โดย : สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย
การเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยโรคเบาหวานอย่างต่อเนื่องในประชากรทั่วโลก และการรักษาที่ยังไม่ครอบคลุม ทำให้ในปี 2534 สหพันธ์เบาหวานนานาชาติ (International Diabetes Federation: IDF) และองค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ได้ร่วมกันกำหนดให้วันที่ 14 พ.ย.ของทุกปี เป็นวันเบาหวานโลก (World Diabetes Day) เพื่อเชิญชวนให้ทุกประเทศร่วมรณรงค์ปัญหาโรคเบาหวาน มีการจัดกิจกรรมวันเบาหวานโลกทุกปีต่อเนื่องมาตลอด
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ของปัญหากลับทวีมากขึ้น ไม่มีแนวโน้มที่จะหยุดหรือชะลอลง ทั้งนี้ IDF และประเทศสมาชิกกว่า 150 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย ได้เห็นพ้องว่าโรคเบาหวานเป็นปัญหาสาธารณสุขของทุกประเทศทั่วโลก เป็นโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง เป็นภาระทางเศรษฐกิจและสังคม จึงร่วมกันนำประเด็นโรคเบาหวานเข้าสู่ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติและสมัชชาได้ผ่านญัตติ เมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 2549 (UNR 61/225) ให้โรคเบาหวานเป็นปัญหาที่ทุกประเทศต้องให้ความสำคัญ ให้มีการดำเนินนโยบายจัดการและควบคุมโรคในระดับประเทศอย่างต่อเนื่อง และให้วันที่ 14 พ.ย. เป็นวันเบาหวานโลกที่เป็นทางการขององค์การสหประชาชาติด้วย
แม้มีการรณรงค์อย่างแพร่หลาย แต่ข้อมูลล่าสุดของ IDF พบว่า ขณะนี้ผู้ป่วยเบาหวานทั่วโลกมีจำนวนมากกว่า 371 ล้านคน หากไม่ดำเนินการใดๆ คาดว่าใน พ.ศ.2573 ผู้ป่วยเบาหวานจะเพิ่มขึ้นเป็น 552 ล้านคน โดยร้อยละ 80 ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมดเป็นประชากรในประเทศด้อยพัฒนาและประเทศกำลังพัฒนา สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มองเห็นถึงภัยเงียบของโรคเบาหวานซึ่งกำลังคุกคามสุขภาพประชาชนไทย เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ได้ประสานความร่วมมือกับองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รณรงค์ให้สังคมไทยตระหนักถึงภัยคุกคามจากโรคเบาหวาน
เพื่อให้การรณรงค์มีน้ำหนักและสอดคล้องกันทั่วโลก ในแต่ละปี IDF จะกำหนดหัวข้อ คำขวัญ ข้อมูลและภาพที่ต้องการสื่อสาร ส่งให้ประเทศสมาชิกนำไปสื่อสารสู่สาธารณะในบริบทของตน ให้มีการรับรู้อย่างทั่วถึงและสร้างความตื่นตัว ใน 5 ปีที่ผ่านมา ระหว่างปี พ.ศ.2552 - พ.ศ.2556 เรื่องที่รณรงค์คือ “Diabetes Education and Prevention” หรือ “การให้ความรู้และป้องกันโรคเบาหวาน” คำขวัญสำหรับปี 2556 คือ “พิทักษ์อนาคตไทย พ้นภัยเบาหวาน” ข้อความที่ต้องการสื่อสาร คือ จำนวนประชากรที่เป็นเบาหวานในขณะนี้ ผู้ที่เป็นเบาหวานแต่ไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคอยู่ ผลร้ายที่เกิดจากโรคเบาหวาน และ คนที่เป็นเบาหวานไม่ต่างจากคนทั่วไปต้องไม่แบ่งแยกออกจากสังคม
