จากสภาพสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้ “แม่” ต้องเปลี่ยนบทบาทจากคนที่เคยอยู่บ้านเลี้ยงลูก ออกมาโลดแล่นอยู่ในแวดวงการทำงาน ดังนั้น เรื่องที่เคยเป็นหลักอย่างการเลี้ยงลูก อาจจะต้องปรับเปลี่ยนเป็นการทำงาน และมอบหมายภาระการเลี้ยงลูกให้กับปู่ย่าตายาย เป็นผู้ดูแลแทน ซึ่งมักเกิดปัญหาช่องว่างระหว่างวัย เกิดความไม่เข้าใจระหว่างคนรุ่นลูกหลานและผู้สูงวัยในครอบครัว ทั้งนี้ สังคมไทยจะคุ้นเคยกับครอบครัวขยาย ที่มีพ่อแม่ปู่ย่าตายายอยู่ในบ้านเดียวกับลูกหลาน มากกว่าชาวตะวันตก ที่มักเป็นครอบครัวเดี่ยวที่มีแต่พ่อแม่ แต่การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม ทำให้โครงสร้างแบบครอบครัวขยายของชาวตะวันตกมีมากขึ้น รวมทั้งการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ต้องหันมารับมือกับจำนวนผู้สูงอายุที่มากขึ้น รวมถึงการอยู่ร่วมกันของคนหลายวัย
ทั้งหมดนี้เรียกเป็นทางการว่า การปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนหลายรุ่น หรือ Intergenerational Relationships
เมื่อสังคมก้าวไปเป็นสังคมผู้สูงอายุ และมีจำนวนผู้สูงอายุจำนวนมาก ทำให้มีการพูดถึงคุณค่าของ Intergenerational Relationships มากขึ้นตามมา เนื่องจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนต่างวัยในครอบครัว แม้ไม่ได้มาอาศัยอยู่ใต้ชายคาเดียวกัน แต่หากมีความสัมพันธ์กันมากขึ้น ลูกหลานหันมาดูแลเอาใจใส่ดูแลคนสูงอายุมากขึ้น จะช่วยให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้
สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญและไม่มองข้ามคือการดูแลผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นจนเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มขั้น รวมถึงความสัมพันธ์ต่อกันที่แม่จะช่วยเชื่อมประสานให้ไม่เกิดช่องว่างระหว่างวัยของคนต่างรุ่นได้ ซึ่งช่องว่างระหว่างวัย เป็นปัญหาคลาสสิกที่เกิดขึ้นตลอดเวลา ระหว่างผู้สูงวัยกับลูกหลาน แต่อย่างไรก็ตาม ช่องว่างเหล่านั้น “ลด” ได้ และ “เชื่อม” ได้แม้คนรุ่นปู่ย่าตายายมีโลกทัศน์ วิถีชีวิตความเชื่อที่แตกต่างจากคนรุ่นลูกหลาน ที่เกิดมาในสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ “แม่” ต้องแสดงบทบาทประสานให้คนทั้ง 3 รุ่น อยู่ด้วยกันอย่างสงบสุข เพราะแม่เป็นรุ่นที่อยู่ตรงกลาง มีความเข้าใจคนแต่ละรุ่นที่มีลักษณะบางอย่างโดดเด่นออกมา จะทำให้แม่เชื่อมสัมพันธ์คนหลายวัยได้ง่ายขึ้น ซึ่งกลยุทธ์เชื่อมสัมพันธ์คนต่างวัยเป็นเรื่องท้าทายสำหรับคุณแม่ที่ต้องหาวิธีลดช่องว่าง โดยมีหลายเทคนิคให้นำไปทดลองใช้
