ผู้ประสบภัยแห่ใช้บริการแพทย์แผนไทย กรมฯจัดหน่วยแพทย์ออกสอนการทำ “ทิงเจอร์ข่า” ใช้รักษาโรคน้ำกัดเท้าได้ในครัวเรือน ชี้แค่ใช้เหง้าข่าแก่ตำให้ละเอียดทาบริเวณที่คันบ่อยๆ ช่วยได้ สามารถทำได้ด้วยตนเอง
นพ.ธวัชชัย กมลธรรม อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก (พทท.) กล่าวภายหลังนำหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ของกรมฯ ออกให้บริการประชาชนผู้ประสบอุทกภัย จ.ปราจีนบุรี ว่า ขณะนี้น้ำอยู่ในระดับทรงตัวและลดลง ปัญหาโรคที่ตามมา ได้แก่ โรคท้องเสีย น้ำกัดเท้า คันผิวหนัง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และภาวะเครียด ซึ่งการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ของกรม มีบริการตรวจรักษาด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์ทางเลือก (โฮมีโอพาธีย์) การแพทย์แผนจีนฝังเข็ม การนวดบำบัดอาการและเพื่อผ่อนคลาย โดยมีผู้มารับบริการนวดจำนวน 50 ราย ฝังเข็ม 10 ราย รับยาสมุนไพรจำนวน 600 ราย รับการให้ความรู้เรื่องการใช้สมุนไพรในครัวเรือนประยุกต์ ได้แก่ การทำทิงเจอร์ข่า จำนวน 1,300 ราย
นพ.ธวัชชัย กล่าวอีกว่า กรมฯได้ถ่ายทอดวิธีการนำสมุนไพรข่า มาทำทิงเจอร์ข่า และใบพลูสำหรับใช้ในการรักษาโรคน้ำกัดเท้า กลุ่มโรคผิวหนัง ผดผื่นคันจากน้ำและยุงกัด วิธีการใช้ข่า รักษาโรคจากเชื้อรา เช่น กลากเกลื้อน โรคน้ำกัดเท้า โดยใช้ส่วนเหง้าข่าแก่ เท่าหัวแม่มือ ตำให้ละเอียดผสมเหล้าโรง ทาบริเวณที่คันจากเชื้อราบ่อยๆ จนกว่าจะหาย เนื่องจากเหง้าข่ามีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งมีสารสำคัญที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อรา ต้านเชื้อแบคทีเรีย ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์และไม่เป็นพิษ สรรพคุณตามตำรายาไทย ใช้แก้อาการท้องอืด ขับลม โดยใช้ข่าสดขนาดเท่าหัวแม่มือต้มกับน้ำเดือด รินดื่ม กรณีฟกช้ำ บวม ใช้คั้นน้ำจากเหง้าแก่ ทาบริเวณที่เป็น ใบพลูก็เช่นกัน ใช้ตำหรือขยี้ผสมเหล้าโรงหรือแอลกอฮอล์ทาบริเวณที่เป็นผดผื่นคันหรือแมลงสัตว์กัดต่อย
“วิธีการทำดังกล่าวเป็นภูมิปัญญาที่ชาญฉลาดของบรรพบุรุษที่ใช้การพึ่งตนเอง ด้วยวัตถุดิบที่มีอยู่ใกล้ตัว อย่างไรก็ตาม ส่วนของการต่อยอดภูมิปัญญาเพื่อเข้าสู่กระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐานก็มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง” อธิบดี พทท.กล่าว
นพ.ธวัชชัย กมลธรรม อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก (พทท.) กล่าวภายหลังนำหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ของกรมฯ ออกให้บริการประชาชนผู้ประสบอุทกภัย จ.ปราจีนบุรี ว่า ขณะนี้น้ำอยู่ในระดับทรงตัวและลดลง ปัญหาโรคที่ตามมา ได้แก่ โรคท้องเสีย น้ำกัดเท้า คันผิวหนัง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และภาวะเครียด ซึ่งการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ของกรม มีบริการตรวจรักษาด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์ทางเลือก (โฮมีโอพาธีย์) การแพทย์แผนจีนฝังเข็ม การนวดบำบัดอาการและเพื่อผ่อนคลาย โดยมีผู้มารับบริการนวดจำนวน 50 ราย ฝังเข็ม 10 ราย รับยาสมุนไพรจำนวน 600 ราย รับการให้ความรู้เรื่องการใช้สมุนไพรในครัวเรือนประยุกต์ ได้แก่ การทำทิงเจอร์ข่า จำนวน 1,300 ราย
นพ.ธวัชชัย กล่าวอีกว่า กรมฯได้ถ่ายทอดวิธีการนำสมุนไพรข่า มาทำทิงเจอร์ข่า และใบพลูสำหรับใช้ในการรักษาโรคน้ำกัดเท้า กลุ่มโรคผิวหนัง ผดผื่นคันจากน้ำและยุงกัด วิธีการใช้ข่า รักษาโรคจากเชื้อรา เช่น กลากเกลื้อน โรคน้ำกัดเท้า โดยใช้ส่วนเหง้าข่าแก่ เท่าหัวแม่มือ ตำให้ละเอียดผสมเหล้าโรง ทาบริเวณที่คันจากเชื้อราบ่อยๆ จนกว่าจะหาย เนื่องจากเหง้าข่ามีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งมีสารสำคัญที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อรา ต้านเชื้อแบคทีเรีย ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์และไม่เป็นพิษ สรรพคุณตามตำรายาไทย ใช้แก้อาการท้องอืด ขับลม โดยใช้ข่าสดขนาดเท่าหัวแม่มือต้มกับน้ำเดือด รินดื่ม กรณีฟกช้ำ บวม ใช้คั้นน้ำจากเหง้าแก่ ทาบริเวณที่เป็น ใบพลูก็เช่นกัน ใช้ตำหรือขยี้ผสมเหล้าโรงหรือแอลกอฮอล์ทาบริเวณที่เป็นผดผื่นคันหรือแมลงสัตว์กัดต่อย
“วิธีการทำดังกล่าวเป็นภูมิปัญญาที่ชาญฉลาดของบรรพบุรุษที่ใช้การพึ่งตนเอง ด้วยวัตถุดิบที่มีอยู่ใกล้ตัว อย่างไรก็ตาม ส่วนของการต่อยอดภูมิปัญญาเพื่อเข้าสู่กระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐานก็มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง” อธิบดี พทท.กล่าว