อาการเจ็บป่วยเป็นเรื่องใกล้ตัว ซึ่งทุกคนมีโอกาสป่วยได้ ทั้งจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง การพักผ่อนไม่เพียงพอ เป็นต้น ทางหนึ่งที่มักเลือกเมื่อเกิดอาการป่วยขึ้นคือ การไปซื้อยาจากร้านขายยาใกล้บ้านเพื่อนำมารับประทานบรรเทาอาการเอง แม้การกระทำดังกล่าวจะไม่ใช่เรื่องที่ผิด เเต่ก็มีอันตรายควบคู่ที่บางครั้งอาจถึงชีวิตก็มี
เห็นได้ชัดจากที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ออกมาประกาศเตือนว่าบางโรคที่เมื่อป่วยแล้ว จะซื้อยารับประทานเองไม่ได้เด็ดขาด เช่น ไข้เลือดออก โรคฉี่หนู เป็นต้น ซึ่งอาการของโรคเหล่านี้จะคล้ายกัน คือ มีไข้สูง ปวดศีรษะ และปวดเมื่อย ทางที่ดีเมื่อเกิดอาการป่วยควรที่จะไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคที่เป็นได้อย่างถูกต้อง
แต่หากมีความจำเป็นที่จะต้องไปซื้อยาจากร้านขายยา สิ่งที่เราควรบอกแก่เภสัชกรทุกครั้งก่อนซื้อยา มีดังนี้
1.ผู้ใช้ยา : ผู้ใช้ยาเป็นใคร อายุประมาณเท่าไร เป็นเด็ก หนุ่มสาว วัยรุ่น หรือผู้สูงอายุ
2.อาการป่วย : ควรบอกอาการที่ป่วยว่า เป็นอาการนั้นมานานเท่าไร บอกช่วงเวลาที่อาการมักกำเริบขึ้น ความถี่ของอาการ เเละความรุนเเรงเมื่อเกิดอาการ
3.ผลวินิจฉัยจากแพทย์ (ถ้ามี) : ผลที่เคยได้รับจากการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคอะไร และได้รับการรักษาอะไรมาบ้าง
4.โรคประจำตัวเเละยาที่ใช้ประจำ : เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาซ้ำซ้อนของยา หรือการเกิดอาการตีกันของยา (Drug - Drug Interactions)
5.ประวัติการเเพ้ยา : บอกประวัติการแพ้ยาว่า เคยแพ้ยาชนิดใด อาการเป็นอย่างไร เพื่อป้องการป้องกันการเเพ้ยา หรือได้รับยาในกลุ่มที่อาจก่อให้เกิดอาการแพ้ได้
6.น้ำหนักตัว : โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยเด็กเเละผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่มีน้ำหนักตัวน้อย หรือมากกว่าปกติ
7.ภาวะการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร : เนื่องจากยาหลายๆ ตัวสามารถส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์และขับออกมาทางน้ำนมได้ หญิงมีครรภ์หรือหญิงที่อยู่ในช่วงให้นมบุตรจึงต้องมีความระมัดระวังมากกว่าปกติ และแจ้งเภสัชกรหรือแพทย์ทุกครั้งหากต้องการใช้ยา เพราะในหลายๆ ครั้งภาวะดังกล่าวไม่สามารถสังเกตได้จากภายนอก
เรียกได้ว่าหากสามารถบอกลักษณะอาการได้ละเอียดมากเท่าไร การเลือกซื้อยาและรับประทานยาก็จะยิ่งมีคุรภาพและปลอดภัยกับตัวผู้ใช้เองมากขึ้นเท่านั้น แต่สิ่งสำคัญที่ยังคงต้องย้ำเตือนก็คือ เมื่อมีอาการเจ็บป่วยควรไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยโรคเเละรักษาได้อย่างถูกต้องดีที่สุด
เห็นได้ชัดจากที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ออกมาประกาศเตือนว่าบางโรคที่เมื่อป่วยแล้ว จะซื้อยารับประทานเองไม่ได้เด็ดขาด เช่น ไข้เลือดออก โรคฉี่หนู เป็นต้น ซึ่งอาการของโรคเหล่านี้จะคล้ายกัน คือ มีไข้สูง ปวดศีรษะ และปวดเมื่อย ทางที่ดีเมื่อเกิดอาการป่วยควรที่จะไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคที่เป็นได้อย่างถูกต้อง
แต่หากมีความจำเป็นที่จะต้องไปซื้อยาจากร้านขายยา สิ่งที่เราควรบอกแก่เภสัชกรทุกครั้งก่อนซื้อยา มีดังนี้
1.ผู้ใช้ยา : ผู้ใช้ยาเป็นใคร อายุประมาณเท่าไร เป็นเด็ก หนุ่มสาว วัยรุ่น หรือผู้สูงอายุ
2.อาการป่วย : ควรบอกอาการที่ป่วยว่า เป็นอาการนั้นมานานเท่าไร บอกช่วงเวลาที่อาการมักกำเริบขึ้น ความถี่ของอาการ เเละความรุนเเรงเมื่อเกิดอาการ
3.ผลวินิจฉัยจากแพทย์ (ถ้ามี) : ผลที่เคยได้รับจากการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคอะไร และได้รับการรักษาอะไรมาบ้าง
4.โรคประจำตัวเเละยาที่ใช้ประจำ : เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาซ้ำซ้อนของยา หรือการเกิดอาการตีกันของยา (Drug - Drug Interactions)
5.ประวัติการเเพ้ยา : บอกประวัติการแพ้ยาว่า เคยแพ้ยาชนิดใด อาการเป็นอย่างไร เพื่อป้องการป้องกันการเเพ้ยา หรือได้รับยาในกลุ่มที่อาจก่อให้เกิดอาการแพ้ได้
6.น้ำหนักตัว : โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยเด็กเเละผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่มีน้ำหนักตัวน้อย หรือมากกว่าปกติ
7.ภาวะการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร : เนื่องจากยาหลายๆ ตัวสามารถส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์และขับออกมาทางน้ำนมได้ หญิงมีครรภ์หรือหญิงที่อยู่ในช่วงให้นมบุตรจึงต้องมีความระมัดระวังมากกว่าปกติ และแจ้งเภสัชกรหรือแพทย์ทุกครั้งหากต้องการใช้ยา เพราะในหลายๆ ครั้งภาวะดังกล่าวไม่สามารถสังเกตได้จากภายนอก
เรียกได้ว่าหากสามารถบอกลักษณะอาการได้ละเอียดมากเท่าไร การเลือกซื้อยาและรับประทานยาก็จะยิ่งมีคุรภาพและปลอดภัยกับตัวผู้ใช้เองมากขึ้นเท่านั้น แต่สิ่งสำคัญที่ยังคงต้องย้ำเตือนก็คือ เมื่อมีอาการเจ็บป่วยควรไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยโรคเเละรักษาได้อย่างถูกต้องดีที่สุด