เรียนรู้เทคโนโลยี ปัจจุบัน และอนาคต
เพื่อให้คุณตาคุณยายเข้าใจหลานๆ มากขึ้น เปิดโอกาสและแนะนำให้ท่านได้เรียนรู้การใช้เทคโนโลยีง่ายๆ เช่น ใช้คอมพิวเตอร์เล่นโซเชียลเน็ตเวิร์ก เล่นเกม ส่งข้อความทางโทรศัพท์ ใช้แอปพลิเคชันต่างๆ ที่หลานๆ กำลังนิยม เช่น Line ฯลฯ จะช่วยให้คนสูงวัยเข้าใจไลฟ์สไตล์ของเด็กๆ ที่ทำทุกอย่างรวดเร็ว ตอบสนองทันใจ เมื่อต้องมีกิจกรรมร่วมกัน คุณตาคุณยายจะได้ตามทันและเข้าใจเด็กๆ มากขึ้น
เรียนรู้อดีต
สำหรับเด็กน้อยรุ่นที่เติบโตมาพร้อมเทคโนโลยีมากมาย การเปิดโอกาสให้เด็กๆ ได้เรียนรู้อดีตจะช่วยให้เด็กๆ เปิดใจกับคุณตาคุณยายได้ง่ายขึ้น เช่น พาลูกๆ ไปดูพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ที่รวบรวมของใช้โบราณ ทำของเล่นโบราณให้ลูกเล่น หรือลองเล่นเกมสมัยก่อน ถ้าจะให้ดีให้คุณตาคุณยายเป็นคนนำชม หรือแนะนำการเล่นจะยิ่งทำให้ลูกๆ เข้าใจคนสูงวัยได้ง่ายขึ้น
ทำกิจกรรมร่วมกันด้วยเวลาคุณภาพ
การใช้เวลาร่วมกันอย่างมีคุณภาพเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด คุณแม่ควรเปิดโอกาสให้คนสูงวัยและหลานๆ ได้ทำกิจกรรมร่วมกัน โดยพยายามเลือกกิจกรรมที่คนทั้งสองรุ่นมีความสนใจร่วมกัน เพื่อให้แน่ใจว่านี่จะเป็นประสบการณ์ด้านบวกสำหรับคนสองวัย
หลากหลายประโยชน์ เมื่อต่างวัยอยู่ร่วมกัน
มีผลการวิจัยมากมายที่แสดงว่า การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนต่างวัย เช่น คนสูงอายุกับเด็ก นั้นมีประโยชน์ทั้งกับพัฒนาการของเด็กเอง และมีประโยชน์ต่อสุขภาพของคนสูงอายุด้วย คนสูงอายุที่มีกิจกรรมร่วมกับคนต่างวัยจะรู้สึกมีความสุขมากกว่าคนสูงอายุที่ไม่มีกิจกรรมกับคนต่างวัย การศึกษาบางชิ้นระบุว่า การเพิ่มกิจกรรมทางกายภาพ เกมที่ใช้ความคิด หรือกิจกรรมทางสังคม ระหว่างผู้สูงอายุกับเด็ก ช่วยพัฒนาสุขภาพของผู้สูงอายุ และพัฒนาการเรียนรู้ของเด็ก การเชื่อมคนสูงวัยและเด็กเข้าด้วยกันมีประโยชน์หลากหลายต่อคนทั้งสองวัย อาทิ สร้างโอกาสให้ทั้งสองวัยได้เรียนรู้ทักษะใหม่ๆ, ช่วยลดความกลัวที่เด็กๆ อาจมีต่อคนสูงวัย, ช่วยให้เด็กๆ เข้าใจ และต่อไปคือ สามารถยอมรับความแก่ของตัวเองได้, ช่วยให้ผู้สูงอายุกระปรี้กระเปร่าและมีพลัง, ช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดอาการโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ, ช่วยลดความรู้สึกอ้างว้างเดียวดายของคนสูงอายุ และช่วยรักษาเรื่องราวและประวัติศาสตร์ของครอบครัวให้มีชีวิตชีวา
