สังคมไทยเสื่อมหนัก!! ก่อเหตุทำร้ายผู้หญิง เด็ก เฉลี่ยทุก 20 นาที พบตบตีทำร้ายร่างกายมากสุดในผู้ใหญ่ ด้านเด็กน่าห่วงสุด ถูกข่มขืนคุกคามทางเพศหนัก สธ.ชี้พ่อตบตีแม่ส่งผลลูกเป็นกะเทยเป็นทอม และมีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง จี้พ่อแม่ช่วยสร้างครอบครัวให้เป็นสุข โดยเฉพาะเด็กแรกเกิดถึง 2 ขวบ
นายสรวงศ์ เทียนทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ความรุนแรงในเด็กและสตรีเป็นปัญหาที่นับวันจะยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น จากสถิติการให้บริการของศูนย์พึ่งได้ในโรงพยาบาลทั่วประเทศ ตั้งแต่ปี 2550-2554 มีเด็กและสตรีที่ถูกกระทำรุนแรงต้องส่งเข้ารับบริการจำนวน 117,506 ราย เฉลี่ยปีละ 23,501 ราย หรือก่อเหตุทุก 20 นาที ล่าสุดปี 2554 มีเด็กและสตรีถูกกระทำจำนวน 22,565 ราย เป็นเด็ก 11,491 ราย เป็นหญิงอายุ 18 ปีขึ้นไป 11,074 ราย โดยปัญหาที่พบในกลุ่มเด็กอันดับ 1 คือ การถูกล่วงละเมิดทางเพศ พบ 8,518 ราย รองลงมาคือทางร่างกาย 2,413 ราย และทางด้านจิตใจ 262 ราย ผู้ทำร้ายส่วนใหญ่คือคนรู้จัก สาเหตุหลักคือผู้กระทำได้รับแรงกระตุ้นจากสื่อลามก ความใกล้ชิดและโอกาสเอื้ออำนวย รองลงมาคือการดื่มสุรา ใช้สารเสพติด
นายสรวงศ์ กล่าวอีกว่า ส่วนการบาดเจ็บในกลุ่มผู้หญิงอายุ 18 ปีขึ้นไป อันดับ 1 คือการถูกกระทำต่อร่างกาย เช่น ถูกทุบตี 8,716 ราย ผู้ทำร้ายส่วนใหญ่เป็นผู้ใกล้ชิด เช่น สามี แฟน สาเหตุอันดับ 1 ได้แก่ การนอกใจ ทะเลาะ หึงหวง รองลงมาคือเมาสุรา และใช้สารเสพติดอื่นๆ ทั้งนี้ การกระทำรุนแรงส่วนใหญ่เกิดขึ้นในครอบครัว ซึ่งสังคมไทยยังมีความเชื่อว่าเป็นเรื่องส่วนตัว ไม่ควรเปิดเผยให้ใครทราบ และเด็กมักตกเป็นเหยื่อความรุนแรงได้ง่าย เพราะไม่รู้เท่าทันผู้ใหญ่ ไม่มีประสบการณ์ป้องกันตัวเอง และเด็กมักจะถูกขู่ไม่ให้บอกใคร หรือครอบครัวไม่ยอมให้เปิดเผยเพราะกลัวอับอาย จึงต้องเร่งกระตุ้นให้สังคมไทยเกิดความตระหนัก และร่วมกันแก้ไขป้องกัน
“สธ.ได้ตั้งศูนย์พึ่งได้ในโรงพยาบาลในสังกัดทั่วประเทศ ให้บริการแบบสหวิชาชาชีพและครบวงจร ทั้งด้านการแพทย์ ซึ่งให้การดูแลทั้งร่างกายและจิตใจ การสังคมสงเคราะห์ ด้านกฎหมาย จนถึงขณะนี้ดำเนินการครบ 100% ในโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไปรวม 95 แห่ง และโรงพยาบาลชุมชน ซึ่งมีทั้งหมด 743 แห่ง หากพบเด็กหรือสตรีถูกทำร้าย หรือเหตุการณ์ที่มีการทำร้ายรุนแรงเกิดขึ้น ขอให้โทรแจ้งที่หมายเลข 1669 ทันที จะส่งรถพยาบาลออกปฏิบัติการนำผู้ป่วยเข้ารับการดูแลที่โรงพยาบาลเครือข่ายใกล้ที่เกิดเหตุที่สุด ภายใน 15 นาที” รมช.สาธารณสุข กล่าว
