สสส.หนุนคณะแพทย์จุฬาฯ ทีดีอาร์ไอ ศึกษาผลตอบแทนทางสังคมองค์กรตัวเอง พบสูงกว่า 2 แสนล้านบาท ฟุ้งงานอุบัติเหตุลงทุนแค่ 1 บาท แต่สังคมได้คืนถึง 130 บาท หรือ 130 เท่า ด้านคุ้มครองผู้บริโภคลงทุน 1 บาท สังคมได้คืน 95 บาท
วันนี้ (24 ก.ค.) ที่โรงแรมเดอะสุโกศล นพ.ปิยะ หาญวรวงศ์ชัย อาจารย์ประจำคณะแพทยศาสตร์ จุฬาาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แถลงผลการศึกษาเรื่อง “ผลตอบแทนทางสังคม (Social Return on Investment :SROI) กรณีศึกษา สสส.และความคุ้มค่าทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ว่า นักวิชาการคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดำเนินการวิเคราะห์ใน 7 ด้านหลัก ได้แก่ 1.การควบคุมการบริโภคยาสูบ 2.การป้องกันอุบัติเหตุทางถนนและอุบัติเหตุ 3.กิจกรรมเพื่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย การออกกำลังกาย และกีฬาเพื่อสุขภาพ 4.โครงการด้านการบริโภคอาหาร 5.โครงการด้านการคุ้มครองผู้บริโภค 6.โครงการด้านผู้พิการและผู้สูงอายุ และ 7.โครงการด้านเด็กและเยาวชน เพื่อประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการดำเนินงานของ สสส.และประโยชน์ที่สังคมจะได้รับจากการดำเนินการสร้างเสริมสุขภาพ
นพ.ปิยะ กล่าวอีกว่า ผลการศึกษาแยกเป็น 2 กลุ่ม คือระดับมหภาคและระดับจุลภาค โดยระดับมหภาค เป็นการศึกษาผลตอบแทนระยะ 10 ปี นับตั้งแต่เริ่มตั้ง สสส.ใน 2 ด้าน คือ 1.การป้องกันอุบัติเหตุทางถนนและอุบัติเหตุ พบว่า ต้นทุนที่ สสส.ใช้ในแผนงานเรื่องป้องกันอุบัติเหตุฯปี 2544-2553 เป็นจำนวนทั้งสิ้น 1.5 พันล้านบาท มีมูลค่าผลลัพธ์ 1.89 แสนล้านบาท โดยโครงการที่ทำสามารถหลีกเลี่ยงการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนได้เกือบ 7 หมื่นคน ทำให้ประหยัดเงินจากการสูญเสียชีวิตได้เกือบ 4 แสนล้านบาท การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคมเน้นการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นสำคัญ จากการวิเคราะห์ พบว่า การลงทุนด้านอุบัติเหตุให้ผลตอบแทนทางสังคมประมาณ 130 บาทต่อการลงทุน 1 บาท และ 2.การควบคุมการบริโภคยาสูบ มีการลงทุน 1,433 ล้านบาท มูลค่าผลลัพธ์ 2.6 หมื่นล้านบาท ผลตอบแทนทางสังคมคดิเป็น 18.34 บาทต่อการลงทุน 1 บาท
ดร.วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์ นักวิจัยทีดีอาร์ไอ กล่าวว่า ระดับจุลภาค ซึ่งเป็นการสุ่มเลือกบางโครงการใน 5 ด้านที่เหลือ โดยสอบถามจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น นักเรียน ครู ผู้ปกครอง พนักงานองค์กร เป็นต้น พบว่า 1.ด้านการออกกำลังกาย สุ่ม 1 โครงการ มีการลงทุน 2.05 ล้านบาท มูลค่าผลลัพธ์ 12.69 ล้านบาท ผลตอบแทนทางสังคม 6.19 บาทต่อการลงทุน 1 บาท 2.ด้านการบริโภคอาหาร สุ่ม 2 โครงการ มีการลงทุน 130 ล้านบาท มูลค่าผลลัพธ์ 1,765 ล้านบาท ผลตอบแทนทางสังคม 13.49 บาทต่อการลงทุน 1 บาท 3.ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค สุ่ม 3 โครงการ มีการลงทุน 49.08 ล้านบาท มูลค่าผลลัพธ์ 3.88 พันล้านบาท ผลตอบแทนทางสังคม 95.03 บาทต่อการลงทุน 1บาท 4.ด้านเด็กและเยาวชน สุ่ม 4 โครงการ มีการลงทุน 97 ล้านบาท มูลค่าผลลัพธ์ 667 ล้านบาท ผลตอบแทนทางสังคม 6.87 บาท ต่อการลงทุน 1 บาท และ 5.ด้านผู้สูงอายุ สุ่ม 4 โครงการ มีการลงทุน 21 ล้านบาท มูลค่าผลลัพธ์ 62 ล้านบาท ผลตอบแทนทางสังคม 2.95 บาทต่อการลงทุน 1 บาท ทั้งนี้ โดยภาพรวมโครงการนี้มีผลตอบแทนที่คุ้มค่าต่อสังคม
“ผลการศึกษาดูเหมือนว่าผลที่ออกมาค่อนข้างให้ผลตอบแทนทางสังคมที่สูง ไม่ได้เป็นการเอาใจ สสส.แต่มีบางโครงการที่พบว่าผลตอบแทนทางสังคมไม่ถึง 1 บาทต่อการลงทุน 1 บาท คือ ด้านผู้พิการ แต่เนื่องจากเป็นโครงการที่เริ่มดำเนินการได้ไม่นาน จะนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับงานด้านอื่นๆที่ทำมานานเป็น 10 ปีคงไม่ได้ ดังนั้น จะต้องมีการติดตามผลต่อไป” ดร.วรวรรณ กล่าว
