โดย... สุกัญญา แสงงาม
บ้านนับว่าเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในชีวิตคนเรา ทว่าสภาพบ้านของ ตาบุญมี เย็นสุข อายุ 65 ปี ชาวระยอง มีสภาพชำรุดทรุดโทรมจะพังมิพังแหล่ พื้นดินมีสภาพแฉะเนื่องจากมีน้ำไหลผ่าน โดยเฉพาะหน้าฝนจะมีสภาพท่วมเจิ่งนอง อีกทั้งสภาพร่างกายของตาบุญมี พิการและเคยเป็นอัมพฤษ์ ทำให้มือและขามีปัญหา เวลาเดินต้องอาศัยไม้เท้าช่วยพยุง
ตาบุญมี ช่วยเหลือตัวเองยังยากลำบาก คงไม่อาจฝืนสังขารหารายได้มาปรับปรุงที่อยู่อาศัย อย่างไรก็ตาม นับว่า ตาบุญมี ค่อนข้างโชคดี ที่การเคหะแห่งชาติ ครบรอบ 40 ปี มีโครงการปรับปรุงที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องเป็นผู้มีรายได้น้อย ผู้ด้อยโอกาส ซึ่ง ตาบุญมี เข้าข่ายและเป็นหนึ่งหลังที่การเคหะแห่งชาติ ปลูกบ้านให้ใหม่ อยู่ใกล้กับบ้านหลังเดิม
ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ประธานกรรมการการเคหะแห่งชาติ เล่าระหว่างพาคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่และเป็นสักขพยานมอบบ้านใหม่ ภายใต้ชื่อ “บ้านสบายเพื่อยายตา” จำนวน 8 หลัง ที่ จ.ระยอง ได้แก่ ยายเงิน วัย 83 ปี ตาทอง หาที่ถูก วัย 80 ปี ซึ่งเป็นพี่น้องกัน นายจำรัส เจริญรื่น อายุ 73 ปี นายโกมล มิ่งขวัญ อายุ 69 ปี นายบุญมี เย็นสุข อายุ 65 ปี นายสมบุญ ปาลศรี อายุ 75 ปี นางตา ตาสอน อายุ 80 ปี น.ส.เสาวนิตย์ เพ็งพูล อายุ 61 ปี นายดอกดิน มุกดาสนิท อายุ 83 ปี
ศ.ดร.สุชัชวีร์ เล่าให้ฟังว่า ที่ผ่านมาการเคหะแห่งชาติ ได้ดำเนินปรับปรุงที่พักอาศัยให้ผู้สูงอายุไปแล้ว 40 หลังใน 5 จังหวัด คือ เชียงใหม่ เพชรบุรี อำนาจเจริญ สงขลา และระยอง ทั้งนี้ กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปที่เป็นผู้ที่มีรายได้น้อย หรือผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาสทางสังคมอาศัยอยู่ในที่อยู่อาศัยที่ไม่เหมาะสมแก่การเอื้อต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดี
“ที่ผ่านมา การเคหะแห่งชาติ เข้าไปพัฒนาที่อยู่อาศัยเสร็จเรียบร้อย คนในชุมชน ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน อบต.อบจ.มักจะเข้ามาสนับสนุนระบบสาธารณูปโภค ตลอดจนของใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อให้คนสูงวัยเหล่านี้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น”