ด้าน พญ.เบญจพร ปัญญายง ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก พบว่าทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากความรุนแรง 1.6 ล้านคน 1 ใน 5 เกิดขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ความรุนแรงดังกล่าวทำให้เสียชีวิต พิการ และบาดเจ็บ การตั้งครรภ์โดยไม่ได้ตั้งใจ เพิ่มอัตราการทำแท้ง โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคเอดส์ ภาวะกดดัน ยาเสพติด และแอลกอฮอล์ ทั้งนี้ จากข้อมูลระบบเฝ้าระวังการบาดเจ็บรุนแรงแห่งชาติ (IS) ปี พ.ศ. 2550-2555 พบว่า การบาดเจ็บรุนแรงในผู้หญิงเกิดจากการถูกทำร้ายโดยการใช้กำลังกาย รวมอาละวาด หรือต่อสู้โดยไม่ใช้อาวุธมากที่สุด ร้อยละ 32 หรือ 1 ใน 3 ของเหตุที่เกิดขึ้นทั้งหมด หากมีอาการมึนเมาทั้งคู่ การบาดเจ็บจะรุนแรงกว่า เนื่องจากขาดสติยั้งคิด รองลงมาคือการใช้อาวุธไม่มีคมร้อยละ 21 อาวุธมีคมร้อยละ 19 อาวุธปืนไม่ระบุชนิดร้อยละ 11 ไม่ระบุวิธี รวมลอบสังหาร ฆาตกรรม ร้อยละ 7 และข่มขืน ร้อยละ 4
พญ.เบญจพร กล่าวด้วยว่า จากการศึกษารายกรณีที่เป็นผู้ก่อความรุนแรง พบว่ามีประวัติอยู่ในครอบครัวที่ใช้ความรุนแรงมาก่อน หรืออาศัยอยู่ในสังคมแวดล้อมที่มีใช้ความรุนแรงในครอบครัว ทำให้ซึมซับพฤติกรรมรุนแรงและเกิดความเคยชิน เมื่อประสบปัญหาก็จะแก้ปัญหาด้วยวิธีรุนแรงก้าวร้าวเช่นกัน และหากพบว่าครอบครัวที่มีพ่อทำร้ายแม่ จะทำให้ลูกสาวมีพฤติกรรมเบี่ยงเบนมาทางชาย เนื่องจากไม่ต้องการให้ตนเองอ่อนแอเหมือนแม่ และมีพฤติกรรมก้าวร้าวปกป้องตนเองและแม่ไม่ให้ถูกทำร้าย ส่วนครอบครัวที่มีลูกชายก็จะมีพฤติกรรมกลายเป็นผู้หญิงแทน มีอาการเศร้าซึม เก็บตัว ไม่อยากเป็นผู้ชาย เพราะมองว่าผู้ชายชอบทำร้ายผู้หญิง
“การป้องกันปัญหาการใช้ความรุนแรง พ่อแม่จะต้องช่วยกันสร้างครอบครัวให้เป็นสุข และให้ความอบอุ่นแก่ลูกทุกคน สร้างความรักและความผูกพันกับลูกๆ โดยเฉพาะเด็กแรกเกิดถึง 2 ขวบ ซึ่งเป็นวัยที่ต้องพึ่งพาพ่อแม่และเป็นช่วงที่สมองของเด็กพัฒนามากที่สุด ในการอบรมลูกควรเลือกใช้วิธีอื่นแทนการเฆี่ยนตี เช่น ทำงานชดเชย งดเที่ยวเล่น เป็นต้น และไม่ควรใช้ความรุนแรงทั้งพฤติกรรมและวาจาต่อหน้าเด็ก แม้ว่าเด็กจะดูเหมือนว่ายังไม่รู้เรื่องก็ตาม สิ่งที่เด็กเห็นหรือสัมผัสจะฝังอยู่ใต้จิตสำนึกของเด็กตลอดไป” พญ.เบญจพร กล่าว
