โรงพยาบาลอ่วม! พิษน้ำท่วมส่งผลให้ต้องปิดบริการชั่วคราวเพิ่มเป็น 14 แห่ง สธ.เตรียมเร่งฟื้นฟูด่วน ขณะที่ผู้ประสบภัยพบมีปัญหาสุขภาพจิตถึง 43 คน ส่วนยอดผู้เจ็บป่วยทั่วไปมี 4,892 คน เตือนกลุ่มมีโรคประจำตัวไม่ควรลุยน้ำตามลำพัง
วันนี้ (25 ก.ย.) นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ตนได้ให้ศูนย์ป้องกันและปฏิบัติการป้องกันและแก้ปัญหาสาธารณภัยด้านการแพทย์และสาธารณสุข หรือวอร์รูมช่วยเหลือน้ำท่วมของ สธ.ติดตามสถานการณ์น้ำท่วมอย่างใกล้ชิด และให้การสนับสนุนอุปกรณ์ ยาและเวชภัณฑ์แก่พื้นที่ได้รับรายงานว่าประสบอุทกภัย โดยได้จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่พร้อมยาเวชภัณฑ์ ออกให้การดูแลสุขภาพผู้ประสบภัย ทั้งด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิต รวมทั้งการเฝ้าระวังโรคที่มากับน้ำท่วมทุกวัน ล่าสุดได้ออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ทั้งหมด 165 ครั้ง พบผู้เจ็บป่วย 4,892 คน ส่วนใหญ่เป็นโรคน้ำกัดเท้า ไข้หวัด ให้บริการผู้มีปัญหาด้านสุขภาพจิต 43 คน ในจำนวนนี้พบผู้มีความเครียดในระดับมาก วิตกกังวล นอนไม่หลับ รวม 6 คน ได้ให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอาสาสมัครสาธารณสุข ติดตามดูแลอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ได้ออกเยี่ยมบ้าน 8 กลุ่มเสี่ยงที่อยู่ในพื้นที่น้ำท่วม ได้แก่ ผู้ป่วยเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคลมชัก ผู้ป่วยจิตเวช ผู้พิการและผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ หญิงตั้งครรภ์และหลังคลอดบุตร เพื่อติดตามอาการระหว่างที่การเดินทางไปสถานพยาบาลไม่สะดวก ป้องกันปัญหาขาดยา รวมทั้งหมด 5,679 คน ทุกคนอาการปกติ โดยได้แจกยาชุดน้ำท่วมเพื่อดูแลสุขภาพเบื้องต้นระหว่างน้ำท่วมทั้งหมด 33,311 ชุด
นพ.ประดิษฐ กล่าวด้วยว่า สำหรับผลกระทบของสถานบริการ มีหน่วยงานในสังกัดถูกน้ำท่วมทั้งหมด 20 แห่ง ประกอบด้วย โรงพยาบาล 3 แห่ง สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ 2 แห่ง ที่เหลือเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลรวม 15 แห่ง ในจำนวนนี้สามารถให้บริการตามปกติได้ 4 แห่ง ให้บริการได้บางส่วน 2 แห่ง และปิดบริการชั่วคราว 14 แห่ง ซึ่ง สธ.จะเร่งทำการฟื้นฟู เพื่อให้สามารถเปิดให้บริการประชาชนได้โดยเร็วที่สุด
“เนื่องจากขณะนี้น้ำท่วมกระจายเป็นวงกว้าง ประชาชนต้องเดินลุยน้ำและบางส่วนออกไปจับปลา จึงขอย้ำเตือนให้ผู้ที่มีโรคประจำตัว ที่สำคัญคือ โรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ลมชัก ให้หลีกเลี่ยงการเดินลุยน้ำตามลำพัง ไม่ควรออกไปหาปลา เนื่องจากหากเกิดอาการกำเริบ จะไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และเสี่ยงจมน้ำเสียชีวิตได้ง่ายกว่าคนทั่วไป” รมว.สาธารณสุข กล่าว
วันนี้ (25 ก.ย.) นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ตนได้ให้ศูนย์ป้องกันและปฏิบัติการป้องกันและแก้ปัญหาสาธารณภัยด้านการแพทย์และสาธารณสุข หรือวอร์รูมช่วยเหลือน้ำท่วมของ สธ.ติดตามสถานการณ์น้ำท่วมอย่างใกล้ชิด และให้การสนับสนุนอุปกรณ์ ยาและเวชภัณฑ์แก่พื้นที่ได้รับรายงานว่าประสบอุทกภัย โดยได้จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่พร้อมยาเวชภัณฑ์ ออกให้การดูแลสุขภาพผู้ประสบภัย ทั้งด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิต รวมทั้งการเฝ้าระวังโรคที่มากับน้ำท่วมทุกวัน ล่าสุดได้ออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ทั้งหมด 165 ครั้ง พบผู้เจ็บป่วย 4,892 คน ส่วนใหญ่เป็นโรคน้ำกัดเท้า ไข้หวัด ให้บริการผู้มีปัญหาด้านสุขภาพจิต 43 คน ในจำนวนนี้พบผู้มีความเครียดในระดับมาก วิตกกังวล นอนไม่หลับ รวม 6 คน ได้ให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอาสาสมัครสาธารณสุข ติดตามดูแลอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ได้ออกเยี่ยมบ้าน 8 กลุ่มเสี่ยงที่อยู่ในพื้นที่น้ำท่วม ได้แก่ ผู้ป่วยเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคลมชัก ผู้ป่วยจิตเวช ผู้พิการและผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ หญิงตั้งครรภ์และหลังคลอดบุตร เพื่อติดตามอาการระหว่างที่การเดินทางไปสถานพยาบาลไม่สะดวก ป้องกันปัญหาขาดยา รวมทั้งหมด 5,679 คน ทุกคนอาการปกติ โดยได้แจกยาชุดน้ำท่วมเพื่อดูแลสุขภาพเบื้องต้นระหว่างน้ำท่วมทั้งหมด 33,311 ชุด
นพ.ประดิษฐ กล่าวด้วยว่า สำหรับผลกระทบของสถานบริการ มีหน่วยงานในสังกัดถูกน้ำท่วมทั้งหมด 20 แห่ง ประกอบด้วย โรงพยาบาล 3 แห่ง สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ 2 แห่ง ที่เหลือเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลรวม 15 แห่ง ในจำนวนนี้สามารถให้บริการตามปกติได้ 4 แห่ง ให้บริการได้บางส่วน 2 แห่ง และปิดบริการชั่วคราว 14 แห่ง ซึ่ง สธ.จะเร่งทำการฟื้นฟู เพื่อให้สามารถเปิดให้บริการประชาชนได้โดยเร็วที่สุด
“เนื่องจากขณะนี้น้ำท่วมกระจายเป็นวงกว้าง ประชาชนต้องเดินลุยน้ำและบางส่วนออกไปจับปลา จึงขอย้ำเตือนให้ผู้ที่มีโรคประจำตัว ที่สำคัญคือ โรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ลมชัก ให้หลีกเลี่ยงการเดินลุยน้ำตามลำพัง ไม่ควรออกไปหาปลา เนื่องจากหากเกิดอาการกำเริบ จะไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และเสี่ยงจมน้ำเสียชีวิตได้ง่ายกว่าคนทั่วไป” รมว.สาธารณสุข กล่าว