กระทรวงสาธารณสุข เตือนประชาชนภาคกลาง และภาคใต้ระวังโรคพิษสุนัขบ้า ปีนี้มียอดผู้เสียชีวิตแล้ว 6 ราย ขณะที่ปีที่ผ่านมาตลอดทั้งปีมีผู้เสียชีวิตเพียง 4 ราย
วันนี้ (7 ก.ย.) นายสรวงศ์ เทียนทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายให้ประเทศไทยปลอดจากโรคพิษสุนัขบ้า ภายในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) ตามข้อตกลงร่วมกันในการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียน สำหรับประเทศไทย ได้มีการดำเนินงานร่วมกันระหว่างกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย และกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้ประเทศไทยปลอดจากโรคพิษสุนัขบ้า โดยเน้นการดูแลรักษาผู้ที่สงสัยได้รับเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าทุกราย ต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้องครบถ้วน รวดเร็ว ในเดือนกันยายนนี้ประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพในการประชุมโรคพิษสุนัขบ้านานาชาติ ครั้งที่ 4 (The 4tH Rabies in Asia Conference : RIACON 2013) ณ โรงแรมชาเทรียม โฮเต็ล ริเวอร์ไซด์ กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 11 - 13 กันยายน 2556 เพื่อนำความรู้และประสบการณ์ รวมทั้งนวตกรรม ความสำเร็จในการป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อนำไปสู่การกำจัดโรคให้หมดไปจากพื้นที่ (Road to Rabies Free) ในภูมิภาคเอเชียตามเป้าหมายให้ได้
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทย มีผู้เสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้าลดลงมาก จากปีที่สูงสุดใน พ.ศ. 2523 มีผู้เสียชีวิต 370 ราย ต่อมาทุก 10 ปี คือ พ.ศ. 2533, 2543, 2553 พบผู้เสียชีวิตลดลงตามลำดับ 185, 50 และ 15 ราย ในปี พ.ศ. 2554 และ 2555 พบผู้เสียชีวิตเหลือ 8 รายและ 4 ราย ตามลำดับ แต่ในปี พ.ศ. 2556 นี้ ตั้งแต่ 1 มกราคม -5 กันยายน พบผู้เสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้าแล้ว 6 ราย ในอำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี 2 ราย อำเภอขุขันธ์ จ.ศรีษะเกษ อำเภอแก่งคอย จ.สระบุรี อ.ตาพะยา จ.สระแก้ว อำเภอสะเดา จ.สงขลา แห่งละ 1 ราย ซึ่งชี้ให้เห็นว่าภาคกลางและภาคใต้ สถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้าน่าเป็นห่วง ต้องเร่งรัดฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในสุนัขและแมว และต้องขอความร่วมมือประชาชนในพื้นที่ ช่วยสอดส่องดูแลสุนัข แมว เนื่องจากระยะหลังพบว่าสัตว์เลี้ยงเป็นสาเหตุของโรคพิษสุนัขบ้าในคนมากกว่าสุนัขจรจัด หากประชาชนถูกสุนัขกัดให้รีบล้างแผลด้วยน้ำและสบู่ ใส่ยาใส่แผลสด และรีบไปพบแพทย์ รวมทั้งเฝ้าระวังสุนัข แมว ที่มากัดเป็นเวลา 10 วัน หากสัตว์ตายระหว่างดูอาการ ให้แจ้งปศุสัตว์ในพื้นที่เพื่อตัดหัวสุนัขส่งตรวจหาเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า และทำการป้องกัน ควบคุมโรคในชุมชน หากไม่มีการดำเนินการร่วมกันระหว่างประชาชนและเจ้าหน้าที่แล้ว จะทำให้โรคพิษสุนัขบ้า แพร่กระจายระบาดอยู่ในชุมชนนั้น และชุมชนใกล้เคียง และอาจมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น
สำหรับการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้านั้น ควรปฏิบัติตามคำแนะนำ 5 ย ได้แก่ อย่าแหย่ อย่าเหยียบ อย่าแยก อย่าหยิบ อย่ายุ่ง กล่าวคือ อย่าแหย่ให้สุนัขโมโห อย่าเหยียบสุนัข (หาง ตัว ขา) หรือทำให้สุนัขตกใจ อย่าแยกสุนัขที่กำลังกัดกันด้วยมือเปล่า อย่าหยิบชามอาหารขณะสุนัขกำลังกินและอย่ายุ่งกับสุนัขนอกบ้านที่ไม่ทราบประวัติ และที่สำคัญคือ โรคนี้เป็นแล้วตายทุกราย ไม่มียารักษา สามารถป้องกันได้ด้วยการนำสุนัขทุกตัวไปรับการฉีดวัคซีนและในวันที่ 21 กันยายน 2556 จะมีการจัดรณรงค์ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า เนื่องในโอกาส วันป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าโลก ณ ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ งามวงศ์วาน นนทบุรี หากมีข้อสงสัยสอบถามได้ที่ศูนย์บริการข้อมูลฮอตไลน์ 1422 หรือ ศูนย์ปฏิบัติการกรมควบคุมโรค 02-590 3333