มีการวิจัยว่า ยิ่งเด็กได้ทำความคุ้นเคยกับคนสูงอายุตั้งแต่อายุน้อยเท่าไหร่ ความเข้าใจที่มีต่อคนสูงวัยจะยิ่งดีขึ้นเท่านั้น นั่นเพราะมุมมองด้านลบของเด็กที่มีต่อผู้ใหญ่จะเพิ่มสูงขึ้นเมื่อพวกเขาโตค่อยๆ ขึ้น ดังนั้นการพัฒนาความสัมพันธ์ด้านบวกตั้งแต่อายุยังน้อยจะช่วยลดมุมมองด้านลบที่มีต่อคนสูงอายุของเด็กๆ ได้ ดังนั้นบทบาทของแม่ที่จะเป็นตัวกลาง เป็นกาวใจเชื่อมความสัมพันธ์ของคนหลายรุ่น เข้าด้วยกัน จึงมีความสำคัญมากกับสังคมปัจจุบัน ที่จะทำให้ครอบครัวราบรื่น ถ้าการจัดการในครอบครัวไม่ดีก็อาจทำให้เกิดการปะทะกัน แทนที่จะเชื่อมความสัมพันธ์ ดังนั้นเพื่อลดช่องว่างระหว่างวัยลง คุณแม่ควรหาโอกาสให้คนแต่ละวัยมีโอกาสเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เพื่อปรับตัวเข้าหากัน และเกิดความเข้าใจกันอย่างมากที่สุด
ตารางเปรียบเทียบ คน 3 รุ่น โดย ดร.ดไนยา ตั้งอุทัยสุข ผู้อำนวยการหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต และหัวหน้าศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจแห่งมหาวิทยาลัยเจ้าพระยา (UBI-CPU)
ข้อมูล : นิตยสาร ModernMom
ทั้งหมดนี้เรียกเป็นทางการว่า การปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนหลายรุ่น หรือ Intergenerational Relationships
เมื่อสังคมก้าวไปเป็นสังคมผู้สูงอายุ และมีจำนวนผู้สูงอายุจำนวนมาก ทำให้มีการพูดถึงคุณค่าของ Intergenerational Relationships มากขึ้นตามมา เนื่องจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนต่างวัยในครอบครัว แม้ไม่ได้มาอาศัยอยู่ใต้ชายคาเดียวกัน แต่หากมีความสัมพันธ์กันมากขึ้น ลูกหลานหันมาดูแลเอาใจใส่ดูแลคนสูงอายุมากขึ้น จะช่วยให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้
สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญและไม่มองข้ามคือการดูแลผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นจนเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มขั้น รวมถึงความสัมพันธ์ต่อกันที่แม่จะช่วยเชื่อมประสานให้ไม่เกิดช่องว่างระหว่างวัยของคนต่างรุ่นได้ ซึ่งช่องว่างระหว่างวัย เป็นปัญหาคลาสสิกที่เกิดขึ้นตลอดเวลา ระหว่างผู้สูงวัยกับลูกหลาน แต่อย่างไรก็ตาม ช่องว่างเหล่านั้น “ลด” ได้ และ “เชื่อม” ได้แม้คนรุ่นปู่ย่าตายายมีโลกทัศน์ วิถีชีวิตความเชื่อที่แตกต่างจากคนรุ่นลูกหลาน ที่เกิดมาในสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ “แม่” ต้องแสดงบทบาทประสานให้คนทั้ง 3 รุ่น อยู่ด้วยกันอย่างสงบสุข เพราะแม่เป็นรุ่นที่อยู่ตรงกลาง มีความเข้าใจคนแต่ละรุ่นที่มีลักษณะบางอย่างโดดเด่นออกมา จะทำให้แม่เชื่อมสัมพันธ์คนหลายวัยได้ง่ายขึ้น ซึ่งกลยุทธ์เชื่อมสัมพันธ์คนต่างวัยเป็นเรื่องท้าทายสำหรับคุณแม่ที่ต้องหาวิธีลดช่องว่าง โดยมีหลายเทคนิคให้นำไปทดลองใช้