อย่างไรก็ตาม จากการเข้าไปปรับปรุงที่อยู่อาศัยให้ผู้สูงอายุแล้ว ทำให้การเคหะแห่งชาติได้เรียนรู้ว่าจะออกแบบอย่างไรที่เอื้ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เฒ่าผู้แก่แต่ละคน เพราะบางคนยังพอช่วยเหลือตนเองได้ บางคนช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ บางคนต้องนั่งวิลแชร์ ต้องทำทางลาดให้ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นบทเรียนในการออกแบบบ้านของการเคหะในอนาคต เพื่อรองรับผู้สูงอายุด้วย เพราะอีกไม่กี่ปีข้างหน้าไทยจะย่างเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป ในสัดส่วนเกิน 10% ของประชากรทั้งประเทศ แล้วปัญหาใหญ่ของผู้สูงอายุก็คือ หกล้มในบ้าน ซึ่งอุบัติเหตุนี้มักนำไปสู่ภาวะทุพพลภาพ ส่วนหนึ่งเป็นข้อบกพร่องของสภาพที่อยู่อาศัย ดังนั้น บ้านไหนมีคนสูงอายุจะต้องปรับปรุงที่อยู่ให้เหมาะสมด้วย
ด้าน ตาบุญมี พูดด้วยน้ำเสียงตื่นเต้นว่า ตอนที่เขาสร้างบ้าน ตาเดินไปเดินมา ระหว่างบ้านหลังเก่ากับหลังใหม่ ทุกวัน คือ ดีใจจนพูดไม่ถูก ไม่คิดว่าชีวิตนี้จะมีบ้าน เพราะลำพังค่าเบี้ยคนชรา กับคนพิการ รวมกันเดือนละพันบาทต้นๆ ส่วนมากจะนำเงินนี้มาซื้ออาหารและของใช้ที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน บางเดือนก็ไม่พอ โชคดีที่ยังมีญาติเขาคอยจุนเจือ และคอยดูแลเวลาพาไปหาหมอ
สำหรับโครงการ บ้านสบายเพื่อยายตา ในปี 2557 นั้น การเคหะแห่งชาติ มีเป้าหมายจะปรับปรุงบ้านให้คนเฒ่าคนแก่จำนวน 100 หลังคาเรือน ซึ่งใจจริงอยากให้ได้จำนวนมากกว่านี้ จึงอยากหาพันธมิตร ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน ตลอดจนกลุ่มจิตอาสา มาช่วยกันบริจาคอุปกรณ์ก่อสร้าง หรือออกแรง ปรับปรุงบ้านให้ยายตาใช้ชีวิตสุขสบายในปั้นปลาย
บ้านนับว่าเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในชีวิตคนเรา ทว่าสภาพบ้านของ ตาบุญมี เย็นสุข อายุ 65 ปี ชาวระยอง มีสภาพชำรุดทรุดโทรมจะพังมิพังแหล่ พื้นดินมีสภาพแฉะเนื่องจากมีน้ำไหลผ่าน โดยเฉพาะหน้าฝนจะมีสภาพท่วมเจิ่งนอง อีกทั้งสภาพร่างกายของตาบุญมี พิการและเคยเป็นอัมพฤษ์ ทำให้มือและขามีปัญหา เวลาเดินต้องอาศัยไม้เท้าช่วยพยุง
ตาบุญมี ช่วยเหลือตัวเองยังยากลำบาก คงไม่อาจฝืนสังขารหารายได้มาปรับปรุงที่อยู่อาศัย อย่างไรก็ตาม นับว่า ตาบุญมี ค่อนข้างโชคดี ที่การเคหะแห่งชาติ ครบรอบ 40 ปี มีโครงการปรับปรุงที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องเป็นผู้มีรายได้น้อย ผู้ด้อยโอกาส ซึ่ง ตาบุญมี เข้าข่ายและเป็นหนึ่งหลังที่การเคหะแห่งชาติ ปลูกบ้านให้ใหม่ อยู่ใกล้กับบ้านหลังเดิม
ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ประธานกรรมการการเคหะแห่งชาติ เล่าระหว่างพาคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่และเป็นสักขพยานมอบบ้านใหม่ ภายใต้ชื่อ “บ้านสบายเพื่อยายตา” จำนวน 8 หลัง ที่ จ.ระยอง ได้แก่ ยายเงิน วัย 83 ปี ตาทอง หาที่ถูก วัย 80 ปี ซึ่งเป็นพี่น้องกัน นายจำรัส เจริญรื่น อายุ 73 ปี นายโกมล มิ่งขวัญ อายุ 69 ปี นายบุญมี เย็นสุข อายุ 65 ปี นายสมบุญ ปาลศรี อายุ 75 ปี นางตา ตาสอน อายุ 80 ปี น.ส.เสาวนิตย์ เพ็งพูล อายุ 61 ปี นายดอกดิน มุกดาสนิท อายุ 83 ปี
