“หมอประกิต” กระทุ้งนักประชาสัมพันธ์จังหวัด ช่วยรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ ด้านกรมประชาสัมพันธ์รับลูก เปิดเวทีติวเข้มทำพีอาร์สู้บริษัทยาสูบข้ามชาติ
วันนี้ (25 ต.ค.) นายประวิน พัฒนะพงษ์ รองอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ กล่าวในงานสัมมนาเรื่อง “ร่วมกันสร้างสังคมไทยให้ปลอดบุหรี่” จัดโดยมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ร่วมกับ กรมประชาสัมพันธ์ ว่า นักประชาสัมพันธ์จังหวัดถือเป็นบุคคลและเป็นสื่อมวลชนที่มีความสำคัญในการที่จะสื่อสารข้อมูลสำคัญต่างๆ ไปยังประชาชน การมารวมพลังในงานนี้ถือเป็นโอกาสดีที่นักประชาสัมพันธ์จะพัฒนางานตัวเอง และสนับสนุนองค์ความรู้ต่างๆ ลงสู่ชุมชนมากขึ้น เพื่อแก้ปัญหาการสูบบุหรี่ในชุมชน ซึ่งจากข้อมูลล่าสุดพบว่า ร้อยละ 70 ของคนไทยที่สูบบุหรี่ หรือ 9 ล้านคนจาก 12.5 ล้านคน อาศัยอยู่นอกเขตเทศบาล
นายประวิน กล่าวอีกว่า กรมประชาสัมพันธ์ ต้องดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 17 เม.ย. 2555 ที่ให้กระทรวงวัฒนธรรม กรมประชาสัมพันธ์ และกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ปรับปรุงกฎหมายเพื่อห้ามมีฉลากสูบบุหรี่ และการส่งเสริมการตลาดด้วยวิธีความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจ ทางภาพยนตร์ โทรทัศน์และสื่อมวลชนต่างๆ และมีมาตรการส่งเสริมให้บุคคลสาธารณะ เช่น ดารา นักร้อง เป็นแบบอย่างที่ดีแก่สาธารณชน โดยการไม่สูบบุหรี่ในที่สาธารณะ ทั้งนี้ สถานการณ์การสูบบุหรี่ของคนไทยยังน่าเป็นห่วง โดยคนไทยสูบบุหรี่กว่า 12.5 ล้านคน และมีคนเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ปีละ 50,710 คน ตนจึงเห็นด้วยที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้ออกประกาศการเพิ่มคำเตือนบนซองบุหรี่ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น เพราะการใช้ภาพที่มีขนาดใหญ่รณรงค์ประชาสัมพันธ์ ถือว่าเป็นการประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพอย่างดี
ด้าน ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวว่า จากการที่บริษัทบุหรี่ยักษ์ใหญ่ข้ามชาติ ได้พยายามสกัดกั้นมาตรการควบคุมการบริโภคยาสูบของ สธ.โดยฟ้องต่อศาลปกครองให้ทุเลาและยกเลิกประกาศ ตนอยากฝากให้ประชาสัมพันธ์จังหวัดทุกแห่ง ช่วยกันเผยแพร่ข้อมูล การรณรงค์ให้ความจริงแก่สังคมและองค์กรต่างๆ ให้ตระหนักถึงกลยุทธ์ของบริษัทบุหรี่ ที่เข้ามาสกัดกั้นมาตรการเรื่องการเพิ่มขนาดคำเตือนบนซองบุหรี่ โดยอ้างว่าก่อความเสียหายแก่บริษัท ทั้งที่บริษัทเหล่านี้หาประโยชน์และทำกำไรจากการขายบุหรี่ ที่นำมาซึ่งโรคภัยร้ายแรง และก่อความสูญเสียต่อเศรษฐกิจของประเทศ
น.ส.บังอร ฤทธิภักดี ผู้อำนวยการเครือข่ายควบคุมการบริโภคยาสูบในอาเซียน กล่าวว่า การเพิ่มขนาดคำเตือนเป็น 85% เป็นมาตรการที่จำเป็นต่อไทย หากเราตั้งใจที่จะปกป้องลูกหลานไม่ให้ตกเป็นทาสของบุหรี่ โดยขณะนี้มีเด็กไทยเริ่มสูบบุหรี่ปีละ 250,000 คน หรือวันละ 685 คน ซึ่งหากติดบุหรี่แล้ว มีเพียงร้อยละ 27 เท่านั้นที่สามารถเลิกได้ก่อนที่จะป่วย ที่เหลือจะสูบต่อไปจนป่วยและตาย ซึ่งจากข้อมูลศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการขยายภาพคำเตือนบนซองบุหรี่ เมื่อเร็วๆ นี้ พบว่า ทั้งผู้สูบบุหรี่ ผู้เคยสูบแต่เลิกแล้ว และผู้ไม่สูบบุหรี่ ถึงร้อยละ 79.2 เห็นด้วยกับการขยายภาพคำเตือน โดยประชากรกลุ่มที่สูบบุหรี่เห็นว่า พื้นที่คำเตือน 85% มีประสิทธิผลสูงกว่าขนาด 55% ทุกด้าน ขณะที่กลุ่มผู้ที่เคยสูบบุหรี่แต่เลิกแล้วกับผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ การเพิ่มภาพคำเตือนทำให้คิดถึงอันตรายและพิษภัยบุหรี่เพิ่มขึ้น และทำให้ไม่คิดที่จะสูบบุหรี่สูงขึ้น