เรียนรู้เทคโนโลยี ปัจจุบัน และอนาคต
เพื่อให้คุณตาคุณยายเข้าใจหลานๆ มากขึ้น เปิดโอกาสและแนะนำให้ท่านได้เรียนรู้การใช้เทคโนโลยีง่ายๆ เช่น ใช้คอมพิวเตอร์เล่นโซเชียลเน็ตเวิร์ก เล่นเกม ส่งข้อความทางโทรศัพท์ ใช้แอปพลิเคชันต่างๆ ที่หลานๆ กำลังนิยม เช่น Line ฯลฯ จะช่วยให้คนสูงวัยเข้าใจไลฟ์สไตล์ของเด็กๆ ที่ทำทุกอย่างรวดเร็ว ตอบสนองทันใจ เมื่อต้องมีกิจกรรมร่วมกัน คุณตาคุณยายจะได้ตามทันและเข้าใจเด็กๆ มากขึ้น
เรียนรู้อดีต
สำหรับเด็กน้อยรุ่นที่เติบโตมาพร้อมเทคโนโลยีมากมาย การเปิดโอกาสให้เด็กๆ ได้เรียนรู้อดีตจะช่วยให้เด็กๆ เปิดใจกับคุณตาคุณยายได้ง่ายขึ้น เช่น พาลูกๆ ไปดูพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ที่รวบรวมของใช้โบราณ ทำของเล่นโบราณให้ลูกเล่น หรือลองเล่นเกมสมัยก่อน ถ้าจะให้ดีให้คุณตาคุณยายเป็นคนนำชม หรือแนะนำการเล่นจะยิ่งทำให้ลูกๆ เข้าใจคนสูงวัยได้ง่ายขึ้น
ทำกิจกรรมร่วมกันด้วยเวลาคุณภาพ
การใช้เวลาร่วมกันอย่างมีคุณภาพเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด คุณแม่ควรเปิดโอกาสให้คนสูงวัยและหลานๆ ได้ทำกิจกรรมร่วมกัน โดยพยายามเลือกกิจกรรมที่คนทั้งสองรุ่นมีความสนใจร่วมกัน เพื่อให้แน่ใจว่านี่จะเป็นประสบการณ์ด้านบวกสำหรับคนสองวัย
หลากหลายประโยชน์ เมื่อต่างวัยอยู่ร่วมกัน
มีผลการวิจัยมากมายที่แสดงว่า การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนต่างวัย เช่น คนสูงอายุกับเด็ก นั้นมีประโยชน์ทั้งกับพัฒนาการของเด็กเอง และมีประโยชน์ต่อสุขภาพของคนสูงอายุด้วย คนสูงอายุที่มีกิจกรรมร่วมกับคนต่างวัยจะรู้สึกมีความสุขมากกว่าคนสูงอายุที่ไม่มีกิจกรรมกับคนต่างวัย การศึกษาบางชิ้นระบุว่า การเพิ่มกิจกรรมทางกายภาพ เกมที่ใช้ความคิด หรือกิจกรรมทางสังคม ระหว่างผู้สูงอายุกับเด็ก ช่วยพัฒนาสุขภาพของผู้สูงอายุ และพัฒนาการเรียนรู้ของเด็ก การเชื่อมคนสูงวัยและเด็กเข้าด้วยกันมีประโยชน์หลากหลายต่อคนทั้งสองวัย อาทิ สร้างโอกาสให้ทั้งสองวัยได้เรียนรู้ทักษะใหม่ๆ, ช่วยลดความกลัวที่เด็กๆ อาจมีต่อคนสูงวัย, ช่วยให้เด็กๆ เข้าใจ และต่อไปคือ สามารถยอมรับความแก่ของตัวเองได้, ช่วยให้ผู้สูงอายุกระปรี้กระเปร่าและมีพลัง, ช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดอาการโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ, ช่วยลดความรู้สึกอ้างว้างเดียวดายของคนสูงอายุ และช่วยรักษาเรื่องราวและประวัติศาสตร์ของครอบครัวให้มีชีวิตชีวา
