สมัชชาบุคลากรทางการศึกษาวอน “จาตุรนต์” รวมแท่งตำแหน่งเป็นแท่งวิชาการ ภายใต้ชื่อ “นักพัฒนาเพื่อการศึกษา” และเสนอแก้ กม.สร้างความเสมอภาคลดความเหลื่อมล้ำระหว่างบุคลากรฯ มาตรา 38 ค(1) และ 38 ค(2) ขณะที่ รมว.ศึกษาฯ ระบุต้องหารือด้วยเหตุผล ยันพร้อมส่งเสริมให้บุคลากรทางการศึกษามีความก้าวหน้ามั่นคงในอาชีพ
วันนี้ (24 ต.ค.) ที่หอประชุมคุรุสภา กลุ่มสมัชชาบุคลากรทางการศึกษา ประกอบด้วยข้าราชการในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กลุ่มบุคลากรทางการศึกษาอื่น ตามมาตรา 38 ค(2) พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2557 จำนวน 1,500 คน ได้จัดประชุมรวมพลัง “บุคลากรทางการศึกษา 38 ค(2)” เพื่อขับเคลื่อนพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดย นายชาญ คำภีระแปง ประธานสมัชชาบุคลากรทางการศึกษา กล่าวว่า การปฏิรูปการศึกษาช่วงที่ผ่านมานั้น รัฐบาลมีเจตนารมณ์ที่จะยกระดับวิชาชีพทางการศึกษา ประกอบด้วย ครู ผู้บริหารและบุคลากรทางการศึกษาให้เป็นวิชาชีพชั้นสูงเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ซึ่งคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ได้กำหนดให้ข้าราชการครู ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค(1) กำหนดให้ตำแหน่งศึกษานิเทศก์เป็นวิชาชีพควบคุมของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาและมีวิทยฐานะ ในขณะที่มาตรา 38 ค(2) กำหนดให้บุคลากรทางการศึกษาอื่น ให้ใช้ระบบตำแหน่งและบัญชีเงินเดือน ซึ่งก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำไม่เท่าเทียมในสถานะและตำแหน่งความก้าวหน้าและไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยเฉพาะส่งผลให้บุคลากรทางการศึกษารู้สึกขาดขวัญกำลังใจในการทำงานด้วย
เพราะฉะนั้น ทางกลุ่มสมัชชาบุคลากรทางการศึกษา จึงอยากเรียกร้องให้ช่วยเปิดเส้นทางการเติบโตในสายงานของบุคลากรทางการศึกษา โดยขอให้ รมว.ศึกษาธิการ ในฐานะประธาน ก.ค.ศ.มอบหมายให้ สำนักงาน ก.ค.ศ.รวบรวมแท่งตำแหน่ง เป็นแท่งวิชาการและกำหนดชื่อตำแหน่งเป็น “นักพัฒนาเพื่อการศึกษา” และเสนอให้แก้ไข พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูฯ และ พ.ร.บ.เงินเดือนเพื่อให้บุคลากรทางการศึกษาอื่น ตามมาตรา 38 ค(2) มีสิทธิเท่าเทียมกับบุคลากรทางการศึกษาอื่น ตามมาตรา 38 ค(1)
ด้าน นายจาตุรนต์ กล่าวว่า จะต้องหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพราะเป็นเรื่องสำคัญเกี่ยวข้องกับคนจำนวนมากและกรณีที่จะต้องไปเกี่ยวข้องกับวิทยฐานะตรงนี้ก็จะมีประเด็นที่จะเกี่ยวข้องกับกฎหมายหลายฉบับ เพราะฉะนั้นต้องหารือกันด้วยเหตุด้วยผล ทั้งนี้ บุคลากรทางการศึกษาอื่นนั้นถือเป็นกำลังสำคัญซึ่งตนเห็นว่าการส่งเสริมให้บุคลากรทางการศึกษาอื่นมีความมั่นคงในอาชีพและมีความก้าวหน้าสามารถทำงานได้เต็มศักยภาพก็เป็นเรื่องที่ต้องคิดหาทางส่งเสริม
ขณะที่ นางศิริพร กิจเกื้อกูล เลขาธิการ ก.ค.ศ.กล่าวว่า เกี่ยวกับเรื่องนี้จะต้องแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 3 ฉบับ คือ พ.ร.บ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อกำหนดตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นให้ที่มีวิทยาฐานะเช่นเดียวกับ ข้าราชการครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษาและศึกษานิเทศก์ ซึ่งหากสามารถแก้ไข พ.ร.บ.สภาครูฯได้แล้วจะต้องไปแก้ไข พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 ในมาตรา 38 ค(2) เพื่อยกเลิกการกำหนดตำแหน่งและการให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของบุคลากรทางการศึกษาอื่นไม่ต้องใช้ระเบียบข้าราชการพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดตำแหน่ง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าวจะต้องมีการหารือร่วมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง นั่นคือ ก.ค.ศ.สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)
