ดีเดย์ 21 ต.ค.นี้ กทม.ลั่นห้ามจอดรถบนนถนน 10 สายที่รถติดมากสุดในกรุง หวังแก้ปัญหาการจราจร โดย กทม.ร่วมมือกับ บช.น.ชี้หากฝ่าฝืนจะยกรถออก โดยต้องเสียค่ายกรถ 500 บาท และค่าปรับ 500 บาทและหากไม่มารับรถทันทีต้องเสียค่าดูแลวันละ 200 บาทด้วย เตรียมประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจ 16-20 ต.ค.นี้
วันนี้ (14 ต.ค.) ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.) พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ประชุมร่วมกับ พล.ต.ต.อดุลย์ ณรงค์ศักดิ์ รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) รับผิดชอบงานจราจร พล.ต.ต.นิพนธ์ เจริญผล รอง ผบช.น. พล.ต.ต.จิรสันต์ แก้วแสงเอก ผบก.จร.นายวัลลภ สุวรรณดี ประธานที่ปรึกษาผู้ว่าฯกทม. พล.ต.ต.วิชัย สังข์ประไพ ที่ปรึกษาผู้ว่าฯ กทม.และเจ้าหน้าที่ตำรวจ ผู้อำนวยการเขตที่เกี่ยวข้อง เพื่อขับเคลื่อนแผนงานการพัฒนาและแก้ไขปัญหาระบบการจราจรในพื้นที่กรุงเทพฯ ในถนน 10 สาย ที่มีปัญหารถติดมากในที่สุดในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ 1.ถนนลาดพร้าว 2.ถนนพระราม 4 3.ถนนสุขุมวิท 4.ถนนรัชดาภิเษก 5.ถนนรามคำแหง 6.ถนนพหลโยธิน-ถนนเกษตรนวมินทร์ 7.ถนนสาทร 8.ถนนราชดำเนิน 9.ถนนเพชรบุรี และ 10.ถนนวิภาวดี-รังสิต
พล.ต.ต.อดุลย์ กล่าวว่า นโยบายการแก้ปัญหาจราจรในถนน 10 สาย อยู่ในพื้นที่ 19 เขต และในความรับผิดชอบสถานีตำรวจนครบาลทั้ง 32 แห่ง โดยได้มีการจัดกำลังเจ้าหน้าที่เพื่อเข้าดูแลถนนทั้ง 10 สาย เพื่อห้ามไม่ให้มีการจอดรถในที่ห้ามจอด ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุที่สร้างปัญหารถติด โดยตั้งแต่วันที่ 16-20 ตุลาคม จะเริ่มทำการประชาสัมพันธ์ในพื้นที่ ซึ่งหากพบการจอดรถผิดกฎหมายจะดำเนินการว่ากล่าวตักเตือน และตั้งแต่วันที่ 21 ตุลาคม เป็นต้นไป เป็นวันดีเดย์ ซึ่งจะใช้วิธียกรถออกจากพื้นที่ เพื่อไม่ให้กีดขวางการจราจร ตามความผิด พ.ร.บ.จราจร มาตรา 57 และ 59 ห้ามจอดในที่ห้าม ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท รวมทั้งเสียค่าเคลื่อนย้าย 500 บาท และค่าดูแลวันละ 200 บาท จากนั้นจะมีการประเมินทุกเดือน โดยจะมีพิธีเปิดโครงการวันที่ 18 ต.ค.ที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ซึ่งจะมีหลายหน่วยงานเข้าร่วม พร้อมมีรถยกมาสาธิตวิธีการยกรถที่จะไม่สร้างความเสียหายแก่รถ และวันที่ 21 ตุลาคม จะมีการปล่อยขบวนเจ้าหน้าที่ตำรวจออกตรวจยังพื้นที่ต่างๆ ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า
พล.ต.ต.อดุลย์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้เพื่อแก้ปัญหาจราจรให้ครอบคลุมทุกด้าน จะต้องมีการดำเนินการเชื่อมโยงสัญญาณไฟจราจร ปรับปรุงวิศวกรรมจราจร ติดตั้งเครื่องนับจำนวนรถบริเวณทางแยก และการออกใบสั่งอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งบางส่วนต้องขอการสนับสนุนจาก กทม.อีกทั้งต้องมีการร่วมมือจากทุกฝ่าย โดยประชาชนต้องมีส่วนร่วมในการรักษากฎหมาย ให้เป็นไปอย่างถูกต้อง ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ช่วยในการในการแบ่งเบาการทำงานของทางการได้
ด้าน พล.ต.อ.อัศวิน กล่าวว่า ตนมอบหมายให้ผู้อำนวยการเขตและสำนักเทศกิจ ร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ตำรวจประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้ทราบถึงโครงการดังกล่าว และขอให้เขตช่วยประสานสำนักการจราจรและขนส่ง ดำเนินการตีเส้นจราจรและป้ายจราจรต่างๆ ให้ชัดเจน และทำการปรับปรุงวิศวกรรมจราจรที่อยู่ในความรับผิดชอบ ซึ่งตนมั่นใจว่าโครงการดังกล่าวจะช่วยลบภาพที่กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่การจราจรตัดขัดมากที่สุดในโลกได้อย่างแน่นอน ส่วนในกรณีที่จะมีการแบ่งกำลังเจ้าหน้าที่เทศกิจเพื่อเข้ามาช่วยเหลือตำรวจจราจรในการปฏิบัติงานนั้น ตนเชื่อว่าจะไม่มีผลกระทบต่อหน้าที่หลักของเจ้าหน้าที่เทศกิจ ในการดูแลจัดระเบียบทางเท้าอย่างแน่นอน เนื่องจากเรื่องทางเท้าและท้องถนนเป็นสิ่งที่สัมพันธ์กัน จึงต้องช่วยกันทำควบคู่กันไป
