ยอดกะเหรี่ยงไร้สัญชาติ 4 หมื่นคน อดได้สิทธิรัฐสวัสดิการต่างๆ รักษาพยาบาล การคุ้มครองทางกฎหมาย เร่งรวบรวมปัญหา เสนอ ครม.
นางโสมสุดา ลียะวณิช ผอ.ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการอำนวยการบูรณาการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการอำนวยการบูรณาการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง ว่า ตามที่ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้มีการแก้ปัญหากะเหรี่ยงเป็นวาระแห่งชาติ เมื่อปี 2553 ทั้งนี้ ที่ประชุมจึงได้ให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) สภาความมั่นคงแห่งชาติ และผู้ว่าราชการจังหวัด 15 จังหวัด รายงานความคืบหน้าของการดำเนินงานแก้ไขปัญหา รวมถึง เปิดโอกาสให้ตัวแทนชาวกะเหรี่ยงได้เสนอปัญหาภายในพื้นที่ โดยพบว่า ขณะนี้การทำงานขาดความต่อเนื่อง ชาวกะเหรี่ยงยังไม่ได้ความเป็นธรรมในการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง
นางโสมสุดา กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม จากการติดตามผลการดำเนินงาน ใน 5 เรื่องหลัก ได้แก่ เรื่องอัตลักษณ์ชาติพันธุ์และวัฒนธรรม และการจัดการทรัพยากร โดยขณะนี้พบว่า ชาวกะเหรี่ยงต้องการให้หน่วยงานภาครัฐ มองเห็นความสำคัญเคารพในวัฒนธรรม และวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง โดยเฉพาะวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ซึ่งที่ผ่านมา หน่วยงานภาครัฐ จะเข้ามาแทรกแซง ทั้งในการทำไร่หมุนเวียน ซึ่งวิถีชีวิตดั้งเดิม ชาวกะเหรี่ยงจะมีการทำไร่หมุนเวียน ตลอดระยะเวลานานถึง 7 ปี โดยเมื่อมีการเก็บเกี่ยวผลผลิตที่ปลูกพืชแต่ละพื้นที่แล้ว จะเคลื่อนที่ไปหาพื้นที่ใหม่สำหรับทำการเกษตร และจะมีการปลูกพืชชนิดอื่นๆ ทดแทน เพื่อคืนความสมบูรณ์ให้หน้าดิน และอนุรักษ์ผืนป่า แต่ปัญหาที่เกิดขึ้น คือ เมื่อมีการย้ายที่ไปแล้ว และกลับมาพื้นที่เดิม เจ้าหน้าที่รัฐกลับมาจับกุมชาวบ้าน โดยอ้างว่าเป็นการบุกรุกพื้นที่ 2.การจัดการทรัพยากร พบว่า กลุ่มนายทุนเข้ามาทำการเกษตรเชิงพาณิชย์ เปลี่ยนให้เป็นการปลูกพืชเชิงเดี่ยว เช่น ยางพารา ข้าวโพด แทนการปลูกพืชหมุนเวียน
“3.สิทธิในสัญชาติ ซึ่งขณะนี้มีชาวกะเหรี่ยงที่ยังไม่ได้รับสัญชาติ กว่า 4 หมื่นราย ทำให้ส่งผลกระทบต่อการเข้าถึงสวัสดิการของรัฐ ทั้งการรักษาพยาบาล การคุ้มครองทางกฎหมาย เป็นต้น โดยในเรื่องนี้ มท.และ สธ.แจ้งว่า จะเร่งดำเนินการเรื่องดังกล่าวให้อย่างเร็วที่สุด 4.การสืบทอดมรดกทงวัฒนธรรม โดยได้มีการขอให้กำหนดพื้นที่เขตวัฒนธรรมพิเศษให้เป็นพื้นที่อยู่อาศัยและพื้นที่ทำกิน 4 พื้นที่นำร่อง ได้แก่ 1.บ้านหินลาด อ.เวียงป่าเป้า จ. เชียงราย 2.ต.ไร่โว่ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี 3.บ้านมอวาคี อ.แม่ว่าง จ.เชียงใหม่ และ 4.บ้านเลตอวคุ อ.อุ้งผาง จ.ตาก และ 5.การศึกษา ขอให้รัฐจัดการศึกษาให้ทั่วถึง และบรรจุหลักสูตรการเรียนรู้วิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยงเป็นหลักสูตรท้องถิ่น เพื่อให้มีความเข้าใจในกลุ่มชาติพันธุ์ด้วย ทั้งนี้ นายสนธยา คุณปลื้ม รมว.วัฒนธรรม ได้ขอให้ทุกหน่วยงานรวบรวมปัญหาทั้งหมดไปหาแนวทางการแก้ไข โดยกำหนดระยะเวลา 3 เดือน จากนั้นจะนำข้อมูลไปรายงานต่อที่ประชุม ครม.ต่อไป
