พบทุก 6 วินาที มีคนตายจากโรคเลือดสมองหรืออัมพาต 1 คน กรมการแพทย์เผยวิธีสังเกตสัญญาณเตือนโรค พบหน้า แขน ขา อ่อนแรง เป็นซีกเดียว พูดสับสน พูดไม่รู้เรื่อง มองเห็นลดลงอย่าวางใจ ให้รีบพบแพทย์ทันที
วันนี้ (25 ต.ค.) ที่กรมการแพทย์ นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ตามที่องค์การอัมพาตโลกได้กำหนดให้วันที่ 29 ต.ค.ของทุกปี เป็นวันรณรงค์อัมพาตโลก ซึ่งปี 2556 ได้กำหนดประเด็นสารรณรงค์สื่อสารเตือนภัยว่า “One in Six” หรือ “1 ใน 6 ไม่ใช่คุณ” เพื่อแสดงให้เห็นข้อเท็จจริงที่น่ากลัวของโรคหลอดเลือดสมองว่า ทุก 6 วินาทีจะมีคนเสียชีวิตอย่างน้อย 1 คน โดยมีคำขวัญในการรณรงค์ว่า “Because I care” หรือ “เพราะฉันใส่ใจ” เพื่อให้ประชาชนเกิดความตระหนัก และระวังภัยอันตรายของโรคหลอดเลือดสมองยิ่งขึ้น
นพ.สุพรรณ กล่าวอีกว่า โรคหลอดเลือดสมอง หรือที่เรียกกันว่าโรคอัมพาตเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ปัจจัยเสี่ยงซึ่งส่งผลให้เกิดโรคดังกล่าว ได้แก่ ภาวะความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง มีประวัติญาติสายตรงเจ็บป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองขาดการออกกำลังกายที่เหมาะสม ภาวะน้ำหนักเกิน สูบบุหรี่และภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ อาการเตือนที่สำคัญ คือสมองขาดเลือดชั่วคราว โดยพบผู้ที่มีอาการสมองขาดเลือดชั่วคราว 1 ใน 5 คน จะมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ภายในระยะเวลา 3 เดือน และส่วนใหญ่จะพบใน 2-3 วันแรกหลังจากมีอาการสมองขาดเลือดชั่วคราว
"สัญญาณเตือนที่สำคัญของโรคคือ มีอาการอ่อนแรงของหน้า แขน ขา ซึ่งจะเป็นซีกเดียวของร่างกาย สับสน พูดลำบาก พูดไม่รู้เรื่อง มีปัญหาการพูด การมองเห็นลดลง 1 หรือทั้ง 2 ข้าง และมีปัญหาการเดิน มึนงง สูญเสียสมดุลของการเดิน สำหรับแนวทางเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง คือ ควบคุม ป้องกันไม่ให้เป็นโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง มีกิจกรรมทางกายที่เคลื่อนไหว อย่างกระฉับกระเฉง และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ควบคุมน้ำหนัก ไม่ปล่อยให้อ้วน จำกัดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และบุหรี่มือสอง” อธิบดรกรมการแพทยื กล่าว
นพ.สุพรรณ กล่าวด้วยว่า ที่สำคัญคือต้องตระหนักถึงสัญญาณเตือนของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง หากมีอาการดังกล่าวข้างต้นให้รีบไปโรงพยาบาลโดยด่วนภายใน 3 ชั่วโมง จะสามารถช่วยรักษาชีวิตและฟื้นฟูให้กลับมาเป็นปกติหรือใกล้เคียงได้มากที่สุด ทั้งนี้ กรมการแพทย์โดยสถาบันประสาทวิทยาเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้สร้างเครือข่ายความร่วมมือ ทางวิชาการกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข มหาวิทยาลัย กระทรวงกลาโหม กรุงเทพมหานคร และภาคเอกชน เพื่อดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ตลอดจนพัฒนาบุคลากรให้มีความสามารถในการวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้อย่างถูกต้อง
วันนี้ (25 ต.ค.) ที่กรมการแพทย์ นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ตามที่องค์การอัมพาตโลกได้กำหนดให้วันที่ 29 ต.ค.ของทุกปี เป็นวันรณรงค์อัมพาตโลก ซึ่งปี 2556 ได้กำหนดประเด็นสารรณรงค์สื่อสารเตือนภัยว่า “One in Six” หรือ “1 ใน 6 ไม่ใช่คุณ” เพื่อแสดงให้เห็นข้อเท็จจริงที่น่ากลัวของโรคหลอดเลือดสมองว่า ทุก 6 วินาทีจะมีคนเสียชีวิตอย่างน้อย 1 คน โดยมีคำขวัญในการรณรงค์ว่า “Because I care” หรือ “เพราะฉันใส่ใจ” เพื่อให้ประชาชนเกิดความตระหนัก และระวังภัยอันตรายของโรคหลอดเลือดสมองยิ่งขึ้น
นพ.สุพรรณ กล่าวอีกว่า โรคหลอดเลือดสมอง หรือที่เรียกกันว่าโรคอัมพาตเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ปัจจัยเสี่ยงซึ่งส่งผลให้เกิดโรคดังกล่าว ได้แก่ ภาวะความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง มีประวัติญาติสายตรงเจ็บป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองขาดการออกกำลังกายที่เหมาะสม ภาวะน้ำหนักเกิน สูบบุหรี่และภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ อาการเตือนที่สำคัญ คือสมองขาดเลือดชั่วคราว โดยพบผู้ที่มีอาการสมองขาดเลือดชั่วคราว 1 ใน 5 คน จะมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ภายในระยะเวลา 3 เดือน และส่วนใหญ่จะพบใน 2-3 วันแรกหลังจากมีอาการสมองขาดเลือดชั่วคราว
"สัญญาณเตือนที่สำคัญของโรคคือ มีอาการอ่อนแรงของหน้า แขน ขา ซึ่งจะเป็นซีกเดียวของร่างกาย สับสน พูดลำบาก พูดไม่รู้เรื่อง มีปัญหาการพูด การมองเห็นลดลง 1 หรือทั้ง 2 ข้าง และมีปัญหาการเดิน มึนงง สูญเสียสมดุลของการเดิน สำหรับแนวทางเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง คือ ควบคุม ป้องกันไม่ให้เป็นโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง มีกิจกรรมทางกายที่เคลื่อนไหว อย่างกระฉับกระเฉง และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ควบคุมน้ำหนัก ไม่ปล่อยให้อ้วน จำกัดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และบุหรี่มือสอง” อธิบดรกรมการแพทยื กล่าว
นพ.สุพรรณ กล่าวด้วยว่า ที่สำคัญคือต้องตระหนักถึงสัญญาณเตือนของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง หากมีอาการดังกล่าวข้างต้นให้รีบไปโรงพยาบาลโดยด่วนภายใน 3 ชั่วโมง จะสามารถช่วยรักษาชีวิตและฟื้นฟูให้กลับมาเป็นปกติหรือใกล้เคียงได้มากที่สุด ทั้งนี้ กรมการแพทย์โดยสถาบันประสาทวิทยาเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้สร้างเครือข่ายความร่วมมือ ทางวิชาการกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข มหาวิทยาลัย กระทรวงกลาโหม กรุงเทพมหานคร และภาคเอกชน เพื่อดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ตลอดจนพัฒนาบุคลากรให้มีความสามารถในการวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้อย่างถูกต้อง