วันนี้ (14 ต.ค.) ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.) พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ประชุมร่วมกับ พล.ต.ต.อดุลย์ ณรงค์ศักดิ์ รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) รับผิดชอบงานจราจร พล.ต.ต.นิพนธ์ เจริญผล รอง ผบช.น. พล.ต.ต.จิรสันต์ แก้วแสงเอก ผบก.จร.นายวัลลภ สุวรรณดี ประธานที่ปรึกษาผู้ว่าฯกทม. พล.ต.ต.วิชัย สังข์ประไพ ที่ปรึกษาผู้ว่าฯ กทม.และเจ้าหน้าที่ตำรวจ ผู้อำนวยการเขตที่เกี่ยวข้อง เพื่อขับเคลื่อนแผนงานการพัฒนาและแก้ไขปัญหาระบบการจราจรในพื้นที่กรุงเทพฯ ในถนน 10 สาย ที่มีปัญหารถติดมากในที่สุดในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ 1.ถนนลาดพร้าว 2.ถนนพระราม 4 3.ถนนสุขุมวิท 4.ถนนรัชดาภิเษก 5.ถนนรามคำแหง 6.ถนนพหลโยธิน-ถนนเกษตรนวมินทร์ 7.ถนนสาทร 8.ถนนราชดำเนิน 9.ถนนเพชรบุรี และ 10.ถนนวิภาวดี-รังสิต
พล.ต.ต.อดุลย์ กล่าวว่า นโยบายการแก้ปัญหาจราจรในถนน 10 สาย อยู่ในพื้นที่ 19 เขต และในความรับผิดชอบสถานีตำรวจนครบาลทั้ง 32 แห่ง โดยได้มีการจัดกำลังเจ้าหน้าที่เพื่อเข้าดูแลถนนทั้ง 10 สาย เพื่อห้ามไม่ให้มีการจอดรถในที่ห้ามจอด ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุที่สร้างปัญหารถติด โดยตั้งแต่วันที่ 16-20 ตุลาคม จะเริ่มทำการประชาสัมพันธ์ในพื้นที่ ซึ่งหากพบการจอดรถผิดกฎหมายจะดำเนินการว่ากล่าวตักเตือน และตั้งแต่วันที่ 21 ตุลาคม เป็นต้นไป เป็นวันดีเดย์ ซึ่งจะใช้วิธียกรถออกจากพื้นที่ เพื่อไม่ให้กีดขวางการจราจร ตามความผิด พ.ร.บ.จราจร มาตรา 57 และ 59 ห้ามจอดในที่ห้าม ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท รวมทั้งเสียค่าเคลื่อนย้าย 500 บาท และค่าดูแลวันละ 200 บาท จากนั้นจะมีการประเมินทุกเดือน โดยจะมีพิธีเปิดโครงการวันที่ 18 ต.ค.ที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ซึ่งจะมีหลายหน่วยงานเข้าร่วม พร้อมมีรถยกมาสาธิตวิธีการยกรถที่จะไม่สร้างความเสียหายแก่รถ และวันที่ 21 ตุลาคม จะมีการปล่อยขบวนเจ้าหน้าที่ตำรวจออกตรวจยังพื้นที่ต่างๆ ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า
พล.ต.ต.อดุลย์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้เพื่อแก้ปัญหาจราจรให้ครอบคลุมทุกด้าน จะต้องมีการดำเนินการเชื่อมโยงสัญญาณไฟจราจร ปรับปรุงวิศวกรรมจราจร ติดตั้งเครื่องนับจำนวนรถบริเวณทางแยก และการออกใบสั่งอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งบางส่วนต้องขอการสนับสนุนจาก กทม.อีกทั้งต้องมีการร่วมมือจากทุกฝ่าย โดยประชาชนต้องมีส่วนร่วมในการรักษากฎหมาย ให้เป็นไปอย่างถูกต้อง ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ช่วยในการในการแบ่งเบาการทำงานของทางการได้
ด้าน พล.ต.อ.อัศวิน กล่าวว่า ตนมอบหมายให้ผู้อำนวยการเขตและสำนักเทศกิจ ร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ตำรวจประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้ทราบถึงโครงการดังกล่าว และขอให้เขตช่วยประสานสำนักการจราจรและขนส่ง ดำเนินการตีเส้นจราจรและป้ายจราจรต่างๆ ให้ชัดเจน และทำการปรับปรุงวิศวกรรมจราจรที่อยู่ในความรับผิดชอบ ซึ่งตนมั่นใจว่าโครงการดังกล่าวจะช่วยลบภาพที่กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่การจราจรตัดขัดมากที่สุดในโลกได้อย่างแน่นอน ส่วนในกรณีที่จะมีการแบ่งกำลังเจ้าหน้าที่เทศกิจเพื่อเข้ามาช่วยเหลือตำรวจจราจรในการปฏิบัติงานนั้น ตนเชื่อว่าจะไม่มีผลกระทบต่อหน้าที่หลักของเจ้าหน้าที่เทศกิจ ในการดูแลจัดระเบียบทางเท้าอย่างแน่นอน เนื่องจากเรื่องทางเท้าและท้องถนนเป็นสิ่งที่สัมพันธ์กัน จึงต้องช่วยกันทำควบคู่กันไป