นางโสมสุดา ลียะวณิช ผอ.ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการอำนวยการบูรณาการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการอำนวยการบูรณาการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง ว่า ตามที่ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้มีการแก้ปัญหากะเหรี่ยงเป็นวาระแห่งชาติ เมื่อปี 2553 ทั้งนี้ ที่ประชุมจึงได้ให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) สภาความมั่นคงแห่งชาติ และผู้ว่าราชการจังหวัด 15 จังหวัด รายงานความคืบหน้าของการดำเนินงานแก้ไขปัญหา รวมถึง เปิดโอกาสให้ตัวแทนชาวกะเหรี่ยงได้เสนอปัญหาภายในพื้นที่ โดยพบว่า ขณะนี้การทำงานขาดความต่อเนื่อง ชาวกะเหรี่ยงยังไม่ได้ความเป็นธรรมในการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง
นางโสมสุดา กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม จากการติดตามผลการดำเนินงาน ใน 5 เรื่องหลัก ได้แก่ เรื่องอัตลักษณ์ชาติพันธุ์และวัฒนธรรม และการจัดการทรัพยากร โดยขณะนี้พบว่า ชาวกะเหรี่ยงต้องการให้หน่วยงานภาครัฐ มองเห็นความสำคัญเคารพในวัฒนธรรม และวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง โดยเฉพาะวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ซึ่งที่ผ่านมา หน่วยงานภาครัฐ จะเข้ามาแทรกแซง ทั้งในการทำไร่หมุนเวียน ซึ่งวิถีชีวิตดั้งเดิม ชาวกะเหรี่ยงจะมีการทำไร่หมุนเวียน ตลอดระยะเวลานานถึง 7 ปี โดยเมื่อมีการเก็บเกี่ยวผลผลิตที่ปลูกพืชแต่ละพื้นที่แล้ว จะเคลื่อนที่ไปหาพื้นที่ใหม่สำหรับทำการเกษตร และจะมีการปลูกพืชชนิดอื่นๆ ทดแทน เพื่อคืนความสมบูรณ์ให้หน้าดิน และอนุรักษ์ผืนป่า แต่ปัญหาที่เกิดขึ้น คือ เมื่อมีการย้ายที่ไปแล้ว และกลับมาพื้นที่เดิม เจ้าหน้าที่รัฐกลับมาจับกุมชาวบ้าน โดยอ้างว่าเป็นการบุกรุกพื้นที่ 2.การจัดการทรัพยากร พบว่า กลุ่มนายทุนเข้ามาทำการเกษตรเชิงพาณิชย์ เปลี่ยนให้เป็นการปลูกพืชเชิงเดี่ยว เช่น ยางพารา ข้าวโพด แทนการปลูกพืชหมุนเวียน
“3.สิทธิในสัญชาติ ซึ่งขณะนี้มีชาวกะเหรี่ยงที่ยังไม่ได้รับสัญชาติ กว่า 4 หมื่นราย ทำให้ส่งผลกระทบต่อการเข้าถึงสวัสดิการของรัฐ ทั้งการรักษาพยาบาล การคุ้มครองทางกฎหมาย เป็นต้น โดยในเรื่องนี้ มท.และ สธ.แจ้งว่า จะเร่งดำเนินการเรื่องดังกล่าวให้อย่างเร็วที่สุด 4.การสืบทอดมรดกทงวัฒนธรรม โดยได้มีการขอให้กำหนดพื้นที่เขตวัฒนธรรมพิเศษให้เป็นพื้นที่อยู่อาศัยและพื้นที่ทำกิน 4 พื้นที่นำร่อง ได้แก่ 1.บ้านหินลาด อ.เวียงป่าเป้า จ. เชียงราย 2.ต.ไร่โว่ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี 3.บ้านมอวาคี อ.แม่ว่าง จ.เชียงใหม่ และ 4.บ้านเลตอวคุ อ.อุ้งผาง จ.ตาก และ 5.การศึกษา ขอให้รัฐจัดการศึกษาให้ทั่วถึง และบรรจุหลักสูตรการเรียนรู้วิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยงเป็นหลักสูตรท้องถิ่น เพื่อให้มีความเข้าใจในกลุ่มชาติพันธุ์ด้วย ทั้งนี้ นายสนธยา คุณปลื้ม รมว.วัฒนธรรม ได้ขอให้ทุกหน่วยงานรวบรวมปัญหาทั้งหมดไปหาแนวทางการแก้ไข โดยกำหนดระยะเวลา 3 เดือน จากนั้นจะนำข้อมูลไปรายงานต่อที่ประชุม ครม.ต่อไป