วันนี้ (25 ต.ค.) นายประวิน พัฒนะพงษ์ รองอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ กล่าวในงานสัมมนาเรื่อง “ร่วมกันสร้างสังคมไทยให้ปลอดบุหรี่” จัดโดยมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ร่วมกับ กรมประชาสัมพันธ์ ว่า นักประชาสัมพันธ์จังหวัดถือเป็นบุคคลและเป็นสื่อมวลชนที่มีความสำคัญในการที่จะสื่อสารข้อมูลสำคัญต่างๆ ไปยังประชาชน การมารวมพลังในงานนี้ถือเป็นโอกาสดีที่นักประชาสัมพันธ์จะพัฒนางานตัวเอง และสนับสนุนองค์ความรู้ต่างๆ ลงสู่ชุมชนมากขึ้น เพื่อแก้ปัญหาการสูบบุหรี่ในชุมชน ซึ่งจากข้อมูลล่าสุดพบว่า ร้อยละ 70 ของคนไทยที่สูบบุหรี่ หรือ 9 ล้านคนจาก 12.5 ล้านคน อาศัยอยู่นอกเขตเทศบาล
นายประวิน กล่าวอีกว่า กรมประชาสัมพันธ์ ต้องดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 17 เม.ย. 2555 ที่ให้กระทรวงวัฒนธรรม กรมประชาสัมพันธ์ และกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ปรับปรุงกฎหมายเพื่อห้ามมีฉลากสูบบุหรี่ และการส่งเสริมการตลาดด้วยวิธีความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจ ทางภาพยนตร์ โทรทัศน์และสื่อมวลชนต่างๆ และมีมาตรการส่งเสริมให้บุคคลสาธารณะ เช่น ดารา นักร้อง เป็นแบบอย่างที่ดีแก่สาธารณชน โดยการไม่สูบบุหรี่ในที่สาธารณะ ทั้งนี้ สถานการณ์การสูบบุหรี่ของคนไทยยังน่าเป็นห่วง โดยคนไทยสูบบุหรี่กว่า 12.5 ล้านคน และมีคนเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ปีละ 50,710 คน ตนจึงเห็นด้วยที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้ออกประกาศการเพิ่มคำเตือนบนซองบุหรี่ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น เพราะการใช้ภาพที่มีขนาดใหญ่รณรงค์ประชาสัมพันธ์ ถือว่าเป็นการประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพอย่างดี
ด้าน ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวว่า จากการที่บริษัทบุหรี่ยักษ์ใหญ่ข้ามชาติ ได้พยายามสกัดกั้นมาตรการควบคุมการบริโภคยาสูบของ สธ.โดยฟ้องต่อศาลปกครองให้ทุเลาและยกเลิกประกาศ ตนอยากฝากให้ประชาสัมพันธ์จังหวัดทุกแห่ง ช่วยกันเผยแพร่ข้อมูล การรณรงค์ให้ความจริงแก่สังคมและองค์กรต่างๆ ให้ตระหนักถึงกลยุทธ์ของบริษัทบุหรี่ ที่เข้ามาสกัดกั้นมาตรการเรื่องการเพิ่มขนาดคำเตือนบนซองบุหรี่ โดยอ้างว่าก่อความเสียหายแก่บริษัท ทั้งที่บริษัทเหล่านี้หาประโยชน์และทำกำไรจากการขายบุหรี่ ที่นำมาซึ่งโรคภัยร้ายแรง และก่อความสูญเสียต่อเศรษฐกิจของประเทศ
น.ส.บังอร ฤทธิภักดี ผู้อำนวยการเครือข่ายควบคุมการบริโภคยาสูบในอาเซียน กล่าวว่า การเพิ่มขนาดคำเตือนเป็น 85% เป็นมาตรการที่จำเป็นต่อไทย หากเราตั้งใจที่จะปกป้องลูกหลานไม่ให้ตกเป็นทาสของบุหรี่ โดยขณะนี้มีเด็กไทยเริ่มสูบบุหรี่ปีละ 250,000 คน หรือวันละ 685 คน ซึ่งหากติดบุหรี่แล้ว มีเพียงร้อยละ 27 เท่านั้นที่สามารถเลิกได้ก่อนที่จะป่วย ที่เหลือจะสูบต่อไปจนป่วยและตาย ซึ่งจากข้อมูลศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการขยายภาพคำเตือนบนซองบุหรี่ เมื่อเร็วๆ นี้ พบว่า ทั้งผู้สูบบุหรี่ ผู้เคยสูบแต่เลิกแล้ว และผู้ไม่สูบบุหรี่ ถึงร้อยละ 79.2 เห็นด้วยกับการขยายภาพคำเตือน โดยประชากรกลุ่มที่สูบบุหรี่เห็นว่า พื้นที่คำเตือน 85% มีประสิทธิผลสูงกว่าขนาด 55% ทุกด้าน ขณะที่กลุ่มผู้ที่เคยสูบบุหรี่แต่เลิกแล้วกับผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ การเพิ่มภาพคำเตือนทำให้คิดถึงอันตรายและพิษภัยบุหรี่เพิ่มขึ้น และทำให้ไม่คิดที่จะสูบบุหรี่สูงขึ้น