ศ.ดร.สุชัชวีร์ เล่าให้ฟังว่า ที่ผ่านมาการเคหะแห่งชาติ ได้ดำเนินปรับปรุงที่พักอาศัยให้ผู้สูงอายุไปแล้ว 40 หลังใน 5 จังหวัด คือ เชียงใหม่ เพชรบุรี อำนาจเจริญ สงขลา และระยอง ทั้งนี้ กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปที่เป็นผู้ที่มีรายได้น้อย หรือผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาสทางสังคมอาศัยอยู่ในที่อยู่อาศัยที่ไม่เหมาะสมแก่การเอื้อต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดี
“ที่ผ่านมา การเคหะแห่งชาติ เข้าไปพัฒนาที่อยู่อาศัยเสร็จเรียบร้อย คนในชุมชน ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน อบต.อบจ.มักจะเข้ามาสนับสนุนระบบสาธารณูปโภค ตลอดจนของใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อให้คนสูงวัยเหล่านี้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น”
อย่างไรก็ตาม จากการเข้าไปปรับปรุงที่อยู่อาศัยให้ผู้สูงอายุแล้ว ทำให้การเคหะแห่งชาติได้เรียนรู้ว่าจะออกแบบอย่างไรที่เอื้ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เฒ่าผู้แก่แต่ละคน เพราะบางคนยังพอช่วยเหลือตนเองได้ บางคนช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ บางคนต้องนั่งวิลแชร์ ต้องทำทางลาดให้ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นบทเรียนในการออกแบบบ้านของการเคหะในอนาคต เพื่อรองรับผู้สูงอายุด้วย เพราะอีกไม่กี่ปีข้างหน้าไทยจะย่างเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป ในสัดส่วนเกิน 10% ของประชากรทั้งประเทศ แล้วปัญหาใหญ่ของผู้สูงอายุก็คือ หกล้มในบ้าน ซึ่งอุบัติเหตุนี้มักนำไปสู่ภาวะทุพพลภาพ ส่วนหนึ่งเป็นข้อบกพร่องของสภาพที่อยู่อาศัย ดังนั้น บ้านไหนมีคนสูงอายุจะต้องปรับปรุงที่อยู่ให้เหมาะสมด้วย
ด้าน ตาบุญมี พูดด้วยน้ำเสียงตื่นเต้นว่า ตอนที่เขาสร้างบ้าน ตาเดินไปเดินมา ระหว่างบ้านหลังเก่ากับหลังใหม่ ทุกวัน คือ ดีใจจนพูดไม่ถูก ไม่คิดว่าชีวิตนี้จะมีบ้าน เพราะลำพังค่าเบี้ยคนชรา กับคนพิการ รวมกันเดือนละพันบาทต้นๆ ส่วนมากจะนำเงินนี้มาซื้ออาหารและของใช้ที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน บางเดือนก็ไม่พอ โชคดีที่ยังมีญาติเขาคอยจุนเจือ และคอยดูแลเวลาพาไปหาหมอ
สำหรับโครงการ บ้านสบายเพื่อยายตา ในปี 2557 นั้น การเคหะแห่งชาติ มีเป้าหมายจะปรับปรุงบ้านให้คนเฒ่าคนแก่จำนวน 100 หลังคาเรือน ซึ่งใจจริงอยากให้ได้จำนวนมากกว่านี้ จึงอยากหาพันธมิตร ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน ตลอดจนกลุ่มจิตอาสา มาช่วยกันบริจาคอุปกรณ์ก่อสร้าง หรือออกแรง ปรับปรุงบ้านให้ยายตาใช้ชีวิตสุขสบายในปั้นปลาย