“ประวิทย์” หวั่นแรงงานไทย-เขมรตีกัน จากเหตุการตัดสินคดีเขาพระวิหาร 11 พ.ย.กำชับนายจ้างดูแลเข้มงวด เตือนแรงงานไทยอย่าพูดจาส่อเสียดจนกระทบกระทั่ง แต่เชื่อไม่ว่าผลตัดสินเป็นอย่างไร ไม่กระทบต่อการจ้างแรงงานเขมร
วันนี้ (6 พ.ย.) ที่กระทรวงแรงงาน นายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวถึงกรณีศาลโลกจะมีการตัดสินคดีเขาพระวิหารในวันที่ 11 พ.ย.นี้ ว่า จากการพูดคุยกับกระทรวงแรงงานกัมพูชาเมื่อวันที่ 5 พ.ย.เจ้าหน้าที่ ก.แรงงานกัมพูชา ประเมินว่า ผลการตัดสินคดีดังกล่าวไม่ว่าผลจะเป็นเช่นไร ก็ไม่ส่งผลกระทบต่อการจ้างแรงงานชาวกัมพูชาของผู้ประกอบการไทย รวมทั้งไม่ส่งผลต่อการเข้ามาทำงานตามฤดูกาลบริเวณแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ส่วนข้อกังวลเรื่องการกระทบกระทั่งระหว่างแรงงานไทยและกัมพูชา อันเนื่องมาจากการตัดสินคดีดังกล่าวนั้น ตนได้สั่งการไปยังสำนักงานจัดหางานจังหวัดต่างๆ ให้สอดส่องดูแลและกำชับนายจ้างที่จ้างแรงงานสัญชาติกัมพูชาให้ดูแลแรงงานอย่างใกล้ชิด ซึ่งโดยปกติแล้วสถานประกอบการส่วนมากจะแยกการทำงานของแรงงานต่างด้าวและแรงงานไทยออกจากกันอยู่แล้ว เพื่อป้องกันการกระทบกระทั่ง พร้อมเตือนแรงงานไทยไม่ให้พูดจาส่อเสียดจนเกิดการกระทบกระทั่งระหว่างกัน
“ในเรื่องการเมืองระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศของไทยก็ยืนยันว่าความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชาไม่มีปัญหา จึงไม่มีผลกระทบในเรื่องการจ้างงานแรงงานชาวกัมพูชา” นายประวิทย์ กล่าว
ทั้งนี้ ปัจจุบันมีแรงงานสัญชาติกัมพูชาที่ทำงานอยู่ในประเทศไทยทั้งหมด 399,271 คน แบ่งเป็นแรงงานที่ถูกกฎหมายจำนวน 347,081 คน ในจำนวนนี้เป็นแรงงานที่ได้รับการพิสูจน์สัญชาติแล้ว 153,683 คน แรงงานที่นำเข้าตามบันทึกความเช้าใจ (เอ็มโอยู) ระหว่างประเทศ จำนวน 193,398 คน นอกจากนี้ยังมีแรงงานกัมพูชาที่ลักลอบเข้ามาทำงานแต่ได้รับการผ่อนผันให้ทำงานในไทยชั่วคราว จำนวน 52,190 คน โดยในจำนวนนี้ได้รับใบอนุญาตทำงานแล้ว 9,988 คน ทำให้เหลือแรงงงานชาวกัมพูชาที่ยังไม่ได้รับใบอนุญาต จำนวน 42,202 คน ขณะเดียวกันยังมีแรงงานชาวกัมพูชาที่เข้ามาทำงานตามฤดูกาลบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชาประมาณ 30,000 คน
วันนี้ (6 พ.ย.) ที่กระทรวงแรงงาน นายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวถึงกรณีศาลโลกจะมีการตัดสินคดีเขาพระวิหารในวันที่ 11 พ.ย.นี้ ว่า จากการพูดคุยกับกระทรวงแรงงานกัมพูชาเมื่อวันที่ 5 พ.ย.เจ้าหน้าที่ ก.แรงงานกัมพูชา ประเมินว่า ผลการตัดสินคดีดังกล่าวไม่ว่าผลจะเป็นเช่นไร ก็ไม่ส่งผลกระทบต่อการจ้างแรงงานชาวกัมพูชาของผู้ประกอบการไทย รวมทั้งไม่ส่งผลต่อการเข้ามาทำงานตามฤดูกาลบริเวณแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ส่วนข้อกังวลเรื่องการกระทบกระทั่งระหว่างแรงงานไทยและกัมพูชา อันเนื่องมาจากการตัดสินคดีดังกล่าวนั้น ตนได้สั่งการไปยังสำนักงานจัดหางานจังหวัดต่างๆ ให้สอดส่องดูแลและกำชับนายจ้างที่จ้างแรงงานสัญชาติกัมพูชาให้ดูแลแรงงานอย่างใกล้ชิด ซึ่งโดยปกติแล้วสถานประกอบการส่วนมากจะแยกการทำงานของแรงงานต่างด้าวและแรงงานไทยออกจากกันอยู่แล้ว เพื่อป้องกันการกระทบกระทั่ง พร้อมเตือนแรงงานไทยไม่ให้พูดจาส่อเสียดจนเกิดการกระทบกระทั่งระหว่างกัน
“ในเรื่องการเมืองระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศของไทยก็ยืนยันว่าความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชาไม่มีปัญหา จึงไม่มีผลกระทบในเรื่องการจ้างงานแรงงานชาวกัมพูชา” นายประวิทย์ กล่าว
ทั้งนี้ ปัจจุบันมีแรงงานสัญชาติกัมพูชาที่ทำงานอยู่ในประเทศไทยทั้งหมด 399,271 คน แบ่งเป็นแรงงานที่ถูกกฎหมายจำนวน 347,081 คน ในจำนวนนี้เป็นแรงงานที่ได้รับการพิสูจน์สัญชาติแล้ว 153,683 คน แรงงานที่นำเข้าตามบันทึกความเช้าใจ (เอ็มโอยู) ระหว่างประเทศ จำนวน 193,398 คน นอกจากนี้ยังมีแรงงานกัมพูชาที่ลักลอบเข้ามาทำงานแต่ได้รับการผ่อนผันให้ทำงานในไทยชั่วคราว จำนวน 52,190 คน โดยในจำนวนนี้ได้รับใบอนุญาตทำงานแล้ว 9,988 คน ทำให้เหลือแรงงงานชาวกัมพูชาที่ยังไม่ได้รับใบอนุญาต จำนวน 42,202 คน ขณะเดียวกันยังมีแรงงานชาวกัมพูชาที่เข้ามาทำงานตามฤดูกาลบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชาประมาณ 30,000 คน