นายสรวงศ์ เทียนทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ความรุนแรงในเด็กและสตรีเป็นปัญหาที่นับวันจะยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น จากสถิติการให้บริการของศูนย์พึ่งได้ในโรงพยาบาลทั่วประเทศ ตั้งแต่ปี 2550-2554 มีเด็กและสตรีที่ถูกกระทำรุนแรงต้องส่งเข้ารับบริการจำนวน 117,506 ราย เฉลี่ยปีละ 23,501 ราย หรือก่อเหตุทุก 20 นาที ล่าสุดปี 2554 มีเด็กและสตรีถูกกระทำจำนวน 22,565 ราย เป็นเด็ก 11,491 ราย เป็นหญิงอายุ 18 ปีขึ้นไป 11,074 ราย โดยปัญหาที่พบในกลุ่มเด็กอันดับ 1 คือ การถูกล่วงละเมิดทางเพศ พบ 8,518 ราย รองลงมาคือทางร่างกาย 2,413 ราย และทางด้านจิตใจ 262 ราย ผู้ทำร้ายส่วนใหญ่คือคนรู้จัก สาเหตุหลักคือผู้กระทำได้รับแรงกระตุ้นจากสื่อลามก ความใกล้ชิดและโอกาสเอื้ออำนวย รองลงมาคือการดื่มสุรา ใช้สารเสพติด
นายสรวงศ์ กล่าวอีกว่า ส่วนการบาดเจ็บในกลุ่มผู้หญิงอายุ 18 ปีขึ้นไป อันดับ 1 คือการถูกกระทำต่อร่างกาย เช่น ถูกทุบตี 8,716 ราย ผู้ทำร้ายส่วนใหญ่เป็นผู้ใกล้ชิด เช่น สามี แฟน สาเหตุอันดับ 1 ได้แก่ การนอกใจ ทะเลาะ หึงหวง รองลงมาคือเมาสุรา และใช้สารเสพติดอื่นๆ ทั้งนี้ การกระทำรุนแรงส่วนใหญ่เกิดขึ้นในครอบครัว ซึ่งสังคมไทยยังมีความเชื่อว่าเป็นเรื่องส่วนตัว ไม่ควรเปิดเผยให้ใครทราบ และเด็กมักตกเป็นเหยื่อความรุนแรงได้ง่าย เพราะไม่รู้เท่าทันผู้ใหญ่ ไม่มีประสบการณ์ป้องกันตัวเอง และเด็กมักจะถูกขู่ไม่ให้บอกใคร หรือครอบครัวไม่ยอมให้เปิดเผยเพราะกลัวอับอาย จึงต้องเร่งกระตุ้นให้สังคมไทยเกิดความตระหนัก และร่วมกันแก้ไขป้องกัน
“สธ.ได้ตั้งศูนย์พึ่งได้ในโรงพยาบาลในสังกัดทั่วประเทศ ให้บริการแบบสหวิชาชาชีพและครบวงจร ทั้งด้านการแพทย์ ซึ่งให้การดูแลทั้งร่างกายและจิตใจ การสังคมสงเคราะห์ ด้านกฎหมาย จนถึงขณะนี้ดำเนินการครบ 100% ในโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไปรวม 95 แห่ง และโรงพยาบาลชุมชน ซึ่งมีทั้งหมด 743 แห่ง หากพบเด็กหรือสตรีถูกทำร้าย หรือเหตุการณ์ที่มีการทำร้ายรุนแรงเกิดขึ้น ขอให้โทรแจ้งที่หมายเลข 1669 ทันที จะส่งรถพยาบาลออกปฏิบัติการนำผู้ป่วยเข้ารับการดูแลที่โรงพยาบาลเครือข่ายใกล้ที่เกิดเหตุที่สุด ภายใน 15 นาที” รมช.สาธารณสุข กล่าว
