ชาวเน็ตลือหึ่ง! พนักงานซีพีติดไข้หวัดนก สธ.ออกโรงป้อง ยันเสียงแข็งไม่มีใครป่วยไข้หวัดนกตั้งแต่ปี 2549 ชี้มีระบบเฝ้าระวังป้องกันดี เผยหนุ่มซีพีที่ป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลเท่านั้น ฝาก ปชช.ดูแลสุขภาพตัวเองให้แข็งแรง
วันนี้ (20 ก.ย.) นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีสื่อสังคมออนไลน์ปรากฏข่าวพนักงานตึกซีพีทาวเวอร์ กทม.ป่วยเป็นไข้หวัดนก ระหว่างการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขที่เมืองมัณฑะเลย์ สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า ว่า จากการตรวจสอบข้อมูลดังกล่าวพบว่าไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด พนักงานไม่ได้ลาป่วยมากกว่าปกติ คนที่ลาป่วยเป็นเพียงไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ชนิดเอ เอช1เอ็น1 โดย สธ.ได้ส่งทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วจากสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 ร่วมกับสำนักอนามัย กทม.ไปสอบสวนโรคไม่พบว่า การป่วยนั้นมีอาการเข้าได้กับไข้หวัดนกแต่อย่างใดจึงเป็นเพียงข่าวลือ ขอให้ประชาชนอย่าวิตกกังวล เพราะเรื่องไข้หวัดนกอยู่ในความดูแลของ สธ.กระทรวงเกษตรฯ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ มีระบบการเฝ้าระวังทั้งในสัตว์ปีกและในคน อย่างต่อเนื่องและเข้มแข็ง แม้ว่าประเทศไทยจะไม่พบผู้ป่วยไข้หวัดนกมาตั้งแต่ปี 2549 ก็ตาม
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า จากการเฝ้าระวังเครือข่ายงานสัตว์ปีกของกรมอุทยานสัตว์ป่าและพันธุ์พืชไม่พบข้อมูลไข้หวัดนกในสัตว์ปีกธรรมชาติและในสัตว์เลี้ยงซึ่งอยู่ในความดูแลของกรมปศุสัตว์ ขอให้ประชาชนโดยเฉพาะผู้เลี้ยงสัตว์ปีก สังเกตอาการของสัตว์ หากพบว่าผิดปกติ เช่น ป่วยตายไม่ทราบสาเหตุ ขอให้แจ้งปศุสัตว์ อาสาสมัครสาธารณสุขหรือผู้นำชุมชน ไม่นำสัตว์ปีกป่วยตายมาชำแหละประกอบอาหาร จำหน่าย และให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ปีกที่ป่วยตาย และยึดหลักกินร้อน ใช้ช้อนกลาง และหมั่นล้างมือบ่อยๆ
"ขอให้ประชาชนตระหนักในเรื่องนี้ให้มาก และฟังข่าวจาก สธ. ซึ่งขอยืนยันว่าไม่มีการติดเชื้อไข้หวัดนกใดๆ ทั้งสิ้น และขออย่าให้มีการปล่อยข่าวลือเช่นนี้อีก เพรราถือเป็นการทำลายการท่องเที่ยวอย่างมาก จากที่พุ่งขึ้น 20% อาจทรุดฮวบได้ ซึ่งตอนนี้รายได้จากการท่องเที่ยวกำลังช่วยพยุงรายได้จากการส่งออกที่ลดลงอยู่ ขออย่าปล่อยข่าวเล่นแบบนี้ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม" รมว.สาธารณสุข กล่าว
ด้าน นพ.ทรงยศ ชัยชนะรองปลัด สธ.กล่าวว่า ขอให้ประชาชนมั่นใจในระบบการเฝ้าระวังโรคของ สธ.ซึ่งจะมีทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว หรือเอสอาร์อาร์ที ลงไปควบคุมโรคทันที หากมีผู้ป่วยสงสัยป่วยเป็นไข้หวัดนกสายพันธุ์เอช5เอ็น1 หรือเอช5เอ็น7 และมีระบบการเฝ้าระวังครอบคลุมถึงระดับตำบล รายงานเมื่อพบสัตว์ปีก นก หรือไก่ตายผิดปกติ มายัง สธ.เพื่อประสานไปยังกระทรวงเกษตรฯ ตรวจสอบว่าเป็นไข้หวัดนกในสัตว์ปีกหรือไม่ ซึ่งในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมาไม่มีรายงานสัตว์ปีกตายผิดปกติแต่อย่างใด
“ ช่วงนี้เป็นช่วงฤดูฝน ขอให้ประชาชนดูแลสุขภาพโดยรักษาสุขภาพให้แข็งแรง ออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วย หากมีอาการไอหรือจามให้ใช้ผ้าหรือกระดาษทิชชูปิดปากและจมูก ผู้ป่วยควรสวมหน้ากากอนามัย หากสงสัยป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ คือ มีไข้สูง 2 วันแล้วยังไม่ดีขึ้น ไอมาก เจ็บหน้าอก หายใจเหนื่อย หอบ อ่อนเพลียมาก หรือในเด็กที่มีไข้สูง ร้องกวนมาก กินนม กินอาหารไม่ได้ อาเจียน ท้องเสีย ขอให้รีบไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน ซึ่งขณะนี้โรงพยาบาลทุกแห่ง มียาโอเซลทามิเวียร์รักษาไข้หวัดใหญ่ได้ นอกจากนี้ ขอให้ประชาชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่มีอาการรุนแรง โดยเฉพาะผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ได้แก่ โรคปอด หอบหืด โรคหัวใจ โรคไต เบาหวาน โรคเลือด ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ไปรับบริการฉีดวัคซีนได้ที่สถานบริการสาธารณสุขในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขใกล้บ้าน” รองปลัด สธ.กล่าว
นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ยืนยันว่าไม่มีผู้ป่วยไข้หวัดนก มีผู้ป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ เพียง 1 ราย เป็นชายอายุ 30 ปี มีอาการปวดศีรษะ เป็นไข้ไปตรวจที่ห้องพยาบาล และได้มีการทำความสะอาดห้องพยาบาลหลังพบผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่เพื่อป้องกันโรคติดต่อต่างๆ ตามมาตรฐานปกติ อาจทำให้คนที่พบเห็นเข้าใจผิด และมีการส่งต่อทางโซเชียลเน็ตเวิร์กคนไข้รายนี้ตรวจสายพันธุ์แล้วยืนยันไม่ใช่หวัดนก และขณะนี้อาการดีขึ้นแล้ว ทั้งนี้ หากประชาชนมีข้อสงสัยสามารถโทร.ปรึกษาสายด่วนกรมควบคุมโรค หมายเลข 1422 ตลอด 24 ชั่วโมง
อนึ้ง ข้อมูลการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่ของสำนักระบาดวิทยาในปี 2556 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 10 กันยายน พบผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ จำนวน 29,824 ราย ในจำนวนนี้ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการพบเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ชนิดเอ เอช1เอ็น1 จำนวน 222 ราย ชนิดเอ ที่ไม่ได้ตรวจระบุสายพันธุ์ 2,275 ราย ชนิดบี 273 ราย ชนิดเอ เอช1 จำนวน 27 ราย ชนิดเอ เอช3 จำนวน 10 ราย และไม่มีผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ 26,517 ราย ซึ่งขณะนี้ไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ เอช1เอ็น1 เป็นไข้หวัดตามฤดูกาลที่พบได้ทั่วไป
วันนี้ (20 ก.ย.) นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีสื่อสังคมออนไลน์ปรากฏข่าวพนักงานตึกซีพีทาวเวอร์ กทม.ป่วยเป็นไข้หวัดนก ระหว่างการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขที่เมืองมัณฑะเลย์ สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า ว่า จากการตรวจสอบข้อมูลดังกล่าวพบว่าไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด พนักงานไม่ได้ลาป่วยมากกว่าปกติ คนที่ลาป่วยเป็นเพียงไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ชนิดเอ เอช1เอ็น1 โดย สธ.ได้ส่งทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วจากสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 ร่วมกับสำนักอนามัย กทม.ไปสอบสวนโรคไม่พบว่า การป่วยนั้นมีอาการเข้าได้กับไข้หวัดนกแต่อย่างใดจึงเป็นเพียงข่าวลือ ขอให้ประชาชนอย่าวิตกกังวล เพราะเรื่องไข้หวัดนกอยู่ในความดูแลของ สธ.กระทรวงเกษตรฯ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ มีระบบการเฝ้าระวังทั้งในสัตว์ปีกและในคน อย่างต่อเนื่องและเข้มแข็ง แม้ว่าประเทศไทยจะไม่พบผู้ป่วยไข้หวัดนกมาตั้งแต่ปี 2549 ก็ตาม
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า จากการเฝ้าระวังเครือข่ายงานสัตว์ปีกของกรมอุทยานสัตว์ป่าและพันธุ์พืชไม่พบข้อมูลไข้หวัดนกในสัตว์ปีกธรรมชาติและในสัตว์เลี้ยงซึ่งอยู่ในความดูแลของกรมปศุสัตว์ ขอให้ประชาชนโดยเฉพาะผู้เลี้ยงสัตว์ปีก สังเกตอาการของสัตว์ หากพบว่าผิดปกติ เช่น ป่วยตายไม่ทราบสาเหตุ ขอให้แจ้งปศุสัตว์ อาสาสมัครสาธารณสุขหรือผู้นำชุมชน ไม่นำสัตว์ปีกป่วยตายมาชำแหละประกอบอาหาร จำหน่าย และให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ปีกที่ป่วยตาย และยึดหลักกินร้อน ใช้ช้อนกลาง และหมั่นล้างมือบ่อยๆ
