แอปฯ อย.ตกเป้า ยอดดาวน์โหลดไม่ถึงเกณฑ์ 100,000 ครั้ง “หมอบุญชัย” สั่งพัฒนาเวอร์ชัน 2 เพิ่มศักยภาพมากขึ้น ระบุเตรียมเพิ่มช่องสืบค้นเลขทะเบียนฉลากผลิตภัณฑ์ครอบคลุมยา อาหารเสริม วัตถุอันตราย จากที่มีแค่เครื่องสำอาง หวังดึงผู้บริโภคสนใจ
นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวถึงความคืบหน้าหลังเปิดตัวแอปพลิเคชันตัวแรกชื่อ “Oryor Smart Application” บนสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตที่รองรับการใช้งานบนระบบปฏิบัติการ iOS และ Android ว่า แอปพลิเคชันดังกล่าวยังไม่ได้รับการตอบรับจากประชาชนมากนัก เพราะยอดดาวน์โหลดขณะนี้มีเพียง 37,000 คน ซึ่งยังถือว่าน้อย โดย อย.ตั้งเป้าไว้ที่ประมาณ 100,000 ครั้ง เนื่องจากเป็นแอปพลิเคชันที่มีประโยชน์ต่อผู้บริโภคมาก โดยสามารถเข้ามาเช็กข้อมูลได้ว่า ผลิตภัณฑ์ใดบ้างที่ขึ้นทะเบียนรับรองจาก อย.หรือผลิตภัณฑ์ใดปลอมเลขทะเบียน โดยการคีย์ตัวเลขสารบบว่า ถูกต้องกับระบบของ อย.หรือไม่ ก็จะทราบทันที
นพ.บุญชัย กล่าวอีกว่า ในปี 2557 อย.เตรียมพัฒนาแอปพลิเคชันเวอร์ชัน 2 ด้วย เพื่อเพิ่มศักยภาพให้มากขึ้น ซึ่งเวอร์ชันแรกจะเน้นตรวจสอบหมายเลขทะเบียนกลุ่มเครื่องสำอางเป็นหลัก แต่เวอร์ชัน 2 จะครอบคลุมทั้งผลิตภัณฑ์ยา ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตราย เป็นต้น และจะมีการแสดงข้อมูลรายชื่อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางห้ามขาย รวมทั้งจะใส่สูตรคำนวณปริมาณแคลอรีเบื้องต้นให้ด้วย เป้นการเพิ่มทางเลือกให้ใช้บริการแอปพลิเคชันมากขึ้น
สำหรับแอปพลิเคชันดังกล่าวเป้นการจำลอง “เมืองสุขภาพ” ประกอบไปด้วย สถานีต่างๆ ซึ่งแต่ละสถานที่จะเชื่อมโยงข้อมูลในแต่ละเมนูที่เกี่ยวกับ การบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ใช้ในชีวิตประจำวัน โดยมีรายละเอียดทั้งหมด 7 เมนู ประกอบด้วย 1.เมนู Smart Tips เป็นคำแนะนำเกี่ยวกับการเลือกซื้อเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างปลอดภัยกว่า 100 เรื่อง 2. สถานีข่าว อย.เป็นการรายงานข้อมูลข่าวสารต่างๆ 3.เมนูตรวจเลขที่ใบรับแจ้งเครื่องสำอาง หากสงสัยผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางใดว่ามีการจดแจ้งถูกต้องหรือไม่ สามารถนำเลขที่ใบรับแจ้งเครื่องสำอาง 10 หลักบนฉลากมาใส่ไว้ในช่องตรวจสอบ และกดปุ่ม “OK” ก็จะสามารถตรวจสอบข้อมูลการจดแจ้งเครื่องสำอางนั้นได้ทันที ตลอด 24 ชั่วโมง 4.เมนู Library เป็นห้องสมุดเคลื่อนที่ของ อย.ที่สามารถเลือกอ่านหนังสือ วารสาร ที่ อย.จัดทำขึ้น 5.เมนูร้องเรียน เป็นการแจ้งเบาะแส ข้อร้องเรียนต่างๆ 6.เมนู Media Center เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูล อย.ผ่านสารคดี สปอตโทรทัศน์ และ 7.เมนูดัชนีมวลกาย เป็นการวัดค่าดัชนีมวลกาย เปรียบเทียบน้ำหนัก และ ส่วนสูงกับเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งเป็นตัวชี้วัด “ความอ้วน” ที่เป็นมาตรฐานสากล
นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวถึงความคืบหน้าหลังเปิดตัวแอปพลิเคชันตัวแรกชื่อ “Oryor Smart Application” บนสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตที่รองรับการใช้งานบนระบบปฏิบัติการ iOS และ Android ว่า แอปพลิเคชันดังกล่าวยังไม่ได้รับการตอบรับจากประชาชนมากนัก เพราะยอดดาวน์โหลดขณะนี้มีเพียง 37,000 คน ซึ่งยังถือว่าน้อย โดย อย.ตั้งเป้าไว้ที่ประมาณ 100,000 ครั้ง เนื่องจากเป็นแอปพลิเคชันที่มีประโยชน์ต่อผู้บริโภคมาก โดยสามารถเข้ามาเช็กข้อมูลได้ว่า ผลิตภัณฑ์ใดบ้างที่ขึ้นทะเบียนรับรองจาก อย.หรือผลิตภัณฑ์ใดปลอมเลขทะเบียน โดยการคีย์ตัวเลขสารบบว่า ถูกต้องกับระบบของ อย.หรือไม่ ก็จะทราบทันที
นพ.บุญชัย กล่าวอีกว่า ในปี 2557 อย.เตรียมพัฒนาแอปพลิเคชันเวอร์ชัน 2 ด้วย เพื่อเพิ่มศักยภาพให้มากขึ้น ซึ่งเวอร์ชันแรกจะเน้นตรวจสอบหมายเลขทะเบียนกลุ่มเครื่องสำอางเป็นหลัก แต่เวอร์ชัน 2 จะครอบคลุมทั้งผลิตภัณฑ์ยา ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตราย เป็นต้น และจะมีการแสดงข้อมูลรายชื่อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางห้ามขาย รวมทั้งจะใส่สูตรคำนวณปริมาณแคลอรีเบื้องต้นให้ด้วย เป้นการเพิ่มทางเลือกให้ใช้บริการแอปพลิเคชันมากขึ้น
สำหรับแอปพลิเคชันดังกล่าวเป้นการจำลอง “เมืองสุขภาพ” ประกอบไปด้วย สถานีต่างๆ ซึ่งแต่ละสถานที่จะเชื่อมโยงข้อมูลในแต่ละเมนูที่เกี่ยวกับ การบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ใช้ในชีวิตประจำวัน โดยมีรายละเอียดทั้งหมด 7 เมนู ประกอบด้วย 1.เมนู Smart Tips เป็นคำแนะนำเกี่ยวกับการเลือกซื้อเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างปลอดภัยกว่า 100 เรื่อง 2. สถานีข่าว อย.เป็นการรายงานข้อมูลข่าวสารต่างๆ 3.เมนูตรวจเลขที่ใบรับแจ้งเครื่องสำอาง หากสงสัยผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางใดว่ามีการจดแจ้งถูกต้องหรือไม่ สามารถนำเลขที่ใบรับแจ้งเครื่องสำอาง 10 หลักบนฉลากมาใส่ไว้ในช่องตรวจสอบ และกดปุ่ม “OK” ก็จะสามารถตรวจสอบข้อมูลการจดแจ้งเครื่องสำอางนั้นได้ทันที ตลอด 24 ชั่วโมง 4.เมนู Library เป็นห้องสมุดเคลื่อนที่ของ อย.ที่สามารถเลือกอ่านหนังสือ วารสาร ที่ อย.จัดทำขึ้น 5.เมนูร้องเรียน เป็นการแจ้งเบาะแส ข้อร้องเรียนต่างๆ 6.เมนู Media Center เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูล อย.ผ่านสารคดี สปอตโทรทัศน์ และ 7.เมนูดัชนีมวลกาย เป็นการวัดค่าดัชนีมวลกาย เปรียบเทียบน้ำหนัก และ ส่วนสูงกับเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งเป็นตัวชี้วัด “ความอ้วน” ที่เป็นมาตรฐานสากล