มติ ก.ค.ศ.กำหนดแนวทางปฏิบัติสำหรับกลุ่มเข้าข่ายทุจริตครูผู้ช่วย ว 12 ต้องเข้าสู่กระบวนการร้องทุกข์ กรณีที่บรรจุและยังอยู่ระหว่างดำเนินการหรือยังไม่ได้ดำเนินการให้ออกจากราชการ ผอ.สถานศึกษา ต้องตั้งกรรมการสอบสวนให้ครบตามขั้นตอนก่อน “จาตุรนต์” ชี้ส่วนที่ให้ออกจากราชการไปก่อนหน้าโดยไม่ได้ชี้แจงนั้นยังไม่สามารถกลับเข้ารับราชการได้เพราะต้องยึดตามมติ ก.ค.ศ.ล่าสุดนี้ ขณะที่ ก.ค.ศ.แจ้ง อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯและหน่วยงานเกี่ยวข้องช่วยตรวจสอบข้อมูลย้อนหลังครูผู้ช่วย 2,161 รายที่ดีเอสไอชี้ว่าคุณสมบัติไม่ถูกต้อง
นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) เปิดเผยว่าจากการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(ก.ค.ศ.) เมื่อเร็วๆ นี้ ได้พิจารณาเกี่ยวกับการดำเนินการกรณีทุจริตการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งครู ผู้ช่วย กรณีที่มีความจำเป็นหรือเหตุพิเศษ ว12 ตามรายชื่อของกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) 344 รายที่ดีเอสไอเห็นว่ากระทำการเข้าข่ายการทุจริตการสอบ ซึ่ง ก.ค.ศ.ได้มีมติเห็นชอบให้กำหนดแนวปฏิบัติการดำเนินการกับบุคคลที่เข้าข่ายทุจริตในการสอบครูผู้ช่วยจำนวน 344 ราย ซึ่งจากข้อมูลพบว่าขณะนี้ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งแล้ว 262 ราย ยังไม่ได้รับการบรรจุแต่งตั้ง 51 ราย และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายังไม่รายงานข้อมูล 8 เขตพื้นที่ฯจำนวน 31 ราย ในจำนวนที่บรรจุฯแล้วถูกสั่งให้ออกจากราการ 188 ราย อยู่ระหว่างดำเนินการ 62 ราย ขอลาออก 4 รายและเขตพื้นที่ฯยังไม่ได้ดำเนินการตามมติ ก.ค.ศ.8 ราย โดยได้มีการร้องทุกข์ต่อ ก.ค.ศ.แล้ว 187 ราย และอยู่ระหว่างการพิจารณาคำร้องทุกข์ตามกระบวนการและขั้นตอนตามกฎก.ค.ศ.ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาร้องทุกข์ พ.ศ.2551 ให้เสร็จสิ้น
“กลุ่มครูผู้ช่วยที่ได้รับการบรรจุแล้วแต่ยังอยู่ระหว่างการดำเนินการและยังไม่ได้ ดำเนินการพิจารณาให้ออกจากราชการจะต้องให้ผู้อำนวยการสถานการศึกษาในฐานะผู้ มีอำนาจตามมาตรา 53 พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 ดำเนินการตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 ซึ่งจะต้องตั้งคณะกรรมการสอบสวน แจ้งข้อกล่าวหาให้มีการชี้แจงแก้ข้อกล่าวหากในเวลาที่กำหนดให้ครบตามขั้นตอน และในเร็วๆ นี้ จะจัดให้มีการชี้แจงเรื่องนี้จากคณะอนุกรรมการด้านกฎหมายของ ก.ค.ศ.และผู้ทรงคุณวุฒิ แก่เขตพื้นที่การศึกษาฯ ส่วนผู้ที่ถูกให้ออกไปแล้วและมีการร้องทุกข์ก็ต้องดำเนินการตามกระบวนการ” นายจาตุรนต์ กล่าวและว่า ส่วนกรณีที่จะขอให้กลุ่มอดีตครูผู้ช่วยที่ถูกให้ออกจากราชการแต่ไม่ได้มีการเรียกชี้แจงตามกระบวนการให้กลับเข้ารับราชการนั้น จากมติ ก.ค.ศ.ล่าสุดเห็นว่าไม่สามารถดำเนินการได้จะต้อง ให้คนกลุ่มนี้เข้าสู่กระบวนการร้องทุกข์และหากคณะกรรมการร้องทุกข์เห็นว่า การดำเนินการไม่ถูกต้องก็สามารถจะยกเลิกคำสั่งให้ออกจากราชการและให้กลับ เข้ารับราชการ และให้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนใหม่ เพราะ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯไม่สามารถไปยกเลิกคำสั่งของตนเองได้จะต้องใช้วิธีการร้องทุกข์
ด้าน นางศิริพร กิจเกื้อกูล เลขาธิการ ก.ค.ศ.กล่าวว่า ส่วนกรณีที่ดีเอสไอได้ทำหนังสือแจ้งให้ศธ.พิจารณาดำเนินการกับครู ผู้ช่วยจำนวน 2,161 ราย เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติย้อนหลังหลังจากดีเอสไอพบว่ามีคุณสมบัติที่ไม่ถูกต้อง เช่น ปฏิบัติหน้าที่เป็นครูอัตราจ้างไม่ครบ 3 ปีตามที่กำหนด เป็นต้น นั้นสำนักงาน ก.ค.ศ.ได้แจ้งคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) เขตพื้นที่การศึกษาให้ดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติครูผู้ช่วยกลุ่มนี้และได้กำหนดแนวทางไปให้ เช่น ประสานคุรุสภาเพื่อขอความร่วมมือในการตรวจสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ให้มีการตรวจสอบตั้งแต่วันรับสมัครว่าเป็นลูกจ้าง เป็นครูอัตราจ้างครบ 3 ปีหรือไม่ การตรวจสอบคำสั่งสัญญาจ้างต่างๆ และต้องตรวจสอบคำสั่งจ้างของผู้บังคับบัญชาและหนังสือรับรองของผู้มีอำนาจ เป็นต้น
นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) เปิดเผยว่าจากการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(ก.ค.ศ.) เมื่อเร็วๆ นี้ ได้พิจารณาเกี่ยวกับการดำเนินการกรณีทุจริตการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งครู ผู้ช่วย กรณีที่มีความจำเป็นหรือเหตุพิเศษ ว12 ตามรายชื่อของกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) 344 รายที่ดีเอสไอเห็นว่ากระทำการเข้าข่ายการทุจริตการสอบ ซึ่ง ก.ค.ศ.ได้มีมติเห็นชอบให้กำหนดแนวปฏิบัติการดำเนินการกับบุคคลที่เข้าข่ายทุจริตในการสอบครูผู้ช่วยจำนวน 344 ราย ซึ่งจากข้อมูลพบว่าขณะนี้ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งแล้ว 262 ราย ยังไม่ได้รับการบรรจุแต่งตั้ง 51 ราย และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายังไม่รายงานข้อมูล 8 เขตพื้นที่ฯจำนวน 31 ราย ในจำนวนที่บรรจุฯแล้วถูกสั่งให้ออกจากราการ 188 ราย อยู่ระหว่างดำเนินการ 62 ราย ขอลาออก 4 รายและเขตพื้นที่ฯยังไม่ได้ดำเนินการตามมติ ก.ค.ศ.8 ราย โดยได้มีการร้องทุกข์ต่อ ก.ค.ศ.แล้ว 187 ราย และอยู่ระหว่างการพิจารณาคำร้องทุกข์ตามกระบวนการและขั้นตอนตามกฎก.ค.ศ.ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาร้องทุกข์ พ.ศ.2551 ให้เสร็จสิ้น
“กลุ่มครูผู้ช่วยที่ได้รับการบรรจุแล้วแต่ยังอยู่ระหว่างการดำเนินการและยังไม่ได้ ดำเนินการพิจารณาให้ออกจากราชการจะต้องให้ผู้อำนวยการสถานการศึกษาในฐานะผู้ มีอำนาจตามมาตรา 53 พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 ดำเนินการตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 ซึ่งจะต้องตั้งคณะกรรมการสอบสวน แจ้งข้อกล่าวหาให้มีการชี้แจงแก้ข้อกล่าวหากในเวลาที่กำหนดให้ครบตามขั้นตอน และในเร็วๆ นี้ จะจัดให้มีการชี้แจงเรื่องนี้จากคณะอนุกรรมการด้านกฎหมายของ ก.ค.ศ.และผู้ทรงคุณวุฒิ แก่เขตพื้นที่การศึกษาฯ ส่วนผู้ที่ถูกให้ออกไปแล้วและมีการร้องทุกข์ก็ต้องดำเนินการตามกระบวนการ” นายจาตุรนต์ กล่าวและว่า ส่วนกรณีที่จะขอให้กลุ่มอดีตครูผู้ช่วยที่ถูกให้ออกจากราชการแต่ไม่ได้มีการเรียกชี้แจงตามกระบวนการให้กลับเข้ารับราชการนั้น จากมติ ก.ค.ศ.ล่าสุดเห็นว่าไม่สามารถดำเนินการได้จะต้อง ให้คนกลุ่มนี้เข้าสู่กระบวนการร้องทุกข์และหากคณะกรรมการร้องทุกข์เห็นว่า การดำเนินการไม่ถูกต้องก็สามารถจะยกเลิกคำสั่งให้ออกจากราชการและให้กลับ เข้ารับราชการ และให้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนใหม่ เพราะ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯไม่สามารถไปยกเลิกคำสั่งของตนเองได้จะต้องใช้วิธีการร้องทุกข์
ด้าน นางศิริพร กิจเกื้อกูล เลขาธิการ ก.ค.ศ.กล่าวว่า ส่วนกรณีที่ดีเอสไอได้ทำหนังสือแจ้งให้ศธ.พิจารณาดำเนินการกับครู ผู้ช่วยจำนวน 2,161 ราย เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติย้อนหลังหลังจากดีเอสไอพบว่ามีคุณสมบัติที่ไม่ถูกต้อง เช่น ปฏิบัติหน้าที่เป็นครูอัตราจ้างไม่ครบ 3 ปีตามที่กำหนด เป็นต้น นั้นสำนักงาน ก.ค.ศ.ได้แจ้งคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) เขตพื้นที่การศึกษาให้ดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติครูผู้ช่วยกลุ่มนี้และได้กำหนดแนวทางไปให้ เช่น ประสานคุรุสภาเพื่อขอความร่วมมือในการตรวจสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ให้มีการตรวจสอบตั้งแต่วันรับสมัครว่าเป็นลูกจ้าง เป็นครูอัตราจ้างครบ 3 ปีหรือไม่ การตรวจสอบคำสั่งสัญญาจ้างต่างๆ และต้องตรวจสอบคำสั่งจ้างของผู้บังคับบัญชาและหนังสือรับรองของผู้มีอำนาจ เป็นต้น