วันนี้ (7 ก.ย.) นายสรวงศ์ เทียนทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายให้ประเทศไทยปลอดจากโรคพิษสุนัขบ้า ภายในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) ตามข้อตกลงร่วมกันในการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียน สำหรับประเทศไทย ได้มีการดำเนินงานร่วมกันระหว่างกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย และกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้ประเทศไทยปลอดจากโรคพิษสุนัขบ้า โดยเน้นการดูแลรักษาผู้ที่สงสัยได้รับเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าทุกราย ต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้องครบถ้วน รวดเร็ว ในเดือนกันยายนนี้ประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพในการประชุมโรคพิษสุนัขบ้านานาชาติ ครั้งที่ 4 (The 4tH Rabies in Asia Conference : RIACON 2013) ณ โรงแรมชาเทรียม โฮเต็ล ริเวอร์ไซด์ กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 11 - 13 กันยายน 2556 เพื่อนำความรู้และประสบการณ์ รวมทั้งนวตกรรม ความสำเร็จในการป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อนำไปสู่การกำจัดโรคให้หมดไปจากพื้นที่ (Road to Rabies Free) ในภูมิภาคเอเชียตามเป้าหมายให้ได้
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทย มีผู้เสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้าลดลงมาก จากปีที่สูงสุดใน พ.ศ. 2523 มีผู้เสียชีวิต 370 ราย ต่อมาทุก 10 ปี คือ พ.ศ. 2533, 2543, 2553 พบผู้เสียชีวิตลดลงตามลำดับ 185, 50 และ 15 ราย ในปี พ.ศ. 2554 และ 2555 พบผู้เสียชีวิตเหลือ 8 รายและ 4 ราย ตามลำดับ แต่ในปี พ.ศ. 2556 นี้ ตั้งแต่ 1 มกราคม -5 กันยายน พบผู้เสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้าแล้ว 6 ราย ในอำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี 2 ราย อำเภอขุขันธ์ จ.ศรีษะเกษ อำเภอแก่งคอย จ.สระบุรี อ.ตาพะยา จ.สระแก้ว อำเภอสะเดา จ.สงขลา แห่งละ 1 ราย ซึ่งชี้ให้เห็นว่าภาคกลางและภาคใต้ สถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้าน่าเป็นห่วง ต้องเร่งรัดฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในสุนัขและแมว และต้องขอความร่วมมือประชาชนในพื้นที่ ช่วยสอดส่องดูแลสุนัข แมว เนื่องจากระยะหลังพบว่าสัตว์เลี้ยงเป็นสาเหตุของโรคพิษสุนัขบ้าในคนมากกว่าสุนัขจรจัด หากประชาชนถูกสุนัขกัดให้รีบล้างแผลด้วยน้ำและสบู่ ใส่ยาใส่แผลสด และรีบไปพบแพทย์ รวมทั้งเฝ้าระวังสุนัข แมว ที่มากัดเป็นเวลา 10 วัน หากสัตว์ตายระหว่างดูอาการ ให้แจ้งปศุสัตว์ในพื้นที่เพื่อตัดหัวสุนัขส่งตรวจหาเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า และทำการป้องกัน ควบคุมโรคในชุมชน หากไม่มีการดำเนินการร่วมกันระหว่างประชาชนและเจ้าหน้าที่แล้ว จะทำให้โรคพิษสุนัขบ้า แพร่กระจายระบาดอยู่ในชุมชนนั้น และชุมชนใกล้เคียง และอาจมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น
สำหรับการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้านั้น ควรปฏิบัติตามคำแนะนำ 5 ย ได้แก่ อย่าแหย่ อย่าเหยียบ อย่าแยก อย่าหยิบ อย่ายุ่ง กล่าวคือ อย่าแหย่ให้สุนัขโมโห อย่าเหยียบสุนัข (หาง ตัว ขา) หรือทำให้สุนัขตกใจ อย่าแยกสุนัขที่กำลังกัดกันด้วยมือเปล่า อย่าหยิบชามอาหารขณะสุนัขกำลังกินและอย่ายุ่งกับสุนัขนอกบ้านที่ไม่ทราบประวัติ และที่สำคัญคือ โรคนี้เป็นแล้วตายทุกราย ไม่มียารักษา สามารถป้องกันได้ด้วยการนำสุนัขทุกตัวไปรับการฉีดวัคซีนและในวันที่ 21 กันยายน 2556 จะมีการจัดรณรงค์ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า เนื่องในโอกาส วันป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าโลก ณ ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ งามวงศ์วาน นนทบุรี หากมีข้อสงสัยสอบถามได้ที่ศูนย์บริการข้อมูลฮอตไลน์ 1422 หรือ ศูนย์ปฏิบัติการกรมควบคุมโรค 02-590 3333