"ขอให้ประชาชนตระหนักในเรื่องนี้ให้มาก และฟังข่าวจาก สธ. ซึ่งขอยืนยันว่าไม่มีการติดเชื้อไข้หวัดนกใดๆ ทั้งสิ้น และขออย่าให้มีการปล่อยข่าวลือเช่นนี้อีก เพรราถือเป็นการทำลายการท่องเที่ยวอย่างมาก จากที่พุ่งขึ้น 20% อาจทรุดฮวบได้ ซึ่งตอนนี้รายได้จากการท่องเที่ยวกำลังช่วยพยุงรายได้จากการส่งออกที่ลดลงอยู่ ขออย่าปล่อยข่าวเล่นแบบนี้ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม" รมว.สาธารณสุข กล่าว
ด้าน นพ.ทรงยศ ชัยชนะรองปลัด สธ.กล่าวว่า ขอให้ประชาชนมั่นใจในระบบการเฝ้าระวังโรคของ สธ.ซึ่งจะมีทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว หรือเอสอาร์อาร์ที ลงไปควบคุมโรคทันที หากมีผู้ป่วยสงสัยป่วยเป็นไข้หวัดนกสายพันธุ์เอช5เอ็น1 หรือเอช5เอ็น7 และมีระบบการเฝ้าระวังครอบคลุมถึงระดับตำบล รายงานเมื่อพบสัตว์ปีก นก หรือไก่ตายผิดปกติ มายัง สธ.เพื่อประสานไปยังกระทรวงเกษตรฯ ตรวจสอบว่าเป็นไข้หวัดนกในสัตว์ปีกหรือไม่ ซึ่งในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมาไม่มีรายงานสัตว์ปีกตายผิดปกติแต่อย่างใด
“ ช่วงนี้เป็นช่วงฤดูฝน ขอให้ประชาชนดูแลสุขภาพโดยรักษาสุขภาพให้แข็งแรง ออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วย หากมีอาการไอหรือจามให้ใช้ผ้าหรือกระดาษทิชชูปิดปากและจมูก ผู้ป่วยควรสวมหน้ากากอนามัย หากสงสัยป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ คือ มีไข้สูง 2 วันแล้วยังไม่ดีขึ้น ไอมาก เจ็บหน้าอก หายใจเหนื่อย หอบ อ่อนเพลียมาก หรือในเด็กที่มีไข้สูง ร้องกวนมาก กินนม กินอาหารไม่ได้ อาเจียน ท้องเสีย ขอให้รีบไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน ซึ่งขณะนี้โรงพยาบาลทุกแห่ง มียาโอเซลทามิเวียร์รักษาไข้หวัดใหญ่ได้ นอกจากนี้ ขอให้ประชาชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่มีอาการรุนแรง โดยเฉพาะผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ได้แก่ โรคปอด หอบหืด โรคหัวใจ โรคไต เบาหวาน โรคเลือด ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ไปรับบริการฉีดวัคซีนได้ที่สถานบริการสาธารณสุขในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขใกล้บ้าน” รองปลัด สธ.กล่าว
นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ยืนยันว่าไม่มีผู้ป่วยไข้หวัดนก มีผู้ป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ เพียง 1 ราย เป็นชายอายุ 30 ปี มีอาการปวดศีรษะ เป็นไข้ไปตรวจที่ห้องพยาบาล และได้มีการทำความสะอาดห้องพยาบาลหลังพบผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่เพื่อป้องกันโรคติดต่อต่างๆ ตามมาตรฐานปกติ อาจทำให้คนที่พบเห็นเข้าใจผิด และมีการส่งต่อทางโซเชียลเน็ตเวิร์กคนไข้รายนี้ตรวจสายพันธุ์แล้วยืนยันไม่ใช่หวัดนก และขณะนี้อาการดีขึ้นแล้ว ทั้งนี้ หากประชาชนมีข้อสงสัยสามารถโทร.ปรึกษาสายด่วนกรมควบคุมโรค หมายเลข 1422 ตลอด 24 ชั่วโมง
อนึ้ง ข้อมูลการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่ของสำนักระบาดวิทยาในปี 2556 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 10 กันยายน พบผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ จำนวน 29,824 ราย ในจำนวนนี้ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการพบเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ชนิดเอ เอช1เอ็น1 จำนวน 222 ราย ชนิดเอ ที่ไม่ได้ตรวจระบุสายพันธุ์ 2,275 ราย ชนิดบี 273 ราย ชนิดเอ เอช1 จำนวน 27 ราย ชนิดเอ เอช3 จำนวน 10 ราย และไม่มีผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ 26,517 ราย ซึ่งขณะนี้ไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ เอช1เอ็น1 เป็นไข้หวัดตามฤดูกาลที่พบได้ทั่วไป