โรคเบาหวาน เกิดจากความผิดปกติของร่างกายที่ผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ไม่เพียงพอ หรือร่างกายเกิดภาวะดื้ออินซูลิน โดยปกติน้ำตาลจะเข้าสู่เซลล์และถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานภายใต้การควบคุมของฮอร์โมนอินซูลิน ดังนั้น การที่ร่างกายผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ หรือเกิดภาวะดื้ออินซูลิน ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นมากกว่าปกติ ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม ในระยะยาวจะทำลายเนื้อเยื่อทั่วร่างกาย หลอดเลือด ระบบประสาทส่วนปลาย และอวัยวะอื่นๆ นำไปสู่สภาวะแทรกซ้อนในอวัยวะต่างๆ ได้แก่ ตา ไต เส้นประสาทและสมอง หัวใจ หรือเกิดปัญหาที่เท้า รวมทั้งแผลเรื้อรังที่เกิดจากโรคเบาหวาน
สำหรับประชาชนทั่วไป สามารถป้องกันโรคเบาหวานได้เองง่ายๆ โดยใช้เคล็ดลับ “ใส่ใจ 3 อ.บอกลา 2 ส.ต้านโรคเบาหวาน” ประกอบด้วย ใส่ใจ 3 อ. ได้แก่ 1.อาหาร โดยเลือกรับประทานอาหารไม่หวานจัด มันน้อย เค็มน้อย รับประทานปริมาณเหมาะสม มีผักและผลไม้พอเหมาะ 2.ออกกำลังกาย ประมาณ 50-60 นาที อย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ หรือให้ได้ 150 นาทีต่อสัปดาห์ และ 3.อารมณ์ ทำจิตใจให้ผ่อนคลาย จัดการความเครียดอย่างเหมาะสม บอกลา 2 ส.ได้แก่ 1.งดสูบบุหรี่และหลีกเลี่ยงจากสถานที่ที่มีควันบุหรี่ และ 2.งดดื่มสุรา
สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน สามารถทำความรู้จักและเข้าใจโรค เรียนรู้ที่จะใช้ชีวิตอย่างมีความสุขได้โดยใช้เคล็ดลับเดียวกัน เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติหรือใกล้เคียง และลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ โดยรับคำแนะนำ / การรักษาโดยตรงกับแพทย์และทีมงาน ทำให้เกิดความสมดุลทั้งในด้านโภชนาการ การออกกำลังกาย และการใช้ยารักษา ควรเจาะเลือดตรวจระดับน้ำตาลในเลือดสม่ำเสมอ การกินยาบางชนิดหรือยาสมุนไพรอาจมีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนเลือกผลิตภัณฑ์ หรือยาเหล่านั้น เพื่อไม่ให้เกิดผลข้างเคียงในระยะยาว การรักษาที่ได้ผลตามเป้าหมายจะลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ก่อให้เกิดการเจ็บป่วย ความพิการ หรือเสียชีวิตก่อนวัยอันควร
การเกิดภาวะแทรกซ้อน ส่งผลให้เกิดความพิการทางด้านร่างกาย และกระทบต่อการประกอบอาชีพ รายได้ของผู้ป่วยและครอบครัว ประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปทุก ๆ 100 คนจะมีผู้เป็นเบาหวานถึง 7 คน ร้อยละ 95 ของผู้ป่วยโรคเบาหวานในประเทศไทยเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 จึงมีความจำเป็นที่คนไทยทุกคนต้องรู้จักโรคเบาหวาน ตระหนักถึงปัญหาและภัยของโรคเบาหวาน มีความตื่นตัวเรื่องการดูแลสุขภาพของตนเอง รู้วิธีป้องกันไม่ให้เกิดโรคเบาหวานขึ้น มีการตรวจค้นหาและวินิจฉัยโรคเบาหวานให้ได้เร็วที่สุด เพื่อให้ได้รับการดูแลรักษาอย่างเหมาะสมตั้งแต่ระยะเริ่มแรก รวมทั้งเพิ่มประสิทธิผลในการดูแลรักษาโรค ซึ่งจะช่วยลดอัตราความพิการ การเสียชีวิตที่เกิดจากโรคเบาหวาน ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และช่วยให้ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานมีคุณภาพชีวิตที่ดี ใกล้เคียงกับคนปกติทั่วไป
การเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยโรคเบาหวานอย่างต่อเนื่องในประชากรทั่วโลก และการรักษาที่ยังไม่ครอบคลุม ทำให้ในปี 2534 สหพันธ์เบาหวานนานาชาติ (International Diabetes Federation: IDF) และองค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ได้ร่วมกันกำหนดให้วันที่ 14 พ.ย.ของทุกปี เป็นวันเบาหวานโลก (World Diabetes Day) เพื่อเชิญชวนให้ทุกประเทศร่วมรณรงค์ปัญหาโรคเบาหวาน มีการจัดกิจกรรมวันเบาหวานโลกทุกปีต่อเนื่องมาตลอด
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ของปัญหากลับทวีมากขึ้น ไม่มีแนวโน้มที่จะหยุดหรือชะลอลง ทั้งนี้ IDF และประเทศสมาชิกกว่า 150 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย ได้เห็นพ้องว่าโรคเบาหวานเป็นปัญหาสาธารณสุขของทุกประเทศทั่วโลก เป็นโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง เป็นภาระทางเศรษฐกิจและสังคม จึงร่วมกันนำประเด็นโรคเบาหวานเข้าสู่ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติและสมัชชาได้ผ่านญัตติ เมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 2549 (UNR 61/225) ให้โรคเบาหวานเป็นปัญหาที่ทุกประเทศต้องให้ความสำคัญ ให้มีการดำเนินนโยบายจัดการและควบคุมโรคในระดับประเทศอย่างต่อเนื่อง และให้วันที่ 14 พ.ย. เป็นวันเบาหวานโลกที่เป็นทางการขององค์การสหประชาชาติด้วย
แม้มีการรณรงค์อย่างแพร่หลาย แต่ข้อมูลล่าสุดของ IDF พบว่า ขณะนี้ผู้ป่วยเบาหวานทั่วโลกมีจำนวนมากกว่า 371 ล้านคน หากไม่ดำเนินการใดๆ คาดว่าใน พ.ศ.2573 ผู้ป่วยเบาหวานจะเพิ่มขึ้นเป็น 552 ล้านคน โดยร้อยละ 80 ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมดเป็นประชากรในประเทศด้อยพัฒนาและประเทศกำลังพัฒนา สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มองเห็นถึงภัยเงียบของโรคเบาหวานซึ่งกำลังคุกคามสุขภาพประชาชนไทย เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ได้ประสานความร่วมมือกับองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รณรงค์ให้สังคมไทยตระหนักถึงภัยคุกคามจากโรคเบาหวาน
เพื่อให้การรณรงค์มีน้ำหนักและสอดคล้องกันทั่วโลก ในแต่ละปี IDF จะกำหนดหัวข้อ คำขวัญ ข้อมูลและภาพที่ต้องการสื่อสาร ส่งให้ประเทศสมาชิกนำไปสื่อสารสู่สาธารณะในบริบทของตน ให้มีการรับรู้อย่างทั่วถึงและสร้างความตื่นตัว ใน 5 ปีที่ผ่านมา ระหว่างปี พ.ศ.2552 - พ.ศ.2556 เรื่องที่รณรงค์คือ “Diabetes Education and Prevention” หรือ “การให้ความรู้และป้องกันโรคเบาหวาน” คำขวัญสำหรับปี 2556 คือ “พิทักษ์อนาคตไทย พ้นภัยเบาหวาน” ข้อความที่ต้องการสื่อสาร คือ จำนวนประชากรที่เป็นเบาหวานในขณะนี้ ผู้ที่เป็นเบาหวานแต่ไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคอยู่ ผลร้ายที่เกิดจากโรคเบาหวาน และ คนที่เป็นเบาหวานไม่ต่างจากคนทั่วไปต้องไม่แบ่งแยกออกจากสังคม