วันนี้ (24 ก.ค.) ที่โรงแรมเดอะสุโกศล นพ.ปิยะ หาญวรวงศ์ชัย อาจารย์ประจำคณะแพทยศาสตร์ จุฬาาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แถลงผลการศึกษาเรื่อง “ผลตอบแทนทางสังคม (Social Return on Investment :SROI) กรณีศึกษา สสส.และความคุ้มค่าทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ว่า นักวิชาการคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดำเนินการวิเคราะห์ใน 7 ด้านหลัก ได้แก่ 1.การควบคุมการบริโภคยาสูบ 2.การป้องกันอุบัติเหตุทางถนนและอุบัติเหตุ 3.กิจกรรมเพื่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย การออกกำลังกาย และกีฬาเพื่อสุขภาพ 4.โครงการด้านการบริโภคอาหาร 5.โครงการด้านการคุ้มครองผู้บริโภค 6.โครงการด้านผู้พิการและผู้สูงอายุ และ 7.โครงการด้านเด็กและเยาวชน เพื่อประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการดำเนินงานของ สสส.และประโยชน์ที่สังคมจะได้รับจากการดำเนินการสร้างเสริมสุขภาพ
นพ.ปิยะ กล่าวอีกว่า ผลการศึกษาแยกเป็น 2 กลุ่ม คือระดับมหภาคและระดับจุลภาค โดยระดับมหภาค เป็นการศึกษาผลตอบแทนระยะ 10 ปี นับตั้งแต่เริ่มตั้ง สสส.ใน 2 ด้าน คือ 1.การป้องกันอุบัติเหตุทางถนนและอุบัติเหตุ พบว่า ต้นทุนที่ สสส.ใช้ในแผนงานเรื่องป้องกันอุบัติเหตุฯปี 2544-2553 เป็นจำนวนทั้งสิ้น 1.5 พันล้านบาท มีมูลค่าผลลัพธ์ 1.89 แสนล้านบาท โดยโครงการที่ทำสามารถหลีกเลี่ยงการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนได้เกือบ 7 หมื่นคน ทำให้ประหยัดเงินจากการสูญเสียชีวิตได้เกือบ 4 แสนล้านบาท การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคมเน้นการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นสำคัญ จากการวิเคราะห์ พบว่า การลงทุนด้านอุบัติเหตุให้ผลตอบแทนทางสังคมประมาณ 130 บาทต่อการลงทุน 1 บาท และ 2.การควบคุมการบริโภคยาสูบ มีการลงทุน 1,433 ล้านบาท มูลค่าผลลัพธ์ 2.6 หมื่นล้านบาท ผลตอบแทนทางสังคมคดิเป็น 18.34 บาทต่อการลงทุน 1 บาท
ดร.วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์ นักวิจัยทีดีอาร์ไอ กล่าวว่า ระดับจุลภาค ซึ่งเป็นการสุ่มเลือกบางโครงการใน 5 ด้านที่เหลือ โดยสอบถามจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น นักเรียน ครู ผู้ปกครอง พนักงานองค์กร เป็นต้น พบว่า 1.ด้านการออกกำลังกาย สุ่ม 1 โครงการ มีการลงทุน 2.05 ล้านบาท มูลค่าผลลัพธ์ 12.69 ล้านบาท ผลตอบแทนทางสังคม 6.19 บาทต่อการลงทุน 1 บาท 2.ด้านการบริโภคอาหาร สุ่ม 2 โครงการ มีการลงทุน 130 ล้านบาท มูลค่าผลลัพธ์ 1,765 ล้านบาท ผลตอบแทนทางสังคม 13.49 บาทต่อการลงทุน 1 บาท 3.ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค สุ่ม 3 โครงการ มีการลงทุน 49.08 ล้านบาท มูลค่าผลลัพธ์ 3.88 พันล้านบาท ผลตอบแทนทางสังคม 95.03 บาทต่อการลงทุน 1บาท 4.ด้านเด็กและเยาวชน สุ่ม 4 โครงการ มีการลงทุน 97 ล้านบาท มูลค่าผลลัพธ์ 667 ล้านบาท ผลตอบแทนทางสังคม 6.87 บาท ต่อการลงทุน 1 บาท และ 5.ด้านผู้สูงอายุ สุ่ม 4 โครงการ มีการลงทุน 21 ล้านบาท มูลค่าผลลัพธ์ 62 ล้านบาท ผลตอบแทนทางสังคม 2.95 บาทต่อการลงทุน 1 บาท ทั้งนี้ โดยภาพรวมโครงการนี้มีผลตอบแทนที่คุ้มค่าต่อสังคม
“ผลการศึกษาดูเหมือนว่าผลที่ออกมาค่อนข้างให้ผลตอบแทนทางสังคมที่สูง ไม่ได้เป็นการเอาใจ สสส.แต่มีบางโครงการที่พบว่าผลตอบแทนทางสังคมไม่ถึง 1 บาทต่อการลงทุน 1 บาท คือ ด้านผู้พิการ แต่เนื่องจากเป็นโครงการที่เริ่มดำเนินการได้ไม่นาน จะนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับงานด้านอื่นๆที่ทำมานานเป็น 10 ปีคงไม่ได้ ดังนั้น จะต้องมีการติดตามผลต่อไป” ดร.วรวรรณ กล่าว