อธ.มธ.ค้านผลักดัน “นิรโทษกรรม” ชี้สร้างความแตกแยกให้สังคม แนะรัฐบาลถอนร่างออกจากสภา ระบุนิรโทษกรรมของไทยในอดีตทำเพื่อส่วนรวมไม่ใช่ส่วนตัว และไม่เคยทำนิรโทษกรรมสำหรับคนทุจริตหรือมีเจตนาสั่งการในการฆ่า
วันนี้ (31 ต.ค.) ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวถึงกรณี ที่คณะกรรมาธิการ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม จะนำร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ที่มีการเปลี่ยนแปลงในมาตรา 3 เข้าสู่การพิจารณาในวาระ 2 และ 3 ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ว่า โดยทั่วไปการนิรโทษกรรมไม่มีกฎหมายกำกับไว้ว่าจะต้องทำอะไรบ้าง แต่เป็นคล้ายๆ กับเป็นจารีต ธรรมเนียม และแนวปฏิบัติ ซึ่งในทางกฎหมายนั้นถือว่าจารีตประเพณี มีความสำคัญ โดยหากศึกษาย้อนไปในอดีตจะพบว่าเราทำกฎหมายนิรโทษกรรมเพื่อล้างความผิดเพื่อประโยชน์ส่วนร่วมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน เป็นข้อยกเว้น จากกฎหมายปกติที่กำหนดว่าคนผิดต้องรับโทษ ทั้งนี้ ที่ผ่านมาประเทศไทยเคยมีการนิรโทษกรรมมาแล้ว อาทิ เหตุการณ์ 14 ตุลา, 6 ตุลา และเหตุการณ์รัฐประหาร แต่การทำนิรโทษกรรมที่ผ่านมาไม่เคยเพราะได้รับการยอมรับ และเป็นการทำให้สังคมไทยสงบสุข แต่ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ครั้งนี้แทนที่จะทำให้เกิดความสงบสุข กลับทำให้เกิดความขัดแย้งมากมาย ซึ่งในทางกฎหมาย ถือว่าเป็นการตรากฎหมายไม่บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ควรจะเป็น
“เราไม่เคยทำนิรโทษกรรมสำหรับคนที่ทุจริตคอร์รัปชัน หรือคนที่มีเจตนาสั่งการในการสังหาร ทำร้ายคน หลายคนอ้างว่าการนิรโทษกรรมครั้งนี้เทียบเคียงกับเหตุการณ์ 14 ตุลา และ 6 ตุลาได้ แต่ไม่ใช่ เพราะทั้งสองเหตุการณ์เป็นเรื่องที่เราต้องการนิรโทษกรรมให้กับคนที่ไม่ใช่ผู้สั่งการ ดังนั้นโดยรวมผมสรุปว่า กฎหมายนิรโทษกรรมฉบับนี้ไม่ได้นำไปสู่สิ่งที่เราต้องการอย่างแท้จริง ทำให้เกิดความขัดแย้งเพิ่มขึ้น ไม่ได้ทำให้สังคมไทยเกิดความปรองดอง และการเริ่มต้นใหม่ ถ้าผมเป็นรัฐบาล ผมคิดว่าเราไม่ควรผลักดันกฎหมายนิรโทษกรรมฉบับนี้ เพราะจะทำให้สังคมไทยเกิดความแตกแยกมากขึ้น ดังนั้น รัฐบาลควรถอนร่างดังกล่าวออกจากสภา เพื่อให้สังคมไทยสงบสุข โดยทำให้กฎหมายตกไป ซึ่งก็มีหลายวิธี ทั้งทำองค์ประชุมไม่ครบ และหากรัฐบาลต้องการจะนิรโทษกรรมจริง ก็ไปคิดใหม่ทำใหม่ก็ยังทัน เพราะมีเสียงข้างมากอยู่แล้ว” ศ.ดร.สมคิด กล่าว
วันนี้ (31 ต.ค.) ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวถึงกรณี ที่คณะกรรมาธิการ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม จะนำร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ที่มีการเปลี่ยนแปลงในมาตรา 3 เข้าสู่การพิจารณาในวาระ 2 และ 3 ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ว่า โดยทั่วไปการนิรโทษกรรมไม่มีกฎหมายกำกับไว้ว่าจะต้องทำอะไรบ้าง แต่เป็นคล้ายๆ กับเป็นจารีต ธรรมเนียม และแนวปฏิบัติ ซึ่งในทางกฎหมายนั้นถือว่าจารีตประเพณี มีความสำคัญ โดยหากศึกษาย้อนไปในอดีตจะพบว่าเราทำกฎหมายนิรโทษกรรมเพื่อล้างความผิดเพื่อประโยชน์ส่วนร่วมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน เป็นข้อยกเว้น จากกฎหมายปกติที่กำหนดว่าคนผิดต้องรับโทษ ทั้งนี้ ที่ผ่านมาประเทศไทยเคยมีการนิรโทษกรรมมาแล้ว อาทิ เหตุการณ์ 14 ตุลา, 6 ตุลา และเหตุการณ์รัฐประหาร แต่การทำนิรโทษกรรมที่ผ่านมาไม่เคยเพราะได้รับการยอมรับ และเป็นการทำให้สังคมไทยสงบสุข แต่ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ครั้งนี้แทนที่จะทำให้เกิดความสงบสุข กลับทำให้เกิดความขัดแย้งมากมาย ซึ่งในทางกฎหมาย ถือว่าเป็นการตรากฎหมายไม่บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ควรจะเป็น
“เราไม่เคยทำนิรโทษกรรมสำหรับคนที่ทุจริตคอร์รัปชัน หรือคนที่มีเจตนาสั่งการในการสังหาร ทำร้ายคน หลายคนอ้างว่าการนิรโทษกรรมครั้งนี้เทียบเคียงกับเหตุการณ์ 14 ตุลา และ 6 ตุลาได้ แต่ไม่ใช่ เพราะทั้งสองเหตุการณ์เป็นเรื่องที่เราต้องการนิรโทษกรรมให้กับคนที่ไม่ใช่ผู้สั่งการ ดังนั้นโดยรวมผมสรุปว่า กฎหมายนิรโทษกรรมฉบับนี้ไม่ได้นำไปสู่สิ่งที่เราต้องการอย่างแท้จริง ทำให้เกิดความขัดแย้งเพิ่มขึ้น ไม่ได้ทำให้สังคมไทยเกิดความปรองดอง และการเริ่มต้นใหม่ ถ้าผมเป็นรัฐบาล ผมคิดว่าเราไม่ควรผลักดันกฎหมายนิรโทษกรรมฉบับนี้ เพราะจะทำให้สังคมไทยเกิดความแตกแยกมากขึ้น ดังนั้น รัฐบาลควรถอนร่างดังกล่าวออกจากสภา เพื่อให้สังคมไทยสงบสุข โดยทำให้กฎหมายตกไป ซึ่งก็มีหลายวิธี ทั้งทำองค์ประชุมไม่ครบ และหากรัฐบาลต้องการจะนิรโทษกรรมจริง ก็ไปคิดใหม่ทำใหม่ก็ยังทัน เพราะมีเสียงข้างมากอยู่แล้ว” ศ.ดร.สมคิด กล่าว