนที่เข้ามานั้นล้วนแล้วแต่เป็นคนที่มีจิตสาธารณะทั้งสิ้น กลุ่มคนเหล่านี้ได้ระดมเงินจากการบริจาคเพื่อเข้ามาช่วยเหลือคนในพื้นที่ อย่างไรก็ตามต้องยอมรับว่าเรื่องของสภาพจิตใจของประชาชนถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาสภาพจิตใจไปพร้อมๆ กับการพัฒนาคุณภาพชีวิต เนื่องจากตนมองว่าผู้ที่กระทำเปรียบเสมือนคนที่มีความคับแค้นใจ ขมขื่นใจ และมักเกิดคำถามขึ้นในใจว่าทำไมเราต้องเป็นผู้ที่ถูกกระทำฝ่ายเดียว และรอวันปะทุมันขึ้นมา ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นก็จะส่งผลให้สถานการณ์เกิดการบานปลายมากยิ่งขึ้น ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเน้นการเยียวยาทางด้านจิตใจเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้อารมณ์เกิดการปะทุ ซึ่งก็เสมือนกับการเก็บกู้ระเบิด

ทั้งนี้ตนมองว่านโยบายการแก้ปัญหาโดยสันติวิธีของรัฐบาลที่กำลังดำเนินอยู่ขณะนี้ถือว่าได้เดินมาถูกทางแล้ว และตนเชื่อว่าการแก้ปัญหาภาคใต้จะต้องใช้เวลา ดังนั้นการเยียวยาก็จำเป็นที่จะต้องทำควบคู่กับการพัฒนาด้วย นอกจากนี้ยังจำเป็นที่ต้องให้ความรู้แก่ประชาชนในด้านกฎหมาย เพราะปัจจุบันภาคใต้มีกฎหมายที่ควบคุมอยู่หลายฉบับด้วยกัน อาทิ กฎอัยการศึก พ.ร.บ.ความมั้นคงภายในราชอาณาจักร ซึ่งผู้หญิงภาคใต้จำเป็นจะต้องทราบเพื่อที่ตัวเองจะได้มีบทบาทในการดูแลสังคม และครอบครัว

นางวรรณา ศรีริกานนท์ หนึ่งในผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบฯ เล่าว่า ตนได้รับผลกระทบมาเกือบ 10 ปีแล้ว เริ่มแรกรู้สึกว่าท้อแท้ เคว้งคว้าง และเริ่มรู้สึกว่าตัวเองคือผู้ที่ได้รับผลกระทบ และจะทำอย่างไรให้ตัวเองเข้าสู่ขบวนการได้รับการเยียวยา จึงได้เข้าไปอยู่ในหมู่บ้านโครงการพระราชดำริ หลังจากนั้นก็ได้รับการช่วยเหลือจากภาครัฐ รวมทั้งการได้เรียนรู้อาชีพเสริม จนปัจจุบันนี้สามารถยืนได้ด้วยตนเอง โครงการพระราชดำริได้สอนตนเสมอว่าจะต้องขยัน และประหยัด เพราะหากเราไม่ช่วยตัวเองแล้วจะไม่มีใครสามารถช่วยเหลือเราได้ “ดิฉันอยากให้รัฐบาลจัดหาครูผู้สอนอาชีพเพื่อที่จะเข้ามาสอน ซึ่งอาจจะจัดให้มีหน่วยงานขึ้นมาเพื่อเข้ามาดูแลและทำเป็นระบบมากขึ้น”


กำลังโหลดความคิดเห็น