มีการวิจัยว่า ยิ่งเด็กได้ทำความคุ้นเคยกับคนสูงอายุตั้งแต่อายุน้อยเท่าไหร่ ความเข้าใจที่มีต่อคนสูงวัยจะยิ่งดีขึ้นเท่านั้น นั่นเพราะมุมมองด้านลบของเด็กที่มีต่อผู้ใหญ่จะเพิ่มสูงขึ้นเมื่อพวกเขาโตค่อยๆ ขึ้น ดังนั้นการพัฒนาความสัมพันธ์ด้านบวกตั้งแต่อายุยังน้อยจะช่วยลดมุมมองด้านลบที่มีต่อคนสูงอายุของเด็กๆ ได้ ดังนั้นบทบาทของแม่ที่จะเป็นตัวกลาง เป็นกาวใจเชื่อมความสัมพันธ์ของคนหลายรุ่น เข้าด้วยกัน จึงมีความสำคัญมากกับสังคมปัจจุบัน ที่จะทำให้ครอบครัวราบรื่น ถ้าการจัดการในครอบครัวไม่ดีก็อาจทำให้เกิดการปะทะกัน แทนที่จะเชื่อมความสัมพันธ์ ดังนั้นเพื่อลดช่องว่างระหว่างวัยลง คุณแม่ควรหาโอกาสให้คนแต่ละวัยมีโอกาสเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เพื่อปรับตัวเข้าหากัน และเกิดความเข้าใจกันอย่างมากที่สุด
ตารางเปรียบเทียบ คน 3 รุ่น โดย ดร.ดไนยา ตั้งอุทัยสุข ผู้อำนวยการหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต และหัวหน้าศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจแห่งมหาวิทยาลัยเจ้าพระยา (UBI-CPU)
| Generation Baby Boom | Generation X | Generation Y |
ปีเกิด | พ.ศ. 2489-2507 | พ.ศ. 2508-2522 | พ.ศ. 2523-2543 |
อายุปัจจุบัน | 49-67 ปี | 34-48 ปี | 13-33 ปี |
พื้นเพ | เกิดหลังสงครามโลก เห็นความสูญเสีย เคยเผชิญกับความยากลำบาก | เกิดมาเห็นพ่อแม่ทำงานหนัก ไม่อยากตรากตรำเหมือนพ่อแม่ | เติบโตมาด้วยคอมพิวเตอร์ เชื่อว่าทุกอย่างใช้เงินซื้อได้ |
ลักษณะนิสัย (ส่วนตัว) | มีความอดทนสูง ทุ่มเทสร้างฐานะเพื่อครอบครัว ครอบครัว ญาติพี่น้องมีความสำคัญ | ให้ความสำคัญกับความสมดุลระหว่างการทำงานและชีวิตส่วนตัว เชื่อในเรื่อง Work Life Balance | ใจร้อน ไม่ชอบการรอคอย ชอบส่งข้อความทาง msn, twitter, Facebook มากกว่าการพบกันซึ่งหน้า มีโลกส่วนตัวสูง ให้ความสำคัญกับตัวเองมาก |
ลักษณะนิสัย (การทำงาน) | เชื่อว่าความก้าวหน้าต้องค่อยเป็นค่อยไป ทำงานอย่างมีขั้นตอน สามารถรอคอยความสำเร็จ ทุ่มเทให้งานเต็มที่ จงรักภักดี ไม่เปลี่ยนงานบ่อย | ชอบการทำงานที่ไม่เป็นทางการ ขยันเรียนรู้ ชอบการพัฒนาเพิ่มพูนทักษะ ใจกว้างรับฟังความเห็น | ไม่อดทน ต้องการเห็นความสำเร็จในระยะสั้น ให้ความสำคัญกับเงินเดือนและโบนัสปัจจุบัน |
ความก้าวหน้า | รอได้ ค่อยเป็นค่อยไป | พยามไขว่คว้า | อยากได้ต้องเปลี่ยนองค์กรใหม่ |
เทคโนโลยี | ไม่เข้าใจ ไม่จำเป็น | คุ้นเคยแต่ไม่เสพติด | สำคัญที่สุด ขาดไม่ได้ อยากรู้อยากได้อะไรก็หาได้ในอินเทอร์เน็ต |
ข้อมูล : นิตยสาร ModernMom