วันนี้ (24 ต.ค.) ที่หอประชุมคุรุสภา กลุ่มสมัชชาบุคลากรทางการศึกษา ประกอบด้วยข้าราชการในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กลุ่มบุคลากรทางการศึกษาอื่น ตามมาตรา 38 ค(2) พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2557 จำนวน 1,500 คน ได้จัดประชุมรวมพลัง “บุคลากรทางการศึกษา 38 ค(2)” เพื่อขับเคลื่อนพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดย นายชาญ คำภีระแปง ประธานสมัชชาบุคลากรทางการศึกษา กล่าวว่า การปฏิรูปการศึกษาช่วงที่ผ่านมานั้น รัฐบาลมีเจตนารมณ์ที่จะยกระดับวิชาชีพทางการศึกษา ประกอบด้วย ครู ผู้บริหารและบุคลากรทางการศึกษาให้เป็นวิชาชีพชั้นสูงเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ซึ่งคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ได้กำหนดให้ข้าราชการครู ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค(1) กำหนดให้ตำแหน่งศึกษานิเทศก์เป็นวิชาชีพควบคุมของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาและมีวิทยฐานะ ในขณะที่มาตรา 38 ค(2) กำหนดให้บุคลากรทางการศึกษาอื่น ให้ใช้ระบบตำแหน่งและบัญชีเงินเดือน ซึ่งก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำไม่เท่าเทียมในสถานะและตำแหน่งความก้าวหน้าและไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยเฉพาะส่งผลให้บุคลากรทางการศึกษารู้สึกขาดขวัญกำลังใจในการทำงานด้วย
เพราะฉะนั้น ทางกลุ่มสมัชชาบุคลากรทางการศึกษา จึงอยากเรียกร้องให้ช่วยเปิดเส้นทางการเติบโตในสายงานของบุคลากรทางการศึกษา โดยขอให้ รมว.ศึกษาธิการ ในฐานะประธาน ก.ค.ศ.มอบหมายให้ สำนักงาน ก.ค.ศ.รวบรวมแท่งตำแหน่ง เป็นแท่งวิชาการและกำหนดชื่อตำแหน่งเป็น “นักพัฒนาเพื่อการศึกษา” และเสนอให้แก้ไข พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูฯ และ พ.ร.บ.เงินเดือนเพื่อให้บุคลากรทางการศึกษาอื่น ตามมาตรา 38 ค(2) มีสิทธิเท่าเทียมกับบุคลากรทางการศึกษาอื่น ตามมาตรา 38 ค(1)
ด้าน นายจาตุรนต์ กล่าวว่า จะต้องหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพราะเป็นเรื่องสำคัญเกี่ยวข้องกับคนจำนวนมากและกรณีที่จะต้องไปเกี่ยวข้องกับวิทยฐานะตรงนี้ก็จะมีประเด็นที่จะเกี่ยวข้องกับกฎหมายหลายฉบับ เพราะฉะนั้นต้องหารือกันด้วยเหตุด้วยผล ทั้งนี้ บุคลากรทางการศึกษาอื่นนั้นถือเป็นกำลังสำคัญซึ่งตนเห็นว่าการส่งเสริมให้บุคลากรทางการศึกษาอื่นมีความมั่นคงในอาชีพและมีความก้าวหน้าสามารถทำงานได้เต็มศักยภาพก็เป็นเรื่องที่ต้องคิดหาทางส่งเสริม
ขณะที่ นางศิริพร กิจเกื้อกูล เลขาธิการ ก.ค.ศ.กล่าวว่า เกี่ยวกับเรื่องนี้จะต้องแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 3 ฉบับ คือ พ.ร.บ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อกำหนดตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นให้ที่มีวิทยาฐานะเช่นเดียวกับ ข้าราชการครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษาและศึกษานิเทศก์ ซึ่งหากสามารถแก้ไข พ.ร.บ.สภาครูฯได้แล้วจะต้องไปแก้ไข พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 ในมาตรา 38 ค(2) เพื่อยกเลิกการกำหนดตำแหน่งและการให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของบุคลากรทางการศึกษาอื่นไม่ต้องใช้ระเบียบข้าราชการพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดตำแหน่ง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าวจะต้องมีการหารือร่วมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง นั่นคือ ก.ค.ศ.สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)