ด้าน พญ.เบญจพร ปัญญายง ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก พบว่าทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากความรุนแรง 1.6 ล้านคน 1 ใน 5 เกิดขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ความรุนแรงดังกล่าวทำให้เสียชีวิต พิการ และบาดเจ็บ การตั้งครรภ์โดยไม่ได้ตั้งใจ เพิ่มอัตราการทำแท้ง โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคเอดส์ ภาวะกดดัน ยาเสพติด และแอลกอฮอล์ ทั้งนี้ จากข้อมูลระบบเฝ้าระวังการบาดเจ็บรุนแรงแห่งชาติ (IS) ปี พ.ศ. 2550-2555 พบว่า การบาดเจ็บรุนแรงในผู้หญิงเกิดจากการถูกทำร้ายโดยการใช้กำลังกาย รวมอาละวาด หรือต่อสู้โดยไม่ใช้อาวุธมากที่สุด ร้อยละ 32 หรือ 1 ใน 3 ของเหตุที่เกิดขึ้นทั้งหมด หากมีอาการมึนเมาทั้งคู่ การบาดเจ็บจะรุนแรงกว่า เนื่องจากขาดสติยั้งคิด รองลงมาคือการใช้อาวุธไม่มีคมร้อยละ 21 อาวุธมีคมร้อยละ 19 อาวุธปืนไม่ระบุชนิดร้อยละ 11 ไม่ระบุวิธี รวมลอบสังหาร ฆาตกรรม ร้อยละ 7 และข่มขืน ร้อยละ 4
พญ.เบญจพร กล่าวด้วยว่า จากการศึกษารายกรณีที่เป็นผู้ก่อความรุนแรง พบว่ามีประวัติอยู่ในครอบครัวที่ใช้ความรุนแรงมาก่อน หรืออาศัยอยู่ในสังคมแวดล้อมที่มีใช้ความรุนแรงในครอบครัว ทำให้ซึมซับพฤติกรรมรุนแรงและเกิดความเคยชิน เมื่อประสบปัญหาก็จะแก้ปัญหาด้วยวิธีรุนแรงก้าวร้าวเช่นกัน และหากพบว่าครอบครัวที่มีพ่อทำร้ายแม่ จะทำให้ลูกสาวมีพฤติกรรมเบี่ยงเบนมาทางชาย เนื่องจากไม่ต้องการให้ตนเองอ่อนแอเหมือนแม่ และมีพฤติกรรมก้าวร้าวปกป้องตนเองและแม่ไม่ให้ถูกทำร้าย ส่วนครอบครัวที่มีลูกชายก็จะมีพฤติกรรมกลายเป็นผู้หญิงแทน มีอาการเศร้าซึม เก็บตัว ไม่อยากเป็นผู้ชาย เพราะมองว่าผู้ชายชอบทำร้ายผู้หญิง
“การป้องกันปัญหาการใช้ความรุนแรง พ่อแม่จะต้องช่วยกันสร้างครอบครัวให้เป็นสุข และให้ความอบอุ่นแก่ลูกทุกคน สร้างความรักและความผูกพันกับลูกๆ โดยเฉพาะเด็กแรกเกิดถึง 2 ขวบ ซึ่งเป็นวัยที่ต้องพึ่งพาพ่อแม่และเป็นช่วงที่สมองของเด็กพัฒนามากที่สุด ในการอบรมลูกควรเลือกใช้วิธีอื่นแทนการเฆี่ยนตี เช่น ทำงานชดเชย งดเที่ยวเล่น เป็นต้น และไม่ควรใช้ความรุนแรงทั้งพฤติกรรมและวาจาต่อหน้าเด็ก แม้ว่าเด็กจะดูเหมือนว่ายังไม่รู้เรื่องก็ตาม สิ่งที่เด็กเห็นหรือสัมผัสจะฝังอยู่ใต้จิตสำนึกของเด็กตลอดไป” พญ.เบญจพร กล่าว