โรคเบาหวาน เกิดจากความผิดปกติของร่างกายที่ผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ไม่เพียงพอ หรือร่างกายเกิดภาวะดื้ออินซูลิน โดยปกติน้ำตาลจะเข้าสู่เซลล์และถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานภายใต้การควบคุมของฮอร์โมนอินซูลิน ดังนั้น การที่ร่างกายผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ หรือเกิดภาวะดื้ออินซูลิน ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นมากกว่าปกติ ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม ในระยะยาวจะทำลายเนื้อเยื่อทั่วร่างกาย หลอดเลือด ระบบประสาทส่วนปลาย และอวัยวะอื่นๆ นำไปสู่สภาวะแทรกซ้อนในอวัยวะต่างๆ ได้แก่ ตา ไต เส้นประสาทและสมอง หัวใจ หรือเกิดปัญหาที่เท้า รวมทั้งแผลเรื้อรังที่เกิดจากโรคเบาหวาน
สำหรับประชาชนทั่วไป สามารถป้องกันโรคเบาหวานได้เองง่ายๆ โดยใช้เคล็ดลับ “ใส่ใจ 3 อ.บอกลา 2 ส.ต้านโรคเบาหวาน” ประกอบด้วย ใส่ใจ 3 อ. ได้แก่ 1.อาหาร โดยเลือกรับประทานอาหารไม่หวานจัด มันน้อย เค็มน้อย รับประทานปริมาณเหมาะสม มีผักและผลไม้พอเหมาะ 2.ออกกำลังกาย ประมาณ 50-60 นาที อย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ หรือให้ได้ 150 นาทีต่อสัปดาห์ และ 3.อารมณ์ ทำจิตใจให้ผ่อนคลาย จัดการความเครียดอย่างเหมาะสม บอกลา 2 ส.ได้แก่ 1.งดสูบบุหรี่และหลีกเลี่ยงจากสถานที่ที่มีควันบุหรี่ และ 2.งดดื่มสุรา
สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน สามารถทำความรู้จักและเข้าใจโรค เรียนรู้ที่จะใช้ชีวิตอย่างมีความสุขได้โดยใช้เคล็ดลับเดียวกัน เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติหรือใกล้เคียง และลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ โดยรับคำแนะนำ / การรักษาโดยตรงกับแพทย์และทีมงาน ทำให้เกิดความสมดุลทั้งในด้านโภชนาการ การออกกำลังกาย และการใช้ยารักษา ควรเจาะเลือดตรวจระดับน้ำตาลในเลือดสม่ำเสมอ การกินยาบางชนิดหรือยาสมุนไพรอาจมีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนเลือกผลิตภัณฑ์ หรือยาเหล่านั้น เพื่อไม่ให้เกิดผลข้างเคียงในระยะยาว การรักษาที่ได้ผลตามเป้าหมายจะลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ก่อให้เกิดการเจ็บป่วย ความพิการ หรือเสียชีวิตก่อนวัยอันควร
การเกิดภาวะแทรกซ้อน ส่งผลให้เกิดความพิการทางด้านร่างกาย และกระทบต่อการประกอบอาชีพ รายได้ของผู้ป่วยและครอบครัว ประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปทุก ๆ 100 คนจะมีผู้เป็นเบาหวานถึง 7 คน ร้อยละ 95 ของผู้ป่วยโรคเบาหวานในประเทศไทยเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 จึงมีความจำเป็นที่คนไทยทุกคนต้องรู้จักโรคเบาหวาน ตระหนักถึงปัญหาและภัยของโรคเบาหวาน มีความตื่นตัวเรื่องการดูแลสุขภาพของตนเอง รู้วิธีป้องกันไม่ให้เกิดโรคเบาหวานขึ้น มีการตรวจค้นหาและวินิจฉัยโรคเบาหวานให้ได้เร็วที่สุด เพื่อให้ได้รับการดูแลรักษาอย่างเหมาะสมตั้งแต่ระยะเริ่มแรก รวมทั้งเพิ่มประสิทธิผลในการดูแลรักษาโรค ซึ่งจะช่วยลดอัตราความพิการ การเสียชีวิตที่เกิดจากโรคเบาหวาน ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และช่วยให้ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานมีคุณภาพชีวิตที่ดี ใกล้เคียงกับคนปกติทั่วไป